ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๓

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๓ บุรพภาคพระธรรมเทศนา เฉลิมพระเกียรดิพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระวิมาดาเธอ ฯ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา โปรดให้พิมพ์ในงานพระชนมายุสมมงคล เมื่อ ปี ขาล พ.ศ. ๒๔๖๙ _______________ พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร [N1][N2]


เพลงยาวชมวัดราชโอรส ? อันวัดวาอาวาสประหลาทสร้าง ยักย้ายหลายอย่างโบถวิหาร ช่อฟ้าหางหงส์ทรงบุราณ ไม่ทนทานว่ามักหักพัง พระอารามนามราชโอรส น่าบันชั้นลดลายฝรั่ง กระเบื้องเคลือบสอดสีมีพนัง เปนอย่างนอกออกปลั่งปลาบปลิว ลางหลังตั้งวงเปนทรงเก๋ง จีนสำเพ็งพวกแซ่แต้จิ๋ว วิชาช่างจ้างทำเปนแถวทิว แจกติ้วให้ตั๋งตั้งครัวเลี้ยง หอระฆังทั้งที่วิหารราย แยบคายมั่นคงทรงเฉลียง ปูนผิวเต็มดีด้วยฝีเกรียง พระระเบียงยักอย่างมาข้าไทย ดูพิลึกตึกสงฆ์สองคณะ คันถ์ธุระนั้นอยู่เปนหมู่ใหญ่ วิปัสนากุฏิเคียงเรียงกันไป ที่จงกรมร่มไม้รุกขมูล แท่นศิลาน่านั่งบริกรรม บำเพ็ญธรรมกรรมฐานที่สูญ พระศรัทธาเปนเดิมเพิ่มภูล ยกหนูนสาสนาสารพัด เหลือมนุษย์สุดสร้างได้อย่างนี้ เปนยอดทานบารมีโพธิสัตว์ พวกผู้ดีได้อย่างไปสร้างวัด เปนทรงนอกออกอัดทุกแห่งมาฯ พระยาไชยวิชิต (เผือก)แต่งไว้ในหนังสือยอพระเกียรดิ์๓รัชกาล.






พระอุโสถวัดราชโอรส







คำนำ พระวิมาดาเธอ ฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาทรงพระปรารภว่าในปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙ นี้ ถึงวันที่ กันยายน จะทรงเจริญพระชันษาเสมอด้วยพระชนมายุกาลแห่งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเปนอภิลักขิตมงคลมีพระประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระกุศลสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ทรงพระดำริห์ว่าวัดราชโอรส ซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาก่อนวัดอื่น แลเปนที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิไว้ให้มหาชนสักการบูชา บัดนี้มีที่ชำรุดซุดโซมอยู่หลายแห่ง อีกประการหนึ่งวัดราชโอรสนี้ พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดีพระบิดาก็ได้เคยสนองพระเดชพระคุณทรงอำนวยการบุรณะปฏิสังขรณ์มาแต่ครั้งรัชกาลสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช จึงทรงพระศรัทธาที่จะช่วยเกื้อกูลการปฏิสังขรณ์ แลจะเสด็จไปทรงบำเพ็ญทักษิณานุปทานอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชที่วัดราชโอรส ในวันที่ ๕ กันยายนเปนงารพระชนมายุสมมงคลในครั้งนี้ พระวิมาดาเธอ ฯ มีพระประสงค์จะทรงพิมพ์หนังสือมิตรพลีสำหรับประทานแก่พระญาติแลอมาตยมิตรซึ่งไปช่วยงาหรือที่มีศรัทธาช่วยการพระกุศลด้วยประการอย่างอื่น พอเปนที่ระลึกแลอนุโมทนา ได้ทรงตรวจหาเรื่องหนังสือซึ่งมีฉบับอยู่ณพระตำหนัก พบพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งเปนบุรพภาค


ข แห่งพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรดิพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกัณฑ์ ๑ ซึ่งพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรถวายเทศนาในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อจำนวนปี แต่พระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครบ ๑๐๐ ปี ในปีชวด ยังเปนนพศก พ.ศ. ๒๔๓๑ พระวิมาดาเธอ ฯ ทรงพระดำริห์เห็นว่าสมควรพิมพ์แจกเปนมิตรพลีได้ ได้ส่งหนังสือนั้นไปถวายทูลหารือสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช พระองค์ทรงสอบสวนได้ความว่าเทศนาเฉลิมพระเกียรดิพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวดนั้นมี ๓ กัณฑ์ด้วยกันพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ถวายเทศนากัณฑ์ที่ ๑ ความในบุรพภาคว่าด้วยพระราชสันตติวงศ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อยังดำรงพระยศเปนหม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตถวายเทศนากัณฑ์ที่ ๒ความในบุรพภาคว่าด้วยพระราชประวัติพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสมเด็จพระวันรัตน (แดง) เมื่อยังเปนที่พระธรรมวโรดม ถวายเทศนากัณฑ์ที่ ๓ ความในบุรพภว่าด้วยพระราชประวัติพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระราชปิตุลา ฯ ทรงสืบหาหนังสือเทศนากัณฑ์ที่ ๒ กัณฑ์ที่ ๓ ได้มาอีก ๒กัณฑ์ทรงพิจารณาดูเห็นว่าเปนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหมือนกันกับเทศนากัณฑ์ที่ ๑ จึงโปรด

ฆ ให้คัดสำเนาถวายพระวิมาดาเธอ ฯ แลทรงแนะนำว่า ถ้าจะทรงพิมพ์เทศนาเฉลิมพระเกียรดิพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ควรจะพิมพ์ให้ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ กัณฑ์ แต่ความในพระราชนิพนธ์เปนเรื่องในพงศาวดาร แลเปนการเกี่ยวข้องกับรัฏฐาภิปาลโนบายมีอยู่ ควรจะประทานให้ราชบัณฑิตยสภาตรวจเสียก่อน อาศรัยเหตุนี้ พระวิมาดาเธอ ฯ จึงประทานฉบับมายังราชบัณฑิตยสภา เพื่อให้ตรวจฉบับแลจัดการพิมพ์ถวาย ข้าพเจ้ารับตรวจฉบับถวายด้วยความยินดีอนุโมทนาในพรประสงค์ของพระวิมาดาเธอ ฯ ด้วยเห็นประโยชน์ในการที่พิมพ์พระราชนิพนธ์บุรพภาคแห่งพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรดิพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้ง ๓ กัณฑ์นี้มีหลายประการ แม้ว่าแต่ที่เปนประโยชน์สำคัญจะได้ความรู้เรื่องพงศาวดารซึ่งยังไม่รู้กันอยู่โดยมากประกา๑ แลจะรักษาพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเรื่องนี้อันเปหนังสือหายาก แม้ตัวข้าพเจ้าเองก็พึ่งทราบว่าได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ให้ปรากฏอยู่ยั่งยืนต่อไป เชื่อว่าบันดาผู้ที่ได้รับไปอ่านคงจะยินดีถวายอนุโมทนาในการที่พระวิมาดาเธอ ฯ ได้โปรดให้พิมพ์พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้นไม่มีเว้น แต่พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงแต่งแต่ส่วนบุรพภาคแห่งเทศนาส่วนธรรมปริยายข้างตอนปลายนั้น เปนของพระผู้เทศน์แต่งเองจึงหาปรากฏในต้นฉบับไม่ แต่ความบกพร่องข้อนี้ก็ไม่สำคัญอันใด ด้วยรู้ได้ในคาถานิเขปบทที่มีอยู่ ว่าเทศนากัณฑ์ไหนแสดงธรรมปริยายบทใด ถ้าผู้ใดปราถนาจะทราบ ก็พอจะศึกษาทราบได้ในที่อื่น

ง กรรมการราชบัณฑิตยสภา ขอถวายอนุโมทนาในพระกุศลบุญราศีพระชนมายุสมมงคล ซึ่งพระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา ได้ทรงบำเพ็ญในวารนี้ พร้อมด้วยพระกุศลบุญนิธีปฏิสังขรณกิจ มีกตัญญุตาธรรมเปนปัจจัย สำเร็จเปนปัตติทานมัยที่ตั้งแห่งบุญกิริยา ทั้งเปนมงคลส่วนกุลวงศสถาปนาเนื่องในมาตาปิตุปัฏฐาก หากให้สำเร็จเปนปฏิพาหโนบาย ป้องกันอันตรายพุทธเจดียสถานโบราณวัตถุไว้สืบอายุพระสาสนา ขออำนาจพระกุศลจริยาที่ได้ทรงบำเพ็ญในวารนี้ จงบันดาลให้สำเร็จวิบากสุขสมพระประสงค์ทุกประการ เทอญ ฯ หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ . นายกราชบัณฑิตยสภา




สารบารพ์ รายการบำเพ็ญพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรดิพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปีชวดยังเปนพนศก พ.ศ๒๔๓๑ หน้า ๑ โคลงบานแพนก " ๕ เทศนากัณฑ์ที่ ๑ เรื่องพระราชสันตติวงศ์ " ๖ อารัมภกถา " ๖ พรรณนาพระราชสันตติวงศ์ " ๘ สายตรงสมเด็จพระประถมบรมมหาไปยกาธิบดี " ๘ ที่ ๑ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี " ๙ ที่ ๒ พระเจ้าขุนรามณรงค์ " ๙ ที่ ๓ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ " ๙ ที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโล " ๑๐ ที่ ๕ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท " ๑๐ กรมหลวงนรินทรเทวี (ต่างมารดา) " ๑๐ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ( ต่างมารดา ) " ๑๐ สายตรงพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก " ๑๑ ที่ ๑ พระราชบุตรี (ไม่มีพระนาม) " ๑๑ ที่ ๒ พระราชกุมาร (ไม่มีพระนาม) " ๑๑ ที่ ๓ สมเด็จพระประถมบรมไอยิกาเธอ " ๑๑ ที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย " ๑๑


(๒) ที่ ๕ สมเด็จพระเจ้าไอยิกาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรี สุนทรเทพ หน้า ๑๒ ที่ ๖ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ " ๑๒ ที่ ๗ สมเด็จพระเจ้าไอยิกาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี " ๑๒ สายตรงพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( ในกรม สมเด็จพระศรีสุริเยนทร ) " ๑๒ ที่ ๑ พระราชโอรส ( ยังไม่มีพระนาม ) " ๑๓ ที่ ๒ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " ๑๓ ที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว " ๑๓ ลำดับพระวงศ์กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย " ๑๔ สายพระชนกกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ( ฝ่ายท่านผู้หญิง ) " ๑๕ กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย " ๑๕ สายตรงพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ในกรม สมเด็จพระศรีสุลาลัย) " ๑๕ ที่ ๑ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว " ๑๕ ที่ ๒ พระองค์เจ้าชายป้อม " ๑๕ ที่ ๓ พระองค์เจ้าชายหนูดำ " ๑๕ สายพระชนกกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย (ฝ่ายอนุภรรยา) " ๑๖ สายน้องนางพระชนนีกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ที่ ๑ " ๑๖ สายน้องนางพระชนนีกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ที่ ๒ " ๑๗


(๓) สายพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๑๘ ที่ ๑ พระองค์เจ้าชายกระวีวงศ์ " ๑๘ ที่ ๒ พระองค์เจ้าหญิงใหญ่ " ๑๘ ที่ ๓ พระองค์เจ้าหญิงวิลาศ (กรมหมื่นอับสรสุดาเทพ) " ๑๘ ที่ ๔ พระองค์เจ้าชายดำ " ๑๘ ที่ ๕ พระองค์เจ้าหญิงดวงเดือน " ๑๘ ที่ ๖ พระองค์เจ้าหญิง ( ยังไม่มีพระนาม ) " ๑๘ ( สาย ) ที่ ๗ พระองค์เจ้าชายศิริ ( สมเด็จพระบรมราชมาตา มหัยยกาเธอ ) " ๑๘ (สาย) ที่ ๘ พระองค์เจ้าชายลักขณานุคุณ " ๒๑ ที่ ๙ พระองค์เจ้าหญิงกระมุท " ๒๒ ที่ ๑๐ พระองค์เจ้าหญิงมาลี " ๒๒ (สาย)ที่ ๑๑ พระองค์เจ้าชายโกเมน ( กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร) " ๒๒ (สาย)ที่ ๑๒พระองค์เจ้าชายคเนจร ( กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร " ๒๒ ที่ ๑๓ พระองค์เจ้าชาย ( ยังไม่มีพระนาม ) " ๒๓ ที่ ๑๔ พระองค์เจ้าชายเงินยวง " ๒๓ (สาย) ที่ ๑๕ พระองค์เจ้าชายงอนรถ " ๒๓ (สาย) ที่ ๑๖ พระองค์เจ้าชายลัดดาวัล (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) " ๒๓ ที่ ๑๗ พระองค์เจ้าหญิงเสงี่ยม " ๒๔ ที่ ๑๘ พระองค์เจ้าหญิงพงา " ๒๕


(๔) ที่ ๑๙ พระองค์เจ้าหญิงแสงจันทร หน้า ๒๕ ที่ ๒๐ พระองค์เจ้าหญิงนิเวศ " ๒๕ (สาย) ที่ ๒๑ พระองค์เจ้าชายชุมสาย (กรมขุนราชสีหวิกรม) " ๒๕ ที่ ๒๒ พระองค์เจ้าชาย (ยังไม่มีพระนาม) " ๒๕ ที่ ๒๓ พระองค์เจ้าหญิงสุบงกช " ๒๕ ที่ ๒๔ พระองค์เจ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) " ๒๕ ที่ ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงเลขา " ๒๖ ที่ ๒๖ พระองค์เจ้าหญิงลม่อม (กรมสมเด็จพระสุดา รัตนราชประยูร) " ๒๖ (สาย) ที่ ๒๗ พระองค์เจ้าชายเปียก " ๒๖ ที่ ๒๘ พระองค์เจ้าหญิงเกษนี " ๒๖ (สาย) ที่ ๒๙ พระองค์เจ้าชายอุไร (กรมหมื่นอดุลยลักษณ สมบัติ) " ๒๖ ที่ ๓๐ พระองค์เจ้าหญิงกินรี " ๒๖ ที่ ๓๑ พระองค์เจ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) " ๒๖ (สาย) ที่ ๓๒ พระองค์เจ้าชายอรรณพ (กรมหมื่นอุดมรัตนราศี) " ๒๖ ที่ ๓๓ พระองค์เจ้าหญิงเล็ก " ๒๗ ที่ ๓๔ พระองค์เจ้าหญิงพวงแก้ว " ๒๗ ที่ ๓๕ พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ " ๒๗ ที่ ๓๖ พระองค์เจ้าหญิงฉวีวรรณ " ๒๗


(๕) ที่ ๓๗ พระองค์เจ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) หน้า ๒๗ ที่ ๓๘ พระองค์เจ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) " ๒๗ ที่ ๓๙ พระองค์เจ้าชายลำยอง " ๒๗ ที่ ๔๐ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณี " ๒๗ ที่ ๔๑ พระองค์เจ้าหญิงนรลักษณ " ๒๗ ที่ ๔๒ พระองค์เ จ้าชายเฉลิมวงศ " ๒๗ ที่ ๔๓ พระองค์เจ้าหญิงจามรี " ๒๗ ที่ ๔๔ พระองค์เจ้าหญิงกฤษณา " ๒๗ ที่ ๔๕ พระองค์เจ้าชายอมฤต (กรมหมื่นภูบดีราช หฤทัย) " ๒๗ (สาย) ที่ ๔๖ พระองค์เจ้าชายสุบรรณ (กรมขุนภูวไนย นฤเบนทราธิบาล) " ๒๗ ที่ ๔๗ พระองค์เจ้าชาย (ยังไม่มีพระนาม) " ๒๘ (สาย) ที่ ๔๘ พระองค์เจ้าชายสิหรา (กรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณ) " ๒๘ (สาย) ที่ ๔๙ พระองค์เจ้าชายชมพูนุท (กรมขุนเจริญผล พูลสวัสดิ์) " ๒๘ (สาย) ที่ ๕๐ พระองค์เจ้าชายจินดา " ๒๘ ที่ ๕๑ พระองค์เจ้าหญิงบุตรี (กรมหลวงวรเสรฐสุดา) " ๒๘ ว่าด้วยพระราชประพันธ์ในระหว่างรัชกาลที่ ๓กับรัชกาลที่ ๕ " ๒๙


(๖) เทศนากัณฑ์ที่๒พระราชประวัติก่อนเสด็จดำรงศิริราชสมบัติหน้า ๓๓ อนุสนธิกถา " ๓๓ พระราชสมภพ " ๓๓ โสกันต์แลทรงผนวช " ๓๓ ทรงชำระคดีเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนกษัตรานุชิต " ๓๔ ทรงรับกรม " ๓๖ ทรงบัญชาการกรมท่า " ๓๗ ทรงบัญชาการก่อสร้างป้อมแลการภายในพระราชฐาน " ๓๘ ทรงบัญชาการทัพซึ่งไปตั้งรับพม่าที่เมืองกาญจนบุรี " ๓๘ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล " ๓๙ พระราชอัธยาศัย " ๔๐ ทรงบัญชาการกรมพระตำรวจหลวงแลความรับสั่ง " ๔๑ พระราชอุสาหะในราชกิจ " ๔๑ ทรงคิดแบบพระวอขนาดน้อย เทศนากัณฑ์๓ พระราชประวัติเมื่อเสด็จดำรงศิริราชสมบัติ " ๔๓ อนุสนธิกถา " ๔๓ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต " ๔๓ ราชาภิเษกพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว " ๔๔ พระบรมนามาภิไธยจารึกในพระสุพรรณบัตร " ๔๔


(๗)

ทรงสถาปนาสมเด็จพระศรีสุลาลัย หน้า ๔๕ ทรงสถาปนากรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ " ๔๕ ทรงเลื่อนแลตั้งกรมพระบรมวงศานุวงศ " ๔๖ ทรงตั้งตำแหน่งเสนาบดีแลเลื่อนยศข้าราชการ " ๔๘ อนุเวียงจันท์คิดขบถ " ๔๙ อนุยกทัพลงมาตั้งที่เมืองนครราชสีมา " ๔๙ อนุให้กวาดต้อนครัวเมืองนครราชสีมาแลสระบุรี " ๔๙ พระยาปลัดเมืองนครราชสีมาต่อสู้พวกลาว " ๔๙ อนุถอยทัพไปตั้งค่ายที่ช่องเขาสารตำบลหนองบัวลำภู " ๕๐ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ทรงเตรียมการรักษา พระนคร " ๕๐ กรมพระราชวังบวรเสด็จยาตราทัพไปประชุมที่ท่าเรือพระบาท " ๕๑ กรมพระราชวังบวรทรงจัดกระบวรทัพ " ๕๑ โปรดให้แบ่งกองทัพมารักษาทางปากน้ำเจ้าพระยา " ๕๒ กองทัพกรุงตีทัพลาวที่หนองบัวลำภู " ๕๒ อนุหนีไปเมืองญวน " ๕๒ กองทัพกรุงตีค่ายที่ช่องเขาสาร " ๕๓ กองทัพหลวงขึ้นไปตั้งที่เมืองพานพร้าว " ๕๓ อุปราชเวียงจันท์เข้าสามิภักดิ์ " ๕๓ พระยาราชสุภาวดีตีทัพเจ้าปานสุวรรณแลเจ้าราชบุตร " ๕๓

(๘) กองทัพกรุงตีได้เมืองจำปาศักดิ์ หน้า ๕๓ กรมพระราชวังบวรให้ทำลายเมืองเวียงจันท์ " ๕๔ กรมพระราชวังบวรเสด็จยาตราทัพกลับกรุงเทพฯ " ๕๔ โปรดให้พระยาราชสุภาวดีเปนเจ้าพระยาว่าที่สมุหนายก " ๕๔ โปรดให้เจ้าพระยาราชสุภาวดียกกลับขึ้นไปเมืองเวียงจันท์ " ๕๔ พระยาพิไชยสงครามข้ามไปเมืองเวียงจันท์ " ๕๕ ญวนพาอนุมาขอโทษ " ๕๕ อนุคิดร้ายฆ่าพระยาพิไชยสงครามกับพวกไทย " ๕๕ เจ้าพระยาราชสุภาวดีล่าทัพมาเมืองยโสธร " ๕๕ ราชวงศ์ยกตามเจ้าพระยาราชสุภาวดี " ๕๖ เจ้าพระยาราชสุภาวดีรบกับราชวงศ์ " ๕๖ อนุแลราชวงศ์หนีไปอยู่เมืองพวน " ๕๖ เจ้าพระยาราชสุภาวดีให้พระยาวิชิตสงครามฆ่าญวน " ๕๗ จับตัวอนุได้ส่งมากรุงเทพ ฯ " ๕๗ ทรงตั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดีเปนเจ้าพระยาบดินทรเดชา " ๕๗ ว่าด้วยเหตุที่จะเกิดสงครามกับญวน " ๕๘ เมื่องไซ่ง่อนเปนขบถ " ๖๐ ทรงพระราชดำริห์ทำสงครามกับญวน " ๖๐ ทรงจัดกองทัพ " ๖๐ เจ้าพระยาพระคลังได้เมืองบันทายมาศแลเมืองโจดก " ๖๑


(๙)

เจ้าพระยาบดินทรเดชายกเข้าเมืองเขมร หน้า ๖๑ เจ้าพระยาบดินทรเจ้าพระยาพระคลังยกเข้าตีทัพญวน " ๖๑ ทัพเรือเจ้าพระยาพระคลังไม่พร้อมเพรียงกัน " ๖๑ เจ้าพระยาบดินทรแลเจ้าพระยาพระคลังถอยทัพ " ๖๒ เขมรกำเริบ " ๖๒ กองทัพทางเมืองบาพนมถอยกลับ " ๖๒ กองทัพไทยทางเมืองนครพนมตีเมืองรายทาง " ๖๓ กองทัพไทยทางเมืองหนองคายเกลี้ยกล่อมได้เมืองพวน " ๖๓ กองทัพทางเมืองหลวงพระบางตีค่ายญวน " ๖๓ กองทัพเจ้าพระยาธรรมาเกลี้ยกล่อมได้เมืองหัวพันทั้งหก " ๖๓ ญวนให้องค์จันทรมาตั้งอยู่ที่เมืองพนมเปน " ๖๓ ไทยให้องค์อิ่มเปนเจ้าเมืองพระตะบอง " ๖๓ ญวนกดขี่พวกเขมร " ๖๔ นักองค์อิ่มบอกส่งตัวนักองค์ด้วงเข้ามากรุงเทพ ฯ " ๖๔ นักองค์อิ่มกวาดครอบครัวหนีไปอยู่กับญวน " ๖๔ โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรยกออกไปเมืองเขมร " ๖๔ ญวนจับองค์แบนถ่วงน้ำ " ๖๕ พวกเขมรกำเริบต่อญวน " ๖๕ เจ้าพระยาบดินทรตีค่ายญวนที่กพงทมแลเมืองซีแครง " ๖๕ ญวนที่เมืองโพธิสัตว์ยอมแพ้ " ๖๖

(๑๐) โปรดให้องค์ด้วงเปนเจ้ากรุงกัมพูชา หน้า ๖๖ ญวนให้มาเจรจาขอเปนไมตรี " ๖๖ ญวนยกเข้าตีค่ายเขมรเมืองบาที " ๖๗ ญวนตั้งองค์อิ่มเปนเจ้าเมืองเขมร " ๖๗ เจ้าพระยาบดินทรให้สร้างเมืองอุดงค์ให้องค์ด้วง " ๖๗ ไทยแต่งกองโจรคอยรังแกทัพญวน " ๖๘ ญวนถอยไปตั้งที่เมืองโจดก " ๖๘ เจ้าพระยาบดินทรพาองค์ด้วงลงไปตั้งที่เมืองพนมเปน " ๖๙ โปรดให้เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เปนแม่ทัพเรือไปตี เมืองบันทายมาศ " ๖๙ กองทัพเรือกลับกรุงเทพฯ " ๗๐ เจ้าพระยาบดินทรถอยกลับไปตั้งที่เมืองอุดงค์ " ๗๐ ญวนแลเขมรตั้งค่ายรายตามมาอีก " ๗๑ ญวนยกมาตีค่ายไทยที่เมืองพนมเปญแตก " ๗๑ ญวนยกมาล้อมค่ายไทยเมืองอุดงค์ " ๗๑ เจ้าพระยาบดินทรตีทัพญวนแตก " ๗๑ ญวนกับไทยเปนไมตรีกัน " ๗๒ เจ้าพระยาธรรมาจัดราชการทางเมืองหัวพันทั้งหก " ๗๓ พระมหาสงครามยกไปปราบเมืองลาวตามเชิงเขาประทัด " ๗๔ ตั้งเมืองด่านในท้องที่มณฑลอุดรแลอีสาณ " ๗๕


(๑๑) ราชการทางเมืองพม่า หน้า ๗๗ เหตุที่รบกับเมืองเชียงตุง " ๗๗ กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงตุง " ๗๘ ราชการทางหัวเมืองมลายู " ๗๘ ตนกูอุดินตีเมืองไทรบุรี " ๗๘ หัวเมืองแขกเปนขบถ " ๗๙ กองทัพกรุงตีเมืองไทรบุรี " ๗๙ เจ้าพระยานครได้เมืองไทรบุรี " ๗๙ เจ้าเมืองตานีหนีไปอยู่เมืองกลันตัน " ๗๙ เจ้าเมืองกลันตันยอมอ่อนน้อม " ๗๙ ตั้งตนกูอุมาเปนพระยาตรังกานู " ๘๐ พวกเมืองไทรยกมาตีเมืองตรังแลเมืองไทรบุรี " ๘๐ กองทัพไทยยกไปปราบเมืองไทรบุรี " ๘๐ ระงับวิวาทในระหว่างตนกูปะสาแลพระยากลันตัน " ๘๑ จัดราชการเมืองไทรบุรี " ๘๑ ตั้งเมืองสตูน " ๘๑ ตั้งเมืองปลิด " ๘๒ คืนเมืองไทรบุรีแก่เจ้าพระยาไทร " ๘๒ การในพระนคร " ๘๒ ปราบจีนตั้วเหี่ยที่เมืองจันทบุรี " ๘๒


(๑๒) ปราบจีนตั้วเหี่ยเมืองนครไชยศรีแลเมืองสมุทสาคร หน้า ๘๒ ปราบจีนตั้วเหี่ยตามหัวเมืองชายทเลฝ่ายตวันตก " ๘๓ จีนตั้วเหี่ยเมืองสมุทสาครยิงพระยามหาเทพตาย " ๘๓ จีนตั้วเหี่ยเมืองฉเชิงเทราฆ่าพระยาวิเศษฦๅไชย " ๘๓ ทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ " ๘๔ เรื่องทำสัญญากับอังกฤษ " ๘๔ เรื่องทำสัญญากับอเมริกัน " ๘๕ อีสอินเดียกัมปนีมาขอทำสัญญาซื้อช้าง " ๘๖ อเมริกันมาขอแก้สัญญา " ๘๖ ทรงจัดการป้องกันพระนคร " ๘๗ สร้างป้อมเมืองสมุทปราการ " ๘๗ สร้างพระเจดีย์กลางน้ำ " ๘๘ สร้างป้อมเมืองสมุทสาครแลเมืองสมุทสงคราม " ๘๘ ย้ายเมืองจันทบุรีแลสร้างป้อม " ๘๘ สร้างป้อมเมืองฉเชิงเทรา " ๘๙ ซ่อมเมืองพระตะบอง " ๘๙ สร้างเมืองนครเสียมราฐ " ๘๙ สร้างป้อมปากน้ำแลเมืองนครเขื่อนขันธ์ " ๘๙ สร้างเรือรบ " ๙๐ ขุดคลอง " ๙๑


(๑๓) ตั้งหัวเมืองขึ้นใหม่ หน้า ๙๑ พระราชานุเคราะห์ " ๙๒ ซ่อมพระราชฐาน " ๙๒ ซ่อมพระอาราม " ๙๒ สร้างพระพุทธรูป " ๙๓ สร้างพระไตรปิฏก " ๙๓ อุปถัมภ์การเล่าเรียนพระปริยัติ " ๙๓ การพระราชพิธีต่าง ๆ " ๙๓ การเมรุท้องสนามหลวง " ๙๔ พระราชอัธยาศัย " ๙๔ ทรงพระประชวร " ๙๔ พระบรมราโชวาทเรื่องรัชทายาท " ๙๕ ทรงแสดงโอภาสถึงตัวผู้ที่จะรับราชสมบัติ " ๙๖ พระราชกระแสในการที่พระสงฆ์ห่มผ้า " ๙๖ พระราชทานเงินค่าจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์สามเณร " ๙๖ ทรงขมาพระสงฆ์ " ๙๖ แปรพระที่นั่งสวรรคต " ๙๗ เสด็จสวรรคต " ๙๗


การพระราชกุศล ในสมัยพระชนมายุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บันจบ ๑๐๐ ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรารภถึงวารดิถีซึ่งนับแต่วันพระบรมมหาประสูติกาล แห่งสมเด็จพระบรมปิตุลาแลพระบรมไปยกาธิ ราชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ ๑๐๐ ปีตามสุริยคติกาลในวันเสาร์เดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ ปีชวดยังเปนนพศกศักราช ๑๒๔๙ แล้วทรงพระราชดำริห์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเปนการฉลองพระเดชพระคุณในสมัยกาลพิเศษนี้ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ดำรัสสั่งเจ้าพนักงานให้จัดการที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ตามกาลกำหนด ณ วันศุกรเดือน ๕ แรก ๓ ค่เจ้าพนักงานเชิญพระพุทธปฏิมากรนาคสวาดพระองค์๑ พระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทประจำวันพระชนม พรรษาพระองค์ ๑ พระพุทธปฏิมากรประจำปีพระชนมพรรษา ๖๕ พระองค์ มาตั้งบุษบกดอกไม้สด แล้วเชิญพระบรมอัสถิแลพระบรมทนต์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาสถิตในบุษบกทองคประดิษ ฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองคำในพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เวลา ๒ ทุ่มพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระทวารพระที่นั่งอนันตสมาคมประทับณพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ทรงบำเพ็พระ

๒ ราชกุศล พระสงฆ์ราชาคณะ ถานานุกรมเปรียญ ๑๐๐ รูป สวดพระพุทธมนต์สัตตปริตจบแล้วทรงทอดผ้าไตรสดัปกรณ์ แบ่งพระสงฆ์เปน ๓ ภาค ภาคหนึ่งเท่าปีที่เสด็จดำรงสิริราชสมบัติผ้าไตรสลับแพร กราบพระแพรต่วนตีพิมพ์แสดงการพระกุศล ๒รูป ภาคหนึ่งเท่าปีพระชนม พรรษาเมื่อยังไม่ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติไตรผ้าล้วนกราบพระแพรตีพิมพ์๓๘รูป ภาคหนึ่งเท่าปีนับแต่หน้าปีสวรรคตมาจนบัญจบพรชนม พรรษาครบ ๑๐๐ ปี ไตรผ้ากราบพระผ้าตีพิมพ์ ๓๕ รูป แล้วพระวรวงศเธอพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรถวายเทศนาพระไตรลักษณแสดงพระราชสันตติวงศแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในเบื้องต้น จบแล้วทรงทอดผ้าไตรดัปกรณ์แลทรงประเคนเครื่องบริขารกัณฑ์กับพระราชทานจตุปัจจัยมูลราคา ๑๐ ตำลึง แล้วทรงทอดผ้าขาวพับพระราชาคณะถานานุกรมเปรียญอันดับสดัปกรณ์ ๑๐๐ รูป แล้วทรงจุดดอกไม้เพลิงแลทอดพระเนตรการมหรศพซึ่งมีที่ท้องสนามไชย มีโขนหน้าจอโรง ๑ หนังโรง ๑ สิงห์โต มังกร รำโคม แลดอกไม้เพลิงต่าง ๆ ตามธรรมเนียม เวลา ๒ ยามเศษเสด็จขึ้น วันเสาร์เดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ เวลาเช้า ๕ โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงประเคนขัชชโภชาหาร พระสงฆ์รับพระราชทานฉันบนพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทบ้าง แบ่งไปฉันในที่อื่นบ้างครั้นพระสงฆ์ฉันแล้วทรงประเคนเครื่องไทยธรรมเปนภาคเอก ๒๗ ภาคโท ๓๘ ภาคตรี ๓๕ แล้วพระสงฆ์สวดทักขิณานุโมทนา ถานาถวาย


๓ อนุโมทนาแล้วพระสงฆ์สดัปกรณ์อีก ๕๐๐ รูป หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตถวายเทศนาธรรมจริยาสมจริยาบรรยายพระราชประวัติในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาเมื่อยังไม่ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติในเบื้องต้น จบแล้วทรงทอดผ้าไตรสดัปกรณ์แลทรงประเคนเครื่องบูชากัณฑ์เทศนา แลพระราชทานวัดถุเปนมูลกัปปิยภัณฑ์ราคา ๑๐ตำลึงแล้วเสด็จขึ้น เวลาบ่าย ๕ โมงเศษโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิรเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จออกทรงโปรยที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท มะนาวผลละสลึง ๒๐๐ ผล ผลละเฟื้อง ๓๐๐ ผล รวม ๕๐๐ ผล มีการมหรศพเวลากลางวัน ไม้ลอย ญวนหก ตาม ธรรมเนียม เวลา ๒ ทุ่มพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก พระธรรมวโรดม (แดง) ถวายเทศนาโภชนทาน พรรณาพระราชประวัติแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติจนเสด็จสวรรคต จบแล้วทรงทอดผ้าไตรสดัปกรณ์แลทรงประเคนเครื่อง วรามิศต่าง ๆ แลมูลค่าปัจจัยทั้ง ๔ ราคาชั่งสิบตำลึงเปนธรรมเนียมเทศนบูชา แล้วทรงทอดผ้าขาวพับสดัปกรณ์ ๑๐๐ รูป แล้วทรงจุดดอกไม้เพลิงแลทอดพระเนตรการมหรศพ เสด็จขึ้น ๒ ยามเศษ



๔ อนึ่งในการพระราชกุศลครั้งนี้โปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้พระบรมวงศานุวงศแลข้าทูลลอองธุลีพระบาทถวายในส่วนเงินเรี่ยรายในการพระราชกุศลเปนการฉลองพระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเปนจำนวนเงินเปนอันมาก เงินรายนี้จะโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ เจดียสถานแลเสนาสน ในวัดราชโอรส ซึ่งเปนพระอารามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นไว้ เพื่อเปนการรุ่งเรื่องในพระพุทธศาสนา แลปรากฏพระเกียรติยศไปสิ้นกาลนาน












โคลงพระราชนิพนธ์ ( ดูผู้แต่งเทศน์เอื้อน อนุสรณ์ นี้ฤๅ ชื่อจุฬาลงกรณ์ เนื่องเชื้อ สำหรับแต่การจร คราวหนึ่ง แลนา ย่นย่อพอแต่เนื้อ เรื่องตั้งฟังเอง ฯ





เทศนากัณฑ์ที่ ๑ เรื่องพระราชสันตติวงศ _________ บัดนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนา ในพระไตรลักษณแลลำดับพระราชสันตติวงศ แห่งพะบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี อนุโมทนาในพระราชกุศลบุญนิธีอนวัชกิจ ซึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงบำเพ็ญเปนญาติธรรมจริยาทักษิณานุปทานมัย ฉลองพระเดชพระคุณในสมเด็จพระบรมบิตุลา แลพระบรมไปยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบขัตติยสันตติวงศเนื่องมา นับเปนรัชกาลที่สามในพระบรมราชวงศ ประจุบันนี้ด้วยทรงพระปรารภคำนวนวันตั้งแต่พระบรมมหาประสูติกาล แห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้มีวัน ๒ ฯ๑๐๔ ค่ำ ปีมแม นพศก จุลศักราช ๑๑๔๙ เปนปีที่ ๖ ในรัชกาลเปนประถม มาจนถึงวัน ๗ ฯ๔๕ ค่ำ ปีชวดยังเปนนพศก๒๐จุลศักราช ๑๒๔๙นับวารดิถีตามสุริยคติกาลบรรจบครบร้อยปีเต็มบริบูรณ์มิได้ยิ่งหย่อน เปนอภิลักขิตกาลพิเศษ สมควรที่พระบรมวงศานุวงศแลข้าราชการ ซึ่งได้พึ่งพระบารมีมาแต่กาลก่อน แลที่ได้รับประโยชน์อันเนื่องมาแต่พระบรมเดชานุภาพแลพระราชอุสาหของพระองค์ คือได้ทรงปกป้องพระราช



๗ อาณาเขตรขอบขันธสีมาให้อยู่เย็นเปนศุขดำรงเปนเอกราชนครมาถึง ๒๗ ปี เปนต้น แล้วบำเพ็ญการกุศลฉลองพระเดชพระคุณ โดยความชื่นชมยินดีตามควรแก่กาลสมัย ฯ จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพิเศษอันนี้ ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท อันเปนราชกุฏาคารสถาน ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาขึ้นไว้เป็นพระเกียรติยศอยู่ในแผ่นดิน โปรดให้เชิญพระพุทธปฏิมากรนาคสวาดองค์ ๑ พระพุทธปฏิมากรประจำพระชนมพรรษาวันองค์ ๑ พระชนมพรรษาสมปฏิมากร ๖๕ พระองค์ มาประดิษฐานเปนที่ทรงนมัสการ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมอัฏฐิพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาสถิตยในบุษบกทองคำ ประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้ากาญจนไมย แล้วโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะถานานุกรมเปรียญ ๑๐๐ รูป แบ่งเปนสามภาค ภาคหนึ่งเท่าจำนวนปีซึ่งได้เสด็จดำรงศิริราชสมบัติ พระราชทานผ้าไตรจีวรสลับแพรผ้ากราบแพรต่วนตีตรา แสดงการพระราชกุศล ๒๗ รูป ภาคหนึ่งเท่าพระชนมพรรษา ซึ่งยังมิได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระราชทานไตรจีวรผ้าล้วน ผ้ากราบแพรต่วน ๓๘ รูป อีกภาคหนึ่งเท่าพรรษกาลนับแต่น่าปีเสด็จสวรรคตมาจนกาลบัดนี้ พระราชทานไตรจีวรแลผ้ากราบผ้าล้วน ๓๕ รูป รวมสามภาคครบพระสงฆ์ ๑๐๐ รูป สดัปกรณ์พระบรมอัฏฐิ สวดพระพุทธมนต์เวลาเช้ารับพระราชทานฉันพระราชทานเครื่องไทยธรรมต่าง ๆ ทั้งของหลวงแลของพระบรม


๘ วงศานุวงศ ซึ่งทรงจัดมาถวายช่วยการพระราชกุศลแล้วสดัปกรณ์ พระสง ๗๐๐ รูป มีพระธรรมเทศนาสามกัณฑ์ มีการมหรสสมโภชพระบรมอัฏฐิตามสมควรแก่กาลสมัย แลพระราชทานพระบรมราชา นุญาตให้พระเจ้าราชวรวงศเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ แลพระองค์เจ้าหม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอแลหลานหลวง ในรัชกาลที่สามนั้น ใด้เพ็ญพระกุศลเปนการฉลองพระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตามควรแก่ความประสงค์ ทรงพระราชอุทิศส่วนพระราชกุศลทั้งนี้ ถวายแด่สมเด็จพระบรมบิตุลาแลบรมไปยกาธิราช เปนการฉลองพระเดชพระคุณในอภิลักขิตสมัยในปัจฉิมกาลด้วยประการฉนี้ บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนาความตามลำดับในพระราชสันตติวงศ อันเนื่องมาแต่องค์สมเด็จพระประถมบรมมหาไปยกาธิบดีอันเปนบรรพบุรุษต้นพระบรมราชวงศ อันได้ประดิษฐานแลดำรงกรุง รัตนโกสินทรมหินทรายุทธยา ได้ประดิษฐานพระบรมวงศสืบเนื่องมาโดยความเจริญแพร่หลาย เปนพระบรมราชวงศอันใหญ่ มีพระเจ้าแผ่นดินแลพระบรมวงศานุวงศ ซึ่งได้เสด็จดำรงแผ่นดินแลได้รับราชการ โดยกำลังพระสติปัญญาแลกำลังพระกาย ปราบปรามแลป้องกันสรรพความร้ายแลไภยพิบัติ อันจะมาตกต้องแก่สมณาจารย์ประชาราษฏร อันเปนชาวสยามแลชาวต่างประเทศ ซึ่งได้อาไศรย


๙ อยู่ในพระราชอาณาเขตรพึ่งพระบารมี ได้อยู่เย็นเปนศุขสืบมา ล่วงกาลได้กว่าร้อยปีเปนกำหนด ควรที่มหาชนจะนับถือสักการบูชาแล้วตั้งจิตรคิดฉลองพระเดชพระคุณโดยความกตัญญูกตเวที ให้พระบรมราชประเพณีวงศดำรงยืนยาวสืบไปในภายน่า ฯ สมเด็จพระประถมบรมมหาไปยกาธิบดีพระองค์นั้น ได้เสด็จอุบัติในมหามาตยตระกูลโบราณในครั้งกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา ได้ทำราชการสืบตระกูลตั้งนิวาศนสถานอยู่ในกำแพงพระนคร พระองค์มีพระโอรสพระธิดา ซึ่งร่วมพระมารดาเดียวกันห้าพระองค์ ที่ ๑ คือกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีอันเป็นต้นเชื้อวงศแห่งเจ้านายวังหลังเพราะเปนพระมารดาของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข แลเจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศ ซึ่งยังมีพระนัดดา ปะนัดดา ปรากฏอยู่จนกาลทุกวันนี้ ฯ ที่ ๒ พระเจ้าขุนรามณรงค์ ซึ่งสิ้นพระชนมเสียแต่ครั้งกรุงทวาราวดีศรีอยุทธยา เหลือแต่พระธิดาได้เสด็จอยู่จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มีพระนามปรากฏณภายหลังว่ากรมขุนรามินทรสุดา ก็เปนอันหมดเชื้อพระวงศอยู่เพียงนั้น ฯ ที่ ๓ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์อันเปนต้นเชื้อวงศของเจ้านายอีกหมู่หนึ่ง ซึ่งเรียกตามคำสามัญว่าเจ้ากรมหลวงกรมขุน เพราะเปนพระมารดาของเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษซึ่งยังมีพระนัดดาปะนัดดาปรากฏอยู่จนกาลทุกวันนี้โดยมากแลพระองค์เปนพระมารดาของกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ซึ่งเปนสมเด็จ


๑๐ พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันยังมีพระราชนัดดาปะนัดดาปรากฏอยู่อีกแผนกหนึ่งด้วย ฯ ที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ อันเปนประถมรากง่าวแห่งพระบรมราชวงศ ซึ่งประดิษฐานแลดำรงกรุงรัตนโกสินทร์นี้โดยทางตรงซึ่งจะได้รับพระราชทานพรรณนาสืบไปในเบื้องน่า ฯ ที่ ๕ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ซึ่งเปนต้นเชื้อวงศของเจ้านายหมู่หนึ่งซึ่งเรียกโดยคำสามัญว่าเจ้านายวังน่าพระพุทธยอดฟ้าฯ แลสมเด็จพระประถมบรมมหาไปยกาธิบดีนั้น มีพระธิดาอันประสูตรด้วยพระมารดาอื่นอีกพระองค์ ๑ ซึ่งปรากฎพระนามในภายหลังว่ากรมหลวง นรินทรเทวี เพราะได้กรมหมื่นนรินทรพิทักษเปนพระภัศดา ก็นับเปนต้นตระกูลแห่งเจ้านายสืบมาอีกตระกูลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเปนต้นตระกูลเจ้าครอกวัดโพ ก็ยังมีนัดดาปะนัดดาปรากฎอยู่จนกาลทุกวันนี้ ฯ โอรสสมเด็จพระประถมบรมมหาไปยกาธิบดีอีกพระองค์ ๑ นั้น คือ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฏา ต่างพระมารดากับกรมหลวงนรินทรเทวีเปนต้นตระกูลเจ้านายอีกพวกหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่าพวกเจ้ากรมหลวงจักรเจษฏา ก็ยังมีนัดดาปะนัดดาปรากกอยู่จนทุกวันนี้บ้างฯ จึ่งควรนับว่าบรมราชตระกูลอันสืบมาแต่องค์สมเด็จ พระประถมบรมหมาไปยกา ธิบดี ได้มาประดิษฐานเปนขัตติยราชตระกูลในกรุงรัตนโกสินทรมหิน ทรายุทธยานี้ เปนเจ็ดสายเจ็ดพวกด้วยประการฉนี้


๑๑ บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนาลำดับพระบรมราชวงศ ฉเพาะแต่สายที่ตรงลงมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ อันเป็นพระบรมราชวงศซึ่งดำรงแผ่นดินสืบมาแล้ว แลจะสืบต่อไปภายน่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์นั้น พระองค์ได้กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ซึ่งเปนพระธิดาแห่งสมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี อันมีนิวาศนสถานอยู่พาหิรุทยานแขวงเมืองสมุทสงครามเรียกว่าตำบลบางช้าง เปนพระราชเทวี แต่ยังไม่ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ มีพระราชโอรสพระราชธิดาถึงสิบพระองค์ ฯ พระองค์ที่ ๑ นั้นเปนพระบุตรี พระองค์ที่ ๒ เปนพระกุมาร ทั้งสองพระองค์นี้สิ้นพระชนมเสียแต่กรุงทวาราวดียังมิได้แตกทำลายฯ พระองค์ที่ ๓ เป็นพระบุตรี มีพระนามปรากฏในประจุบันนี้ ว่าสมเด็จพระประถมบรมไอยิกาเธอ ได้เปนพระชายาเจ้ากรุงธนบุรี มีพระโอรสมีนามว่าเจ้าฟ้าสุพันธวงศ แล้วเปนเจ้าฟ้าอภัยธิเบศรกรมขุนกษัตรานุชิตภายหลังต้องถอดเรียกชื่อเดิมว่าหม่อมเหมน แต่ก็ยังควรจะนับว่าเปนต้นตระกูลของกิ่งหนึ่งต่างหาก ผิดกับพระวงศกิ่งอื่น ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะสูญอยู่แล้วฯ พระราชโอรสซึ่งนับเปนที่ ๔ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย อันได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบพระวงศศตรงเนื่องมาแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ อันจะได้รับพระราชทานพรรณนาสืบไปในเบื้องน่า ฯ พระราชธิดาอีกพระองค์หนึ่งนับเปนที่ ๕ ปรากฏพระนามในบัดนี้ว่าสมเด็จพระเจ้าไอยิกาเธอ


๑๒ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ ฯ พระราชโอรสนับเปนที่ ๖ คือกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ อันนับเปนต้นตระกูลแห่งพระเจ้าบวรวงศเธอชั้นสอง อันยังเสด็จปรากฏอยู่ณบัดนี้ แลมีหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศหม่อมหลวงอีกเปนอันมากฯ พระราชธิดานับเปนที่ ๗ ซึ่งปรากฏพระนามในบัดนี้ว่า สมเด็จพระเจ้าไอยิกาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีฯ ยังมีอีกสามพระองค์ สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ มิได้ปรากฏพระนาม แลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์นั้นยังมีพระราชบุตร พระราชบุตรี อันเกิดด้วยพระสนมเปนพระราชบุตร ๑๓ พระองค์ พระราชบุตรี ๒๐ พระองค์ แลเจ้านายทุกพระองค์นั้น ก็นับว่าเปนต้นตระกูลของพระองค์เจ้าหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งนับว่าเปนพระบวรวงศเธอชั้นที่สาม แลพระวรวงศเธอ แลหม่อมเจ้าชั้นที่ ๑ มีหม่อมราชวงศหม่อมหลวงสืบประพันธ์กันไปเปนอันมาก นับเปนตระกูลหนึ่ง ๆ อันเนื่องในพระบรมราชวงศ ด้วยประการฉนี้ บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนในพระราชโอรสพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย อันนับว่าเป็นสายใหญ่ซึ่งได้ดำรงศิริราชสมบัติมาแล้ว แลจะสืบไปภายน่า ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยนั้น มีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสนองพระองค์มา ซึ่งจะได้รับพระราชทานพรรณนาสืบไปในภายหลังฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย


๑๓ มีพระบรมราชเทวีพระองค์หนึ่ง ซึ่งปรากฏพระนามในภายหลังว่ากรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ มีพระราชโอรสพระองค์ที่ ๑ สิ้นพระชนม์เสียแต่แรกประสูตร ฯ พระราชโอรสที่ ๒ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบพระบรมราชสันตติวงศ์เปนสายตรงสืบมา มีพระราชโอรสพระราชธิดาเปนเจ้าฟ้าแต่เดิมห้าพระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าโสมนัศ สิ้นพระชนม์เสียแต่วันประสูตร แลสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าซึ่งได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดำรงพระบรมราชวงศอยู่ในประจุบันนี้เป็นที่สอง สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณภควดีกรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ นับเปนที่สาม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ นับเปนที่สี่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ กรมพระภาณุพันธุวงศวรเดชนับเปนที่ห้า แลมีพระราชโอรสพระราชธิดาเปนเจ้าฟ้า ภายหลังอีกสองพระองค์ มีพระราชบุตร ๓๕ พระองค์ พระราชบุตรี ๔๒ พระองค์ ตกเสียสองพระองค์ แลมีพระราชนัดดาปะนัดดาเปนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระวรวงศเธอ หม่อมเจ้าหม่อมราชวงศอีกเปนอันมาก ฯ พระราชโอรสที่ ๓ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย แลกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชบุตร พระราชบุตรี นับว่าเปนพระเจ้าบวรวงศเธอชั้นที่ ๔ แลมีพระราชนัดดาปะนัดดา นับว่า


๑๔ เปนพระบวรวงศเธอ แลหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศแผนกหนึ่งเปนอันมากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย มีพระราชโอรสพระราชธิดาเปนเจ้าฟ้าชายอีกสามพระองค์ หญิงอีกพระองค์ ๑ มีพระราชบุตร ๓๖ พระองค์ พระราชบุตรี ๓๐ พระองค์ แลพระบรมวงศานุวงศซึ่งได้ออกพระนามแลนับเปนหมวด ๆ มานี้ ล้วนเปนพระบรมวงศานุวงศอันติดเนื่องประพันธ์สนิทกันทั ได้นามว่าพระบรมราชวงศซึ่งประ ดิษฐานแลดำรงกรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยา ด้วยประการฉนี้ บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนาความแต่เฉพาะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัซึ่งเปนเหตุอันสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงพระปรารภเพื่อจะบำเพ็พระราชกุศลฉลองพระเดชพระคุณพระองค์นั้น ได้รับพระราชทานพรรณนาพระบรมราชวงศฝ่ายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ซึ่งเปนสมเด็จพระบรมชนกนารถมาแล้ว บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนาลำดับพระวงศ ฝ่ายกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ซึ่งเปนสมเด็จพระบรมราชชนนี เพื่อให้เปนที่ทรงรฦก ถึงพระคุณแห่งบรรพบุรุษ แลเปนที่ทรงสังเวชตามพระบรมราชประสงค์ก็แลลำดับเชื้อวงศซึ่งสืบเนื่องกันมาอย่างไรนั้น ท่านผู้ซึ่งเปนใหญ่ในตระกูลแต่ก่อน ๆ มักจะปิดป้องมิให้ผู้น้อยในตระกูลทราบ ด้วยรังเกียจว่าจะไปออกนามเล่นในเวลาไม่ควร ในที่ไม่ควรบ้าง กลัวว่าผู้น้อยจะกำเริบเย่อหยิ่ง ว่าตัวเนื่องประพันธ์สนิทในท่านผู้มีเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน แล้วประพฤติการทุจริตผิด ๆ ไปต่าง ๆ ด้วย


๑๕ ความทนงใจบ้าง ครั้นเมื่อท่านผู้ใหญ่ล่วงไปแล้ว ผู้น้อยในตระกูลนั้นก็ไม่ได้ทราบเชื้อสายว่ามาอย่างไร ไม่สามารถที่จะเล่าบอกกันต่อ ๆ ไปได้ ดังนี้เปนคติโบราณเคยประพฤติมาโดยมาก ก็แลราชินีกูลข้างฝ่ายกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย อันเปนสมเด็จพระบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมื่อไต่ถามดูก็ไม่ได้ความตลอดถ้วนถี่ มีเค้ามูลเพียงดังจะได้รับพระราชทานพรรณนาสืบไปนี้มีความว่า พระชนกของกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยนั้น มีนามบุญจันได้ทำราชการแผ่นดินเปนที่พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน ตั้งเคหสถานอยู่ในที่ซึ่งได้ทรงสถาปนาเปนวัดเฉลิมพระเกียรติณเมืองนนทบุรี มีภรรยาใหญ่ซึ่งเปนพระชนนีกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยมีนามว่าท่านเพ็งมีแต่พระธิดาองค์เดียว คือกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ได้ทำราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย แต่ยังเปนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เสด็จประทับอยู่ณบ้านหลวงเดิมแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ครั้นเมื่อเสด็จลงไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม ก็ตามเสด็จลได้ ประสูตรพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณพระราชวังเดิม แล้วมีพระราชโอรสอีกสองพระองค์ ทรงพระนามพระองค์เจ้าป้อมพระองค์ อีกพระองค์ ๑ทรงพระนามพระองค์เจ้าหนูดำสิ้นพระชนม์เสียแต่ก่อนแล้วทั้งสองพระองค์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ก็เสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวัง ได้ดำรงที่พระสนมเอก บังคับการ


๑๖ ห้องเครื่อง ชนทั้งปวงออกพระนามว่าเจ้าคุณ แลได้เสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวัง แห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ยังเปนกรมนั้นบ้างเปนครั้งเปนคราว จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แลพระชนกในกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยนั้น มีบุตรด้วยภรรยาเดิมอันมิได้ปรากฎชื่ออีกคน ๑ ชื่อนายนาก เปนคนไม่เรียบร้อยจึงมิได้ทำราชการ นายนากมีบุตรสามคน คน ๑ รับราชการได้เปนพระยารัตนอาภรณ์ บุตรหญิงคน ๑ ชื่อมี บุตรชายอีกคน ๑ ชื่อนายทอง แลบุตรชายหญิงของท่านทั้งสามยังมีปรากฎอยู่จนบัดนี้บ้าง นับว่าเปนราชินีกูลสายหนึ่ง ๆ ฝ่ายพระชนนีในกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยนั้น มีน้องนางอีกสองคนชื่อมิได้ปรากฏแน่ชัด น้องนางที่ ๑ นั้นมีบุตรีผู้ ๑ ชื่อท่านผ่อง ได้หม่อมทับซึ่งเปนหลานท้าวทรงกันดารทองมอญ ครั้งกรุงธนบุรีผู้มีความชอบในรัชกาลที่ ๑ เปนสามี มีบุตรชายหญิงถึงหกคน ที่ ๑ ชื่อท่านฉิม ที่ ๒ ชื่อท่านป้อมได้รับราชการมาแต่ในรัชกาลที่ ๓ จึงถึงรัชกาลที่ ๔ เปนท่านเถ้าแก่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง แลได้ทำนุบำรุงเลี้ยงสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ มาแต่ยังทรงพระเยาว์ ครั้นเมื่อถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องว่าเปนราชินิกูล แลเปนเชื้อสายท้าวทรงกันดารทองมอญผู้มีความชอบ จึงโปรดเกล้าให้จัดการศพอย่างท้าวสนองพระโอษฐ แลไว้ศพในพระบรมมหาราชวังฯ บุตรีที่ ๓ ได้


๑๗ รับราชการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนเจ้าจอมมารดาแห่งสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษแลพระเจ้ามหัยยิกาเธอกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ถึงแก่กรรมเสียแต่ในรัชกาลที่ ๒ ฯ บุตรีที่ ๔ ชื่อน้อยไม่ได้ทำราชการ มีบุตรชายหญิงถึง ๗ คน คือจางวางพ่วง แลพระยาพิพิธไอสูรย์ พระยาอาหารบริรักษเปนต้นฯ บุตรที่ ๕ ชื่อนายแขก ถึงแก่กรรมเสียแต่ยังหนุ่มไม่ได้รับราชการ มีบุตร ๔ คน คือท้าวสุภัติการภักดี แลจางวางหนู เปนต้น ฯ บุตรที่ ๖ ชื่อนายฝรั่ง เปนคนสูบฝิ่นไม่ได้รับราชการ มีบุตรหญิงชายหลายคน ที่ได้รับราชการคือหลวงอรรคนารีรัตนามาตย์ (เอม) เปนต้น ฯ พระน้องนางของพระชนนีในกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ที่ ๒ นั้น มีบุตรหญิงชายหลายคน บุตรชายคนที่ ๑ ชื่อนายบุญมี ๆ มีบุตรชายคนที่ ๑ ชื่อนายสี ๆ มีบุตรชื่อคำ ได้ทำราชการอยู่ในพระบรมมหาราชวังเปนพนักงานเฝ้าหอพระ บุตรของนายบุญมีคน ๑ ชื่อนายสังข์ ๆ มีบุตรหญิงชื่อสวน ชื่อพลับ ซึ่งได้สืบเชื้อวงศไปจนถึงหลวงฤทธินายเวรมหาดเล็กทุกวันนี้ นายบุญมีมีบุตรหญิงอีกคน ๑ ชื่อมาก ได้ทำราชการเปนพนักงานเฝ้าหอพระอยู่จนถึงรัชกาลประจุบันนี้ ในพวกซึ่งเปนเชื้อวงศอันสืบมาแต่พระน้องนางของพระชนนีในกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยทั้งสองคนนี้ ก็นับว่าเปนราชินีกูลในรัชกาลที่ ๓ ทั้งสิ้น


