หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/86

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๑๓ 

"นายคงเครา" หัวหน้ากองจัดส่วยน้ำ ได้มองหาวิธีผ่อนคลายความทารุณได้สําเร็จ นั่นคือคิดสานภาชนะด้วยไม้ไผ่แล้วยาด้วยชันกับน้ำมันยางขึ้นได้ ภาชนะนี้บรรจุน้ำได้ไม่รั่วซึม คือที่ชาวไทยทางภาคเหนือและอีสานยังใช้อยู่และเรียกว่า "ครุ" ครุที่นายร่วงประดิษฐ์ขึ้นได้เป็นเครื่องมือใหม่แห่งยุคทีเดียว เขมรเองก็ไม่เคยคิดไม่เคยรู้จัก การคิดสร้างครุขึ้นสําเร็จทําให้เบาแรงในการขนส่งขึ้นมากมาย

การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ได้ใหม่ในยุคทาสนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่นับได้ว่ามหัศจรรย์อย่างยิ่งยวดของยุค เพราะมันเป็นพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งของระบบชีวิต พวกประชาชนจึงร่ำลือกันไปตามความมหัศจรรย์ว่านายร่วงมีวาจาสิทธิ์เอาชะลอมตักน้ำได้ ข่าวการประดิษฐ์ "ครุ" ของนายร่วงเล่าลือไปถึงชุมชนไทยทุกถิ่น พวกเสรีชนที่กระจัดกระจายอยู่แต่ครั้งการพังทลายของรัฐทาสจึงพากันเข้ามารวมอยู่ภายใต้การนําของนายร่วง ทางเมืองเขมรลูกชายของชัยวรมันที่ ๗ คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ (หลัง พ.ศ. ๑๗๔๔-๑๗๘๖) ได้ข่าวการประดิษฐ์ครุของนายร่วงและการรวมตัวของพวกเจ้าขุนมูลนายและเสรีชนไทยเข้าก็ตกใจใหญ่๔๘ ยกกองทัพมาปราบปราม แต่เขมรต้องทําศึกสองหน้าเสียแล้วตอนนี้ นั่นคือต้องหันไปปราบหันไปปราบพวกจามที่ตั้งแข็งข้อขึ้นใหม่เมื่อปี ๑๗๖๓ และก็ปราบไม่ได้ พวกทาสในเมืองเขมรเองก็ระอานายทาสทั้งปวงเต็มทนอยู่แล้ว ความมั่นคงภายในของเขมรจึงเป็นภาระรีบด่วนของกษัตริย์เขมร มิใช่ภาระที่ปราบปรามไทย ทัพเขมรจึงถูกไทยตีโต้ถอยกระเจิงออกไป ตามพงศาวดารนั้นถึงกับกล่าวว่านายร่วงรุกเข้าไปจนถึงเมืองนครธม แต่ไปถูกทีเด็ดของพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ เข้าอย่างใดไม่ทราบ การเลยกลับตาลปัตร นายร่วงยอมรับนับถือกษัตริย์เขมร ไม่จับฆ่า เรื่องนี้จะเชื่อถือพงศาวดารนักก็ไม่ได้ เพราะขึ้นชื่อว่าพงศาวดารแล้วตอน