หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/92

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๑๙ 

สุโขทัยก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว เราจะเห็นว่ากษัตริย์สุโขทัยมีที่เป็นพ่อขุนอยู่เพียง ๒-๓ องค์เท่านั้น เช่น พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนรามคําแหง พอพ้นจากนี้ แล้วกษัตริย์ก็กลายมาเป็น "พญา" อย่างพญาเลอไทย จากพญาก็ขยับตรงเข้าสู่ขั้น "เจ้าพญา" แล้วถัดจากนั้นก็ขอยืมคําเขมรมาเดาะเข้าให้เป็น "สมเด็จเจ้าพญา"๕๘ ท้ายที่สุดก็กลายเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน" ดังที่ปรากฏอยู่ในกฏหมายลักษณะโจรที่ได้กล่าวถึงพัฒนาการของฐานะกษัตริย์นี้ เป็นพยานที่แสดงให้เห็นว่า การพยายามรวบอํานาจเหนือที่ดินของพวกกษัตริย์สุโขทัย ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น ได้บรรลุผลสําเร็จอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงร้อยปีเศษ กษัตริย์สุโขทัยดูเหมือนจะรวบอํานาจในที่ดิน ยกตนขึ้นเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน" ตามคติของศักดินาได้สําเร็จมั่นคงรวดเร็ว พอๆ กันกับกษัตริย์ทางฝ่ายอยุธยา ต่อหลังจากนั้น ศักดินาสุโขทัยจึงได้ถูกศักดินาอยุธยาช่วงชิงผืนดิน จนในที่สุดผืนดินทั้งมวลของสุโขทัยก็ตกเป็นของ "พระเจ้าแผ่นดิน" อยุธยาโดยสิ้นเชิงและสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๘๑ เป็นอันว่าระบบศักดินาของอาณาจักรสุโขทัยได้พัฒนามาอย่างเอกเทศเพียงชั่วระยะ ๒๐๐ ปี เท่านั้นเอง

คราวนี้ ก็มาถึงระบบศักดินาของไทยทางใต้ คือ ทางอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเพิ่งจะสร้างขึ้นเป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ทั้งนี้ โดยประชาชนไทยภายใต้การนําของพระเจ้าอู่ทองได้พากันอพยพหนีโรคระบาดอันเกิดจากความกันดารน้ำ (เพราะกระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน) ลงมาช่วยกันสร้างบ้านสร้างเมืองหักร้างถางพงเป็นไร่เป็นนาขึ้น

ก่อนนั้นขึ้นไป ประชาชนไทยได้รวมกันอยู่เป็นปึ กแผ่นอย่างเรียบร้อย และมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอู่ทอง (ในสุพรรณบุรี) ชุมชนของไทยในแคว้นอู่ทอง ก่อนที่จะอพยพย้ายครัวมายังอยุธยานั้น