๑๘ บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนาในจำนวนพระราชโอรสพระราชนัดดา ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเว้นยังมิได้พรรณนามาแต่หลังนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชบุตร พระราชบุตรี อันเกิดด้วยพระสนมตั้งแต่ยังมิได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมาก ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็มีพระราชบุตร พระราชบุตรี อีกเพียงห้าปีเปนกำหนด แล้วก็มิได้มีสืบไป ฯ พระราชบุตรองค์เปนประถม ทรงพระนามพระองค์เจ้ากระวีวงศ ถัดนั้นมาเปนพระราชบุตรียังไม่มีพระนาม เรียกแต่ ว่าพระองค์เจ้าหญิงใหญ่ พระองค์เจ้าทั้งสองพระองค์นี้ มีพระชนม์พรรษาเพียง ๙ ปี ๑๐ ปีก็สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังมิได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ที่ ๓ เปนพระราชบุตรี ทรงพระนามพระองค์เจ้าวิลาศเปนพระปิยราชธิดา ภายหลังมาพระราชทานอิศริยยศเปนกรมหมื่นอับศรสุดาเทพ ได้ทรงรับราชการเปนพนักงานพระสุคนธ์ ต่อพระองค์เจ้าวงศซึ่งได้ทรงทำมาแต่ก่อน แลเปนผู้กำกับแจกเบี้ยหวัดฝ่ายในครั้นเมื่อประชวรสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระโสกาไลยเปนอันมาก โปรดให้ตั้งพระเมรุณท้องสนามหลวงพระราชทานเพลิงเปนการใหญ่ ที่ ๔ เปนพระราชบุตร ทรงพระนามพระองค์เจ้าชายดำ สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ ที่ ๕ พระราชบุตรี มีนามพระองค์เจ้าดวงเดือน ในรัชกาลที่ ๔ ได้เป็นพนักงานพระสุคนธ์ ป็นหัวน่าในพระเจ้าราชวรวงศเธอฝ่ายใน


๑๙ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ ที่ ๖ พระองค์เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ยังมิได้มีพระนาม ที่ ๗ พระราชบุตรทรงพระนามพระองค์เจ้าสิริ แล้วโปรดให้เปนกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ได้ทรงบังคับบัญชากรมช่างมุก ทำบานวัดพระเชตุพนแลการอื่น ๆ แลได้ทรงเปนนายด้านทำการทั่วไปในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน แลได้ทรงเปนนายด้านทำการวัดหนังจนแล้วสำเร็จ ครั้นเมื่อสิ้นพระชนม์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอาไลยเปนอันมาก ด้วยเปนพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในขณะนั้น จึงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการปลูกพระเมรุ พระราชทานเพลิง ณ ท้องสนามหลวงเปนการใหญ่ แล้วให้เชิญพระอัฏฐิบรรจุในพระโกษฐทองคำมาประดิษฐานไว้ณตำหนักกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยในพระบรมมหาราชวัง ครั้นภายหลังเมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึ่งโปรดให้ช่างทำพระโกษฐจำหลักลายลงยาราชาวดีเปลี่ยนถวายใหม่ แล้วก็ปรากฏพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอ มาจนบัดนี้ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอพระองค์นั้น มีพระโอรสแลพระธิดาหลายพระองค์ในเวลาเมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์นั้นยังทรงพระเยาว์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเปนพระไอยกาโปรดให้เสด็จมาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระองค์ใหญ่ ๆ ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณในที่ใกล้ชิด ตามเสด็จอย่างพระเจ้าลูกเธอตลอดมา พระโอรสพระองค์ใหญ่ สมเด็จพระบรมไอยกาพระ


๒๐ ราชทานนามว่ามงคลเลิศ ในรัชกาลที่ ๔ ก็โปรดให้เปนพระวงศ์เธอพระองค์เจ้า ทรงพระเมตตาเปนอันมาก พระองค์เจ้ามงคลเลิศ มีบุตรแลบุตรี ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณหลายคน มีพระยาไชยสุรินทร์เปนต้นฯ พระธิดาพระองค์ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาใช้สอยสนิท โปรดว่าอยู่งานพัศจึงพระราชทานนามว่ารำเพย ภายหลังมาได้เปนสมเด็จพระบรมราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ปรากฎ พระนามว่าสมเด็จพระนามเจ้ารำเพย ภมราภิรม มีพระบรมราชโอรสสามพระองค์ แลพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานออกพระนามมาแต่เบื้องต้นแล้วนั้น พระองค์ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระอรรคมเหษีถ้วน ๙ ปี เปนกำหนด ครั้นเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ก็ได้ทรงรับพระเกียรติยศยิ่งใหญ่ในการ พระศพตามอย่างสมเด็จพระบรมราชครั้นในรัชกาลประจุบันนี้ จึงทรงสถา ปนาพระอัฏฐิ เปนกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ สมเด็จพระบรมราชชนนี ตามโบราณราชประเพณีสืบมา ๆ ที่ ๓ เปนพระธิดา ทรงนามหม่อมเจ้าชมชื่น ที่ ๔ เปนพระธิดา ได้สนองพระเดชพระคุณมาแต่ยังทรงพระเยาว์จนประจุบันนี้ มีความชอบเปนอันมาก จึ่งพระราชทานพระสุพรรณบัตรให้เปนพระสัมพันธวงศ์เธอพระองค์เจ้าฟื้นประยูรวงศ์สนิท ฯ พระธิดาที่ ๕ มีนามหม่อมเจ้าประสงค์สรรพ์ พระธิดาที่ ๖ มีนามหม่อมเจ้าสารพัดเพชร พระธิดาที่ ๗ นามหม่อมเจ้าพรรณราได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณในรัชกาลที่ ๔ มีพระองค์เจ้าสองพระองค์


๒๑ อันสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระมหากรุณา ยกขึ้นเปนเจ้าฟ้าปรากฎพระนามว่าพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยาแลพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ ฯ พระองค์ที่ ๘ เปนพระโอรสสนามเดิมหม่อมเจ้าฉายเฉิด ทรงผนวชได้แปลพระปริยัติธรรมได้แปดประโยค ดำรงยศเปนหม่อมเจ้าพระเปรียญครั้นเมื่อลาผนวชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระมหากรุณาพระราชทานหีบทองเปนเครื่องยศ ครั้นถึงในรัชกาลประจุบันนี้ พระราชทานพระสุพรรณบัตรให้เปนพระองค์เจ้า ภายหลังเลื่อนเปนพระสัมพันธวงศเธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ ได้บังคับการในกรมราชบัณฑิตย์ มีบุตรได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณเปนที่หม่อม นเรนทรราชา ราชินิกูล ฯ ที่ ๙ เปนพระโอรส ได้สนองพระเดชพระคุณมาแต่เดิมมาก ครั้นเมื่อได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ จึ่งพระราชทานพระสุพรรณบัตรให้เปนพระสัมพันธวงศเธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ ได้ว่าการกรมช่างประดับกระจกแลมหาดเล็กช่าง สิ้นพระชนม์เสียในระหว่างกาล ซึ่งจะโปรดให้เปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีบุตรแลบุตรีมาก ได้รับราชการเปนนายจ่าเรศอยู่นายหนึ่ง แลพระธิดาแห่งสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอซึ่งมิได้เปนพระองค์เจ้นั้น ก็ทรงยกย่องเปนหม่อมเจ้าสัมพันธวงศ มีเกียรติยศแลประโยชน์ยิ่งกว่า หม่อมเจ้าสามัญทุกพระองค์ พระราชบุตรพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าที่ ๘ ทรงพระนามพระองค์เจ้าลักขณานุคุณเปนปิยราชโอรส แต่หาได้


๒๒ ทรงรับราชการอันใดไม่ เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ได้พระราชทานพระเกียรติ ยศในการพระศพพระเมรุท้องสนามหลวง พระองค์เจ้าลักขณานุคุณมีพระธิดาพระองค์เดียว ซึ่งประสูตรก่อนพระบิดาสิ้นพระชนม์ไม่ช้านัก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงพระมหากรุณาแก่หม่อมเจ้าองนั้นยิ่งนัก ด้วยเปนกำพร้าแต่ยังเยาว์ จึ่งพระราชทานพระสุพรรณบัตรให้เปนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัศวัฒนาวดี ครั้นเมื่อครบปีกำหนดโสกันต์ก็โปรดให้มีกระบวนแห่อย่างโสกันต์ใหญ่ ยกเสียแต่เขาไกรลาศ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ก็ได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชเทวี มีพระราชโอรสประสูตรสิ้นพระชนม์ในวันนั้น อันปรากฎพระนามณบัดนี้ว่า สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าโสมนัศ เมื่อประสูตรแล้วไม่นาสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัศวัฒนาวดีก็สิ้นพระชนม์ ได้พระราชทานเพลิงณท้องสนามหลวง ตามอย่างสมเด็จพระบรมราชเทวีฯ พระบุตรีที่ ๙ ทรงพระนามพระองค์เจ้ากระมุท สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์พระราชบุตรีที่ ๑๐ ทรงพระนามพระองค์เจ้ามาลีสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ข้างเบื้องต้น ที่ ๑๑ พระราชบุตรทรงพระนามพระองค์เจ้าโกเมน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปนกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ มีพระโอรสแลธิดาหลายองค์ เชือนแชเสียโดยมาก ยังได้รับราชการอยู่ก็มี คือหม่อมเจ้าศักดิศรี แลหม่อมเจ้าอ่างเปนต้น พระราชบุตรที่ ๑๒ มีพระนามพระองค์เจ้าคเนจร เปนกรมหมื่นอมเรนทร


๒๓ บดินทรแต่ในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงกำกับช่างมุกต่อสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ มีพระโอรสพระธิดาเปนอันมาก ได้รับราชการแต่หม่อมเจ้าจังหวัด ซึ่งถึงชีพตักษัยได้กำกับช่างมุกต่อมา โอรสแลธิดานอกนั้นยังอยู่อีกหลายองค์ คือ หม่อมเจ้าเมฆินเปนต้น พระราชบุตรที่ ๑๓ พระองค์เจ้าชายไม่มีพระนาม สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ พระราชบุตรที่ ๑๔ พระองค์ เจ้าเงินยวงสิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ พระราชบิตรที่ ๑พระองค์เจ้างอนรถสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ มีพระโอรสยังอยู่ในบัดนีคือ หม่อมเจ้าชายแดง พระราชบุตรที่ ๑๖ พระองค์เจ้าลัดดาวัล ในรัชกาลที่ ๔ ได้เปนกรมหมื่นภูมินทรภักดี ได้รับราชการเปนนายด้านทำการวิหารพระพุทธไสยาศน์วัดเชตุพนแต่ในรัชกาลที่ ๓ ครั้นถึงในรัชกาลที่ ๔ ก็ได้เปนนายด้านทำการวัดราชโอรสแลวัดมหาพฤฒาราม แลได้ฉลองพระเดชพระคุณในการช่างต่าง ๆ อยู่เนืองนิจมิได้ขาด แลเปนผู้กำกับแจกเบี้ยหวัดจนตลอดเวลาสิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ มีพระโอรสแลพระธิดาเปนอันมาก พระโอรสองค์ใหญ่ทรงผนวชแปลพระปริยัติธรรม ดำรงสมณศักดิเปนเปรียญมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ ครั้นในรัชกาลประจุบันนี้ได้ดำรงสมณศักดิ์เปนที่พระราชาคณะ นามหม่อมเจ้าพระอรุณนิภาคุณากโปรดให้มาครองวัดราชบพิธซึ่งเปนพระอารามหลวงทรงสถาปนาขึ้นใหม่ ภายหลังพระราชทานพระสุพรรณบัตรเลื่อนขึ้นเปนพระวรวงศเธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร มีสร้อย


๒๔ พระนามตามสมณศักดิ ตั้งถานานุกรมได้เสมอตำแหน่งที่พระพรหมมุนีมีพระโอรสอีกองค์หนึ่งชื่อหม่อมเจ้าฉาย ได้รับราชการเปนนายด้านทำวัดมหาพฤฒารามแลการช่างต่าง ๆ ต่อมา แลหม่อมเจ้าเพิ่มได้รับราชการขึ้นอยู่ในกรมว่าการต่างประเทศหม่อมเจ้าปานได้รับราชการเปนช่างเขียนในพระบรมมหาราชวัง หม่อมเจ้าพร้อมทรงผนวชเปนสามเณร ได้แปลพระปริยัติธรรมดำรงสมณศักดิเปนหม่อมเจ้าสามเณรเปรียญอยู่ในกาลบัดนี้ฝ่ายพระธิดานั้นได้ดำรงตำแหน่งพระอรรคชายาเธอในรัชกาลประจุบันนี้สามพระองค์ พระองค์ใหญ่มีพระราชธิดาพระองค์ ๑ ทรงพระนามพระองค์เจ้าเยาวมาลนฤมล พระองค์กลางมีพระราชธิดาพระองค์ ๑ ทรงพระนามพระองค์เจ้าจันทราสรัทวาร พระองค์น้อยมีพระราชโอรส ๑ พระราชธิดา ๓ คือพระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้านภาจรจำรัสพระองค์เจ้ามาลินีนภดารา พระองค์เจ้านิภานภดล พระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้วนั้น ได้พระราชทานเพลิงณพระเมรุท้องสนามหลวงตามตำแหน่งพระอรรคชายา ที่ยังดำรงอยู่อีกสองพระองค์นั้น คือ พระอรรคชายาเธอหม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาคแลพระอรรคชายาเธอหม่อมเจ้าสาย จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระอรรคชายาเธอมีกรมแลพระเจ้าลูกเธอนั้น ก็จะโปรดให้เปนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าทุกพระองค์ แลพระธิดานอกจากนี้ก็ได้รับ ๔


๒๕ ราชการอยู่ในพระบรมมหาราชวังเปนอันมาก ฯ พระราชบุตรีที่ ๑๗ พระองค์เจ้าเสงี่ยมยังเสด็จดำรงอยู่ณบัดนี้พระราชบุตรีที่ ๑๘ พระองค์เจ้าพงา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระราชบุตรีที่ ๑๙ พระองค์เจ้าแสงจันทร์ ได้รับราชการเปนพนักงานพระสุคนธ์ แลสิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ พระราชบุตรีที่ ๒๐ พระองค์เจ้านิเวศยังเสด็จดำรงอยู่ณบัดนี้ พระราชบุตรที่ ๒๑ พระองค์เจ้าชุมสาย ในรัชกาลที่ ๔ ได้เปนกรมหมื่นแล้วภายหลังเลื่อนขึ้นเปนกรมขุนราชสีหวิกรม เมื่อรัชกาลที่ ๓ ได้เปนนายด้านทำวัดนางนองการไม่สำเร็จ ครั้นถึงในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงบังคับการช่างสิบหมู่ ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณในการช่างเปนอันมาก สิ้นพระชนม์ในท้ายรัชกาลที่ ๔ นั้น มีพระโอรสได้รับราชการหลายองค์ คือหม่อมเจ้ารเบียบ แลหม่อมเจ้าประวิชได้รับราชการในการช่าง หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้รับราชการในการต่างประเทศหลายอย่างมีความชอบ จึ่งโปรดพระราชทานพระสุพรรณบัตรให้เปนพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษภางค์ เป็นอรรคราชทูตสำหรับคอนติเนนต์ประเทศยุโรป ประจำอยู่ในกรุงฝรั่งเศสแล้วได้มารับราชการเปนไดเร็กเตอเยเนอราลในกรมโทรเลขไปรสนีย์ในกาลบัดนี้ พระราชบุตรที่ ๒๒ พระองค์เจ้าชายยังไม่มีพระนาม สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ พระราชบุตรีที่ ๒๓พระองค์เจ้าสุบงกชได้ทรงรับราชการเปนผู้กำกับแจกเบี้ยหวัด แลสิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ พระราชบุตรีที่ ๒๔ พระองค์เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์แต่ยังทรง


๒๖ พระเยาว์ พระราชบุตรีที่ ๒๕ พระองค์เจ้าเลขา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระราชบุตรีที่ ๒ในรัชกาลประจุบันนี้ เดิมเปนพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูร ภายหลังเลื่อนขึ้นเปนพระเจ้ามหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ด้วยสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงรฦกถึงพระคุณซึ่งท่านได้ทรงอภิบาลบำรุงพระองค์มาจำเดิมแต่เวลาแรกพระบรมประสูติกาลจนทรงพระเจริญไวย จึ่งทรงยกย่องไว้ในตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ เสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี ฯ พระราชบุตรที่ ๒๗ พระองค์เจ้าชายเบียก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ มีพระโอรสอยู่ ณ บัดนี้คือหม่อมเจ้านิสากร พระราชบุตรีที่ ๒๘พระองค์เจ้าเกษนี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระราชบุตรที่ ๒๙ พระองค์เจ้าอุไร ได้รับราชการในการช่างเบตเล็ดมาแต่รัชกาลที่ ๓ ครั้นรัชกาลที่ ๔ ได้เปนกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ได้บังคับการในวัดพระศรีรัตนสาศดาราม แลกำกับการกรมแสง แลได้รับราชการต่าง ๆ หลายอย่าง ภายหลังได้กำกับช่างศิลา แลสิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ มีพระโอรสและธิดาได้รับราชการอยู่หลายองค์คือหม่อมเจ้านิลวรรณ แลหม่อมเจ้าดุษฎี เปนต้น พระราชบุตรีที่ ๓๐ พระองค์เจ้ากินรี ในรัชกาลประจุบันนี้ ได้เปนผู้นั่งเบี้ยหวัด ยังเสด็จดำรงอยู่ ฯ พระราชบุตรีที่ ๓๑ พระองค์เจ้าหญิง สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ พระราชบุตรีที่ ๓๒ พระองค์เจ้าชายอรรณพ ในรัชกาลที่ ๓ ได้ว่ากรมมหาดเล็กแลกรมสังฆการี ครั้นในรัชกาลที่ ๔ ได้เปนกรมหมื่นอุดม


