หน้า:2554-4726 (Public Prosecutor v. Tangnopphakun).pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
 (๓๑ ทวิ)
สำหรับศาลใช้
 
ตราครุฑ
ตราครุฑ
– ๑๕ –

หมายเลขอีมี่ของจำเลย แต่กลับได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ศักดิ์ชัย ว่า ขณะจับกุม จำเลยอ้างว่า โทรศัพท์หมายเลขประจำเครื่องหรือหมายเลขอีมี่หมายเลข ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑๖ เสียในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยจำเลยนำไปซ่อมที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล สาขาสำโรง ซึ่งแตกต่างจากที่จำเลยเบิกความ นอกจากนี้ ร้อยตำรวจเอก ศักดิ์ชัย ยังยืนยันว่า จำเลยไม่สามารถนำไปตรวจสอบที่ร้านซ่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวได้ โดยจำเลยอ้างว่า จำร้านซ่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หากจำเลยนำโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าวไปซ่อมจริงตามที่เบิกความ จำเลยน่าจะต้องไปที่ร้านซ่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึงสองครั้ง คือ ครั้งแรก ในการไปส่งซ่อม และครั้งที่สอง ในการไปรับโทรศัพท์คืน จำเลยจึงน่าจะจำร้านซ่อมโทรศัพท์ได้ มิฉะนั้น คงจะไปรับโทรศัพท์เคลื่อนที่คืนไม่ได้ ส่วนที่จำเลยนำสืบอ้างว่า ร้อยละ ๑๐ ของหมายเลขประจำเครื่องหรือหมายเลขอีมี่ไม่เป็นการเฉพาะหรือซ้ำกันได้ตามเอกสารหมาย ล. ๗ แผ่นที่ ๑ เมื่อศาลได้พิจารณาเอกสารดังกล่าวแล้ว เห็นว่า เอกสารดังกล่าวมีการพิมพ์ออกมาจากระบบการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่มีผู้ใดมารับรองความถูกต้องของเนื้อความในเอกสารดังกล่าว จึงไม่อาจตรวจสอบความถูกต้องได้ว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้องน่าเชื่อถือได้หรือไม่ ทั้งความเห็นดังกล่าวก็ยังไม่ปรากฏว่าเป็นที่ยอมรับกันเป็นการทั่วไป (General acceptance) ในหมู่ของนักวิชาการของวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว จึงไม่มีน้ำหนักให้น่ารับฟัง และที่จำเลยนำสืบอ้างว่า จำเลยส่งข้อความไม่เป็น ทั้งไม่ทราบว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๑๔๒๕๕๕๙๙ เป็นของผู้ใด และจำเลยไม่เคยนำซิมการ์ดหมายเลขอื่นมาใช้กับโทรศัพท์หมายเลขประจำเครื่องหรือหมายเลขอีมี่

/หมายเลข