อรรถกถา นาวาสูตร
- อรรถกถานาวาสูตรที่ ๙
- พึงทราบวินิจฉัยในนาวาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
- บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสอุปมา ๒ ข้อนี้ไว้ ด้วยอำนาจธรรมที่เป็นฝ่ายดำ และ
ฝ่ายขาว(ปาฐะว่า คณฺหปกฺขสุกฺขปกฺขวเสน
ฉบับพม่าเป็น กณฺหปกฺขสุกฺกปกฺขวเสน แปลตามฉบับพม่า.).
บรรดาอุปมา ๒ ข้อนั้น อุปมาว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายดำ
ยังไม่ให้สำเร็จประโยชน์ (แต่) อุปมาว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
นอกนี้ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้แล. พึงทราบเนื้อความของอุปมา
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว(ปาฐะว่า สุกฺขปกฺขอุปมาย
ฉบับพม่าเป็น สุกฺกปกฺขอุปมาย แปลตามฉบับพม่า. ) อย่างนี้.
- บทว่า เสยฺยถา เป็นนิบาต ใช้ในความหมายเป็นข้ออุปมา.
- บทว่า อปิ(ปาฐะว่า ปีติสมฺภาวนตฺเถ
ฉบับพม่าเป็น อปีติ สมฺภาวนตฺเถ แปลตามฉบับพม่า )
ใช้ในความหมายว่า ส่งเสริม. ด้วยบททั้งสอง
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่า เสยฺยถาปิ นาม ภิกฺขเว.
- ก็ในบทนี้ว่า กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ อฏฺฐ วา ทส วา ทฺวาทส วา มี
อธิบายว่า ฟองไข่ของแม่ไก่ ขาดไปบ้าง เกินไปบ้าง จากจำนวนมี
ประการดังกล่าวแล้ว ก็จริง ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้
อย่างนั้น เพราะด้วยคำสละสลวยดี และด้วยคำที่สละสลวยในโลกก็มี
อยู่อย่างนี้.
- บทว่า ตานสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ. (อสฺสุ) คือ ภเวยฺยุํ แปลว่า
ฟองไข่เหล่านั้น พึงมี.
- บทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมาอธิสยิตานิ ความว่า ฟองไข่เหล่านั้น
อันไก่ตัวเมียที่เป็นแม่ กางปีกออกแล้วนอนทับอยู่บนฟองไข่เหล่านั้น
ชื่อว่า นอนทับด้วยดี.
- บทว่า สมฺมาปริเสทิตานิ ความว่า ฟองไข่ทั้งหลายที่แม่ไก่
ให้ได้รับไออุ่นตามกาลอันสมควร ชื่อว่ากก คือ ทำให้อบอุ่นด้วยดี
คือ ทั่วถึง.
- บทว่า สมฺมาปริภาวิตานิ ความว่า ฟองไข่ทั้ง หลายอันแม่ไก่ฟัก
ด้วยดี คือ ทั่วถึงตามกาลอันสมควร อธิบายว่า ให้กลิ่นพ่อไก่จับ
- บทว่า กิญฺจาปิ ตสฺสา กุกฺกุฏิยา ความว่า แม่ไก่ตัวนั้นทำความ
ไม่ประมาทด้วยการทำกิริยา ๓ อย่างนี้แล้ว จะไม่เกิดความปรารถนา
อย่างนี้แม้ก็จริง.
- บทว่า อถ โข ภพฺพาว เต ความว่า ถึงกระนั้น ลูกไก่เหล่านั้น
ก็สามารถที่จะเจาะ (ฟองไข่) ออกมาได้โดยสวัสดี ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว.
- ก็เพราะเหตุที่ฟองไข่เหล่านั้นอันแม่ไก่ตัวนั้นบริบาลอยู่
โดยอาการ ๓ อย่าง อย่างนี้จึงไม่เสีย และน้ำเมือกของฟองไข่เหล่านั้น
ก็เหือดแห้งไป เปลือกไข่บางปลายเล็บเท้าและจะงอยปากเริ่มแข็ง
แก่กล้าไปเอง เพราะเปลือกไข่บาง แสงสว่างจากข้างนอกจึงปรากฏ
เข้าไปถึงข้างใน ฉะนั้น ลูกไก่เหล่านั้น จึงอยากจะออกมา (ข้างนอก)
ด้วยคิดว่า เรานอนตัวงออยู่ในที่แคบมานานแล้วหนอ และแสงสว่าง
ข้างนอกนี้ ก็ปรากฏอยู่ บัดนี้เราทั้งหลายจักอยู่อย่างสุขสบายในที่นี้แหละ
ดังนี้แล้ว เอาเท้ากระเทาะเปลือกไข่ ยื่นคอออกมา ครั้นแล้วเปลือกไข่นั้น
ก็จะแตกออกเป็น ๒ ซีก ทีนั้นลูกไก่เหล่านั้นก็จะออกมาสลัดปีกส่งเสียง
ร้องเจี๊ยบ ๆ และครั้นออกมาแล้วก็จะเที่ยว (หากิน) ไป ทำให้คามเขตดู
สวยงาม.
