อรรถกถา เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
- อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
- เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
- สมาจาร
- บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตญฺจ อญฺญมญฺญํ กายสมาจารํ ความ
ว่า เราตถาคตกล่าวความประพฤติทางกายที่ควรเสพอย่างหนึ่ง และที่ไม่ควร
เสพอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า เราตถาคตมิได้กล่าวว่า กายสมาจารที่ควรเสพนั่น
แลไม่ควรเสพโดยปริยายไรๆ หรือกายสมาจารที่ไม่ควรเสพว่าควรจะเสพ.
- แม้ในวจีสมาจารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น
ทรงวางแม่บทไว้โดยบททั้ง ๗ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดาร ก็ทรงยุติเทศนาไว้.
- เพราะเหตุไร ?
- เพราะเพื่อจะให้โอกาสแก่พระสารีบุตรเถระ. ในมโนสมาจาร ท่านไม่
ได้ถือเอามิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิว่า เป็นองค์ที่แยกตั้งไว้ต่างหากด้วยสามารถ
แห่งการกลับได้ทิฏฐิ.
- ในจิตตุปบาท ควรทราบอภิชฌาเป็นต้นว่า ไม่ถึงกรรมบถ๑ ก็หา
มิได้. (คือถึงกรรมบถ)
- ในวาระที่ว่าด้วยการได้สัญญา ตรัสบททั้งหลายเป็นต้น ว่า อภิชฺฌา
สหคตาย ลญฺญาย (มีสัญญาอันไปร่วมกับอภิชฌา) ดังนี้ เพื่อทรงแสดง
กามสัญญาเป็นต้น.
- พระอนาคามียังมีภวตัณหา
- บทว่า สพฺยาปชฺณํ แปลว่า มีทุกข์. บทว่า อปรินิฏฺฐิตภาวาย
ได้แก่ เพราะภพทั้งหลายยังไม่หมดไป. ก็ในที่นี้ ชื่อว่าอัตภาพที่ถูกทุกข์เบียด
- ๑. บางปกรณ์ว่า อภิชฌาไม่ถึงกรรมบถ.
เบียนมี ๔ ประการ. เพราะบุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ย่อมไม่อาจเพื่อจะหยุดภพ
โดยอัตภาพนั้นได้ จำเดิมแต่การปฏิสนธิของบุคคลนั้น อกุศลธรรมทั้งหลาย
ย่อมเจริญ และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป ชื่อว่าย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์
เท่านั้นให้เกิด. พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็เหมือนกัน.
- ถามว่า ปุถุชนทั้งหลายเป็นต้น รวมพระโสดาบัน และพระสกทาคา-
มี ขอยกไว้ก่อน แต่พระอนาคามีย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์เบียดเบียนให้เกิดขึ้น
ได้อย่างไร.
- ตอบว่า เพราะแม้พระอนาคามี บังเกิดในชั้นสุทธาวาส แลดูต้น
กัลปพฤกษ์ในวิมานอุทยาน (สวนสวรรค์) เปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ.
ความโลภในภพ ตัณหาในภพ ย่อมเป็นอันพระอนาคามี ยังละไม่ได้เลย
เพราะพระอนาคามีนั้นยงละตัณหาไม่ได้ ชื่อว่า อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศล-
ธรรมเสื่อมไป ย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์นั่นแลให้เกิดขึ้น พึงทราบว่า ยังเป็นผู้
มีภพไม่สิ้นสุดนั่นแหละ.
- อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน
- บทว่า อพฺยาปชฺฌํ คือ ไม่มีทุกข์. แม้บุคคลนี้ ก็พึงทราบเนื่อง
ด้วยชน ๔ จำพวก. อธิบายว่า บุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ก็อาจทำภพให้สิ้นสุด
ลงด้วยอัตภาพนั้น ไม่ถือปฏิสนธิอีกต่อไป จำเดิมแต่บุคคลนั้นถือปฏิสนธิ
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเท่านั้นเจริญ เขาย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์
นั่นแหละ ให้เกิดขึ้น เป็นผู้ชื่อว่ามีภพสิ้นสุดแล้วทีเดียว. พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามีก็เหมือนกัน.
- ถามว่า พระโสดาบันเป็นต้น พักไว้ก่อน (ไม่ต้องพูดถึง) ปุถุชน
ย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? และเขามีการเสื่อมจาก
อกุศลธรรมเป็นต้น ได้อย่างไร ?
- ตอบว่า แม้ปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้าย ก็ย่อมสามารถทำภพให้สิ้นสุด
ลงด้วยอัตภาพนั้นได้ อัตภาพของปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้ายนั้น แม้จะฆ่าสัตว์
ถึง ๙๙๙ ชีวิต เหมือนองคุลิมาล ก็ชื่อว่าไม่มีทุกข์ ชื่อว่าย่อมทำภพให้สิ้นสุด
ลง ชื่อว่าย่อมยังอกุศลนั่น แลให้เสื่อมไป ย่อมยังวิปัสสนานั่น แลให้ถือเอาห้อง
วิปัสสนาได้.
- ราคะเกิดแก่บางคน
- พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺเญยฺยํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-
เพราะเหตุที่ราคะเป็นต้น ในรูปนั่นแหละ ย่อมเกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคล
บางคนจึงเพลิดเพลินชอบใจ เมื่อเพลิดเพลินชอบใจย่อมถึงความเสื่อมและ
ความพินาศ. ย่อมไม่เกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคลบางคนจึงเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด ย่อมถึงความดับ เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ตญฺจ อญฺญมญฺญํ
ในบททั้งปวงมีนัยนี้นั่นแล.
- ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ
- ในบทว่า เอวํ วิตฺถาเรน อตฺถํ อาชาเนยฺยุํ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
- ถามว่า คนเหล่าไหน ย่อมรู้เนื้อความภาษิตนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
- ตอบว่า เบื้องต้น ชนเหล่าใดร่ำเรียนบาลี และอรรถกถาของพระ
สูตรนี้ แต่ไม่ทำตามที่ร่ำเรียนมานั้น ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทา ตามที่กล่าว
แล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้. ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้กระทำตามที่เล่าเรียน
มานั้น ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาตามที่กล่าวแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้.
- ถามว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น การรู้เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น
จะมีประโยชน์เกื้อกูลและความสุขตลอดกาลนาน สำหรับเหล่าสัตว์ผู้มีปฏิสนธิ
จงยกไว้ก่อน แต่สำหรับเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีปฏิสนธิ (อีกต่อไป) จะมีประโยชน์
สุขได้อย่างไร ?
- ตอบว่า เหล่าชนผู้ไม่ปฏิสนธิ ย่อมปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเชื้อ
เมื่อกาลเวลาล่วงไป แม้ตั้งแสนกัป ชื่อว่าความทุกข์ย่อมไม่มีแก่คนเหล่านั้น
อีกต่อไป. คนเหล่านั้นเท่านั้น ย่อมจะมีประโยชน์สุขชั่วกาลนาน โดยส่วน
เดียว ด้วยประการดังกล่าวมานี้. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
- จบ อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