ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/81

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๐๘  โฉมหน้าศักดินาไทย

ก็เกิดขึ้นได้บนพื้นฐานของการขูดรีดแรงงานทาส

แต่ถึงอย่างไรก็ดี แม้จะได้เกิดรัฐทาสขึ้นแล้วลักษณะของการปกครองแบบพ่อครัว (Patriachal Family) ที่ไทยพวกนี้ เคยใช้มาแต่ยุคชุมชนบุพกาลก็ยังหาได้สูญสิ้นซากไปทีเดียวไม่ ไทยพวกนี้ ยังคงเรียกประมุขว่า "พ่อ" ดังจะเห็นได้จากที่ได้ตกทอดมาจนถึงสมัยสุโขทัย ในรัฐสุโขทัยเราก็ยังเรียกประมุขของรัฐว่า "พ่อขุน" และพวกข้ารัฐการ เราก็เรียกว่า "ลูกขุน" เป็นคําคู่กันอยู่นี่คือร่องรอยของระบบชุมชนยุคบุพกาลที่ตกทอดผ่านลงมาในสังคมทาส และในที่สุดก็มาสูญไปตอนที่สังคมได้กลายเป็นระบบศักดินาอย่างเต็มที่ และในยุคทาสนี้เอง ที่สรรพนามกูและมึงของเราเกิดถูกรังเกียจ เงื่อนไขของชนชั้นทางภาษาได้เกิดขึ้น กูและมึงใช้ได้เฉพาะกับผู้ที่เสมอกัน หรือผู้ที่โตกว่าเขื่องกว่าใช้กับผู้น้อย ถ้าเป็นทาสกับเจ้าทาสหรือข้ากับเจ้าข้าแล้ว พวกทาสต้องเรียกตัวเองว่า "ข้า" เรียกนายว่า "เจ้า" และเวลาตอบรับก็ต้องใช้คําว่า "เจ้าข้า" จะใช้คําว่า "เออ" อย่างมีภราดรภาพแบบเดิมไม่ได้เสียแล้ว

ด้วยหลักฐานอันยืดยาวประกอบกับข้อสันนิษฐานดังกล่าวมานี้เอง จึงทําให้น่าจะเชื่อถืออยู่ครามครันว่าสังคมไทยได้ผ่านยุคทาสมาแล้วช่วงระยะหนึ่ง อย่างน้อยก็ ๔๐๐ ปี และสังคมของไทยได้เริ่มคืบคลานไปสู่ระบบศักดินาในราวยุคสุโขทัย หรือแม้ก่อนหน้านั้นก็คงไม่กี่ปี