อรรถกถา คณกโมคคัลลานสูตร
- อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร
- คณกโมคคัลลานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
- พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ยาว ปจฺฉิมา
โสปานกเฬวรา ได้แก่ จนกระทั่งพื้นบันไดขั้นแรก. พราหมณ์แสดง
ว่า ปราสาท ๗ ชั้น ไม่อาจสร้างได้เพียงวันเดียวแต่ปรากฏการกระทำโดยลำ-
ดับ (ขั้นตอน) เริ่มแต่การแผ้วถางพื้นที่แล้วยกตั้งเสา จนกระทั่งเขียนภาพ
จิตรกรรม ในปราสาทนั้น. ด้วยบทว่า ยทิทํ อชฺเฌเน พราหมณ์แสดงว่า
พระเวทแม้ทั้ง ๓ ก็ไม่อาจเล่าเรียนได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในการเล่า
เรียนพระเวทเหล่านั้น ก็ย่อมปรากฏการกระทำโดยลำดับเช่นเดียวกัน. ด้วย
บทว่า อิสฺสตฺเถ พราหมณ์แสดงว่า แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธ ขึ้นชื่อว่านัก
แม่นธนู ก็ไม่อาจทำได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธนี้ย่อม
ปรากฏการกระทำโดยลำดับ โดยการจัดแจงสถานที่และทำเป้า (สำหรับยิง)
เป็นต้น. บทว่า สงฺขาเน ได้แก่ โดยการนับ. ในข้อนั้น เมื่อแสดงการ
กระทำโดยลำดับด้วยตัวเอง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พวกข้าพระองค์ให้นับ
อย่างนี้.
- ในคำที่ว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ นี้ เพราะเหตุที่คนทั้งหลายเรียน
ศิลป ในลัทธิภายนอก โดยประการใดๆ ย่อมกลายเป็นคนเกเรไปโดยประการ
นั้น ๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วย
ลัทธิภายนอก หากทรงเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยแสนรู้ จึงตรัสว่า เสยฺยถา-
ปิ ดังนี้เป็นต้น. อันม้าอาชาไนยแสนรู้ถูกเขาฝึกในเหตุใด ย่อมไม่ละเมิด
เหตุนั้น แม้เหตุแห่งชีวิตฉันใด กุลบุตรผู้ปฏิบัติชอบในพระศาสนา ย่อมไม่
ล่วงละเมิดขอบเขตแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า มุขาธาเน แปลว่า
ที่เก็บปากม้า (บังเหียน)
- บทว่า สติสมฺปชญฺญาย ได้แก่เพื่อประโยชน์คือความพร้อมเพรียง
ด้วยสติสัมปชัญญะทั้งหลาย. ก็เหล่าพระขีณาสพ มี ๒ พวกคือ สตตวิหารี และ
โนสตตวิหารี ในพระขีณาสพ ๒ พวกเหล่านั้น พระขีณาสพผู้สตตวิหารี แม้
กระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเข้าผลสมาบัติได้. ส่วนพระขีณาสพ
ผู้เป็นโนสตตวิหารี เป็นผู้ขวนขวายกิจในกิจการมีประมาณเล็กน้อย ก็ไม่อาจ
แนบสนิทผลสมาบัติได้ ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง ได้ยินว่า
พระขีณาสพองค์หนึ่ง พาสามเณรขีณาสพองค์หนึ่งไปอยู่ป่า. ในการอยู่ป่านั้น
เสนาสนะตกถึงพระมหาเถระ ไม่ถึงสามเณร. พระเถระวิตกถึงเรื่องนั้น ไม่
อาจทำแนบสนิทผลสมาบัติได้แม้แต่วันเดียว. ส่วนสามเณรทำเวลาทั้ง ๓ เดือน
ให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติ ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ การอยู่
ป่าเป็นความสบายหรือ ? พระเถระกล่าวว่า ไม่เกิดความสบายดอกเธอ. ดัง
นั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า พระขีณาสพแม้เห็นปานนั้น อาจเข้าสมาบัติได้โดย
นึกถึงธรรมเหล่านี้ ตั้งแต่ตอนต้นทีเดียว จึงตรัสว่า สติสมฺปชญฺญาย จ
ดังนี้.
- บทว่า เยเม โภ โคตม ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระตถาคตกำลัง
ตรัสอยู่นั่นแล นัยว่า บุคคลเหล่านี้ย่อมไม่สำเร็จ ดังนี้ เกิดขึ้นแก่พราหมณ์
เมื่อจะแสดงนัยนั้น จึงเริ่มกล่าวอย่างนี้.
- บทว่า ปรมชฺชธมฺเมสุ ความว่า ธรรมของครูทั้ง ๖ ชื่อว่าธรรม
อย่างแพะ และวาทะของพระโคดมสูงสุดอย่างยิ่งในธรรมเหล่านั้น. คำที่เหลือ
ในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
- จบ อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตรที่ ๗