อรรถกถา ทุติยญาณวัตถุสูตร
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
- อรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔
- พึงทราบวินิจฉัยในทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔ ต่อไป.
- บทว่า สตฺตสตฺตริ แปลว่า เจ็ด และเจ็ดสิบ คือ ๗๗. กล่าวกันว่า
ภิกษุเหล่านั้นผู้กล่าวพยัญชนะ เมื่อมีผู้กล่าวเพิ่มพยัญชนะมากขึ้น ก็สามารถ
แทงตลอดได้. เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตาม
อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น. บทว่า "ธมฺาฏฺฐิติญานํ ธรรมฐิติญาณ"
คือความรู้ในปัจจยาการ ก็ปัจจยาการท่านเรียกว่า ธรรมฐิติ เพราะเป็นเหตุ
ของปวัตติฐิติแห่งธรรมทั้งหลาย. ญาณในธรรมฐิตินี้ ชื่อว่า ธรรมฐิติญาณ.
คำว่าธรรมฐิติญาณนี้เป็นชื่อของญาณ ๖ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า
ขยธมฺมํ คือถึงความสิ้นไปเป็นสภาวะ. บทว่า วยธมฺมํ คือถึงความเสื่อม
ไปเป็นสภาวะ. บทว่า วิราคธมฺมํ คือถึงความคลายกำหนัดเป็นสภาวะ.
บทว่า นิโรธธมฺมํ คือถึงความดับเป็นสภาวะ. คำว่า สตฺตสตฺตริ อธิบาย
ว่า ใน ๑๑ บท แบ่งเป็นบทละ ๗ จึงรวมเป็น ๗๗. การบรรลุวิปัสสนา
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อวิปัสสนาในพระสูตรนี้.
- จบอรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