- บทว่า เอวเมว โข นี้เป็นบทรับรองข้ออุปมา บทรับรองข้ออุปมา
นั้นพึงทราบเทียบเคียงกับความหมายอย่างนี้. อธิบายว่า เวลาที่ภิกษุนี้
ประกอบการบำเพ็ญภาวนาพึงทราบว่า เปรียบเหมือนการที่แม่ไก่นั้น
ทำกิริยา ๓ อย่างในฟองไข่.
- ความที่วิปัสสนาญาณของภิกษุผู้ประกอบการบำเพ็ญภาวนา
ไม่เสื่อมเพราะทำอนุปัสสนา ๓ อย่างให้ถึงพร้อม พึงทราบว่าเปรียบ
เหมือนภาวะที่ฟองไข่ไม่เน่า เพราะแม่ไก่ทำกิริยา ๓ อย่างให้ถึงพร้อม
- การที่ความสิเนหาคือความใคร่ใจที่ติดอยู่ในภพทั้ง ๓ ของ
ภิกษุนั้นสิ้นไปเพราะทำอนุปัสสนา ๓ อย่างให้ถึงพร้อม พึงทราบว่า
เปรียบเหมือนการที่ยางเหนียวของฟองไข่ทั้งหลายสิ้นไปเพราะแม่ไก่
นั้นทำกิริยา ๓ อย่าง.
- การที่กะเปาะฟองไข่คืออวิชชาของภิกษุบาง พึงทราบว่า
เปรียบเหมือนการที่เปลือกฟองไข่บาง
- การที่วิปัสสนาญาณของภิกษุกล้าแข็ง ผ่องใส และแกล้วกล้า
พึงทราบว่า เปรียบเหมือนการที่ปลายเล็บเท้า และจะงอยปากของ
ลูกไก่ทั้งหลายกล้าแข็ง.
- เวลาที่วิปัสสนาญาณของภิกษุแก่กล้า เจริญได้ที่ พึงทราบว่า
เปรียบเหมือนเวลาที่ลูกไก่ทั้งหลายเจริญขึ้น.
- เวลาที่ภิกษุนั้น ถือเอาวิปัสสนาญาณได้แล้ว เที่ยว (จาริก) ไป
ได้ฤดูเป็นสัปปายะ โภชนะเป็นสัปปายะ บุคคลเป็นสัปปายะ หรือ
การฟังธรรมเป็นสัปปายะ อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น แล้วนั่งอยู่บน
อาสนะเดียวนั่นแล เจริญวิปัสสนา ทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาด้วย
อรหัตตมรรคที่บรรลุแล้วตามลำดับ ปรบปีกคืออภิญญา แล้วสำเร็จเป็น
พระอรหันต์โดยสวัสดี พึงทราบว่า เปรียบเหมือนเวลาลูกไก่ เอา
ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก กะเทาะกะเปาะฟองไข่ กระพือปีก
แหวกออกมาได้โดยสวัสดี.
- อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า แม่ไก่ทราบว่า ลูกไก่ เติบโตเต็มที่แล้ว
จึงจิกกะเปาะฟองไข่ฉันใด ฝ่ายพระศาสดาก็ฉันนั้น ทรงทราบว่า
ญาณของภิกษุเห็นปานนั้น แก่เต็มที่แล้ว ก็ทรงแผ่แสงสว่างไป แล้ว
ทำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชา ด้วยคาถาโดยนัยเป็นต้นว่า :-
- จงถอนความเสน่หาของตนขึ้นเสียเถิด
- ให้เหมือนกับ ถอนดอกโกมุท ที่บานในฤดูสารทกาล
- ด้วยมือของตนฉะนั้น ขอเธอจงเพิ่มพูลทางแห่ง
- สันติเถิด พระนิพพาน พระสุคตเจ้า ทรงแสดง
- ไว้แล้ว.
- เวลาจบคาถา ภิกษุนั้นทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาแล้ว ได้
สำเร็จเป็นพระอรหันต์. ตั้งแต่นั้นมา พระมหาขีณาสพแม้นี้ ก็เข้า
ผลสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วท่องเที่ยวไป ทำให้สังฆาราม
งดงาม เปรียบเหมือนลูกไก่เหล่านั้นท่องเที่ยวไปทำให้คามเขต
งดงามฉะนั้น.
- บทว่า ผลภณฺฑสฺส ได้แก่ ช่างไม้. จริงอยู่ ช่างไม้นั้น เรียกกันว่า
ผลภัณฑะ เพราะตีเส้นบันทัด คือ โอสมนกะ แล้วเปิดปีกไม้ออกไป.
- บทว่า วาสิชเฏ ได้แก่ ที่สำหรับจับของมีดที่มีด้าม.
