หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/118

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๐

ประนอมพร้อมใจกันลงจริง ๆ แลกิริยาใด ๆ ขององค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราชแต่ก่อน ไม่เป็นที่ชอบใจแก่คนเป็นอันมาก ก็จะต้องขอให้ทำสัญญาเสีย ไม่ให้มีให้เป็นต่อไปแน่นอน แลพระยาพระเขมรที่เขาชังมากนั้น ก็จะต้องขอเอาตัวไปให้อยู่เสียที่เมืองพระตะบอง เมืองนครเสียมราฐ หรือในกรุงเทพฯ ทีเดียว ให้พ้นวิสัยร้ายเสีย ต่อยอมกันลงจริง ๆ จนเชื่อได้ว่า การต่อไปจะเรียบร้อยกันเป็นแน่แล้ว จึ่งจะตั้งแต่งให้เป็นเจ้าแผ่นดินเขมรได้

บัดนี้ ฯข้าฯ กับท่านเสนาบดีคิดกันจัดให้เจ้าหมื่นศรีสรรักษ[1] บุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ว่าสมุหนายก ตามเจ้าพระยามุขมนตรี[2] พระยาสิงหราชฤทธิไกร[3] ออกไปเมืองพระตะบอง แล้วให้พบกับองค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราชหารือปรึกษาดูในการเรื่องนี้ องค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราชจะว่าอย่างไรจะเห็นอย่างไร ให้เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์กลับเข้ามาบอกก่อน จึ่งจะคิดอ่านการให้ตกลงว่า จะอย่างไรดีได้ เมื่อตกลงแล้ว จึงจะได้บังคับออกไปให้เจ้าพระยามุขมนตรี ข้าหลวงผู้ใหญ่ บังคับบัญชาแลจัดแจงการให้สมควรแก่เหตุผล

วิสัยการประเทศราชใหญ่ดังเมืองเขมรนี้ การก็คงจะต้องตกลงตามใจคนทั้งปวงเป็นอันมาก ในเมืองนั้นจะชอบใจอย่างไรนั้น การบ้านเมืองจึงจะเรียบร้อยสืบไปได้ จะเอาแต่ตามชอบใจผู้ครองแผ่นดินกรุงเทพฯ ไปกดขี่คุมเหงให้เป็นไปไม่ได้ ด้วยเมืองเขมรอยู่ห่างไกลกรุงเทพฯ ไม่เหมือนเมือง


  1. ชื่อ รอด กัลยาณมิตร ต่อมาเป็นเจ้าพระยารัตนบดินทร์
  2. ชื่อ เกษ บุตรเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
  3. ชื่อ สุด