หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/124

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๖

ให้บรรดาประเทศตั้งกงศุลในเมืองเขมร ท่านอัดมิราลแม่กองใหญ่เมืองไซ่ง่อนก็ไม่ยอมด้วย ถ้าเจ้าเขมร ขุนนางเขมร ยอมให้ตั้งกงศุล ท่านอัดมิราลแม่กองใหญ่เมืองไซ่ง่อนก็ยอมตาม

๕. ถ้าผู้ใดขึ้นเจ้ากรุงฝรั่งเศส จะไปมาค้าขายเที่ยซื้อสินค้าปลูกเรือนอยู่ในเมืองเขมรนั้น ให้บอกขุนนางเขมรผู้ใหญ่ให้รู้ จะได้ทำหนังสือให้ถือ จึ่งไปมาปลูกเรือนได้

๖. นั้น ถ้าผู้ใดขึ้นกับเจ้าเมืองเขมรแล้วอยู่ ๆ ที่เมืองใดที่ขึ้นเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น ให้ได้ประโยชน์แลอำนาจดังนี้ด้วย

๗. นั้น ถ้าฝรั่งเศสกับเขมรเป็นความแก่กัน มีแต่ไปฟ้องกงศุล ถ้าปรึกษาเขาไม่ตกลง มีแต่กงศุลกับขุนนางเขมรปรึกษาด้วยกันให้เที่ยงตรงงามดี ถ้าเขมรกับเขมรเป็นความแก่กัน ขุนนางฝรั่งเศสกับกงศุลฝรั่งเศสว่าไม่ได้ ถ้าฝรั่งเศสกับฝรั่งเศสเป็นความแก่กัน ขุนนางเขมรก็ว่าไม่ได้ ถ้าประเทศอื่นเป็นชาติยุโรปเป็นความขัดเคืองกับคนฝรั่งเศสนั้น ต้องขุนนางกงศุลฝรั่งเศสชำระ ถ้าคนฝรั่งเศสทำผิดมาอยู่ในเมืองเขมรนั้น ต้องให้ขุนนางเขมรผู้ใหญ่ช่วยกงศุลฝรั่งเศสนำตัวคนที่ทำผิดนั้นส่งไปแม่กองใหญ่ฝรั่งเศสเมืองไซ่ง่อนชำระ ถ้าไม่มีกงศุลฤๅขุนนางฝรั่งเศสอยู่ในเมืองเขมร แม่กองใหญ่ฝรั่งเศสผู้ใดที่มีอำนาจว่ากล่าวแทนกงศุลได้ ให้ปรึกษาชำระเรื่องความนั้นได้

๘. นั้น ถ้าฝรั่งเศสผู้ใดอยากอยู่ในเมืองเขมร มีแต่จดชื่อในบัญชีขุนนางกงศุล แล้วให้กงศุลฝรังเศสมีหนังสือมาบอกขุนนางเขมรให้รู้ด้วย

๙. นั้น ถ้าเขมรผู้ใดไม่มีเหตุไม่มีความ แล้วอยากมาอยู่เป็นที่แผ่นดินขึ้นฝรั่งเศสนั้น มีแต่จดชื่อในบัญชีสำเนาเอง ฤๅในบัญชีขุนนางเขมร