หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/142

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒๔

ญวนเข้าอยู่ในอำนาจ เห็นจะดีกว่าเมืองลาว จะเอาจริงก็จะได้ดอกกระมัง ญวนเจ้ารีตฝรั่งก็มาก จะกลับเป็นกอลอนีฝรั่งเศสก็จะง่าย ผลประโยชน์ก็จะมากกว่าคิดเดินทางยากในแม่น้ำเมืองลาว แต่เห็นเขาจะคิดว่า ญวนอยู่ในเนื้อมือแล้ว คิดทางอื่นไปพลางกระมัง ตัดหลังเสียให้ญวนจนไม่มีทางหนี ว่ามาทั้งนี้ นึกอะไรได้ก็ว่ามา แต่เห็นหนังสือนี้ไม่ทัน ทูตในยุโรปกลัวจะพบเมื่อกลับคืนดอกกระมัง

คำที่กราบเรียน ฯพณฯ สมุหพระกลาโหมมาว่า ถ้อยคำพระสยามธุรานุรักษ์[1] ฟังดูเหมือนฟังเสียงหีบ ฝ่ายที่ว่ามาทั้งนี้ ถูกต้องจริงทีเดียว ถึงมีหนังสือมาที่กรุงเทพฯ ก็เช่นนั้น อมเออกลมกลืน ควรคิดแปลไปต่าง ๆ ไม่ว่าชัดตรงออกมา เป็นทั้งนี้ก็เพราะมันไม่ได้นับถือเราว่า เป็นมนุษย์เหมือนตัวพวกมันนั้นแล ถึงมองติกนีก็ดี คนอื่นก็ดี เหมือนมันทั้งปวง ทั้งฝรั่งเศสแลอังกฤษก็คงคิดแต่ว่า เราเป็นสัตว์สำหรับพวกมันจะแทะและแล่เถือหรือหลอกใช้แรงดังโคกระบือ เห็นจะถือว่า ตีรันฟันฆ่าแลแย่งชิงเราไม่มีบาปเลย เพราะมิใช่ลูกศิษย์เยซู เป็นแต่ต้องระวังความนินทา เพราะทำหุนหันเหลื่อมลามเกิน ๆ ไป ไม่แยบคาย เพราะฉะนั้น เราจะหมายให้ลูกศิษย์เยซูช่วยเรานั้น จะได้ด้วยยากนัก เว้นแต่ถ้าพวกนั้น ถ้ามันหึงหวงช่วงชิงกันจริง ๆ ไม่ล้มกัน เราจะถูกร้อนข้างหนึ่งเย็นข้างหนึ่งกระมัง ถึงเย็นก็คงไม่จืดหรือหวานสนิท คงจะกลับกร่อยหรือเปรี้ยวบูดไปเร็ว ๆ ง่าย ๆ นั้นแล

พระยาสยามธุรานุรักษ์ว่ามาในหนังสือเขา ลงวัน ๑๐ มาร์จ เป็นวัน ค่ำ ปีขาล อัฐ พระยาสยามธุรานุรักษ์ว่าดังนี้ ฯข้าฯ จะเขียนความถวายด้วยเรื่องราชการบ้านเมืองแลที่ตั้งใหม่ของพระราชอาณาจักรของพระองค์ท่าน แลการที่ท่านทูตสยามมา ก็ยังไม่มีเวลาว่างที่จะได้เขียน จะได้เขียน


  1. ชื่อ มิสเตอร์นอกซ์ เป็นกงศุลสยามประจำกรุงฝรั่งเศส