หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/103

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๘๕

ในพระบรมมหาราชวัง แล้วฟ้อนไปคบหารักใคร่กับนายบัว มหาดเล็ก ได้ทำโทษนายบัวครั้งหนึ่งแล้ว อยู่มา มีผู้กล่าวโทษนายบัว มหาดเล็ก ว่า เป็นชู้กับหญิงในพระบรมมหาราชวังที่ไม่ได้ห้ามประตูหลายคน จึงได้มีพระบรมราชโองการสั่งให้ชำระไล่เลียงเอาตัวฟ้อน ได้ความว่า ฟ้อนไปอยู่ที่วังองค์วัฐถา ให้เอาตัวมาถามแล้วยึดตัวไว้ แต่องค์วัตถาไม่ได้เกี่ยวข้องมีความผิดด้วยเรื่องฟ้อน เพราะฟ้อนนั้นไม่ได้เป็นคนห้ามประตู จะไปไหนก็ไปได้ อยู่มา องค์วัตถาสูบฝิ่น จึงทรงพระกรุณาดำรัสว่า องค์วัตถาก็เป็นบุตรองค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดี ตั้งพระราชหฤทัยจะทรงชุบเลี้ยงให้สมควรกับเกียรติยศ องค์วัตถามาประพฤติการเป็นพาลให้เสียวงศ์ตระกูลไป หาชอบไม่ จึงได้ให้เจ้าพนักงานเอาตัวองค์พระวัตถามากักขังทรมานไว้ในพระบรมมหาราชวังเพื่อจะให้อตฝิ่นเสีย องค์วัตถาต้องกักขังอยู่หลายเดือน อยู่มา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แลท่านเสนาบดีทั้งปวง กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า กิริยาองค์วัตถาเรียบร้อยลงมาก เห็นจะอดฝิ่นได้ ขอรับพระราชทานให้พ้นจากที่ขัง ก็ได้พระราชทานยกโทษให้ แล้วได้ให้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อไปตามเดิม องค์วัตถาได้เข้ามาเฝ้าทูลละอองฯ เนือง ๆ ทรงพระราชปฏิสันถารปราสัยไต่ถามทางงานอยู่ไม่ขาด ตัวฟ้อนก็จะพระราชทานให้ แต่องค์วัตถาไม่รับมา การค้างอยู่ ครั้นองค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดีถึงแก่พิราลัย เมื่อองค์วัตถาจะออกมาเยี่ยมเยียนศพ ก็ได้โปรดพระราชทานพานทองคำ คนโททองคำ โถนทองคำ เป็นเครื่องยศบรรดาศักดิ์ โดยทรงพระมหากรุณาเมตตา แลองค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช องค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า กับองค์วัตถา ก็มิใช่ผู้อื่น เป็นพี่น้องร่วมบิดากัน ให้องค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช