หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/45

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
6. ฝ่ายตุลาการ

ในหัวเรื่องกิจการตุลาการ รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นมีกล่าวถึงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับส่วนอื่น และก็เป็นแต่ถ้อยคำกว้าง ๆ ยิ่งนัก ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การมิให้ระบบตุลาการถูกจำกัดอย่างเคร่งครัดด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ตายตัวนั้นดีที่สุด เป็นการรอบคอบแล้วที่เพียงแต่ลง "เนื้อหากว้าง ๆ อันสร้างความแพรวพราว" แล้วปล่อยรายละเอียดขององค์กรเอาไว้ในตัวบทที่ยืดหยุ่นกว่า มาตรา 57 ว่าดังนี้

"ให้ศาลยุติธรรมดำเนินกิจการตุลาการไปตามกฎหมาย[และ]ในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิ การจัดองค์กรของศาลยุติธรรมนั้น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด"

อิโต[1] อธิบายเรื่องนี้ไว้ในข้อความต่อไปนี้

"องค์อธิปัตย์ทรงเป็นแหล่งที่มาของความยุติธรรม และอำนาจทางตุลาการของพระองค์นั้นก็มิใช่ใดอื่นนอกจากอำนาจอธิปไตยที่สำแดงออกมาในรูปแบบหนึ่ง ฉะนั้น คำพิพากษาย่อมประกาศออกมาในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิ อำนาจตุลาการในแง่นี้เป็นตัวแทนของพระองค์ใน[การใช้]อำนาจอธิปไตยอันเป็นของพระองค์"[2]

ส่วนที่เกี่ยวกับตุลาการนั้น มีบัญญัติไว้เพียงว่า

"ให้แต่งตั้งตุลาการจากบรรดาผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกฎหมาย การถอดตุลาการจากตำแหน่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่ด้วยคำพิพากษาอาญาหรือการลงโทษทางวินัย หลักเกณฑ์ในการลงโทษทางวินัยนั้น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด"[3]

อิโตให้คำอธิบายไว้ว่า

"เพื่อธำรงความเป็นกลางและเป็นธรรมในการพิจารณาคดี ตุลาการพึงอยู่ในสถานะที่เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงอำนาจ และไม่ควรไขว้เขวไปด้วยผลประโยชน์ของผู้ทรงอิทธิพลหรือความร้อนแรงแห่งข้อโต้เถียงทางการเมือง"[4]

ซาโต[5] ได้ชวนให้ดูเหตุการณ์ตัวอย่างอันโดดเด่นเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกี่ยวกับ

  1. Ito, H. (1889). Commentaries on the Constitution of the Empire of Japan. Tokyo: Igirisu-Hōritsu Gakko. OCLC 1412618.  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. Op. cit., p. 101.
  3. มาตรา 58
  4. Op. cit., p. 105.
  5. Op. cit., pp. 45, 46.
(355)