อรรถกถา กโรโตสูตร
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
- อรรถกถากโรโตสูตรที่ ๖
- บทว่า กโรโต คือ ทำด้วยมือของตนเอง.
- บทว่า การยโต คือ ให้เขาทำตามคำสั่ง (ใช้ให้ทำ).
- บทว่า ฉินฺทโต คือ ตัดอวัยะทั้งหลาย มีมือเป็นต้น ของบุคคลอื่น.
- บทว่า เฉทาปยโต คือ เบียดเบียนด้วยอาชญา.
- บทว่า โสจยโต ความว่า ทำความเศร้าโศกแก่บุคคลอื่นเองก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี ด้วยทุจริตกรรม มีลักของของบุคคลอื่นไปเป็นต้น.
- บทว่า กิลมโต ความว่า ทำตัวเองให้ลำบากก็ดี ทำผู้อื่นให้ลำบาก
ก็ดี ด้วยการงดให้อาหาร และการถูกกักขังในเรือนจำเป็นต้น.
- บทว่า ผนฺทโต ผนฺทาปยโต ความว่า ในเวลาเบียดเบียน
บุคคลอื่นผู้ดิ้นรนอยู่ ชื่อว่าทั้งทำตัวเองให้ดิ้นรน ทั้งทำให้บุคคลอื่น
แม้นั้นดิ้นร้นด้วย.
- บทว่า ปาณมติปาตาปยโต ความว่า ฆ่าสัตว์เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่น
ฆ่าก็ดี.
- ในทุกๆบท ก็พึงทราบความหมาย ด้วยอำนาจเหตุแห่งการ
กระทำอย่างนี้แล.
- บทว่า สนฺธึ ได้แก่ ที่ต่อของเรือน.
- บทว่า นิลฺโลปํ ได้แก่ การปล้นสะดมใหญ่.
- บทว่า เอกาคาริกํ ได้แก่ การล้อมเรือนหลังเดียวแล้วปล้น.
- บทว่า ปริปนฺเถ ได้แก่ ดักอยู่ที่ทางหลวง เพื่อตีชิงผู้คนที่ผ่าน
ไปผ่านมา
- ด้วยบทว่า กรโต น กรียติ ปาปํ อกิริยวาทีบุคคลทั้งหลาย
ย่อมแสดงว่า เมื่อบุคคลแม้ทำอยู่ด้วยความสำคัญว่า เราทำบาปอย่างใด
อย่างหนึ่ง บาปก็ไม่เป็นอันทำ บาปไม่มี เป็นแต่ว่าสัตว์ทั้งหลายมีความ
สำคัญอย่างนี้ว่า เราทำ.
- บทว่า ขุรปริยนฺเตน ความว่า ด้วยคมมีดโกน หรือด้วยปลาย
(ที่คม) เช่นกับคมมีดโกน.
- บทว่า เอกํ มํสขลํ ได้แก่ กองเนื้อกองเดียวกัน.
- บทว่า ปุญฺชํ เป็นไวพจน์ ของบทว่า มํสขลํ นั้นนั่นแล.
- บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ มีการทำให้เป็นลานเนื้อเดียวกันเป็นเหตุ.
- บทว่า ทกฺขิณํ ความว่า มนุษย์บนฝั่งขวาเป็นคนโหดร้ายทารุณ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอามนุษย์เหล่านั้น จึงตรัสคำว่า หนนฺโต
เป็นต้น. มนุษย์บนฝั่งซ้าย เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นพุทธมามกะ
ธรรมมามกะ สังฆมามกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอามนุษย์
เหล่านั้น จึงตรัสคำว่า ททนฺโต เป็นต้น.
- บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชนฺโต ได้แก่ ทำการบูชาใหญ่.
- บทว่า ทมน คือ ด้วยการฝึกอินทรีย์ ได้แก่ ด้วยอุโบสถกรรม.
- บทว่า สํยเมน คือ ด้วยการรักษาศีล.
- บทว่า สจฺจวชฺเชน คือ ด้วยการกล่าวคำสัตย์.
- บทว่า อาคโม แปลว่า การมา อธิบายว่า ความเป็นไป.
- อกิริยวาทีบุคคล ปฏิเสธการทำบุญและบาปอย่างสิ้นเชิง.
- จบ อรรถกถากโรโตสูตรที่ ๖