หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/90

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๑๗ 

สุโขทัยขึ้นสําเร็จพักเดียว รัฐฉอดของขุนสามชนก็ยกเข้ามารุกรานสุโขทัยทางเมืองตาก ขุนจัง (รัฐใดไม่ปรากฏ)๕๕ กับท้าวอีจานก็รุกรานเมืองราด แต่เจ้าที่ดินใหญ่ของสุโขทัยก็พยายามต่อสู้และรวบอํานาจทั้งทางเศรษฐกิจคือที่ดินและอํานาจทางการเมืองเข้าไว้ในมือเสมอ เจ้าที่ดินใหญ่สุโขทัยไม่รั้งรอให้ใครเข้ามาสามิภักดิ์แต่ด้านเดียว หากได้ออกทําสงครามแย่งชิงที่ดินเอาด้วยกําลังทีเดียว จะเห็นได้จากที่พ่อขุนรามคําแหงเล่าอวดไว้ในศิลาจารึกว่า "กูไปท่ (ตี) บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่ว (บ่าว) ได้นาง ได้เงิน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู" แต่ถึงกระนั้นสุโขทัยก็ไม่อาจขยายที่ดินออกไปได้กว้างขวางนัก ทั้งนี้ก็เพราะรัฐไทยต่างๆ ส่วนมากมีความเข้มแข็งพอๆ กับสุโขทัย เจ้าที่ดินใหญ่ของแต่ละรัฐจึงคบกับสุโขทัยในฐานะเป็นเพื่อนน้ำมิตร เช่น รัฐเชียงใหม่ของพญาเมงราย, รัฐพะเยาของพญางําเมือง, รัฐหริภุญชัย (ลําพูน) ของพญาญี่บา อาณาเขตผืนดินของสุโขทัยจึงสะดุดกึกลงที่เขตแดนของรัฐเหล่านี้

ถ้าหากจะพิจารณาดูการวางระบบเมืองแล้ว ก็จะเห็นความคับแคบของที่ดินในกรรมสิทธิ์ของเจ้าที่ดินสุโขทัยได้ชัด กล่าวคือ เมืองด่านสําคัญสี่ทิศ (เมืองลูกหลวง) ของสุโขทัย อยู่ใกล้ๆ ตัวกรุงสุโขทัยทั้งสิ้น สวรรคโลก (สัชชนาลัย) อยู่ด้านเหนือ, พิษณุโลก (สองแคว) อยู่ด้านตะวันออก, พิจิตร (สระหลวง) อยู่ด้านใต้ และกําแพงเพชร (ชากังราว) อยู่ด้านตะวันตก ทั้งสี่เมืองมีระยะทางห่างจากสุโขทัยเพียงทางเดินสองวันทั้งสิ้น เมืองที่อยู่ภายในวงนี้ เท่านั้นที่อยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัยโดยตรง นอกจากนั้นจะเป็นหงสาวดีก็ดี หลวงพระบางก็ดี สุพรรณภูมิ (อู่ทอง) ก็ดี เพชรบุรีก็ดี นครศรีธรรมราชก็ดี ล้วนเป็นเพียงเมืองประเทศราชและพวกสามนตราช (Vassal) ที่ยังมีอํานาจมากอยู่ทั้งนั้น สุโขทัย