หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/96

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๒๓ 

พอมันตายลง พ่อมันก็ "ไว้แก่ลูกมันสิ้น"

แต่อย่าเพิ่งดีใจ ที่กฏหมายของศักดินาอยุธยาระบุไว้ว่า "ผู้นั้นตายได้แก่ลูกหลาน" นั้น มิได้หมายถึงว่าลูกหลานได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน หากได้กรรมสิทธิ์เพียงผลประโยชน์บนผืนดินเท่านั้นเอง ถ้าหากทอดทิ้งที่ดินผืนนั้ นไปเสียเป็นระยะเก้าปีสิบปี กฏหมายระบุให้แขวงจัดคนที่ไม่มีที่อยู่เข้าทํากินต่อไปเป็นเจ้าของใหม่ ถ้าหากต้นไม้และผลประโยชน์อื่นมีติดที่ดินอยู่ ก็ให้ผู้มาอยู่ใหม่คิดเป็นราคาชดใช้ให้พอสมควร "ส่วนที่นั้นมิให้ซื้ อขายแก่กันเลย" (เบ็ดเสร็จ-เพิ่มเติม) นี่ก็คือประชาชนมิได้มีกรรมสิทธิเด็ดขาดในที่ดินที่ตนทํามาหากิน ที่ดินยังคงเป็นของกษัตริย์ ประชาชนมีสิทธิในฐานะเป็นผู้ครอบครองเพื่อทําการผลิตและแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่กษัตริย์เท่านั้น กษัตริย์ยังคงมีสิทธิสมบูรณ์เหนือที่ดิน จะริบจะโอนอย่างไรก็ได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากกฏหมายเบ็ดเสร็จ (เพิ่มเติมมาตรา ๑๒) กฏหมายมาตรานี้ระบุว่า กษัตริย์มีสิทธิ์สมบูรณ์ในการจะยกที่ดินให้แก่ใครๆ ก็ได้ แม้ที่ดินผืนนั้นจะมีผู้เข้าครอบครองทํามาหากินอยู่ก่อนแล้ว ใครจะมาโต้เถียงคัดค้านสิทธิของผู้ที่ได้รับพระราชทานไม่ได้ ถ้าคัดค้านโต้เถียงก็เป็นการขัดขืนพระราชโองการประชาชนใช้สิทธิในการครอบครองที่ดินอ้างยันต่อกันเองได้ แต่จะอ้างยันต่อกษัตริย์ไม่ได้

สรุปรวมความได้ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เกี่ยวเนื่องแก่ที่ดินในตอนต้นสมัยอยุธยา มีดังนี้:-

๑. กษัตริย์เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ มีกรรมสิทธิ์เด็ดขาดเหนือผืนดินทั้งอาณาจักรแต่ผู้เดียว

๒. ประชาชนส่วนข้างมากไม่มีกรรมสิทธิในที่ดินต้องอาศัยที่ดินของกษัตริย์ทํามาหากินโดยเสียภาษีอากรซึ่งเป็นการ