อรรถกถา ปโรสหัสสสูตร
- อรรถกถาปโรสหัสสสูตร
- ในปโรสหัสสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
- บทว่า ปโรสหสฺสํ ได้แก่เกิน ๑,๐๐๐. บทว่า อกุโตภยํ ความว่า
ในพระนิพพานไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. จริงอยู่ ผู้บรรลุพระนิพพานก็ไม่มีภัยแต่
ที่ไหน ๆ ฉะนั้น พระนิพพานจึงชื่อว่า ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. บทว่า อิสีนํ
อิสิสตฺตโม ความว่า เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทรง
พระนามว่าวิปัสสี.
- คำว่า กึ นุ เต วงฺคีส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยที่เกิดเรื่องขึ้น.
ได้ยินว่า เรื่องเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า พระวังคีสเถระสละกิจวัตร ไม่สนใจ
อุทเทสปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ เที่ยวแต่งคาถาทำจุณณียบทเรื่อยไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ปฏิภาณสมบัติ
ของพระวังคีสะ เข้าใจว่า พระวังคีสะคิดแล้วคิดเล่าจึงกล่าว เราจักให้ภิกษุ
เหล่านั้นรู้ปฏิภาณสมบัติของท่าน ครั้นทรงพระดำริแล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า กึ นุ
เต วงฺคีส ดังนี้.
- บทว่า อุมฺมคฺคสตํ ได้แก่ กิเลสที่ผุดขึ้นหลายร้อย. อนึ่ง ท่าน
กล่าวว่า สต เพราะเป็นทางดำเนินไป. บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ความว่า
เทียวทำลายกิเลส ๕ อย่าง มีกิเลสเพียงดังตะปูคือราคะเป็นต้น. บทว่า ตํ
ปสฺสถ ความว่า จงดูพระพุทธเจ้านั้นผู้เที่ยวครอบงำทำลายอย่างนี้. บทว่า
พนฺธปมุญฺจกรํ ได้แก่ ผู้กระทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก. บทว่า
อสิตํ ได้แก่ ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ภาคโส ปวิภชฺชํ ความว่า
ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ปาฐะว่า ปวิภช ดังนี้ก็มี
ความว่า จงแยกเป็นส่วนน้อยใหญ่ดู.
- บทว่า โอฆสฺส ได้แก่โอฆะ ๔. บทว่า อเนกวิหิตํ ได้แก่ มี
หลายอย่างมีสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า ตสฺมึ เจ อมเต อกฺขาเต ความว่า
เมื่อพระองค์ตรัสบอกทางอันเป็นอมตะนั้น. บทว่า ธมฺมทฺทสา ได้แก่ผู้เห็น
ธรรม บทว่า ฐิตา อสํหิรา ความว่า ผู้ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น.
- บทว่า อติวิชฺฌ ได้แก่ แทงตลอดแล้ว. บทว่า สพฺพทิฏฺฐีนํ ได้แก่
ที่ตั้งทิฏฐิหรือวิญญาณฐิติทั้งปวง. บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็น
พระนิพพานอันเป็นธรรมก้าวล่วง. บทว่า อคฺคํ ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด.
ปาฐะว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี. ความว่า ก่อนกว่า. บทว่า ทสฏฺฐานํ ความว่า
ทรงแสดงธรรมอันเลิศแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ ปัญจวัคคีย์ หรือทรงแสดงธรรม
ในฐานะอันเลิศแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้
อยู่ว่า ธรรมนี้ทรงแสดงดีแล้ว ไม่พึงทำความประมาท ฉะนั้น. บทว่า
อนุสิกฺเข ได้แก่ พึงศึกษาสิกขา ๓.
- จบอรรถกถาปโรสหัสสสูตรที่ ๘