อรรถกถา ทุติยปาสสูตร
- อรรถกถาทุติยปาสสูตร
- พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ ๕ ต่อไป:-
- บทว่า มุตฺตาหํ แปลว่า เราพ้นแล้ว. สูตรต้นตรัสภายในพรรษา
ส่วนสูตรนี้ ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว. บทว่า จาริกํ ได้แก่
จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง.
บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อ
ไปทางเดียวกัน ๒ รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่ง ก็จำต้องยืนนิ่ง
เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
- บทว่า กลฺยาณํ ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญ
ในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่า เบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดนี้มี ๒ คือ ศาสนาและเทศนา. ใน ๒ อย่างนั้น ศีล เป็นเบื้องต้น
ของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีก
นัยหนึ่ง ศีล และสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผล
นิพพานเป็นที่สุด อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง
ผลนิพพานเป็นที่สุด. ส่วนเทศนา สำหรับคาถา ๔ บทก่อน บทที่ ๑ เป็น
เบื้องต้น บทที่ ๒-๓ เป็นท่ามกลาง บทที่ ๔ เป็นที่สุด สำหรับ ๕ บท
หรือ ๖ บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง.
สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น. คำนิคมลงท้าย
ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ
มาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น
คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.
- บทว่า สาตฺถํ ได้แก่ แสดงให้พร้อมอรรถ. บทว่า สพฺยญฺชนํ
ได้แก่ จงแสดงให้บริบูรณ์ด้วยพยัญชนะและบท. บทว่า เกวลปริปุณฺณํ
แปลว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนาพรหมจรรย์ที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. บทว่า
ปกาเสถ ได้แก่ กระทำให้แจ้ง.
- บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่มีสภาพธุลี คือกิเลสน้อย ใน
จักษุคือปัญญา อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถา
๔ บท ประหนึ่งปิดไว้ด้วยม่านผ้าเนื้อละเอียด มีอยู่. บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า
เพราะไม่ได้ฟังธรรม. บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมจากธรรม โดย
ไม่เสื่อมจากลาภ. บทว่า เสนานิคโม ได้แก่ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในโอกาสที่ตั้ง
กองทัพของเหล่ามนุษย์ต้นกัป อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านเสนานิคมของ .
บิดานางสุชาดา. บทว่า เตนุปสงฺกมิสฺสามิ ความว่า เราส่งพวกเธอไป
ให้สร้างสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ถูกพวกอุปัฏฐากเป็นต้น บำเรออยู่หามิได้.
แต่เราครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์ ๑,๕๐๐ แก่ชฏิลสามพี่น้องแล้วเข้าไปก็เพื่อ
แสดงธรรมอย่างเดียว. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณ
โคดมนี้ ส่งพระภิกษุ ๖๐ รูปไปด้วยกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒
รูป จงแสดงธรรม ประหนึ่งทำการรบใหญ่ ก็เมื่อพระสมณโคดมนี้แม้องค์
เดียวแสดงธรรมอยู่ เรายังไม่มีความสบายใจเลย เมื่อภิกษุเป็นอันมากแสดง
อยู่อย่างนี้ เราจักมีความสบายใจได้แค่ไหนเล่า จำเราจักห้ามกัน พระสมณโคดม
นั้นเสีย ดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้า.
- จบอรรถกถาทุติยปาสสูตรที่ ๕