อรรถกถา ปุคคลสูตร(สังยุตตนิกาย นิทานวรรค)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
- อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐
- พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
- แม้ ๓ บทมีบทเป็นต้นว่า อฏฺฐิกงฺกโล ก็เป็นไวพจน์ของกอง
กระดูกนั่นเอง. ก็สัตว์เหล่านี้ เวลาไม่มีกระดูกมากกว่าเวลามีกระดูก.
ด้วยว่า กระดูกของสัตว์มีไส้เดือนเป็นต้นเหล่านั้นไม่มี. ส่วนสัตว์มีปลา
และเต่าเป็นต้น มีกระดูกมากกว่าแล. เพราะฉะนั้น พึงถือเอาเฉพาะ
เวลามีกระดูก มิได้หมายถึงเวลาไม่มีกระดูกและเวลามีกระดูกมากหลาย.
บทว่า อุตฺตโร คิชฺฌกูฏสฺส ได้แก่ภูเขาตั้งอยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ.
บทว่า มคธานํ คิริพฺพเช คือ ใกล้ภูเขาแคว้นมคธ อธิบายว่า ตั้ง
อยู่ในวงล้อมของภูเขา. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
- จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