๒๗ รัตนราษี คงว่ากรมสังฆการี แลสิ้นพระชนม์ในรัชกาลนั้น มีโอรสธิดายังอยู่ในบัดนี้ คือหม่อมเจ้าพรประสิทธิ แลหม่อมเจ้าอมรอำนวยเปนต้น ฯ พระราชบุตรีที่ ๓๓ พระองค์เจ้าหญิงเล็กสิ้นพระชนม์แต่ยังพระเยาว์ พระราชบุตรีที่ ๓๔ พระองค์เจ้าพวงแก้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระราชบุตรีที่ ๓๕ พระองค์เจ้าประไพภักตร์ที่ ๓๖พระองค์เจ้าฉวีวรรณสิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้พระราชบุตรีที่ ๓๗ ที่ ๓๘ สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ พระราชบุตรที่ ๓๙ พระองค์เจ้าลำยอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ มีพระโอรสพระธิดายังอยู่บ้าง แต่เกะกะไมเปนราชการ พระราชบุตรีที่ ๔๐ พระองค์เจ้ากัลยานี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ พระราชบุตรีที่ ๔๑ พระองค์เจ้านรลักษณ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระราชบุตรที่ ๔๒ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระราชบุตรีที่ ๔๓ พระองค์เจ้าจามรี ได้ทรงบังคับการในพระพุทธรัตนสถานอยู่ในประจุบันนี้ พระราชบุตรีที่ ๔๔ พระองค์เจ้ากฤษณา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระราชบุตรที่ ๔๕ พระองค์เจ้าอมฤตเปนกรมหมื่นภูบดีราชหฤไทยในรัชกาลที่๔เเล้วได้ทรงบังคับการกรมหมอเเลสิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ พระราชบุตรที่ ๔๖ พระองค์เจ้าสุบรรณ ในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงกำกับช่างทำการในพระพุทธรัตนสถานแลพระพุทธมณเฑียร โปรดให้เปนกรมหมื่น ภูวไนยนฤเบนทราธิบาล ครั้นในรัชกาลประจุบันนี้ได้ทรงกำกับช่างทำการซ่อมวัดพระศรีรัตนสาศดารามในคราวแรก แลเปนนายด้าน


๒๘ ปฏิสังขรณ์วัดสังเวชวิสยาราม แล้วเลื่อนขึ้นเปนกรมขุน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลประจุบันนี้ มีพระโอรสแลพระธิดาหลายองคือหม่อมเจ้าเทโพแลหม่อมเจ้าหญิงรศคนธ์ เปนต้น พระราชบุตรที่ ๔๗ พระองค์เจ้าชายสิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ พระราชบุตรที่ ๔๗ พระองค์เจ้าสิงหราในรัชกาลที่ ๔ เปนกรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ ได้กำกับกรมพระอาลักษณ ครั้นในรัชกาลประจุบันนี้ ได้บังคับการโรงพิมพ์ แล้วเปลี่ยนไปบังคับการศาลราชตระกูล เลื่อนขึ้นเปนกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ มีพระโอรสพระธิดามาก ได้รับราชการคือหม่อมเจ้าวัชรินทร์ เปนต้น พระราชบุตรที่ ๔๙ พระองค์เจ้าชมพูนุท ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับราชการเบตเล็ดต่าง ๆ เปนกรมหมื่นเจริญผลพูนสวัสดิ์ ครั้นในรัชกาลประจุ บันนี้ได้ทรงบังคับการในวัดพระศรีรัตนสาศดาราม แลพระคลังพิมานอากาศ แลมหาดเล็กช่าง เปนนายด้านทำวัดเทพศิรินทราวาศ แลปฏิสังขรณ์วัดราชโอรส แล้วโปรดให้เลื่อนขึ้นเปนกรมขุน มีพระโอรสทรงผนวชได้แปลพระปริยัติธรรม ดำรงสมณศักดิเปนหม่อมเจ้าเปรียญแล้วภายหลังได้เลื่อนสมณศักดิเปนหม่อมเจ้าพระราชาคณะ มีนามว่า หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต พระราชบุตรที่ ๕๐ พระองค์เจ้าจินดาสิ้นพระชนม์แต่ในรัชกาลที่ ๓ มีพระโอรสองค์เดียว คือหม่อมเจ้าดารารัตน ซึ่งถึงชีพตักษัยไปแล้วนั้น พระราชบุตรีที่ ๕๑ พระองค์เจ้าบุตรีได้รับราชการเปนที่สนิทชิดใช้มา แต่ในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงรักษาประแจพระราชวัง ภายหลังได้ทรงบังคับการในพนักงานนมัสการแลกำกับ


๒๙ แจกเบี้ยหวัด นับเปนพระราชบุตรีที่สุดในรัชกาลนั้นเปนจำนวนพระราชบุตร ๒๓ พระองค์ พระราชบุตรี ๒๘ พระองค์ รวม ๕๑ พระองค์ดังนี้ ฯ ก็แลพระราชบุตร พระราชบุตรี ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้ง ๕๑ พระองค์นี้ มีนามปรากฎว่าพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ มีพระโอรสพระธิดาสืบ ๆ ลงไป นับว่าเปนเจ้านายแผนกหนึ่ง ซึ่งเรียกโดยสามัญว่า เจ้านายพวกราชวรวงศ์ ด้วยประการฉนี้ ฯ ก็แลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ถึงว่าไม่ได้มีพระราชโอรสแลพระราชธิดาเปนเจ้าฟ้า แลมิได้สืบสันตติวงศ์เปนพระเจ้าแผ่นดินก็ดี ก็ยังมีพระราชโอรสที่ได้ดำรงพระเกียรติยศใหญ่ เปนสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอ แลมีพระธิดาเปนกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร มีพระราชนัดดาเปนสมเด็จพระบรมราชเทวีถึงสองพระองค์ เปนพระอรรคชายาสามพระองค์ แลมีพระราชปะนัดดาเปนเจ้าฟ้า แล้วแลจะเปนต่อไปอีก ถึง ๑๓ พระองค์ ดังนี้ฯ บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนาข้อความ ซึ่งควรเปนที่ยินดี ชื่นชมของพระบรมวงศานุวงศ์ บันดาซึ่งปรากฎว่าเปนพวกราชวรวงศ์แลข้าราชการทั้งปวงอันมีความนิยมยินดีรฤกถึงพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามความที่เปนจริงประการใดนั้น แลเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดำรงตำแหน่งแผ่นดินสืบเนื่องต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงพระราชดำริห์ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


๓๐ ได้เสด็จดำรงราชสมบัติมาถึง ๒๗ ปีมีข้าราชการที่นิยมยินดีต่อพระองค์มาแต่เดิมก็มาก แลข้าราชการในภายหลังก็เปนคนเกิดในรัชกาลของพระองค์ทั้งสิ้น ย่อมจะเปนที่นับถือติดมั่นในใจอยุ่ทั่วหน้า บางทีจะมีความเดือดร้อนรำคานว่าราชตระกูลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเสื่อมสูญไปทุกที ก็จะเปนที่ปั่นป่วนรำคานใจไปต่าง ๆ จึ่งทรงพระราชดำริห์จะรำงับข้อรำคานนั้นให้เสื่อมหาย จึ่งได้ทรงรับสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัศวัฒนาวดีเปนพระบรมราชเทวี ก็ได้มีพระราชโอรสสมดังพระราชประสงค์ แต่ไม่ดำรงพระชนม์อยู่ได้ทั้งพระโอรสแลพระชนนี จึ่งได้ทรงรับกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เปนสมเด็จพระบรมราชเทวีต่อมา ก็ได้มีพระราชโอรสพระราชธิดาสมดังพระราชประสงค์ เพราะพระราชดำริห์ดังนี้ จึ่งได้ดำรัสประภาศยกย่องสมเด็จพระบรมราชโอรสพระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์นี้ ว่าเปนพวกราชวรวงศ์เนือง ๆ ตลอดมา ก็แลการซึ่งเปนเช่นนี้ ก็นับว่าเปนการอัศจรรย์ ด้วยพระบรมราชโอรสพระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ นั้น นับว่าเปนพระราชวงศ์แห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถึงสามสายสามทาง คือถ้าจะนับตามลำดับพระบรมราชวงศ์ ซึ่งตรงมาแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็นับว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนสมเด็จพระบรมบิตุลาธิราช ท่านทั้ง ๔ พระองค์นี้ เปนพระราชภาคิไนยทางหนึ่ง ถ้าจะนับฝ่ายสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอ แลกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบาท


๓๑ สมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว ก็นับว่าเปนสมเด็จพระบรมราชไปยกาธิบดี ทั้ง ๔ พระองค์นี้นับว่าเปนพระราชปะนัดดาทางหนึ่ง ถ้าจะนับข้างฝ่ายเจ้าจอมมารดาแห่งสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยกาเธอซึ่งสืบเนื่องมาแต่พระน้องนางของพระชนนีในกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ก็นับเนื่องอยู่ในประพันธ์ ไม่ห่างไกลกว่าทางที่สองนัก ควรนับว่าสนิทกว่าสมเด็จพระเจ้าพี่ยาโสมนัศ ด้วยประการฉนี้ ฯ ซึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ดำรงราชตระกูลมานี้ นับว่าเปนอันได้ดำรงพระวงศ์ทั้งสองฝ่าย ให้เจริญยืนยาวสืบไป ราชตระกูลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัวมิได้เสื่อมสูญมีแต่ซุดไปเช่นคิดเห็นโดยง่าย ๆ ด้วยพระบรมราชโอรสแลพระราชนัดดา ซึ่งจะสืบไปภายหน้ามากน้อยเท่าใด ก็คงนับเนื่องประพันธ์ในพระราชวงศ์ ทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดไปไม่มีทางที่จะหลีกละไปอย่างอื่นได้ ควรที่พระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งนับว่าเปนฝ่ายพระเจ้าราช วรวงศ์ทั้งนี้ จะมีความชื่นชมนิยมต่อพระบารมี ให้เปนที่ยินดีแห่งตน ๆ เมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงทราบพระราชประพันธ์อันสนิทเนื่องในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวดังนี้ จึ่งได้พระราชหฤทัย รฦกถึงพระเดชพระคุณแห่งพระองค์ ซึ่งได้ดำรงเปนบรรพบุรุษอันยิ่งใหญ่ จึ่งทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระเดชพระคุณ ในอภิลักขิตกาลพิเศษครั้งนี้ ฯ อนึ่งเมื่อได้ทรงพิจารณาถึงพระราชสันตติวงศ์ซึ่งเปน


๓๒ บรรพบุรุษอันเสด็จล่วงไปแล้วนั้น ก็ทรงสังเวชพระราชหฤทัยในการที่เปลี่ยนแปลงไปเปนธรรมดkจะได้ทรงเจริญสัญญาทั้งสามมีอนิจจสัญญาเปนต้น ให้บริบูรณ์เปนภาวนามัยบุญกิริยา อันเปนที่ตั้งแห่งกุศราษีต้องตามพุทธภาสิต อันทรงแสดงลักษณทั้งสามประการนั้น ฯ












คาถานิเขปบทเทศนากัณฑ์ที่ ๒ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึก ธมฺ สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ เอสานิสํโส ธมฺม สุจิณฺเณ น ทุคคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ






กัณฑ์ที่ ๒ พระราชประวัติ ก่อนเสด็จดำรงศิริราชสมบัติ


บัดนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในธรรมจริยาสมจริยาแลพรรณนาพระราชประวัติ แห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาเมื่อพระองค์ยังไม่ได้เสด็จดำรงศิริราชสมบัติในเบื้องต้น เพื่อให้เปนที่ทรงรฦกถึงพระเดชพระคุณ ซึ่งพระองค์ได้ทรงประพฤติราชกิจแลการพระราชกุศลทั้งปวง เพื่อให้เปนประโยชน์แก่ประชุมชนเปนอันมาก แลการซึ่งพระองค์ได้ทรงพระอุสาหะจัดการทั้งปวงนั้น ๆ ไว้ยังได้ปรากฎเปนคุณแก่ชนภายหลังจนกาลประจุบันนี้เปนอเนกประการควรที่สาธุชนบัณฑิตชาติจะยกย่องสรเสริญ แล้วรฦกถึงพระเดชพระคุณโดยความกตัญญูกตเวทีเปนนิจกาล ก็แลพระราชประวัติในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นพระองค์ได้เสด็จมายังโลกนี้ ในอัชชสังวัจฉรผคุณมาศกาฬปักษ์ทสมีดิถีศศิวาร พระองค์เปนพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลแต่เมื่อยังเสด็จดำรงพระยศเปนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร สมเด็จพระบรมอรรคราโชรสแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ซึ่งเสด็จดำรงราชมไหสุริยสมบัติเปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ๋ในขณะนั้น กรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยเปนพระบรมราชชนนี ได้เสด็จประสูตรณพระราชวังเดิมซึ่งเปนพระราชวัง


๓๔ เก่าแห่งเจ้ากรุงธนบุรี ณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝ่ายตวันตก พระองค์ทรงพระเจริญขึ้นโดยลำดับ ได้รับพระมหากรุณาแลพระเมตตา แห่งสมเด็จพระบรมไอยกาธิราชแต่ทรงพระเยาว์มาจนตลอดถึงเวลาพระชนมายุครบกำหนดโสกันต์ ในขณะนั้นยังหาได้มีธรรมเนียมพระหน่อเจ้าต่างกรมโสกันต์ในพระบรมมหาราชวังดังในประจุบันนี้ไพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงพระมหากรุณาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเปนพระราชนัดดา จึงโปรดเกล้า ฯให้โสกันต์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังเปนการพิเศษ แล้วก็ได้ทรงบรรพชาแลอุปสมบทฉเพาะพระภักตร์สมเด็จพระบรมไอยกาธิราชในวัดพระศรีรัตนสาศดารามทั้งสองสมัย ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยได้เสด็จเถลิงถวัลยราชอุปราชาภิเศก เปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในท้ายรัชกาลที่ ๑ นั้น พระองค์ก็ได้ดำรงพระยศเปนพระเจ้าหลานเธอ แลได้รับราชการในพระบรมชนกนารถทั่วไป เปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยอันสนิท ยิ่งกว่าพระราชโอรสพระองค์อื่น จนถึงสมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จสวรรคต ทรงมอบศิริราชสมบัติพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ในขณะนั้นมีหนังสือทิ้งกล่าวโทษ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์กรมขุนกษัตรานุชิตผู้เปนพระราชโอรสแห่งเจ้ากรุงธนบุรี ว่าจะคิดประทุษฐร้ายต่อพระองค์ เมื่อได้ทรงทราบแล้วก็ทรงพระราชดำริห็ด้วยพระวิจารณปัญญาอันอุดม ทรงเห็นว่าพระบรมวงศานุวงส์แลข้า


๓๕ ราชการผู้อื่น จะไม่มีผู้ใดกอบด้วยสติปัญญากล้าหาญ ซื่อตรงจงรักภักดีต่อพระองค์ยิ่งขึ้นไปกว่าพระเชษฐราโชรสพระองค์นี้ได้ ถ้าจะให้ผู้อื่นชำระเนื้อความจะยืดยาว ฤๅเคลื่อนคลายไป ไม่เปนการจับมั่นทั่วถึงโดยรอบคอบ ก็จะเปนเหตุให้เกิดเสี้ยนสัตรูลุกลามมากไป ฤๅเปนเชื้อสายให้เกิดเหตุอันตรายสืบไปภายน่า ด้วยเหตุว่าในเวลานั้นข้าราชการซึ่งเปนคนเก่าได้ทำราชการมาครั้งเจ้ากรุงธนบุรี ก็ยังมีปะปนอยู่โดยมาก ที่มีความนิยมนับถือต่อพระบารมีพระบรมเดชานุภาพ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทั่วหน้ากันนั้นก็จริงอยู่ แต่ที่มีความนิยมยินดีต่อพระบรมเดชานุภาพแลพระบารมีของพระองค์ก็มีโดยมาก ที่มีความยินดีต่อบุญบารมีของเชื้อวงศ์เจ้ากรุงธนบุรี อันเนื่องประพันธ์ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย แล้วคิดเห็น ว่าถ้าได้เจ้านาย เช่นนั้นเปนเจ้าแผ่นดินจะเปนอันได้ฉลองพระเดชพระคุณทั้งเจ้ากรุงธนบุรีที่เปนเจ้าเก่านายแก่ แลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ซึ่งเปนเจ้าใหม่นายใหม่ ทั้งสองฝ่ายดังนี้ก็มีอยู่โดยมาก ที่คิดเห็นแก่ประโยชน์ตนที่จะได้โอกาศทำการทุจริตเพราะจะได้เปนผู้มีความชอบต่อผู้ซึ่งเปนเจ้าแผ่นดินก็จะมีบ้างจึ่งเปนการยากที่จะไว้วางพระราชหฤทัยในท่านผู้ใดผู้หนึ่ซึ่งจำเปนจะต้องให้ประกอบพร้อมทั้งสติปัญญาแลความกล้าหาญแลความจงรักภักดีทั้งสามประการ จึ่งจะสามารถที่จะชำระเสี้ยนสัตรูทั้งนี้ให้สิ้นรากเง่าระงับการจลาจล ซึ่งจะเกิดขึ้นในพระนครในเวลาที่ตั้งพระราชธานีใหม่ ยังไม่มั่งคั่งสมบูรณ์ฉนั้นให้ความ


๓๖ สงบเรียบร้อยตั้งอยู่ไม่เปนที่เดือดร้อนแก่สมณาจารย์ประชาราษฎรภายในพระนคร แลไม่เปนที่หมิ่นประมาทแก่ราชดัษกรภายนอก ซึ่งจะพลอยซ้ำเติมได้ เพราะทรงพระราชดำริห์เห็นการเปนข้อสำคัญยิ่งใหญ่ดังนี้ จึ่งทรงมอบให้พระบรมเชษฐราโชรสอันทรงทราบพระราชหฤทัยชัดว่า ประกอบพร้อมด้วยคุณสามประการดังพรรณนามาแล้วนั้น ให้ทรงพิจารณา ข้อความทั้งปวง แต่ในเวลาซึ่งพระองค์ยังตั้งอยู่ในประถมวัย มีพระชนมายุเพียง ๒๓ พรรษา พระองค์ก็ได้ทรงพิจารณาตัดรอน เลือกฟั้นได้ตัวผู้ซึ่งมีความเห็นอันวิปริตทั้งหลายทั่วทุกคนมิได้เหลือหลง แล้วนำความขึ้นกราบทูลแต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนารถ จึ่งโปรดให้ลงโทษระงับเหตุการทั้งปวงได้โดยเร็วพลัน การก็เรียบร้อยมิได้มีเหตุอันตรายแก่ความสงบเรียบร้อยเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใดได้อีก เปนความชอบอันยิ่งใหญ่ซึ่งพระองค์ได้ทำไว้ในแผ่นดินประถม เปนการที่ได้ฉลองพระเดชพระคุณพระบรมชนกนารถ แลได้ระงับอันตรายซึ่งจะเกิดมีแก่ประชาชนทั้งปวงทั่วหน้า ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยได้เสด็จเถลิงถวัลยราชปราบภิเศกแล้ว จึ่งได้พระราชทานพระสุพรรบัตรเลื่อนพระเกียรติพระองค์ขึ้น เปนพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฎาธิบดินทร์ พระราชทานที่วังแลเครื่องอุปโภคศฤงฆาร บริวารของหม่อมเหม็นให้เปนบำเหน็จ ที่ได้ทรงทำความชอบไว้ในแผ่นดินนั้น ฯ


