หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๑

มายุได้ ๑๕ สมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะจึงได้พานักองค์จันเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อเข้ามาครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะป่วยถึงอสัญกรรมลงในกรุงเทพมหานคร จึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้พระราชทานเพลิง แล้วทรงพระมหากรุณาพระราชทานอภิเศกนักองค์จันให้เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาธิราช เจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี พระราชเครื่องยศบรรดาศักดิ์เจ้าประเทศราชอย่างสูงเหมือนกับองค์สมเด็จพระนารายน์รามาธิบดีผู้พระบิดาของนักองค์จันนั้น แล้วโปรดให้กลับออกไปครองแผ่นดินกัมพูชาโดยอย่างครั้งองค์สมเด็จพระรามาธิบดีนั้นทุกประการ พระยาพระเขมรสองนาย คือ พระยาจักรี ๑ พระยากลาโหม ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้ใหญ่ช่วยทำนุบำรุงสมเด็จพระอุทัยราชาธิราช จัน ว่าราชการแผ่นดินดังสมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะนั้นต่อมา ฝ่ายเจ้าเวียดนามยาลอง คือ องเชียงสือ เมื่อได้มีอำนาจใหญ่โตขึ้นแล้ว ครั้นทราบไปว่า สมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะซึ่งได้เป็นผู้ใหญ่รักษาเมืองเขมรแต่ก่อนนั้นถึงอสัญกรรมเสียแล้ว สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช จัน เจ้าเมืองเขมร มีชนมายุเพียง ๑๕–๑๖ ปี ดังนี้ ก็เห็นว่า เป็นท่วงทีที่จะเกลี้ยกล่อมนั้นมากเข้ากว่าแต่ก่อน ก็ยั่งยุองญวนเมืองไซ่ง่อนแลเมืองอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับเมืองเขมรให้ทำแก่เขมรต่าง ๆ คือ มาเกลี้ยกล่อมบ้าง ขู่เข็ญบ้าง เนือง ๆ มากไปกว่าแต่ก่อน ภายหลัง สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช จัน มีศุภอักษรให้เข้ามากราบทูลพระกรุณาขอนักองค์เจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าป้าหลายองค์ซึ่งเข้ามาพร้อมกันกับสมเด็จพระนารายน์รามาธิบดี องค์เอง แต่ก่อนนั้น กลับออกไปอยู่ด้วยที่เมืองบรรทายเพชร ก็ทรงพระมหากรุณาโปรดให้ไปตามสมัคร นักองค์เจ้าหญิงทุกองค์ก็สมัครยอมกราบถวายบังคมลากลับออกไป แต่นักองค์อี