หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/56

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
10. บทสรุป

การทำให้แน่ใจว่า สิ่งใดที่เราพอจะสรุปและอนุมานได้จากเรื่องที่บันทึกไว้ข้างต้นนี้ ย่อมเป็นการสมควรอย่างแน่แท้ ในขั้นแรก ค่อนข้างแน่ชัดว่า เมื่อเราเขียนถึงรัฐบาลในญี่ปุ่น ควรจะใช้ "จี" ใหญ่[1] ในเรื่องการปกครองนั้น ไม่มีจุดใดที่เล็กน้อยหรืออ่อนด้อย ไม่ว่าในระดับชาติ ระดับมณฑล ระดับเทศบาล หรือระดับไหน ๆ เรื่องทั้งหมดมีหัวใจอยู่ที่การปกครองระดับชาติในโตเกียว เป็นเรื่องของการรวมศูนย์อำนาจ เป็นเรื่องรูปแบบการปกครองที่มุ่งตรงสู่ศูนย์กลาง เป็นเรื่องที่ถูกดึงดูดไว้รอบ ๆ และไปสู่พระราชวังในโตเกียว การที่ดอกเตอร์ ดับเบิลยู. อี. กริฟฟิส ตั้งชื่องานเขียนชิ้นสำคัญเกี่ยวกับญี่ปุ่นชิ้นแรกของเขาว่า จักรวรรดิของมิกาโดะ[2] ก็สมเหตุสมผลดี เพราะจักรวรรดินั้นเป็นของจักรพรรดิ และการที่ดอกเตอร์กริฟฟิสตั้งชื่องานชิ้นล่าสุดของตนว่า มิกาโดะ ก็สมเหตุสมผลดุจเดียวกัน หนังสือชื่อ ญี่ปุ่นถึงอเมริกา ที่นายนาโออิจิ มาซาโอกะ รวบรวมขึ้น และพัตนัมส์เผยแพร่ (เมื่อปี 1914) มีงานไม่กี่หน้า (หน้า 100–103) ว่าด้วย "ลัทธิมิกาโดแบบมุ่งตรงสู่ศูนย์กลาง" ซึ่งนายอิเอจิโระ โทกูโตมิ ร่วมเขียน คนผู้นี้เป็นบรรณาธิการผู้มากความสามารถแห่ง โคกูมิงชิมบุง ที่โตเกียว เราขอยกถ้อยคำบางส่วนของนายโทกูโตมิมาลงไว้ตรงนี้ว่า

"แต่ระบอบจักรพรรดิของเรา ระบอบประชาธิปไตยของเรา ระบอบสังคมนิยมของเรา ทั้งหมดนี้ล้วนมีหัวใจอยู่ที่หลักการประการเดียว ซึ่งก็คือ "ระบอบมิกาโดะแบบมุ่งตรงสู่ศูนย์กลาง" ดังที่เราพรรณนาไว้และให้การสนับสนุนไว้ ครั้งหนึ่งโรมเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมัน อันก่อให้เกิดภาษิตว่า "ถนนทุกสายมุ่งสู่โรม" ทำนองเดียวกัน มิกาโดะทรงเป็นศูนย์กลางของชาติเรา เมื่อมองในฐานะองค์กรทางการเมือง องค์กรนั้นย่อมมีพระองค์เป็นองค์อธิปัตย์ เมื่อมองในฐานะเชื้อชาติอันเจาะจง เชื้อชาตินั้นก็มีพระองค์เป็นประมุข เมื่อมองในฐานะประชาคมทางสังคม ประชาคมนั้นก็มีพระองค์เป็นแกนกลาง ดังนั้น เมื่อข้าพเจ้ากล่าวว่า ระบอบทั้งสิ้นทั้งปวงของชาวเรานั้น จะระบอบสังคม ระบอบเชื้อชาติ และระบอบการเมืองก็ตาม ย่อมรวมอยู่ใน เกี่ยวพันกับ และโยงใยถึง "ระบอบมิกาโดะแบบมุ่งตรงสู่ศูนย์กลาง" นี้ จะมีใครเล่าที่โต้แย้งข้าพเจ้าได้?"

และเขาว่า "การปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ในทางสังคมและเศรษฐกิจ" ของญี่ปุ่นนั้น เป็นผลมาจาก "กระบวนการที่เกิดขึ้นเอง" ของ "ระบอบมิกาโดแบบมุ่งตรงสู่ศูนย์กลาง" อันนั้น

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งอนุมานได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ ธรรมเนียมมีอำนาจมากกว่ากฎหมาย หรือถ้าจะแสดงแนวคิดนี้ออกมาในอีก

  1. หมายถึงในฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งเขียนเป็น "Government" กับ "government" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. "มิกาโดะ" เป็นคำเรียกขานจักรพรรดิญี่ปุ่น ดู 御門 (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
(366)