หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/57

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
47
บทสรุป

ทางหนึ่งก็จะได้ว่า การที่กฎหมายใหม่ ๆ จะสถาปนาตนเองขึ้นโดยขัดกับธรรมเนียมเก่า ๆ ได้นั้นย่อมใช้เวลานาน ระบบเจ้าขุนมูลนายได้ฝังรากลงอย่างแข็งแรงในญี่ปุ่น แม้เมื่อถูกล้มล้างไปโดยนิตินัยแล้ว โดยพฤตินัยก็ยังคงอยู่ต่อไปในสิ่งตกค้างอีกมากมายที่ตายยากตายเย็น เป็นความจริงที่ปวงประชาเรียกร้องกันอย่างแข็งขันให้มีสถาบันผู้แทนปวงชนมากขึ้น แต่ก็เป็นความจริงเหมือนกันที่ประชาชนกลุ่มใหญ่ดูจะพอใจกับสภาพซึ่งเป็นอยู่อย่างเดิมและในจิตวิญญาณแล้วค่อนข้างจะยอมจำนนง่ายดาย พวกเขายังคงทนต่อการที่ทางราชการเฝ้าสอดส่องดูแล และให้ความยำเกรงต่อองค์กรราชการ พวกเขาถอดหมวกเมื่อพูดจากับตำรวจ สิ่งตกค้างจากระบอบอำนาจสมบูรณ์อาจเห็นได้ในการที่มีแนวโน้มจะก่อตั้งหน่วยงานผูกขาดของรัฐบาลและจะแปรอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เป็นของชาติ สิ่งตกค้างจากระบอบเจ้าขุนมูลนายนั้นปรากฏชัดเจนในระบบพรรคการเมือง ซึ่งยังเต็มไปด้วยการเล่นพรรคเล่นพวก และความภักดีต่อตัวบุคคลที่แรงกล้ากว่าความซื่อตรงต่อหลักการ

ข้อสรุปอีกข้อหนึ่งซึ่งอาจจะได้รับ คือว่า สิ่งที่เกิดในนามอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเสมอไป ชาวญี่ปุ่นพูดกันเป็นสามัญว่า "ยูเมมูจิตสึ" แปลตรงตัวว่า "มีแต่ในนาม ไม่มีตามความเป็นจริง"[1] บางอย่างอาจเป็นเช่นนั้นแต่ในนาม แต่มิใช่ในความเป็นจริง ในนามเป็นเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงมิใช่เช่นนั้น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่บางคนใช้วิพากษ์วิจารณ์ระบบการเมืองญี่ปุ่นในปัจจุบันว่า เป็นลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมแต่ชื่อ แต่ที่จริงแล้วมิใช่ ข้อนี้ก็อาจจริงในระดับหนึ่ง ขั้นตอนทางการเมืองอย่างเดียวกันอาจไม่สื่อถึงสิ่งเดียวกันในทุกประเทศ แต่สภาพการมีอยู่แต่ในนามนี้ก็ยังมีอีกขั้นตอนหนึ่ง ในทฤษฎีและในนามแล้ว รัฐบาลกลางมีอำนาจความคุมการปกครองแต่ละจังหวัดเป็นต้น โดยจักรพรรดิทรงตั้งผู้ว่าการแต่ละจังหวัด และรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในมีอำนาจหน้าที่ยุบสมัชชาจังหวัด แต่รัฐมนตรีมิได้ใช้อำนาจหน้าที่นี้บ่อย ๆ ทั้งรัฐมนตรีและผู้ว่าการเอง แม้จะเป็นข้าราชการส่วนกลาง แต่ก็เลือกที่จะเคารพความคิดเห็นสาธารณะในท้องถิ่นเมื่อว่าด้วยเรื่องกิจการท้องถิ่น

ทีนี้ หันมาสนใจกฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่กันสักหน่อยก็คงไม่ไร้ประโยชน์เสียทีเดียว กระบวนการนั้นยังดูยุ่งเหยิงและยืดยาวอยู่บ้าง จึงทำให้ยังต้องประชุมกับข้าราชการหลายส่วนอีกหลายครั้ง ในขั้นแรก ข้าราชการกลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนน ขั้นที่สอง ข้าราชการกลุ่มเดิมหรือกลุ่มใหม่จะเป็นผู้นับคะแนน และขั้นที่สาม 

  1. ดู 有名無実 (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
(367)