ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/79

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๐๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

เงื่อนไขจึงเปิดทางให้เกิดระบบทาสและรัฐทาสที่เรียกว่า "สิบสองเจ้าไทย" อันเป็นลักษณะของรัฐประชาธิปไตยของนายทาสขึ้น แล้วภายหลังจึงกลายมาเป็นรัฐศักดินาของราชอาณาจักรลานนา (ศรีสัตนาคนหุต) ในที่สุด

คราวนี้ก็มาถึงไทยพวกที่แตกกระเจิงลงมาทางลุ่มแม่น้ำปิงคือแคว้นลานนา และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ แคว้นอยุธยา ไทยพวกที่ลงมาในทางนี้ ต้องปะทะกับชนพื้นเมืองเดิมหลายชนชาติเป็นต้นว่าชาติละว้าที่รบรับขับเคี่ยวกับไทยอยู่ได้พักหนึ่งก็ต้องอพยพหนีเข้าป่าเข้าดงไป นอกจากนั้นก็ต้องปะทะกับอํานาจการปกครองของมอญในแคว้นลําพูน (หริภุญชัย) ซึ่งพวกมอญนี้เองได้ถ่ายทอดกฏหมาย "ธรรมศาสตร์" อันเป็นแม่บทสําคัญในยุคนั้นไว้ให้ไทย นอกจากมอญ อํานาจที่เราต้องต่อสู้ขับเคี่ยว เดี๋ยวแพ้เดี๋ยวชนะไม่หยุดหย่อนก็คือเขมร พวกเขมรยกกองทัพออกตีต้อนเอาคนไทยคนมอญกลับไปเป็นทาสคราวละมากๆ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการสร้างเทวสถานหินขนาดใหญ่น้อยของตน พวกไทยที่ลงมาอาศัยและถูกกดขี่อยู่ในแคว้นมอญคงจะถูกกวาดต้อนไปเป็นทาสเชลยของเขมรสําหรับการที่ว่านับด้วยจํานวนไม่ถ้วน ที่กล่าวว่าพวกเขมรเที่ยวทําสงครามชิงทาสไปสร้างเทวสถานศิลานั้นไม่ใช่ยกเมฆเอาดื้อๆ การก่อสร้างปราสาทหินของเขมรได้ใช้พวกทาสเชลยจากแคว้นต่างๆ จํานวนมหึมาจริงๆ ตัวอย่างเช่น ปราสาทหินพระขันเหนือเมืองนครธมซึ่งสร้างในสมัยชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ ถึงหลัง ๑๗๔๔) มีคําจารึกของชัยวรมันเล่าไว้ว่า ได้ใช้ทาสเชลยทั้งชายหญิงจากประเทศจาม, ญวน, พุกาม และมอญ เป็นจํานวนถึง ๓๐๖,๓๗๒ คน๓๙ พวกไทยในแคว้นมอญก็คงรวมอยู่ในจํานวน "ผู้สร้างสรรค์" ที่ถูกกดขี่เหล่านี้ด้วย ครั้นพอพวกประเทศจาม