หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/52

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๗

ทราบ จึ่งโปรดเกล้าฯ มีศุภอักษรตอบออกมาว่า เมืองเขมรเป็นเมืองของข้าพระพุทธเจ้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เป็นแต่ช่วยทำนุบำรุง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า เป็นไมตรีกับญวนดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็โปรดตาม ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งจัดแจงพระยาพระเขมรแลเครื่องบรรณาการไปผูกไมตรีกับเมืองเว้ เจ้าเมืองเว้ก็จัดแจงให้องญวนถือหนังสือคุมเครื่องบรรณาการมาให้ข้าพระพุทธเจ้าผูกพันเป็นไมตรีกันกับญวน เขมรกับญวนก็ถ้อยทีส่งเครื่องบรรณาการกันสามปีครั้งหนึ่ง จนถึงปีมะโรง อัฐ ศักราช ๑๒๑๘ ครั้น ณ ปีวอก โท ศักราช ๑๒๒๒ นี้ เขมรกับญวนเกิดวิวาทกันขึ้น ก็ทราบใต้ฝ่าละอองฯ จึ่งโปรดให้กองทัพกำปั่นออกมาช่วย เรื่องความทั้งนี้ จะว่า เมืองเขมรขึ้นแก่ญวนอย่างไร มิใช่เขมรสู้รบแพ้ญวน ๆ เก็บเอาไปไว้เป็นเมืองขึ้นนั้น ควรที่ว่า เขมรเป็น ความพยานข้าพระพุทธเจ้าหลายชั้นดังนี้ ญวนจะว่า เมืองเขมรอยู่ในอำนาจขึ้นแก่เมืองญวนอย่างไรได้ ถึงฝรั่งเศสตีได้เมืองญวน แล้วจะรบเอาเมืองเขมร ว่า ขึ้นแก่ญวน ก็มีที่พูดกับฝรั่งเศสว่า เมืองฝรั่งเศสรบกับญวน เขมรก็ไม่ได้ช่วย ญวรรบฝรั่ง เมืองเขมรก็แขงเมืองอยู่ แล้วเกณฑ์กองทัพรบสู้กับญวนเอาบ้านเมืองที่ญวนเก็บไว้คืน ข้าพระพุทธเจ้าคิดเห็นดังนี้ ถึงญวนจะถือฝรั่งรวบรวมข่มขี่เมืองเขมร ก็มีที่พูดได้ดังนี้ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด จดหมายปรนิบัติมา ณ วัน ค่ำ ปีวอก โท[1]

เลขที่ ๖๘
หมู่ จดหมายเหตุ ร. ๔ จ.ศ. ๑๒๒๒
ประวัติ ได้มาจากกระทรวงมหาดไทย

  1. ตรงกับวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๓