หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

๒๔๐๖–๒๔๑๐ ชนชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งมารบได้ประเทศญวนแล้วเลยมาบีบบังคับเอาประเทศเขมรเป็นเมืองขึ้นโดยอ้างว่า ประเทศเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นประเทศญวนมาก่อน บังคับกษัตริย์เขมร คือ องค์สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษมหาอุปราช ทำสัญญากับแม่ทัพใหญ่ของประเทศนั้นผู้ซึ่งมาปกครองประเทศญวน องค์สมเด็จพระนโรดมฯ ได้กราบบังคมทูลชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้นแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างละเอียด (ตามเรื่องที่พิมพ์) และว่า ที่จำต้องลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๐๖ ก็เพราะถูกบีบบังคับ จะทัดทานให้รอฟังคำสั่งจากกรุงเทพ (ประเทศไทย) ก่อนก็ไม่ยอม จำใจจำลงนามให้ แต่ความจงรักภักดียังคงมีอยู่เช่นเดิม และสุดท้ายไทยก็ได้เสียเขมรทั้งประเทศเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๑๐

อนึ่ง เอกสารต่าง ๆ ที่พิมพ์ในคราวนี้ด้วยแสดงให้รู้ว่า ประเทศไทยเป็นผู้ครอบครองดินแดนเขมรมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๙๗๕ สืบมาจนกึงกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นรัชสมัยที่ประเทศไทยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด (ตามแผนที่ที่พิมพ์[1]) พระองค์ก็ได้สถาปนานักพระองค์เอง ราชบุตรบุญธรรม ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองดินแดนเขมรเมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๗ จากเอกสารแต่ละเรื่องที่พิมพ์ไว้