อรรถกถา นัตถิทินนสูตร
- อรรถกถานัตถิทินนสูตรที่ ๕
- ในบทว่า นตถิ ทินฺนํ เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-
- ด้วยบทว่า นตฺถิ ทินฺนํ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายกล่าว
หมายถึงว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล.
- การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏฐะ. ในบทว่า หุตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประสงค์เอาลาภสักการะมาก. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย ปฏิเสธ
บุญกรรมทั้งสองอย่างนั้น โดยหมายเอาว่า. ไม่มีผลเลย.
- บทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ ได้แก่ แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่ว อธิบาย
ว่า แห่งกุศลกรรม และอกุศลกรรมทั้งหลาย.
- บทว่า ผลํ วิปาโก ความว่า สิ่งใดที่เรียกว่า ผล หรือวิบาก
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมกล่าวสิ่งนั้นว่า ไม่มี.
- บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก ความว่า โลกนี้สำหรับผู้อยู่ในปรโลก ไม่มี.
- บทว่า ปรโลโก ความว่า โลกอื่น สำหรับผู้ที่อยู่ในโลกนี้ ก็ไม่มี.
อุจเฉทวาทีบุคคล ย่อมแสดงว่า สรรพสัตว์ย่อมขาดสูญ ในโลกนั้นนั่นแล.
- อุจเฉทวาทีบุคคล กล่าวว่า นตฺถิ มาตา ปิตา (มารดาไม่มี
บิดาไม่มี) ดังนี้ เป็นเพราะ (เขาถือว่า) ไม่มีผล การปฏิบัติชอบ และ
การปฏิบัติผิดในมารดาบิดาเหล่านั้น.
- อุจเฉทวาทีบุคคลกล่าวว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา (สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เป็นโอปปาติกะไม่มี) ดังนี้ เพราะความเชื่อว่า ชื่อว่าสัตว์ที่จุติแล้ว
จะอุบัติขึ้น (อีก) ไม่มี.
- บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ความว่า เกิดมาจากมหาภูตรูป ๔
- บทว่า ปฐวี ปฐวีกาย ได้แก่ ปฐวีธาตุ ภายใน (ไปเป็น) ปฐวี
ธาตุภายนอก.
- บทว่า อนุเปติ แปลว่า เข้าถึง. บทว่า อนุปคจฺฉติ เป็นไวพจน์ของ
บทว่า อนุเปตินั้นนั่นแหละ หมายความว่า แซกซึมเข้าไปดังนี้บ้าง๑
- ด้วยบทแม้ทั้งสอง ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิย่อมแสดงว่า เข้าถึง คือ
เข้าไปถึง. ในธาตุที่เหลือ มีอาโปเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมาย)
อย่างเดียวกันนี้แล.
- บทว่า อินฺทฺริยานิ ความว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ย่อม
ลอยไปสู่อากาศ.
๑. อรรถกถา อนุยาติ อนุคจฺฉตีติ ตสฺเสว เววจนํ อนุคจฺฉตีติ อตฺโถ. ฉบับพม่าว่า อนุเปตีติ
อนุยาติ อนุปคจฺฉตีติ ตสฺเสว เววจนํ อนุคจฺฉตีติปิ อตฺโถ. แปลตามฉบับพม่า
- บทว่า อาสนฺทิปญฺจมา ความว่า (บุรุษ ๔ คน) กับทั้งเตียงที่
(คนตาย) นอน เป็นที่ ๕. อธิบายว่า เตียง และบุรุษ ๔ คน ผู้ยืนแบกเตียง
๔ ขา.
- บทว่า ยาว อาฬาหนา แปลว่า จนกระทั่งถึงป่าช้า.
- บทว่า ปทานิ ความว่า รอยเท้า คือคุณความดี (และความชั่ว)
(พม่าว่า ปวตฺตานิ คุณาคุณปทานิ. แปลตามพม่า. แต่อรรถกถาว่า ปวตฺตา คุณปทานิ.)
ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ท่านผู้นี้ได้เป็นผู้มีศีลดีอย่างนี้ ท่านผู้นี้ เป็น
ผู้ทุศีลอย่างนี้.
- อีกอย่างหนึ่ง ร่างกายนั่นเอง ท่านประสงค์เอาว่า รอยเท้าในที่นี้.
- บทว่า กาโปตกานิ แปลว่า มีสีดังนกพิราบ อธิบายว่า มีสีดัง
ปีกนกพิราบ.
- บทว่า ภสฺสนฺตา คือ ภสฺมนฺตา (แปลว่ามีเถ้าเป็นที่สุด) อีกอย่างหนึ่ง
ภสฺมนฺตา นี้แล คือ บาลี (เดิม).
- บทว่า อาหุติโย ความว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว แยกประเภทเป็น
ของรับแขกและเครื่องสักการะ เป็นต้น ทั้งหมดล้วนมีเถ้าเป็นที่สุดทั้งนั้น
ไม่ได้ผลยิ่งไปกว่านั้น.
- บทว่า ทตฺตุปฺปญฺญตฺตํ คือ ทานพวกคนโง่บัญญัติไว้. มีคำ
อธิบายดังนี้ว่า พวกมิจฉาทิฏฐิแสดงว่า ทานนี้พวกคนโง่ คือคนไม่รู้
บัญญัติไว้ หาใช่คนฉลาดบัญญัติไว้ไม่ คนโง่ให้(ทาน) คนฉลาดรับ (ทาน).
- จบ อรรถกถานัตถิทินนสูตรที่ ๕