อรรถกถา อุทยสูตร
- อรรถกถาอุทยสูตรที่ ๒
- ในอุทยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
- บทว่า โอทเนน ปูเรสิ ความว่า พราหมณ์เอาข้าวพร้อมด้วยแกง
และกับที่เขาจัดไว้เพื่อคนใส่บาตรจนเต็มถวาย. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นั้น ทรงปฏิบัติพระสรีระแต่
เช้าทีเดียว เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงปิดประตูแล้วประทับนั่ง ทรงเห็นโภชนะ
ที่เขายกเข้าไปไว้ใกล้พราหมณ์ ลำพังพระองค์เดียวเท่านั้นทรงคล้องบาตรที่
จะงอยบ่า เสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จถึงประตูพระนครทรงนำบาตรออก
แล้วเสด็จเข้าภายในพระนคร ทรงดำเนินไปตามลำดับ ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู
บ้านพราหมณ์. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ถวายโภชนะที่เขาจัด
แจงมาเพื่อตน. คำว่า โอทเนน ปูเรสิ นี้ท่านกล่าวหมายเอาโภชนะนั้น . บทว่า
ทุติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ ๒. บทว่า ตติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ ๓ ได้ยิน
ว่า ในระหว่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประตูเรือนพราหมณ์ติด ๆ กัน
ตลอด ๓ วัน ไม่มีใคร ๆ ที่สามารถจะลุกขึ้นรับบาตรได้. มหาชนได้ยืนแลดู
อยู่เหมือนกัน.
- บทว่า เอตทโวจ ความว่า พราหมณ์แม้ถวายจนเต็มบาตรตลอด ๓
วัน ก็มิได้ถวายด้วยศรัทธา. พราหมณ์บริโภคโดยมิได้ถวายแม้เพียงภิกษาแก่
บรรพชิตที่มายืนอยู่ยังประตูเรือน แต่ได้ถวายเพราะกลัวถูกติเตียนว่า บรรพชิต
มายืนถึงประตูเรือนแล้ว แม้เพียงภิกษาก็ไม่ถวาย กินเสียเอง ดังนี้. และเมื่อ
ถวาย ๒ วันแรกถวายแล้วมิได้พูดอะไร ๆ เลย กับเข้าบ้าน. ทั้งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้ามิได้ตรัสอะไร ๆ เหมือนกัน เสด็จหลีกไป แต่ในวันที่ ๓ พราหมณ์ไม่
อาจจะอดกลั้นไว้ได้ จึงได้กล่าวคำนี้ว่า ปกฏฺโก ดังนี้เป็นต้น. แม้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ได้เสด็จไปจนถึงครั้งที่ ๓ ก็เพื่อจะทรงให้เขาเปล่งวาจานั้นนั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฏฺฐโก ได้แก่ติดในรส.
- พระศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์แล้ว ตรัสว่า ท่านพราหมณ์
ท่านถวายบิณฑบาตตลอด ๓ วัน ยังย่อท้ออยู่ ในโลกมีธรรม ๑๖ ประการที่
ควรทำบ่อย ๆ ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงทรงเริ่มพระธรรม
เทศนานี้ว่า ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ พีชํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ ท่านกล่าวไว้ในสัสสวารหนึ่งแล้ว แม้ในสัสสวารอื่น ๆ
ชาวนาย่อมหว่านโดยไม่ท้อแท้เลยว่า เท่านี้พอละ ดังนี้. บทว่า ปุนปฺปุนํ วสฺสติ
ความว่า มิใช่ตกวันเดียวหยุด. ตกอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ปี ชนบท
ย่อมมั่งคั่งด้วยอาการอย่างนี้. พึงทราบนัยแห่งเนื้อความในทุก ๆ บทโดย
อุบายนี้.
- ในบทว่า ยาจกา นี้ พระศาสดาทรงแสดงอ้างถึงพระองค์ เพราะความ
ที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนา. บทว่า ขีรณิกา ได้แก่ผู้รีดนมโคเพราะน้ำ
นมเป็นเหตุ. จริงอยู่ ชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาน้ำมันคราวเดียวเท่านั้น อธิบาย
ว่า ย่อมปรารถนารีดโคนมบ่อย ๆ. บทว่า กิลมติ ผนฺทติ จ ความว่า
สัตว์นี้ย่อมลำบากและดิ้นรนด้วยอิริยาบถนั้น ๆ. บทว่า คพฺภํ ได้แก่ท้องสัตว์
ดิรัจฉานมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. บทว่า สีวถิกํ ได้แก่ป่าช้า.
อธิบายว่า นำสัตว์ตายแล้วไปในป่าช้านั้นบ่อย ๆ. บทว่า มคฺคญฺจ ลทฺธา
อปุนพฺภวาย ความว่า พระนิพพานชื่อว่ามรรค เพราะไม่เกิดอีก อธิบายว่า
ได้พระนิพพานนั้น.
- บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่
ระหว่างถนนนั่นแหละ ทรงแสดงปุนัปปุนธรรม ๑๖ ประการ ได้ตรัสอย่างนี้.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ในที่สุดเทศนา พราหมณ์พร้อมด้วยบุตรภรรยา
พวกมิตรและญาติ เลื่อมใส ถวายบังคมแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า กล่าวคำนี้ว่า อภิกฺกนฺตํ โภ เป็นต้น.
- จบอรรถกถาอุทยสูตรที่ ๒