อรรถกถา ธชัคคสูตร
- อรรถกถาธชัคคสูตร
- พึงทราบวินิจฉัยในธชัคคสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-
- บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห คือ ประชุมกัน รวมกันเป็นกอง. บทว่า
ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า รถของท้าวสักกะยาว ๑๕๐ โยชน์
ตอนท้ายรถนั้น ๕๐ โยชน์ ตอนกลางเป็นตัวรถ ๕๐ โยชน์ ตั้งแต่ฝากถึงหัวรถ
๕๐ โยชน์. อาจารย์บางคนขยายประมาณนั้นเป็น ๒ เท่า กล่าวว่า ยาว ๓๐๐
โยชน์บ้าง. ในรถนั้นปูลาดแท่นนั่งได้โยชน์หนึ่ง ตั้งฉัตรขาวขนาด ๓ โยชน์
ไว้ข้างบน. ที่แอกอันเดียวกันเทียมม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เครื่องตกแต่งที่เหลือ
ไม่มีประมาณ. ก็ธงของรถนั้นยกขึ้น ๒๕๐ โยชน์. ธงที่ถูกลมพัดก็มีเสียงเจื้อยแจ้ว
คล้ายดุริยางค์ทั้ง ๕ ท้าวสักกะตรัสว่า พวกเธอจงดูธงนั้น. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อเทวะเห็นธงนั้น คิดว่า พระราชาของเรามายืน
อยู่ในที่ท้ายบริษัท เหมือนเสาที่เขาปักไว้ เราไม่กลัวใคร ดังนี้ จึงไม่กลัว.
บทว่า ปชาปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวปชาปตินั้น มีผิวพรรณเหมือน
กับท้าวสักกะ มีอายุเท่ากันได้ที่นั่งที่ ๒. ถัดมาก็ท้าววรุณและท้าวอีสาน ก็แล
ท้าววรุณได้ที่นั่งที่ ๓ ท้าวอีสานได้ที่นั่งที่ ๔. บทว่า ปลายิ ความว่า แพ้
พวกอสูรแล้วยืนที่รถนั้น หรือเห็นธงแม้มีประมาณน้อยก็มีความหนีไปเป็น
ธรรมดา.
- บทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีเนื้อความพิสดารแล้วในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค บทว่า อิทมโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธชัคค-
ปริตนี้. อานุภาพของปริตรใดย่อมเป็นไปในอาณาเขต คือ ในแสนโกฏิจักรวาล.
จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายนึกถึงปริตรนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ มียักขภัยและโจรภัยเป็นต้น
ไม่มีจำนวนสิ้นสุด. ความสงบจากทุกข์อื่นจงยกไว้. จริงอยู่ ผู้มีจิตเลื่อมใส
แล้วนึกถึงปริตรนี้ย่อมไดที่พึ่งแม้ในอากาศ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังนี้.
- ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังฉาบปูนขาวที่ทีฆวาปีเจดีย์ ชายหนุ่มคนหนึ่ง
ตกจากเชิงเวทีชั้นบนลงมาในโพรงพระเจดีย์. ภิกษุสงฆ์ยืนอยู่ข้างล่าง จึง
กล่าวว่า นึกถึงธชัคคปริตซิคุณ. เขาตกใจ กลัวตาย จึงกล่าวว่า ธชัคคปริตร
ช่วยผมด้วย ดังนี้. อิฐ ๒ ก้อนหลุดจากโพรงเจดีย์ตั้งเป็นบันไดให้เขาทันที.
คนทั้งหลายก็หย่อนบันไดเถาวัลย์ที่อยู่ข้างบน. อิฐที่บันไดนั้น ก็ตั้งอยู่ตามเดิม.
- จบอรรถกถาธชัคคสูตรที่ ๓