หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/117

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙๙

จะทำตามใจองค์พระนโรดมดังนั้นไม่ควร เพราะเธอผู้เกลี้ยกล่อมพวกนั้นไว้ก็ดี พวกที่มาล้อมเมืองแล้วเข้าเกลี้ยกล่อมยอมสงบอยู่ก็ดี ปรากฏอยู่ชัดว่า ไม่ได้คิดออกหาก ไปพึ่งบ้านอื่นเมืองอื่นนอกจากกรุงเทพฯ เหมือนครั้งองค์จันวิวาทกับองค์สงวนเมื่อองค์สงวนหนีเข้าไปเมืองโพธิสัตว์ใกล้เมืองพระตะบอง องค์จันก็หนีไปเมืองญวนขออำนาจญวนมาช่วยนั้นเลย เพราะฉะนั้น ผู้ครองแผ่นดินกรุงเทพฯ ไม่ควรจะประพฤติเอาร้ายต่อเธอแลพวกนั้นด้วยเห็นแก่องค์พระนโรดมผู้เดียวโดยว่า ถ้าผู้ปกครองแผ่นดินฝ่ายกรุงเทพมหานครจะเห็นว่า องค์พระนโรดมเป็นบุตรใหญ่ในองค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดี แลบิดาได้ขอให้ตั้งเป็นมหาอุปราช แลผู้ครองแผ่นดินกรุงเทพฯ ได้ตามใจองค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดี ตั้งแต่งไปเป็นเกียรติยศปรากฏแล้ว แลครั้งนี้ เมื่อเหตุมีขึ้น ก็ได้มีใบบอกเหตุที่เป็นเข้ามาเป็นคำนับแก่กรุงเทพฯ เนือง ๆ ถึงจะมีความชัดแจ้งก็ดี ไม่สู้ชัดแจ้งก็ดี ก็เป็นอันมีกิริยาอันสมควรอยู่ ถึงเมื่อบ้านเมืองมีความวุ่นวาย ก็ยังได้อุตสาหส่งบรรณาการแลส่วยตามปีอยู่ การนั้นก็เป็นอันมีความชอบ ครั้นเขมรหัวเมืองกำเริบกล้า หาที่พึ่งอื่นมิได้ ก็คิดยกครอบครัวแลพระยาพระเขมรตัวสำคัญที่คนชังมากเป็นตังต้นเหตุให้ไพร่กำเริบนั้นพากันเข้าไปเมืองพระตะบอง หันหน้าไปหากรุงเทพฯ บอกเข้ามาว่า จะขอเป็นที่พึ่งดังนี้ ก็ยังปรากฏว่า จงรักภักดีต่อกรุงเทพฯ อยู่ดังนี้

เพราะเหตุนั้น ไม่ควรจะยกองค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราชออกเสียจากความเป็นเจ้าแผ่นดินเมืองเขมร จะต้องคิดให้ได้เป็นเจ้าแผ่นดินเขมรให้ได้ แล้วผู้ครองแผ่นดินฝ่ายกรุงเทพฯ ก็คงจะต้องมาว่ากล่าวปรึกษาหารือกับเธอแลพระยาพระเขมรในเมืองนอกเมืองทั้งปวงให้ประนี