หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/18

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
2. องคมนตรีสภา

ตาม อรรถกถาฯ ของอิโต[1] องคมนตรีสภาเป็น "คณะที่ปรึกษาสูงสุดตามรัฐธรรมนูญสำหรับจักรพรรดิ"[2] ทั้งเป็น "เครื่องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญและกฎหมาย" และด้วยอำนาจหน้าที่ของตนแล้ว สภานี้มีหน้าที่ต้อง "จงรักภักดีและตรงไปตรงมาอย่างที่สุดในการถวายคำแนะนำต่อจักรพรรดิ" สภานี้ย่อมสูงกว่าคณะรัฐมนตรี เพราะอาจมีการขอคำแนะนำของสภานี้ในเรื่องการจัดองค์กรของคณะรัฐมนตรีได้ อนึ่ง จักรพรรดิอาจทรงส่งมาตรการทุกอย่างของคณะรัฐมนตรีไปให้สภานี้พิจารณา ไม่ว่าก่อนหรือหลังคณะรัฐมนตรีเสนอมาตรการเหล่านี้ต่อสภานิติบัญญัติก็ดี หรือหลังจากมาตรการเหล่านี้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้วก็ดี ดังนั้น องคมนตรีสภาจึงเป็นคณะบุคคลที่มีอิทธิพลจนการเป็นสมาชิกสภานี้ได้รับพรรณนาไว้ว่า เป็นเกียรติยศใหญ่หลวงนัก กระนั้น ต้องขอกล่าวด้วยความเสียใจว่า บางทีก็มีผู้จัดหาที่เหมาะที่ควรไว้ให้องคมนตรีสภา อันเป็นที่ที่บุคคลสำคัญซึ่งควรต้องได้รับการเอาใจใส่นั้นจะถูกส่งไปเข้ากรุ และรัฐมนตรีที่รวมกันเป็นคณะรัฐมนตรีนั้นก็มีที่นั่งโดยตำแหน่งอยู่ในองคมนตรีสภา และโดยลำพังรัฐมนตรีเหล่านี้ก็พอจะเป็นองค์ประชุม 10 คนแล้ว

องคมนตรีสภามีสิทธิ์มีเสียงในการถวายคำแนะนำต่อสภาราชวงศ์ในเรื่องสำคัญทั้งหลาย เช่น การเปลี่ยนแปลงลำดับการสืบราชบัลลังก์ และการเลือกผู้สำเร็จราชการในกรณีที่จักรพรรดิทรงพระเยาว์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จักรพรรดิจะทรงปรึกษากับองคมนตรีสภาในยามที่มีวิกฤตการณ์ทางการเมืองก็ได้ คณะรัฐมนตรีนั้นเป็น "คณะเจ้าพนักงานชั้นผู้ใหญ่ในฝ่ายบริหาร" ส่วนองคมนตรีสภานั้นเป็น "คณะที่ปรึกษาหารืออันประกอบด้วยที่ปรึกษาชั้นผู้ใหญ่ในทางกฎหมายสำหรับองค์อธิปัตย์" อิโตเสนอว่า "สภานี้จะเป็นที่ประจักษ์อย่างแน่นอนว่า เป็นชิ้นส่วนสำคัญในกลไกทางรัฐธรรมนูญ"[3] การที่อำนาจองคมนตรีสภามีวิวัฒนาการขึ้นทีละน้อยนั้นเป็นลักษณะเด่นที่ควรสังเกตที่สุดของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นทีเดียว แต่กลับกัน ผู้เชื่อถือในสถาบันประชาชนย่อมเห็นว่า องคมนตรีสภา 

  1. Ito, H. (1889). Commentaries on the Constitution of the Empire of Japan. Tokyo: Igirisu-Hōritsu Gakko. OCLC 1412618.  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. Op. cit., p. 98.
  3. Ibid.
(330)