หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/150

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๓๒

เขมรเพิ่มเติมแก่หัวเมืองญวนซึ่งเป็นของฝรั่งเศส

ข้อ ๔. ว่า เมืองบัตบองแลเมืองนครเสียมราฐคงอยู่เป็นของไทย เขตแดน ๒ เมืองนี้และเขตแดนเมืองอื่น ๆ ของไทยซึ่งติดต่อกับเขตแดนของเขมรคงอยู่ตามสังเกตกันตามในกาลบัดนี้ จะต้องกำหนดโดยเร็ว ผู้ครองฝ่ายสยามแลผู้ครองฝ่ายเขมรจะให้ขุนนางไปปักปันเขตแดนเป็นสำคัญต่อหน้าพร้อมกันกับขุนนางฝรั่งเศสซึ่งคอเวอนเนอร์ผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อนจะใช้ไปปักเขตแดนตกลงกันแล้ว ขุนนางฝรั่งเศสจะทำแผนที่เป็นสำคัญโดยซื่อตรง

ข้อ ๕. ว่า ไทยจะไม่ล่วงเข้าไปในเขตแดนเขมร ๆ จะไม่ล่วงเข้ามาในเขตแดนของไทย คนฝ่ายไทยฝ่ายเขมรจะไปค้าขายแลอาศัยไปมาหากันโดยดีก็ได้ ถ้าคนอยู่ในบังคับไทยจะทำผิดกฎหมายในที่เมืองเขมร เจ้าพนักงานเขมรจะทำโทษโดยยุติธรรมตามกฎหมายฝ่ายเขมร ถ้าคนอยู่ในบังคับเขมรทำผิดกฎหมายในที่เมืองไทย เจ้าพนักงานไทยจะทำโทษตามกฎหมายไทยโดยยุติธรรม

ข้อ ๖. ว่า เรือฝรั่งเศสจะขึ้นลงตามลำแม่น้ำของแลในทะเลสาบเขตแดนไทยได้โดยสะดวก คอเวอนแมนต์ไทยจะทำเบิกร่องสำหรับตัวผู้ซึ่งจะไป สุดแต่เจ้าพนักงานฝรั่งเศสจะกำหนดกี่ฉบับ ให้ไว้แก่เจ้าพนักงานฝรั่งเศสเมืองไซ่ง่อน ลงชื่อประทับตราฝรั่งเศสให้แก่ผู้ซึ่งจะไปเข้าในแผ่นดินของไทย จะต้องถือตามหนังสือสัญญาในคริสตศักราช ๑๘๕๖ เบิกร่องนี้จะใช้ได้อย่างเดียวกันกับเบิกร่องที่ว่าในข้อ ๗ หนังสือสัญญาคริสต์ศักราช ๑๘๕๖ ปี แลผู้ถือหนังสือเบิกร่องนั้นมีข้อขัดขวาง จะได้พึ่งเจ้าพนักงานฝ่ายข้างไทย