๓๗ ก็แลในเวลารัชกาลที่ ๒ นั้น พระองค์ได้ทรงรับราชกิจน้อยใหญ่ ให้สำเร็จไปเปนอันมากมิได้เว้นว่าง ในราชการซึ่งเปนการประจำนั้นพระองค์ทรงบังคับบัญชาราชการในกรมท่าสิทธิ์ขาดทั่วไป แต่ในขณะนั้นราชการกรมท่าหาสู้จะมีคนต่างประเทศไปมาค้าขายมากนักไม่ ด้วยมิได้มีหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งจะเปนเหตุให้มีราชการมากเหมือนประจุบันนี้ พระราชทรัพย์ซึ่งจะจับจ่ายราชการแผ่นดินที่ได้แต่ค่านาอากรสมพักศรในพื้นบ้านเมืองก็มีน้อย ไม่พอที่จะจ่ายราชการเพราะฉนั้นพระเจ้าแผ่นดินจึ่งต้องทรงแต่งสำเภาบันทุกสินค้าออกไปค้าขายยังประเทศจีน เมื่อได้ประโยชน์กำไรก็พอได้มา เจือจานใช้ในราชการซึ่งจะรักษาพระนคร แลการแต่งสำเภาออกไปค้าขายเมืองจีนนี้ ตกเปนน่าที่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการแต่งสำเภาหลวงตลอดมา จึ่งเปนพนักงานของพระองค์ ทจะต้องทรงขวนขวายหาพระราชทรัพย์ถวายสมเด็จพระบรมชนกนารถที่จะได้ทรงใช้จ่ายในราชกิจทั้งปวง ถึงแม้ว่าเปนเวลาซึ่งการค้าขายมิได้บริบูรณ์ พระราชทรัพย์ซึ่งจะได้จากส่วนกำไรการค้าบกพร่องไม่พอจ่ายราชการ พระองค์ก็ทรงพระอุสาหะขวนขวายมิให้เปนที่ขุ่นเคืองฝ่าลอองธุลีพระบาทพระบรมชนกนารถ ด้วยในเวลานั้นเจ้านายแลข้าราชการ ที่มีทุนรอนพอจะแต่งสำเภาไปค้าเมืองจีนได้ ก็ได้แต่งสำเภาไปค้าขายอยู่ด้วยกันโดยมาก พระองค์ก็ได้ทรงแต่งสำเภาไปค้าขายในส่วนของพระองค์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึ่งถึงซึ่งความบริบูรณ์ ๖

๓๘ ด้วยทรัพย์พอที่จะฉลองพระเดชพระคุณ มิให้ขัดขวางในทางราชการได้ เปนเหตุให้สมเด็จพระบรมชนกนารถทรงพระกรุณา แล้วตรัสประภาศออกพระนามพระองค์ว่าเจ้าสัวเสมอมา ฯ ส่วนราชการงานโยธาก่อสร้าง ซึ่งพระองค์ได้ทรงทำการฉลองพระเดชพระคุณในรัชกาลที่ ๒ นั้น พระองค์ได้ทรงทำการ ทั้งการที่จะป้องกันพระนครแลการซึ่งเปนที่เจริญพระราชหฤทัย เกื้อกูลแก่พระบรมศุขแห่งสมเด็จพระบรมชนกนารถทั้งสองประการ คือพระองค์ได้ทรงรับน่าที่เปนแม่การสร้างป้อมประโคนไชย ๑ ป้อมนารายน์ ปราบศึก ๑ ป้อมปราการ ๑ ป้อมกายสิทธิ์ ๑ แลป้อมซึ่งตั้งอยู่ ณเกาะกลางน้ำชื่อป้อมผีเสื้อสมุท ทั้งป้อมนาคราชซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตวันตกทั้งหกป้อม พระองค์เสด็จลงไปประทับอยู่ณเมืองสมุทปราการ ทรงบังคับจัดการก่อสร้างป้อมทั้งปวงนี้เนือง ๆ มิได้ขาด เปนราชกิจติดพระองค์อยู่จนตลอดสิ้นทุติยรัชกาล ฯ ส่วนการซึ่งเปนที่สำราญพระราชหฤทัยนั้น พระองค์ได้ทรงเปนแม่กองจัดการขุดสระสวนสร้างเก๋งน้อยใหญ่ในพระราชอุทยานเบื้องบุรพาแห่งพระมหามณเฑียร ซึ่ง ปรากฎในขณะนั้นว่าสวนขวา ให้เปนที่เสด็จประพาศรื่นรมสำราญพระราชหฤทัยเปนอันมาก ฯ ครั้นเมื่อปีมะโรงโทศกจุลศักราช ๑๑๘๒ ได้ข่าวพม่าข้าศึกยกล่วงเข้ามาตั้งยุ้งฉางอยู่ณปลายด่าน เมืองกาญจนบุรี เพื่อจะก่อการสงครามแก่พระนคร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ทรงพระราชดำริ์หปฤกษาพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศแล


๓๙ ท่านเสนาบดี คิดจัดกองทัพออกไปตั้งรับพม่าข้าศึก ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบด้วยพระสติปัญญาชำนิชำนาญในการพิไชยสงคราม แกล้วกล้าสามารถอาจจะป้องกันอริราชดัษกร มิให้เข้ามาย่ำยีในพระราชอาณาเขตรได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จยกพยุหโยธาหาญออกไปตั้งขัดทัพอยู่ณตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี ตั้งทัพอยู่ถึงปี ๑ ก็มิได้มีพม่าเข้าศึกยกล่วงเข้ามาในพระราชอาณาเขตร ฯ แลในเวลาเมื่อเสด็จแรมทัพอยู่ณปากแพรกนั้น พระองค์ก็ได้ทรงเปนแม่กองจัดการส่งศิลาก้อนใหญ่ ๆ เข้ามาก่อเขาในพระราชอุทยานอยู่เสมอมิได้ขาด อนึ่งพระองค์ทรงประกอบไปด้วยพระศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทสาสนา ยิ่งนัก ได้ทรงสร้างพระพุทธปฏิมากรเปนหลายพระองค์ แลพระธรรมไตรปิฎกทั้งคำอัถคำแปล มีมงลลัตถทีปนีแปลที่ยังปรากฎอยู่ณบัดนี้เปนต้น แลทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงประติบัติเลี้ยงพระสงฆ์แล มีพระธรรมเทศนาทวังทุกวันมิได้ขาด แลพระราชทานเงินเดือนให้อาจารย์บอกพระคัมภีร์พุทธวจนแก่พระภิกษุสามเณรเปนอันมาก แล้วให้ ตั้งโรงทานไว้ที่วังสำหรับเลี้ยงยาจกวรรณิพกทั่วกน้า ถึงวันพระก็ทรงปล่อยสัตว์แลแจกเงินคนที่สูงอายุแลคนจนยากเปนนิจมิได้ขาด เปนพระราชกุศลนิพัทธทานเสมอมา ส่วนพระราชกุศลซึ่งเปนการจรตามกาลสมัย พระองค์ก็ได้ทรงบำเพ็ญเนือง ๆ แต่ในคราวซึ่งปรากฎเปนการใหญ่นั้น คือเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวช

๔๐ เปนสามเณร พระองค์ได้ทรงแต่งกระจาดใหญ่อันงามวิจิตร เปนเครื่องบูชาพระธรรมเทศนา แล้วเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาทรงเทศนาพระมหาเวสสันตรชาฎกกัณฑ์มัทรี ทรงถวายเครื่องไทยธรรมกระจาดใหญ่ ในครั้งนั้นพระบรมวงศานุวงศแลข้า ราชการราษฎรทั้งปวงก็พากันชื่นชมยินดีอนุโมทนาเปนการเอิกกะเหริกยิ่งใหญ่ ในกิจการซึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทั้งปวงนี้ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ก็ทรงอนุโมทนาแลสรเสริญเปนอันมาก แล้วดำรัสว่า แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนแต่พระเจ้าลูกเธอยังทำทานอยู่เนืองนิจดังนี้ ควรองค์ จะทรงบำเพ็ญทานให้ยิ่งกว่านั้นบ้างจึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงทานหลวงเลี้ยงพระสงฆ์แลยาจกวรรณิพกทั้งปวง แล้วให้มีธรรมเทศนาแจกเงินคนชราพิการ เปนแบบอย่างมาจนทุกวันนี้ ฯ อนึ่งพระองค์ปราศจากความมัจฉริยกระหนี่เหนียวแน่น โอบอ้อมอารีเจือจานทั่วไป ในพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าราชการ บันดาซึ่งเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทแลอยู่ประจำราชการในพระบรมมหารวังก็ได้ไปรับพระราชทานอาหารที่วังพระองค์ แทบจะทั่วหน้าทุกวันทุกเวลามิ ได้ขาด พระองค์ก็ถึงซึ่งความสรเสริญแลเปนที่นิยมรักใคร่ ในพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั่วหน้า แลในขณะเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลยังดำรงพระชนม์ อยู่นั้น เสด็จลงมาประทับพิพากษาคดีใหญ่ๆ แลความรับสั่ง ที่โรงลครใกล้วัดพระศรี


๔๑ รัตนสาศดาราม พระองค์ก็ได้เสด็จอยู่ในที่ประชุมพิพากษาคดีทั้งปวงเปนประธานด้วยพระองค์หนึ่งมิได้ขาด ครั้นเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จสวรรคตแล้ว พระองค์จึงได้ทรงรับตำแหน่งบังคับการสิทธิ์ขาดในกรมพระตำรวจ ว่าความรับสั่งทั้งปวงด้วยอาศรัยพระเมตตาพระกรุณาของพระองค์ต่อราษฎรทั้งปวงทั่วหน้า แลพระปรีชาญาณประกอบด้วยพระเดชานุภาพ ทรงพิจารณาไต่สวนข้อความของราษฎรให้แล้วไปโดยยุติธรรมโดยเร็ว เปนที่ชื่นชมนิยมยินดีของประชาราษฎรทั้งปวง ต่างคนมีจิตรคิดสวามิภักดิ์ต่อพระองค์เปนอันมาก ทั้งเปน ที่เบาพระราชหฤทัยในพระบรมชนกนารถ มิได้มีพระราชกังวลอันใดให้เปนที่ขุ่นเคืองพระราชกระมล พระองค์ทรงอุสาหะเสด็จเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ในเวลาซึ่งเสด็จพระราชดำเนินออกประทับณท้องพระโรงแลพระบัญชร ทุกเวลามิได้ขาดทั้งเช้าค่ำ ทั้งเสด็จเข้ามาประจำว่าราชกิจการต่าง ๆ ตามตำแหน่งของพระองค์อยู่เนืองนิจเช่นนั้นเมื่อถึงวัสสานรดู ถึงเปนเวลาฝนตกมากน้อยเท่าใดก็ดี พระองค์ก็มิได้รั้งรออยู่จนฝนหายให้เคลื่อนคลาดจากเวลาราชการ จึ่งเปนการลำบากแก่พระองค์ ซึ่งทรงพระเสลี่ยงมาในที่โถง ต้องผลดพระภูษาในเวลาเมื่อเสด็จมาประทับถึงในที่ในพระบรมราชวัง จึ่งทรงพระราชดำริห์แปลงแคร่กันยา ซึ่งเปนของสำหรับข้าราชการใช้ในขณะนั้น ให้เปนพระวอขนาดน้อยหุ้มด้วยผ้าขี้ผึ้ง สำหรับทรงเสด็จเข้าในพระบรม



๔๒ มหาราชวังในรดูฝน ครั้นเมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึ่งพระราชทานนามพระวอนั้นว่าวอประเวสวัง แลได้เปนแบบอย่าสำหรับพระบรมวงศานุวงศ ซึ่งเปนกรมทรงทำตามอย่างนั้นสำหรับทรงเข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทสืบมา พระองค์ทรงพระอุสาหะในราชกิจมิได้ย่อหย่อนถึงเพียงนี้ จึ่งเปนที่ต้องพระราชอัธยาไศรยเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยแห่งสมเด็จพระบรมชนกนารถยิ่งกว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ๆ ก็ได้ทรงบังคับกิจราชการทั้งปวงมากขึ้นเกือบจะทั่วไปในกาลครั้งนั้น ฯ รับพระราชทานพรรณนาพระราชประวัติในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังมิได้เสด็จดำรงศิริราชสมบัติ สิ้นความเพียงนี้ ฯ ก็แลการที่พระองค์ทรงประพฤติในการพระราชกุศลทั้งปวงก็ดี ในพระราชกรณีย์กิจทั้งปวงก็ดี ซึ่งได้รับพระราชทานพรรณนามาแล้วนั้น ล้วนเปนไปโดยธรรมจริยาสมจริยา ต้องตามพระพุทธภาสิต ฯ (ต่อนี้ไปแสดงอธิบายธรรมตามนิเขปบท )








คาถานิเขปบทเทศนากัณฑ์ที่ ๓ ภุตฺตา โภคา ภตา ภจฺจา วิติณฺณา อาปทาสุ เม อุทฺธคฺคา ทกฺขิณา ทินฺนา อโถ ปญฺจพลี กตา อุปฎฺฐิตา สีลวนฺโต สญฺญตา พฺรหฺมจารโย ยทตฺถํ โภคมิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโต ฆรมาวสํ โส เม อตฺโถ อนุปฺปตฺโต กตํ อนนุตาปิยํ เอตํ อนุสฺสรํ มจฺโจ อริยธมฺโม ฐิโต นโร อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ





๔๓ กัณฑ์ที่ ๓ พระราชประวัติเมื่อเสด็จดำรงศิริราชสมบัติ

บัดนี้จะได้รับพระราชทาน ถวายวิสัชชนาในคิหิสามีจิ ปฎิบัตยานุโมทนากถา แลพระราชประวัติในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจำเดิมแต่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเศกแลทรงประพฤติราชกิจน้อยใหญ่ในการที่จะรักษาพระนครขอบขันธสีมาปกป้องพระบรมวงศานุวงศเสนาพฤฒามาตย์ราษฎรประชาให้เปนผาสุกสวัสดิทั่วหน้าจนตลอดเวลาเสด็จสู่สวรรคต พรรณนาข้อความในพระราชกรณียกิจแลเหตุการอันเกิดในรัชกาลนั้น จำแนกเปนหมวด ๆ โดยย่อ พอเปนที่ทรงรฦกถึงพระเดชพระคุณแลทรงประสาทสังเวค ดำเนินความว่า ฯ เมื่อปีวอกฉศกจุลศักราช ๑๑๘๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยทรงพระประชวรไข้พิศม์อันแรงกล้ามิได้รู้สึกพระองค์ ไม่ได้ทรงดำเนินพระบรมราชโองการพระราชทานมอบเวนศิริราชสมบัติ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชอย่างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ด้วยพระประชวรอยู่เพียงสามเวลาก็เสด็จสวรรคต ในขณะนั้นเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี ซึ่งเปนประธานในราชการแผ่นดินสิ้นพระชนม์ล่วงไปก่อนแล้ว ยังแต่พระบรมวงศานุวงศแลท่านเสนาบดีซึ่งเปนประธานในราชการ ก็ส้วนแต่เปนผู้ชื่นชมนิยมยินดีต่อพระปรีชา ๗


๔๔ ญาณของพระองค์ จงได้ปฤกษาพร้อมกันเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ยังมีพระชนมายุน้อย แลเสด็จออกทรงผนวชในพระพุทธสาสนา โดยทรงพระศรัทธาเลื่อมใส มิได้ทรงพระดำริห์มุ่งหมายที่จะให้มีเหตุการบาดหมางในพระบรมราชวงศ ให้เปนการจลาจลขึ้นในบ้านเมือง ได้ทราบความชัดในพระดำริห์พระประสงค์ดังนี้แล้ว เห็นว่าในเวลานั้นพระนครก็ยังตั้งขึ้นไม่สู้ช้านาน การสงครามฝ่ายพม่าปัจจามิตร ก็ยังมุ่งหมายจะทำลายล้างกรุงสยามอยู่มิได้ขาด จึ่งเห็นพร้อมกันว่าอันเชิญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งมีพระชนมายุมาก แลทรงพระกิจใหญ่น้อยทั่วถึง ทั้งในการที่จะรักษาพระนครภายใน แลจะป้องกันอริราชสัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกได้ในเวลาเมื่อเกิดการสงคราม จะเปนเหตุให้พระบรมราชวงศแลพระนครตั้งมั่นเปนอนัญสาธารณ์สืบไปภายน่า จึ่ง ยินยอมพร้อมกันถวายศิริราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญขึ้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเศกเฉลิมพระราชมณเฑียรตามราชประเพณีแต่โบราณมิได้ยิ่งหย่อน การพระราชพิธีบรมราชาภิเศกนั้นได้สำเร็จลง ในวัน ๑๙ ค่ำปีวอกฉศก จารึกพระนามในพระสุพรรณบัตรว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนกาศภาส กรวงศ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุไทยดโรมน สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์


๔๕ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอคนิษฐฤทธิราเมศวร ธรรมมิกราชา ธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหิทรายุทธนา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน เมอได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงยกพระราชชนนี ขึ้นเปนกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ตำแหน่งที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง แลทรงตั้งพระเจ้าบรมวงศเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพ ซึ่งเปนประธานในราชการพระกระลาโหม อันเปนที่ไว้วางพระราชหฤไทย ให้ดำรงที่พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ครั้นเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงเลื่อนกรมหมื่นเทพพลศักดิ กรมหมื่นรักษรณเรศ กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ ขึ้นเปนกรมหลวงทั้ง ๓ พระองค์ ทรงเลื่อนกรมหมื่นรามอิศเรศ กรมหมื่นเดชอดิศร กรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ ขึ้นเปนกรมขุน แล้วทรงตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์น้อยขึ้นเปนกรมขุนอิศเรศรรังสรรค์ ทรงตั้งเจ้าพระเจ้าบรมวงศเธอเปนกรมหมื่น ๔ พระองค์ คือกรมหมื่นสวัสดิวิไชยกรมหมื่นไกรสรวิชิต กรมหมื่นศรีสุเทพ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ ทรงตั้งพระเจ้าน้องยาเธอเปนกรมหมื่น ๕พระองค์ คือกรมหมื่นพิทักษเท เวศร กรมหมื่นเสพยสุนทร กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ กรมหมื่อินท


๔๖ อมเรศ กรมหมื่นวงศาสนิท ทรงตั้งพระเจ้าน้องนางเธอฝ่ายใน เปนกรมขุนกัลยาสุนทรพระองค์ ๑พระเจ้าลูกเธอฝ่ายในเปนกรมหมื่นอับศรสุดาเทพพระองค์ ๑ พระเจ้าลูกเธอฝ่ายน่าเปนกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์พระองค์ ๑ เปนกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์พระองค์ ๑ ทรงตั้งพระองค์เจ้าในกรมพระราชวังที่ ๑ เปนกรมหมื่นนรานุชิตพระองค์ ๑ พระองค์เจ้าในกรมพระราชวังที่ ๒ เปนกรมหมื่นอมรมนตรีพระองค์ ๑ ทรงตั้งพระองค์เจ้าเจ่งในกรมหมื่นนรินทรพิทักษ เปนกรมหมื่นนเรนทร บริรักษพระองค์ ๑ อนึ่งกรมหมื่นสุรินทรรักษ ซึ่งเปนที่ทรงปฤกษา ไ ว้วางพระราชหฤไทยอันสนิทมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ ครั้นเมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็ได้ตั้งอยู่ในที่ปฤกษาราชการแผ่นดินแต่สิ้นพระชนม์ไปเสียโดยเร็วยังหาได้เลื่อนกรมไม่ ทรงตั้งเจ้าหลานเธอซึ่งเป็นพระธิดาพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ อันพระบิดาสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น ให้เปนพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัศวัฒนาวดีอิกพระองค์ ๑ ส่วนข้าทูลลอองธุลีพระบาทในชั้นต้น เสนาบดีมีเต็มตัวตามตำแหน่งอยู่ ยังหาได้ทรงตั้งไม่ ครั้นเมื่อขาดว่างตำแหน่งลงพระองค์ก็ได้ทรงตั้งขึ้นตามความชอบแลคุณวุฒิตำแหน่งที่สมุหนายกเมื่อเจ้าพระยาอภัยภูธรถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ได้ทรงตั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชาเปนที่สมุหนายก เมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชาถึงอสัญกรรมแล้ว ก็หาได้ทรงตั้งตำแหน่งที่สมุหนายกไม่ โปรดให้เจ้าพระยานิกรบดินทร แต่ยังเปนพระราชสุภาวดีว่าการในตำแหน่ง


