อรรถกถา ติสสสูตร (สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค)
- อรรถกถาติสสสูตรที่ ๒
- พึงทราบวินิจฉัยในติสสสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :
- พระติสสเถระ
- บทว่า มธุรกชาโต วิย ความว่า (ร่างกายของผม) ไม่เหมาะ
แก่การงาน (ไม่คล่องตัว) เหมือนเกิดมีภาระหนัก.
- บทว่า ทิสาปิ ความว่า ท่านพระติสสะกล่าวว่า แม้ทิศทั้งหลาย
ก็ไม่ปรากฏ คือไม่แจ่มแจ้งแก่ผมอย่างนี้ว่า นี้ทิศตะวันออก นี้ทิศใต้.
- บทว่า ธมฺปาปิ มํ น ปฏิภนฺติ ความว่า ท่านพระติสสะกล่าวว่า
แม้ปริยัติธรรมทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏแก่ผม สิ่งที่เรียนได้แล้ว สาธยาย
ได้แล้ว ก็ไม่ปรากฏ (ลืมหมด).
- บทว่า วิจิกิจฺฉา ความว่า ไม่ใช่ วิจิกิจฉา (ความสงสัย)
อย่างสำคัญ เนื่องจากว่า ท่านไม่เกิดความสงสัยว่า "ศาสนานำสัตว์
ออกจากทุกข์ได้หรือไม่หนอ" แต่ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจัก
สามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้หรือหนอ หรือจักทำได้แต่เพียง
ครองบาตรและจีวรเท่านั้น "(ปาฐะว่า ปตฺตจีวรํ ธรายนมตฺตเมว
เชิงอรรถเป็น ปตฺตจีวรธารณมตฺตเมว แปลว่าตามเชิงอรรถ)
- กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย
- บทว่า กามานเมตํ อธิวจนํ ความว่า เมื่อบุคคลมองดูสระน้อย
ที่ลาดลุ่ม มีแต่เพียงน่าดู น่ารื่นรมย์ แต่ (ถ้า) บุคคลใดลงไปใน
สระน้อยที่ลาดลุ่มนี้ สระนั้นก็จะฉุดลากผู้นั้นให้ถึงความพินาศ
(ปาฐะว่า ปาเปนฺติ เชิงอรรถและฉบับพม่าเป็น ปาเปติ แปลตามนัยหลัง)
เพราะ สระน้อยนั้นมีปลาดุชุกชุม ฉันใด ในกามคุณ ๕ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ)
ทวารทั้งหลายมีจักษุทวารเป็นต้น(ปาฐะว่า จกฺขุทฺวาราทีนิ
ฉบับพม่าเป็น จกฺขุทฺวาราทีนํ แปลตามฉบับพม่า) มีแต่เพียงความน่ารื่นรมย์ ใน
เพราะ (เห็น) อารมณ์ (เป็นต้น) แต่ (ถ้า) บุคคลใด ติดใจในกามคุณ ๕ นี้
มันก็จะลากจูงบุคคลนั้นไปยัดใส่ในทุคคติภูมิ มีนรกเป็นต้น นั่นแล.
เพราะว่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามเหล่านี้ มีโทษยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย
อำนาจประโยชน์ดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า กามานเมตํ อธิวจนํ.
- บทว่า อหมนุคฺคเหน ความว่า เราตถาคตจะอนุเคราะห์ด้วย
การอนุเคราะห์ด้วยธรรมและอามิส.
- บทว่า อภินนฺทิ คือรับเอา และไม่ใช่แค่รับเอาอย่างเดียว
(เท่านั้น) ยังชื่นชมด้วย.
- ก็ท่านพระติสสะ ได้รับการปลอบใจจากสำนักพระศาสดานี้แล้ว
พากเพียรพยายามอยู่ไม่กี่วัน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์.
- จบ อรรถกถาติสสสูตรที่ ๒