หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/59

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๔

เขมรนั้น เพราะเจ้าแผ่นดินเมืองเขมรยังหนุ่มเยาว์ ยังไม่เป็นที่ไว้ใจในราชการบ้านเมืองทั้งปวงแม่นยำได้ การบ้านการเมืองสิทธิ์ขาดอยู่แก่สมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะ[1] เมืองเขมรครั้งนั้นเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขัณฑเสมาซื่อตรงสุจจริตสนิทแก่กรุงเทพฯ มีเหตุการณ์สิ่งใด ก็มีศุภอักษรบอกเข้าไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ณ กรุงเทพมหานครทุกครั้ง ถึงกระนั้น ก็ยังไม่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ด้วยทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอยู่ว่า ใจเขมรยังไม่ยั่งยืน กลับไปกลับมาอยู่แต่โบราณ จึงต้องแต่งคนออกมาฟังราชการแลสืบถามลูกค้าต่างประเทศมาประกอบความในศุภอักษรอยู่ไม่ขาด ครั้นถึงแผ่นดินนักองค์จันเป็นองค์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชเป็นเจ้าแผ่นดินเขมร องค์จันยังเยาว์อยู่มากกว่าองค์สมเด็จพระนารายน์รามาธิบดี ราชการบ้านเมืองก็ยิ่งสิทธิ์ขาดอยู่แก่สมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะเหมือนกัน ครั้นภายหลังมา สมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะผู้ใหญ่คนนั้นเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในกรุงเทพฯ มาป่วยลงถึงแก่กรรมลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิง ณ พลับพลาที่เมรุวัดสุวรรณาราม เพราะทรงนับถือแลเสียดายสมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะผู้ใหญ่นั้นเสมอดังท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยความที่ได้เคยทรงไว้วางพระราชหฤทัยเชื่อถือว่า ซื่อสัตย์สุจริตมาช้านาน ครั้นพระราชทานเพลิงสมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะแล้ว จึงได้ทรงกำชับมอบหมายราชการบ้านเมืองเขมรแก่สมเด็จเจ้าพระยาจักรี พระยากลาโหม ซึ่งเป็นพระยาพระเขมรผู้ใหญ่ในเวลานั้น ให้ดูเยี่ยงอย่างสมเด็จเจ้าฟ้าทะละหะที่ถึงแก่กรรมนั้น ทำนุบำรุงนักองค์จันซึ่งเป็นองค์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช เจ้าแผ่นดินเมืองเขมร ให้ว่าราชการ


  1. ชื่อ ปก