๔๗ นั้น ที่สมุหพระกระลาโหมนั้นเมื่อเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (สังข์ ) ถึง อสัญกรรมแล้ว จึงโปรดให้เจ้าพระยายมราช (น้อย ) เปนเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ครั้นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (น้อย ) ถึงอสัญกรรมแล้ว จึ่งโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกระลาโหมแลคงว่าการกรมท่าด้วย ตำแหน่งกรมท่าไม่ได้ทรงตั้งใหม่จนตลอดรัชกาลตำแหน่งกรมวังนั้นเมื่อเจ้าพระยาธรรมา (เทศ ) ถึงอสัญกรรมแล้ว จึ่งทรงตั้งพระยาบำเรอภักดิ์ (สมบุญ ) เปนเจ้าพระยาธรรมา ครั้นเมื่อถึงอสัญกรรมแล้วที่นั้นก็ว่างอยู่ ตำแหน่งกรมเมืองเจ้าพระยายมราช (น้อย ) เลื่อนไปเปนเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา จึ่งทรงตั้งพระยามหาอำมาตย์ ( ทองพูน ) เปนที่เจ้าพระยายมราช ครั้นถึงอสัญกรรมแล้วจึงทรงตั้งพระยาทิพโกษาเปนเจ้าพระยายมราชต่อมา เมื่อชราแล้วเลื่อนเปนเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี จึ่งทรงตั้งพระยาอภัยรณฤทธิ์ (บุญนาก ) เปนเจ้าพระยายมราชครั้นเมื่อถึงอสัญกรรมแล้วที่นั้นก็ว่างมา ตำแหน่งที่กรมนา เจ้าพระยาพลเทพซึ่งเดิมเปนที่พระยาศรีสรไตร (ฉิม ) เปนมาแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเจ้าพระยาพลเทพถึงอสัญกรรมแล้ว โปรดให้กรมสมเด็จพระเดชาดิศรเมื่อยังเปนกรมขุนเดชอดิศร ทรงบังคับการมาจนตลอดรัชกาล ตำแหน่งราชการซึ่งเปนตำแหน่งใหญ่ในครั้งนั้นถึงว่าจะมีตัวเสนาบดีอยู่ พระบรมวงศานุวงศก็ได้ทรง


๔๗ กำกับคับบัญชาโดยมาก ในกรมมหาดไทยนั้นเมื่อกรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์แล้ว กรมขุนอิศรานุรักษ์ได้ทรงกำกับบังคับการต่อมาครั้นเมื่อขุนอิศรานุรักษ์สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมไกรสรซึ่งเปนกรมหลวงรักษรณเรศ ได้ช่วยราชการมาจนตลอด แลว่าการตลอดถึงกรมวังด้วย ในกรมพระนครบาล กรมหมื่นสุรินทรรักษได้ทรงบังคับบัญชา ครั้นเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ เมื่อยังเปนกรมขุนพิพิธภูเบนทร ได้ทรงกำกับช่วยราชการในกรมนั้น ด้วยเหตุฉนั้นเสนาบดีว่างตำแหน่งอยู่ช้านานเท่าใด ราชการนั้นก็ไม่เสียไปเพราะมีพระบรมวงศานุวงศทรงกำกับอยู่ แลได้ทรงยกย่องตั้งแต่งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยนอกนั้น ทั้งในกรุงหัวเมือง เต็มตามตำแหน่ง การศึกษาสงครามซึ่งมีในรัชกาลนั้นเริ่มต้นแต่เมื่อปีรกาสัปตศกจุลศักราช ๑๑อนุเจ้าเมืองเวียงจันทร์ลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทในการพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยมีข้อบาดหมางด้วยโลภเจตนา ครั้นเมื่อกลับขึ้นไปยังเมืองเวียงจันท์แล้ว จึ่งปฤกษาพร้อมด้วยบุตรหลานแสนท้าวพระยาลาว่าในกรุงพระมหานครในเวลานี้เจ้านายทมีพระชนม์พรรษามากเปนผู้ใหญ่ก็ล่วงไปเสียโดยมาก ยังมีแต่เจ้านายซึ่งมีพระชนมพรรษาน้อย ไม่คล่องแคล่วชำนิชำนาญในการสงคราม ฝ่ายอังกฤษก็มารบกวนอยู่ เห็นว่าจะหักหาญเอาพระนครได้โดยง่าย จึ่งได้คิดอ่านเกลี้ยกล่อมแลกดขี่หัวเมืองลาว ซึ่งยังมิได้อยู่ในอำนาจ ให้ยินยอมเข้าเปนพวกตัวได้ตลอดลงมาจนจดแดน


๔๙ เขมรป่าดง แล้วจัดกองทัพตระเตรียมไว้พรักพร้อม ครั้นเดือนยี่ปีจออัฐศกจุลศักราช ๑๑๘๘ จึ่งให้ราชวงศ์ผู้บุตรเปนทัพน่า คุมคนสามพันคนลงมาโดยทางเมืองนครราชสีห์มา ลวงเบิกสเบียงอาหารที่เมืองนครราชสีห์มาได้แล้ว ลงมาตั้งอยู่ณตำบลขอนขว้างใกล้เมืองสระบุรี ให้ลงมาเกลี้ยมกล่อมพระยาสระบุรี ซึ่งเปนลาวพุงดำแลนายครัวลาวพุงขาวเข้าด้วย กวาดครอบครัวอพยพไทยจีนลาวซึ่งตั้งอยู่ ณเมืองสระบุรีได้เปนอันมาก ฝ่ายอนุกับสุทธิสารผู้บุตรก็ยกกองทัพใหญ่ตามลงมาตั้งค่าย ตำบลทเลหญ้าใกล้เมืองนครราชสีห์มาในขณะนั้นเจ้าพระยานครราชสีห์มาแลพระยาปลัดไปราชการเมืองเขมรป่าดง จึ่งให้หาตัวพระยายกรบัตรแลกรมการออกไปบังคับให้กวาดต้อนครัวเมืองนครราชสีห์มาขึ้นไปเมืองเวียงจันท์ กรมการทั้งนั้นมิอาจที่จะขัดขวางได้ พวกลาวก็ควบคุมครอบครัวอพยพพาเดินไปโดยระยะทาง ในขณะนั้นพระยาปลัดทราบเหตุการ จึ่งรีบกลับมาทำเปนสามิภักดิยินยอมจะไปเมืองเวียงจันท์ด้วย แล้วจึ่งขอเครื่องสาตราวุธซึ่งอนุให้เก็บเสียแต่ชั้นพร้าก็มิให้เหลือนั้น พอไปหาเสบียงตามทางได้บ้างเล็กน้อย ครั้นเมื่อเดินครัวไปถึงทุ่งสำริดหยุดพักอยู่ เวลากลางคืนพวกครัวกลับต่อสู้ลาว แย่งชิงได้สาตราวุธฆ่าลาวตายเปนอันมาก พวกลาวก็พากันแตกตื่นลงมายังเมืองนครราชสีห์มา ฝ่ายพระยาปลัดก็ตั้งค่ายมั่นอยู่ณทุ่งสำริดคอยต่อสู้ ครั้นอนุได้ทราบความแล้ว แต่งให้ขุนนางลาวขึ้นไปปราบปราม พวกเมืองนครราชสีห์มา


๕๐ ก็ต่อสู้พวกลาวแพ้พ่ายมา ฝ่ายราชวงศ์ซึ่งลงมากวาดต้นครัวอยู่ ณเมืองสระบุรี ทราบข่าวว่ากองทัพกรุงเทพมหานครจะขึ้นไปเปนหลายทัพหลายทาง ก็รีบเร่งเดินครัวขึ้นไปยังเมืองนครราชสีห์มาแจ้งเหตุการให้อนุทราบ ด้วยเดชะอำนาจพระบารมี อนุก็ให้เกิดความหวาดหวั่นครั่นคร้าม มิอาจจะยกรุกรีบลงมา ด้วยสำคัญใจว่าครัวเมืองนครราชสีห์มาต่อสู้แขงแรงนั้น จะเปนกองทัพใหญ่ของเจ้าพระยานครราชสีห์มา จึ่งคิดว่าจะรับกองทัพกรุงเทพ ฯ ที่เมืองนครราชสีห์มามิได้ ด้วยกลัวจะเปนศึกขนาบ ครั้นณเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำก็เลิกกองทัพกลับขึ้นไป ให้ราชวงศแยกทางไปกดขี่เมืองหล่มศักดิ์ให้อยู่ ในอำนาจ แล้วตั้งอยู่ในที่นั้น ส่วนตัวอนุถอยขึ้นไปตั้งค่ายที่หนอง บัวลำพู ให้พระยานรินทร์คุมพลสามพันอยู่รักษา แล้วยกขึ้นไปตั้งค่ายช่องเขาสารเปนทางแยก ให้พระยาสุโพเพี้ยชานนคุมพลสองหมื่นเปนทัพใหญ่ตั้งอยู่สกัดต้นทาง ตัวอนุยกขึ้นไปตั้งค่ายอยู่บนเขาสารแล้วให้พระยาเชียงสาตั้งค่ายตำบลสนมแห่ง ๑ กองคำตั้งค่ายตำบลช่องวัวแตกตำบล ๑ แต่ส่วนเจ้าอุปราชซึ่งให้ไปกวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองลาวนั้น ตั้งเมืองสุวรรณภูม ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานครได้ทรงทราบข่าวศึก ก็ทรงพระวิตกเปนอันมาก ด้วยต้องกับคำซึ่งมีผู้ทำนายไว้แต่ก่อนมา แลประจวบกันกับเวลาซึ่งมีผู้สบประมาทคาดหมายอายุแผ่นดินไว้ด้วย จึ่งดำรัสให้เสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยเกณฑ์กันตั้งค่ายรายตามท้องทุ่งหลังพระนคร ตั้งแต่ทุ่งวัวลำพองไปจน


๕๑ ทุ่งบางกระปิจนตกลำน้ำ ป้องกันพระนครเปนสามารถ แล้วโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเปนแม่ทัพใหญ่ เสด็จยกยาตราจากกรุงเทพมหานคร ในเดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ เสด็จไปประชุมทัพที่ท่าเรือพระบาท จึ่งโปรดให้พระยาจ่าแสนยากร พระยากระลาโหมราชเสนา พระยาพิไชยบุรินทรา พระยาณรงค์วิไชย สี่นายเปนทัพน่าที่ ๑ กรมหมื่นนเรศรโยธี กรมหมื่นเสนีบริรักษ เปนทัพน่าที่ ๒ กรมหมื่นเสนีเทพเปนทัพน่าทัพหลวง กรมหมื่นนรานุชิต กรมหมื่นสวัสดิวิไชยเปนปีกซ้ายปีกขวา กรมหมื่นรามอิศเรศรเปนยกรบัตร กรมหมื่น ธิเบศรบวรเปนจเรทัพ กรมหมื่นเทพพลภักดิ์เปนเกียกกาย พระ นเรทรราชาเปนทัพหลัง ทัพหลวงเสด็จขึ้นทางดงพระยาไฟ โปรด ให้เจ้าพระยามหาโยธาคุมคนกองมอญแยกขึ้นทางดงพระยากลางทัพ ๑ เจ้าพระยาอภัยภูธรคุมทัพหัวเมืองเหนือห้าพัน ขึ้นทางเมืองเพชรบูรณ์ทัพ ๑ พระยาไกรโกษาคุมทัพหัวเมืองสามพัน ขึ้นทางเมืองพิศณุโลก เมืองนครไทยทัพ ๑ กองทัพทั้งสองนี้ ให้พร้อมกันยกขึ้นไปตีทัพราชวงศที่เมืองหล่มศักดิ์เปนศึกขนาบ แล้วโปรดให้พระยาราชวรานุกูล พระยารามกำแหง พระยาราชรองเมือง พระยาจันทบุรีคุมกองทัพออกไปทางเมืองพระตะบอง ขึ้นไปเกณฑ์คนเมืองสุรินทร เมืองสังขะเขมรป่าดง ตีขึ้นไปทางเมืองนครจำปาศักดิ์อีกทัพ ๑ แล้วโปรดให้มีกองทัพอีกสี่กอง ออกทางเมืองปราจิณบุรี ยกขึ้นทางช่องเรือแตก ทัพที่ ๑ พระยาราชสุภาวดี ทัพที่ ๒ เจ้าพระยา ๘

๕๒ พระคลัง ทัพที่ ๓ กรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ กรมหมื่นพิทักษเทเวศรทัพที่ ๔ กรมหมื่นสุรินทรรักษ ให้มีอำนาจบังคับไดสิทธิ์ขาดทั้ง ๔ ทัพแต่ครั้นเมื่อเจ้าพระยานครศรี ธรรมราชได้ทราบท้องตราให้หาแล้วมีใบบอกมาว่า อังกฤษมีเรือรบมาทอดอยู่แหลมมลายูสามสี่ลำ ไม่ทราบว่าจะไปแห่งใด เจ้าพระยานครศรีธรรมราชอยู่รักษาเมือง จัดให้พระยาพัทลุงกับพระเสนหามนตรี คุมคนเมืองตวันตกสองพันเข้ามาช่วยราชการ ก็โปรดให้มีตราให้หากองทัพที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ กลับ ให้ลงไปรักษาปากน้ำเจ้าพระยา คงแต่กองทัพพระยาราชสุภาวดี ยกขึ้นไปบรรจบทัพหลวงที่เมืองนครราชสีห์มา กรมพระราชวังจึ่งโปรดให้พระยาราชสุภาวดียกแยกไปตีเมือง นครจำปาศักดิ์เมื่อไปถึงเมืองพิมายพบกองทัพเจ้าไตรกองทัพไทยตีแตก แล้วยกไปตีเวียงคุกที่เมืองยโสธรแตกพ่ายอีกกอง ๑ ฝ่ายทัพน่าที่ ๑ กับกองโจรพระองค์เจ้าขุนเนน ยกขึ้นไปตีค่ายหนองบัวลำพูแตก กองทัพหลวงก็ยกตามขึ้นไป ข้างกองทัพเจ้าพระยาอภัยภูธรแลพระยาไกรโกษา เข้าระดมตีกองทัพราชวงศเมืองหล่มศักดิ์แตกหนีขึ้นไปหาอนุที่เขาสาร อนุได้ทราบความกองทัพใหญ่แตกถึง ๒ ตำบล ก็ยิ่งมีความหวาดหวั่นย่อท้อต่อพระบารมี จึ่งได้คุมไพร่พลรีบหนีขึ้นไปแกล้งทำอุบายให้ปรากฎว่า จะไปตกแต่งเมืองเวียงจันท์ไว้คอยรับกทัพแต่ครั้นเมื่อไปถึงเมืองเวียงจันท์แล้ว ก็รีบเก็บทรัพย์สมบัติแลครอบครัวยกหนีไปอาศรัยอยู่ในแขวงเมืองญวนที่เมืองล่าน้ำ ซึ่งญวนเรียกว่า


๕๓ เมืองแง่อาน ฝ่ายกองทัพไทยยกขึ้นตั้งอยู่ณทุ่งส้มป่อย พระยาสุโพแม่ทัพที่ช่องเขาสารยกพลลาวมาล้อมค่ายทัพน่าที่ ๑ ไว้ถึง ๗ วัน ได้ต่อสู้กันเปนสามารถ จะหักเอาค่ายยังมิได้ ฝ่ายกรมหมื่นนเรศโยธีทัพน่าที่ ๒ ทราบ ก็รีบยกพลลำลองร้อยเศษขึ้นไปช่วย พลลาวมากตกอยู่ในที่ล้อมจวนจะเสียที พอกรมหมื่นเสนีบริรักษยกตามขึ้นไปทัน เข้าแก้กรมหมื่นนเรศรโยธีออกมาจากที่ล้อมได้ แล้วระดมกันตีกองทัพลาวทั้งสองทัพเปนศึกขนาบ ทัพลาวแตกกระจัดกระจายไปคุมกันไม่ติด ทัพน่าก็ยกขึ้นไปตั้งอยู่ในเมืองเวียงจันท์ ทัพหลวงไปตั้งอยู่ณเมืองพานพร้าว ตรงเมืองเวียงจันท์ข้าม ฝ่ายอุปราชซึ่งเปนน้องมิได้ปลงใจเปนขบถด้วยอนุแต่เดิมมานั้น ก็เ ข้าอ่อนน้อมต่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในขณะนั้นพอทัพเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูน เมืองหลวงพระบาง เมืองน่าน เมืองแพร่มาถึงพร้อมกันที่พานพร้าว จึ่งดำรัสให้หัวเมืองลาวทั้งหกออกเที่ยวตีต้อนกวาดครัวที่กระจัดกระจายไปซุ่มส้อนอยู่ในที่ทั้งปวงฝ่ายพระยาราชสุภาวดียกเข้าตีเจ้าทัพเจ้าปานสุวรรณบุตรอนุ ซงคุมกองทัพเมืองนครจำปาศักดิ์มาตั้งรับที่เมืองยโสธรแตกอีกทัพ ๑ แล้วยกลงไปตีกองราชบุตรบุตรอนุซึ่งเปนเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งตั้งรับอยู่ณเมืองอุบลราชธานี แตกหนีไปณเมืองนครจำปาศักดิ์ ฝ่ายคนครัวซึ่งกวาดต้อนเข้าไปไว้ในเมืองนครจำปาศักดิ์เห็นได้ที ก็คุมกันลูกขึ้นต่อสู้พวกราชบุตรแตกหนีข้ามฟากมาฝั่งโขงตวันออก กอง


