อรรถกถา อัสสชิสูตร
- อรรถกถาอัสสชิสูตรที่ ๖
- พึงทราบวินิจฉัยในอัสสชิสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
- บทว่า กสฺสปการาเม ได้แก่ ในอารามที่กัสสปเศรษฐี
ให้สร้าง.
- บทว่า กายสงฺขาเร ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก.
ก็พระอัสสชินั้น ระงับลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านั้น
ด้วยจตุตถฌานอยู่. บทว่า เอวํ โหติ ความว่า บัดนี้เมื่อข้าพระองค์
ไม่ได้สมาธินั้น จึงมีความคิดอย่างนี้. บทว่า โน จ ขฺวาหํ ปริหายามิ
ความว่า เรายังไม่เสื่อมจากพระศาสนา แลหรือหนอแล. ได้ยินว่า
สมาบัติของท่าน แนบแน่น แน่วแน่แล้ว(ปาฐะว่า ตสฺส กิร อาพาธโทเสน
อปฺปิโต สมาปตฺตโต ปริยายิ ฉบับพม่าเป็น ตสฺส กิร อาพาธโทเสน อปฺปิตปฺปิตา
สมาปตฺติ ปริหายิ. แปลตามฉบับพม่า) (เป็นอัปปนา) เสื่อมไป
เพราะโทษคืออาพาธ เพราะฉะนั้น ท่านจึงคิดอย่างนี้.
- บทว่า สมาธิสารกา สมาธิสามญฺญา ความว่า สมาธินั่นแล
เป็นสาระ และเป็นสามัญญผล แต่ในศาสนาของเรา ตถาคต ยังไม่ใช่
สาระ วิปัสสนา มรรคและผลเป็นต้น (ต่างหาก) เป็นสาระ เธอนั้น
เมื่อเสื่อมจากสมาธิ ไฉนจึงคิดว่า เราเสื่อมจากศาสนา.(ปาฐะว่า
กสฺมา จินฺเตสิ สมาธิโต ปริหายามีติ สาสนโต ปริหายนฺโต นี้ ไม่มีในฉบับพม่า
จึงแปลตามนัยของพม่า.)
- พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นปลอบโยนพระเถระอย่างนี้แล้ว
บัดนี้เมื่อจะทรงเริ่มแสดงธรรม มีปริวัฏ ๓ แก่พระเถระนั้น จึงตรัสคำว่า
ตํ กึ มญฺญสิ เป็นต้น. ต่อมา เมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องอยู่ประจำ
แก่พระเถระนั้น ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ไนเวลาจบเทศนามีปริวัฏ ๓
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส สุขญฺเจ เวทนํ เวทยติ.
- บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อนภินนฺทิตา ปชานาติ พึงทราบ
อธิบายว่า :-
- ถามว่า สุขเวทนา มีความเพลิดเพลินยินดี จงยกไว้ก่อนเถิด (ส่วน)
ทุกขเวทนา มีความเพลิดเพลินยินดี เป็นอย่างไร ?
- ตอบว่า บุคคลประสบทุกข์แล้วย่อมปรารถนาสุข ซึ่งก็คือ
ปรารถนาทุกข์นั่นเอง เพราะทุกข์มาถึงเพราะสุขแปรปรวนไป
นักศึกษาพึงทราบความเพลิดเพลินยินดีในทุกข์อย่างนี้. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้น นั่นแล.
- จบ อรรถกถาอัสสชิสูตรที่ ๖