- บทว่า เอตฺตกํ วา เม อชฺช อาสวานํ ขีณํ มีอธิบายว่า ก็อาสวะ
ทั้งหลายของบรรพชิต สิ้นอยู่เป็นนิตย์ เพราะอุทเทส เพราะปริปุจฉา
เพราะการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และเพราะวัตตปฏิบัติ โดยสังเขปคือ
การบรรพชา. และเมื่ออาสวะเหล่านั้นกำลังสิ้นไปอยู่อย่างนี้ ท่านไม่รู้
อย่างนี้ดอกว่า วันนี้สิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานซืน
สิ้นไปเท่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของวิปัสสนาไว้
ด้วยอุปมานี้.
- บทว่า เหมนฺติเกน ได้แก่ โดยสมัยแห่งเหมันตฤดู.
- บทว่า ปฏิปสฺสมฺภนฺติ ได้แก่ เครื่องผูกคือหวายทั้งหลายย่อม
เสื่อมสิ้นไปเพราะชราภาพ.
- ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความ
ที่สังโยชน์หย่อนกำลังลงด้วยอุปมานี้ว่า :-
- ศาสนาพึงเห็นว่า เปรียบเหมือนมหาสมุทร
- พระโยคาวจรพึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเรือ.
- การที่ภิกษุนี้ท่องเที่ยวไปในสำนักอุปัชฌาย์อาจารย์ในเวลา
ที่มีพรรษายังไม่ครบ ๕ พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือลอยวน
อยู่ในทะเลหลวง.
- ความที่สังโยชน์ทั้งหลายของภิกษุเบาบางลง เพราะอุเทศ และ
ปริปุจฉา เป็นต้น นั่นเอง( ๑. ปาฐะว่า เจว น่าจะเป็น เอว)
โดยสังเขปก็ได้แก่บรรพชา พึงเห็นว่า เปรียบ
เหมือนการที่เชือกผูกเรือถูกน้ำในทะเลหลวงกัดกร่อนจนบาง.
- เวลาที่ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตตกะเรียนกรรมฐานแล้ว (ไป) อยู่ในป่า
พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเวลาที่เรือถูกยกวางไว้บนบก.
- การที่เสน่หาคือตัณหาเหือดแห้งไปเพราะวิปัสสนาญาณ พึงเห็น
ว่า เปรียบเหมือนเชือกผูกเรือแห้ง เพราะถูกลมและแดดในตอนกลางวัน.
- การที่จิตชุ่มชื่น เพราะปีติ และปราโมทย์ อันอาศัยกรรมฐาน
เกิดขึ้น พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือชุ่มชื้น เพราะถูกน้ำอันเกิด
จากน้ำค้าง ในตอนกลางคืน.
- การที่ภิกษุได้ฤดูเป็นสัปปายะเป็นต้นในวันหนึ่ง ในวิปัสสนาญาณ-
กรรมฐาน แล้วมีสังโยชน์เบาบางลงมากมาย เพราะปีติและปราโมทย์
อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณ(ปาฐะว่า เอกา ปีติปามุชฺเชหิ
ฉบับพม่าเป็น วิปสฺสนาญาณปีติปาโมชฺเชหิ แปลตามฉบับพม่า. )
พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเครื่องผูก (เรือ) แห้ง
ใน ตอนกลางวัน เพราะถูกลมและแดด และเปียกชื้นในตอนกลางคืน
เพราะน้ำเกิดจากน้ำค้าง.
- อรหัตตมรรคญาณ พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเมฆฝน.
- การที่ภิกษุผู้เริ่มเรียนวิปัสสนากรรมฐาน แล้วเจริญวิปัสสนา
โดยเป็นรูปสัตตกะ (หมวด ๗ แห่งรูป) เป็นต้น เมื่อกรรมฐานแจ่มชัด ๆ
เข้า วันหนึ่งได้ฤดูเป็นสัปปายะเป็นต้น นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว (ไม่ลุกขึ้นอีก)
แล้วได้บรรลุอรหัตตผล พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือมีน้ำฝนเต็มลำ.
- การที่ภิกษุนั้น สิ้นสังโยชน์แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยังไม่ได้
อนุเคราะห์มหาชน ดำรงอยู่ตราบอายุขัย พึงเห็นว่าเปรียบเหมือนการ
ที่เรือซึ่งมีเชือกผูกเปื่อย แต่ก็ยังจอดอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง.
- เวลาที่พระขีณาสพปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
โดยการขัดสมาธิครั้งเดียว เพราะอุปาทินนกขันธ์แตกสลายไป (กิเลส
สิ้นแล้ว ปรินิพพานทันที) แล้วเข้าถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้ พึงเห็น
ว่า เปรียบเหมือนเวลาที่เรือมีเชือกผูกเปื่อย กร่อนขาดไปทีละน้อย
จนเข้าถึงความเป็นสภาพหาบัญญัติมิได้ (จนเรียกว่าเชือกไม่ได้).
- จบ อรรถกถานาวาสูตรที่ ๙