อรรถกถา ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
- อรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
- บิณฑปาทปาริสุทธิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
- ในบทเหล่านั้น คำว่า จากการหลีกเร้น คือจากผลสมาบัติ. คำว่า
ผ่องใสแล้วนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจโอภาส. จริงอยู่ภิกษุที่ออกจากผลสมาบัติ
มีโอภาสที่ประสาททั้ง ๕ ทั้งอยู่ผ่องใสผิวพรรณก็หมดจด เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า ด้วยสุญญตวิหาร คือด้วยธรรมเครื่องอยู่ คือ
ผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์. คำว่า มหาปุริสวิหาร ได้แก่
ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้ใหญ่ของ
พระตถาคตเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษ. ในคำเป็นต้น ว่า เยน จาหํ มคฺเคน ได้แก่
ทางที่เริ่มตั้งแต่วัดไปจนถึงเสาเขื่อนแห่งบ้าน นี้ชื่อว่าทางเข้า. ประเทศที่เข้าไป
ภายในหมู่บ้านเที่ยวไปตามลำดับเรือนจนถึงออกทางประเมือง นี้ชื่อว่าประเทศ
ที่พึงเที่ยวไป. ตั้งแต่นอกเสาเขื่อนมาจนถึงวัด นี้ชื่อว่าทางกลับ. คำว่า
หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจ ความว่า อะไร ๆ ที่เกิดจากกิเลส
เหตุให้กระทบกระทั่งจิต มีหรือไม่มี. คำว่า ผู้ศึกษาเนื่อง ๆ ทั้งกลางวัน
และกลางคืน คือผู้ตามศึกษาอยู่ตลอดวันและตลอดคืน.
- ในคำเป็นต้นว่า เราละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล ความว่า
การพิจารณาของภิกษุรูปหนึ่งก็แตกต่างกันไป. การพิจารณาของภิกษุอื่น ๆ
ก็ไม่เหมือนกัน. อย่างไร. จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง กลับมาจากบิณฑบาต
ในปัจฉาภัตเก็บบาตรจีวรมานั่งในโอกาสอันเงียบสงัด แล้วพิจารณาอยู่ว่า เรา
ได้ละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล. เธอทราบว่ายังละไม่ได้ จึงประคองความเพียร
ถอนราคะที่เกี่ยวกับกามคุณทั้ง ๕ ด้วยอนาคามิมรรค ออกจากนั้นแล้วก็พิจารณา
ผลถัดจากมรรค พิจารณามรรคถัดจากผลอยู่ รู้ดีว่า ละได้แล้ว. แม้ในนีวรณ์
เป็นต้น ก็นัยเดียวกันนี้แหละ. แต่การละนีวรณ์เหล่านี้ เป็นต้น ย่อมมีด้วย
อรหัตมรรค. การพิจารณาต่างๆของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมมีด้วยวิธีนี้. สำหรับ
ในการพิจารณาเหล่านี้ ภิกษุรูปอื่นย่อมพิจารณาหลักสำหรับ พิจารณาอย่างหนึ่ง
ภิกษุรูปอื่นก็อีกอย่างหนึ่ง ดังกล่าวมานี้. การพิจารณาต่าง ๆ ของภิกษุต่างรูป
กัน ย่อมมีด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นแล.
- จบอรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ที่ ๙