ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/78

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๐๕ 

ก็เสมือนหนึ่งว่าที่ดินเป็นของประชาชนร่วมกัน นอกจากนี้โดยเหตุที่ชาวนาร่วมแรงกันทํานายืมปศุสัตว์และเครื่องมือซึ่งกันและกันและดําข้าวเกี่ยวข้าวด้วยกัน นักศึกษาขนบธรรมเนียมบางคนจึงกล่าวว่า ชุมชนเชื้อชาติไทยปฏิบัติตามลัทธิโซเชียลิสม์..."

ตามการศึกษาข้อเท็จจริงของชุมชนไทยที่ยังล้าหลังเช่นนี้ ทําให้เราพอจะสันนิษฐานได้ว่า ในยุคที่ไทยทั้งมวลแตกแยกออกจากกัน เพราะการรุกรานของจีนนั้น คงจะได้แยกออกมาในลักษณะของชมรมกสิกรรม อันเป็นระบบของชุมชนที่แยกกันอยู่เป็นชาติกุลใหญ่ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบ พ่อครัว (Patriachal Family) ของปลายยุคชมรมบุพกาล

พวกที่แตกแยกไปทางตะวันตก ได้พุ่งไปสู่แคว้นไทยใหญ่ตั้งเป็นชมรมขึ้น พวกนี้ต้องต่อสู้กับชนพื้นเมืองเดิมและอํานาจการปกครองของพม่า มอญ ระบบทาสจึงเกิดขึ้น และปรากฏออกมาในรูปรัฐประชาธิปไตยของนายทาสที่เรียกว่ารัฐ "สิบเก้าเจ้าฟ้า" และต่อจากนี้ ก็ได้แยกออกจากรัฐสิบเก้าเจ้าฟ้ามุ่งเข้าสู่แคว้นอัสสัมกลายเป็นไทยอาหม ซึ่งพัฒนาระบบผลิตไปเป็นระบบศักดินา อันมีลักษณะคล้ายคลึงกับศักดินาของไทยสมัยอยุธยา๓๗

ส่วนพวกที่กระจายไปทางตะวันออกได้เลยไปสู่ดินแดนตังเกี๋ย ไปหมกตัวอยู่ในทําเลป่าเขา การรบพุ่งกับอํานาจปกครองเดิมของท้องถิ่นไม่สู้มีปรากฏ จึงไม่เกิดระบบทาสขึ้นและยังคงพัฒนาระบบชมรมกสิกรรมของตนต่อไปตนมีลักษณะชนชั้นและการขูดรีดขึ้นภายในชมรม อันเป็นเงื่อนไขที่จะผ่านไปสู่ระบบทาสดังได้กล่าวมาแล้ว

ทางฝ่ายพวกที่พุ่งลงมาทางลําน้ำโขง เข้าสู่ดินแดนของแคว้นลานนา พวกนี้ต้องต่อสู้กับชนพื้นเมืองเดิมอย่างหนักหน่วง และขณะเดียวกันก็ต้องต่อสู้กับรัฐทาสของเขมรที่แผ่ขึ้นไปจนเลยเวียงจันทน์๓๘