๕๔ ทัพไทยก็ได้เมืองนครจำปาศักดิ์ พระยาราชสุภาวดีก็ให้ติดตามจับได้ตัวราชบุตรแลเจ้าปานสุวรรณส่งลงมากรุงเทพ ฯ ครั้นเมื่อเสร็จราชการแล้ว พระยาราชสุภาวดีก็รีบยกขึ้นไปเฝ้ากรมพระราชวังณเมืองพานพร้าว ในครั้งนั้นกรมพระราชวังหาได้เสด็จข้ามไปเมืองเวียงจันท์ไม่ดำรัสให้ทำลายเมืองเสีย ด้วยเห็นว่าจะเปนที่ล่อแหลมไปภายน่าแล้วจึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์องค์ ๑ ถวายนามว่าพระเจดีย์ปราบเวียงทรงมอบราชการให้พระยาราชสุภาวดีอยู่จัดการต่อไป แล้วเลิกทัพหลวงเสด็จกลับยังกรุงเทพ ฯ ในราชการเวียงจันท์ครั้งนี้ พระยาราชสุภาวดีได้ทำการศึกเข้มแขงมากอยู่ผู้เดียว จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีตราขึ้นไปให้เปนเจ้าพระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายกด้วยเจ้าพระยาอภัยภูธรป่วยถึงอสัญกรรมเสียที่เมืองเวียงจันท์ในขณะไปราชการทัพนั้นแล้ว ครั้นเจ้าพระยาราชสุภาวดีจัดการเรียบร้อยลงได้แล้วก็กลับลงมาแจ้งราชการณกรุงเทพ ฯ ในครั้งนั้นยังมิได้โปรดให้เจ้าพระราชสุภาวดีรับยศบันดาศักดิ์เปนเจ้าพระยาจักรีเต็มตำแหน่งด้วยทรงขัดเคืองว่าไม่ทำลายเมืองเวียงจันท์เสียให้สิ้นสูญ ยังซ้ำตั้ง นายหมวดนายกองให้อยู่เกลี้ยกล่อมรวบรวมผู้คน จะตั้งเปนบ้านเมือต่อไป เห็นว่าตัวอนุแลราชวงศก็ยังอยู่ ฝ่ายญวนก็เอาเปนธุระเกี่ยวข้อง ถ้าอนุกลับมาตั้งเมืองเวียงจันท์อีก ก็จะได้ยากแก่ไพร่พลทหาร จึ่งได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดียกกลับขึ้นไปอีก ในปีชวดสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๑๙๐ นั้น ไปตั้งอยู่ที่หนองบัวลำพู แต่งให้


๕๕ พระยาราชเมือง พระยาพิไชยสงคราม คุมกองทัพล่วงน่าขึ้นไปถึงเมืองพานพร้าว จึ่งสั่งให้หาตัวเพี้ยเมืองจันท์มาจะไต่ถามด้วยราชการผู้ซึ่งไปเห็นลาวตระเตรียมอาวุธสับสนอยู่ แลลาวยึดเอาตัวคนไทยไว้ ๗ คน จึงเอาความมาแจ้งต่อพระยาพิไชยสงคราม ๆ ให้บอกว่าข่าวลงมายังเจ้าพระยาราชสุภาวดี แล้วก็แบ่งคนนายไพร่ ๓๐๐ คน พระยาพิไชยสงครามคุมข้ามฟากไปเมืองเวียงจันท์ตั้งทัพอยู่ณวัดกลาง ในขณะนั้นญวนก็พาอนุแลราชวงศมาถึงเมืองเวียงจันท์ มีญวน ๘๐ คน กับไพร่พลลาวประมาณ ๑๐๐๐ ครั้นรุ่งขึ้นวัน ฯ๗๘ ค่ำ ญวนจึ่งพาอนุมาพร้อมด้วยพระยาพิไชยสงครามที่ศาลาลูกขุน ญวนแจ้งความว่าเจ้าเวียดนามให้พาตัวอนุมาอ่อนน้อมขอพระราชทานโทษ ที่ได้ทำผิดล่องไปแล้วแต่หลัง ขอให้ได้ตั้งเมืองเวียงจันท์ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป ฝ่ายอนุแลราชวงศก็อ่อนน้อมโดยดี นายทัพฝ่ายไทยมิได้มีความสงไสย ครั้นเวลาเย็นลงอนุกลับใช้ให้ไพร่พลฝ่ายลาวเอาปืนมารดมยิงนายทัพแลไพร่พลไทยตายสิ้นทั้งนั้น เหลือข้ามน้ำมาได้แต่สักสี่สิบห้าสิบคน ฝ่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ทราบข่าวกองน่าบอกลงมา ก็รีบยกขึ้นไปถึงเมืองพานพร้าวในขณะเมื่อลาวกำลังยิงไทยอยู่นั้น เห็นที่หาดน่าเมืองเวียงจันท์ชุลมุนกันอยู่ ก็รู้ว่ากองทัพไทยเห็นจะเสียที จะข้ามไปก็ไม่มีเรือ ครั้นคนที่ว่ายน้ำกลับมาแจ้งความทราบแล้ว ตรวจจดูคนในกองทัพ พวกที่เปนคนในพื้นเมืองก็ตื่นหนีไปโดยมาก จะตั้งรับอยู่ที่พานพร้าวเห็นไม่เปนที่ไว้วางใจเกรงจะเสียที ด้วยไม่ทราบว่าจะเปนกลอุบายลาวหรือญวนคิดอ่าน

๕๖ ประการใด จึ่งได้ยกกองทัพถอยลงไปตั้งมั่นอยู่เมืองยโสธร ให้กะเกณฑ์ไพร่พลแลสะสมเสบียงอาหารจะกลับขึ้นไปตีเมืองเวียงจันท์อีก ฝ่ายญวนซึ่งพาอนุเข้ามาเมืองเวียงจันท์เห็นว่าลาวทำวุ่นวายขึ้นเปนข้อวิวาทกับไทยต่อไปอีก ผิดกับคำสั่งที่ได้รับมา ก็ทิ้งอนุเสียยกกลับไปเมืองแง่อาน อนุตั้งอยู่ในเมืองเวียงจันท์รวบรวมผู้คนได้แล้ว ยกข้ามฟากมายังเมืองพานพร้าว รื้อพระเจดีย์ซึ่งกรมพระราชวังบวรทรงสร้างไว้นั้นเสีย แล้วให้ราชวงศยกกองทัพติดตามไปตีทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีที่เมืองยโสธร ฝ่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดีเกณฑ์กำลังได้ยกกลับขึ้นไป ไปพบกองทัพราชวงศที่บ้านบกหวานแขวงเมืองหนองคาย ได้คุมพลทหารออกต่อรบกันเปนสามารถ จนถึงได้รบกันตัวต่อตัวกับราชวงศ ราชวงศแทงเจ้าพระยาราชสุภาวดีด้วยหอกถูกตั้งแต่อกแฉลบลงไปจนถึงท้องน้อยล้มลง หลวงพิพิธน้องชายจะเข้าแก้ ราชวงศฟันหลวงพิพิธตาย พอทนายเจ้าพระยาราชสุภาวดียิงปืนถูกเข่าขวาราชวงศล้มลง บ่าวไพร่สำคัญว่าตายก็อุ้มขึ้นแคร่พาหนีไป เจ้าพระยาราชสุภาวดีคลำดูแผลเห็นไม่ทลุภายใน ตกแต่งแผลเสร็จแล้วขึ้นแคร่ขับพลไล่ติดตามไป ฝ่ายราชวงศถึงเมืองพานพร้าวข้ามฟากไปแจ้งการแก่อนุ ว่าแม่ทัพแลพลทหารไทยต่อสู้เข้มแขงนัก เห็นจะรับมิอยู่ อนุตกใจรีบพาบุตรภรรยาได้บ้างแล้วลอบหนี ไป พอรุ่งขึ้นกองทัพไทยถึงเมืองเวียงจันท์ อนุหนีไปเสียก่อนวันหนึ่งแล้ว จับได้แต่สุทธิสารบุตรภรรยาบ่าวไพร่หลายคน เจ้าพระยาราชสุภาวดีก็แต่งกองทัพให้ไปติดตามอนุ ซึ่งหนีเข้าไปเมืองพรวน ยังหาได้ตัวไม่

๕๗ ฝ่ายพระวิชิตสงครามซึ่งตั้งแต่อยู่ณเมืองนครพนม มีหนังสือบอก ข้อราชการมาว่าญวนแต่งให้นายไพร่ห้าสิบคน ถือหนังสือเข้ามาว่าด้วยเรื่องเวียงจันท์แลขอโทษอนุ ไม่พบตัวอนุจึ่งจะนำหนังสือมาส่งที่พระวิชิตสงคราม จะโปรดประการใด เจ้าพระยาราชสุภาวดีตอบไปว่าครั้งก่อนซึ่งเสียท่วงทีแก่อนุ ก็เพราะญวนเข้ามาเปนนายน่า ครั้งนี้จะมาล่อลวงอีกประการใดก็ไม่รู้ ให้จับฆ่าเสียให้สิ้น พระวิชิตสงครามจึ่งให้จับญวนมาฆ่าเสีย เหลือแต่สามคนส่งมายังกองทัพใหญ่ การที่ทำนั้นจึ่งเปนเหตุสำคัญ ซึ่งให้เกิดหมองหมางทางพระราชไมตรีในระหว่างกรุงสยามกับกรุงเวียดนามสืบไปหน้าภายหน้าฝ่ายกองทัพซึ่งไปติดตามตัวอนุถึงเขตรแดนเมืองพวน ได้รับหนังสือเจ้าน้อยเมืองพวนมีมาห้าม ขออย่าให้กองทัพเข้าไปในเขตรแดนจะจับตัวอนุส่ง ภายหลังพระลับแล แลพวกเมืองหลวงพระบาง เมืองน่าน จับตัวอนุได้ที่น้ำไฮ้เชิงเขาไก่ เจ้าพระยาราชสุภาวดีก็ให้คุมตัวส่งลงมาทำโทษประจานที่ท้องสนามไชยในกรุงเทพมหานคร จนอนุป่วยถึงแก่ความตาย บุตรภรรยาญาติวงศ์อนุนั้นหาได้ลงพระราชอาญาแก่ผู้หนึ่งผู้ใดสิ้นชีวิตรไม่ฝ่ายเมืองเวียงจันท์นั้นเจ้าพระยาราชสุภาวดีก็ให้รื้อทำลายป้อมกำแพงแลที่สำคัญทั้งปวงเสียสิ้น เว้นไว้แต่พระอาราม แล้วก็ยกกองทัพกลับลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพ ฯ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีเปนที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุห


๕๘ นายก ตามสมควรแก่ความชอบซึ่งได้ฉลองพระเดชพระคุณในราชการแผ่นดินนั้น ฝ่ายราชการข้างเมืองญวน ซึ่งเกิดเปนการสงครามสืบมา จนเกือบจะตลอดรัชกาลที่ ๓ นั้น จำเดิมแต่เมื่อพระยาราชสุภาวดีไปตีเมืองนครจำปาศักดิ์แล้ว จะกลับขึ้นเฝ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่เมืองพานพร้าวนั้น ญวนมีหนังสือมาห้ามอย่าให้รื้อทำลายเมืองเวียงจันท์ ว่าเจ้าเวียดนามมีพระราชสาสนเข้ามาขอพระราชทานโทษอนุที่กรุงเทพ ฯ แล้ว ถ้าไทยขืนทำลายเมืองเวียงจันท์ จะยกทัพพลสองหมื่นเข้ามาต่อรบด้วยไทย พระยาราชสุภาวดีหาได้ตอบหนังสือไปไม่ แลในขณะเมื่อพระยาราชสุภาวดียังมิได้กลับลงถึงกรุงเทพ ฯ นั้น เจ้าเวียดนามแต่งให้ราชทูตเชิญพระราชสาสนเข้ามาขอโทษอนุฉบับ ๑ จะตอบพระราชสาสนราชทูตไม่รับ จึ่งโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังมีหนังสือชี้แจงโทษอนุไปถึงองเลโบเสนาบดีฝ่ายญวนสองฉบับครั้นเมื่อเจ้าพระยาราชสุภาวดียกกองทัพกลับขึ้นไปติดตามจับต้วอนุมาได้แลให้พระวิชิตสงครามฆ่าญวนผู้ถือหนังสือเสียในครั้งนั้น ฝ่ายญวนขัดเคืองว่าเจ้าน้อยเมืองพวนจับตัวอนุส่งให้แก่กองทัพไทย จึ่งได้หาตัวขึ้นไปประหารชีวิตรเสีย แล้วจึ่งให้ราชทูตเชิญพระราชสาสนมาอีกใหม่ ในจุลศักราช ๑๑๙๐ ในพระราชสาสนนั้นว่า ทุงวิไชยฆ่าญวนผู้ถือหนังสือ แลชิดชุมกิมหลวงนราเข้าไปเก็บส่วยในแขวงถูตือ จะขอตัวผู้มีชื่อทั้งนี้ออกไปชำระณเมืองญวน แลว่าฝ่ายญวนให้พาตัวอนุเข้า


๕๙ มาอ่อนน้อมต่อไทย ฝ่ายไทยไม่จ่ายสเบียงให้แล้วซ้ำยิงพวกลาว จึ่งได้เกิดเปนความวิวาทขึ้น ขอให้ตั้งเมืองเวียงจันท์ขึ้นไว้ ให้คงคืนดังเก่าภายหลังมีญวนถือหนังสืออองเลโบ ถึงเจ้าพระยาพระคลังส่งเข้ามาทางเมืองเขมรอีกฉบับ ๑ เนื้อความก็คล้ายคลึงกันกับในพระราชสาสนครั้นจะโปรดให้ตอบพระราชสาสนไป ทูตญวนไม่รับ ขอให้แต่งราชทูตไปต่างหาก จึ่งโปรดให้แต่เจ้าพระยาพระคลังมีหนังสือตอบไปถึงองเลโบ ว่าผู้ซึ่งกล่าวโทษมานั้นจะเปนผู้ใดก็ไม่ชัด ด้วยเรียกชื่อผิดเพี้ยนกันไป เมื่อกองทัพกลับลงมาจึ่งจะไต่สวนดูก่อน ภายหลังจึ่งโปรดให้พระอนุรักษภูธรเปนราชทูต เชิญพระราชสาสนตอบออกไปมีเนื้อความอย่างเดียวกันกับหนังสือเจ้าพระยาพระคลัง ครั้นเมื่อราชทูตกลับเข้ามา มีพระราชสาสนตอบเปนคำพ้อตัด แลคืนของราชบรรณาการที่เกินกำหนดแต่ก่อนนั้นเข้ามา จะขอตัวผู้ซึ่งฆ่าญวนแลให้ตั้งเมืองเวียงจันท์ดังแต่ก่อน ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าทางพระราชไมตรีกับญวนช้ำชอกมัวหมองมากอยู่แล้ว ควรจะแต่งทูตออกไปเกลี่ยไกล่เสียให้ดีอีก ในจุลศักราช ๑๑๙๑ ปีฉลูเอกศก จึ่งโปรดให้พระจักราเปนราชทูตเชิญพระราชสาสนออกไป ในพระราชสาสนนั้นว่า ญวนพาอนุเข้ามาฆ่านายทัพแลไพร่พลทหารไทยตายถึงสองร้อยห้าสิบคนเศษ นายทัพนายกองฝ่ายไทยจึ่งได้มีความน้อยใจจับผู้ถือหนังสือฝ่ายญวนฆ่าเสียบ้าง ชวนให้เปนเลิกแล้วต่อกัน ในครั้งนั้นเจ้าเวียดามคืนเครื่องบรรณาการเสียสิ้นไม่รับไว้เลย จะขอให้ทำโทษ ๙

๖๐ ทุงวิไชยแลชิดชุมกี่มฆ่าเสียในกลางตลาดให้จงได้ มีข้อความพ้อตัดลำเลิกถึงการเก่า เปนคำหยาบ ๆ ก็มีบ้าง มีพระราชสาสนโต้ตอบไปมาอีกหลายฉบับ ครั้นการไม่ได้สมปราถนาก็เปนอันขาดทางพระราชไมตรี มิได้มีราชทูตไปมาสืบไป ครั้นจุลศักราช ๑๑๙๕ ปีมเสงเบญจศก ฝ่ายแผ่นดินญวนเกิดขบถขึ้นที่เมืองไซ่งอน ครั้นเมื่อได้ทรงทราบจึ่งทรงพระราขดำริห์ว่าฝ่ายญวนมีความกำเริบ คอยแต่จะเอารัดเอาเปรียบอยู่ทุกครั้งทุกคราว เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ ก็มาขอเอาเมืองพุดไทมาศกลับคืนไป ครั้นองค์จันทร์เจ้าเขมรเปนขบถหนีไปก็รับไว้ แล้วมาครอบงำเอาเมืองเขมรเปนสิทธ์แต่ฝ่ายเดียว ครั้นอนุเปนขบถหนีเข้าไปอยู่ในเขตรแดนญวนก็รับเอาไว้ แล้วคิดเอิบเอื้อมจะมาครอบงำเอาเมืองเวียงจันท์แลเมืองขึ้นทั้งปวงอนึ่งเมื่อตั้งตัวขึ้นเปนดีกว่างเด เข้ามาขอให้ชื่อในราชสาสน เรียกดีกว่างเด ฝ่ายเราผ่อนให้แล้ว ยังมีความกำเริบจะให้เอาตราหลวงประทับสำเนาพระราชสาสนอีกเล่า เห็นว่าถ้าจะเปนพระราชไมตรีไป ญวนก็จะมีความกำเริบหนักขึ้นทุกที ครั้งนี้เปนโอกาศที่จะได้ย่ำยีเมืองญวน คืนเมืองเขมรมาเปนพระราชอาณาเขตรได้ จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาคุมกองทัพบก คนสี่หมื่นออกไปตีเมืองเขมรได้แล้วให้ยกลงไปช่วยญวนขบถที่เมืองไซ่ง่อน โปรดให้เจ้าพระยาพระคลังคุมทัพเรือพลหมื่นหนึ่ง ไปตีเมืองพุดไทมาศแล้วเข้าทางคลองขุดไปบันจบทัพบกที่เมืองไซ่ง่อน โปรดให้พระมหา


๖๑ เทพ (ป้อม ) พระราชรินทร์ (ขำ) ยกกองทัพบกไปตีเมืองล่าน้ำ ซึ่งเรียกว่าเมืองแง่อาน โปรดให้เจ้าพระยาธรรมา (สมบุญ ) คุมพลเมืองแพร่แลเมืองไทยข้างฝ่ายเหนือ ขึ้นทางเมืองหลวงพระบางราชธานี ตีเมืองหัวพันทั้งหก กองทัพเจ้าพระยาพระคลัง ยกไปตีได้เมืองพุดไทมาศแลเมืองโจดก ตั้งทัพอยู่เมืองโจดก เจ้าพระยาบดินทรเดชายกเข้าไปในเมืองเขมร องค์จันทร์มิได้ต่อรบ หนีลงไปเมืองไซ่ง่อน เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึ่งให้องค์อิ่มองค์ด้วงตั้งอยู่เมืองพนมเปน แล้วยกกองทัพลงไปบันจบกับเจ้าพระยาพระคลังที่เมืองโจดก ปฤกษากันตกลงว่าเจ้าพระยาพระคลังยังไม่เคยการทัพศึก เจ้าพระยา บดินทรเดชาจะไปทางเรือด้วย จึ่งจัดให้พระยานครราชสีห์มาแลนายทัพ นายกองอีกหลายนาย คุมกองทัพบกเดินทางบาพนมไปเมืองไซ่ง่อนเจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาพระคลัง พากองทัพไปทางคลองวามงาว ตีค่ายญวนปากคลองข้างใต้แตกร่นไปรับอยู่ปากคลองข้างเหนือ ซึ่งเปนค่ายเดิมเมื่อครั้งญวนตั้งรับทัพเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษนั้น ทัพเรือก็ให้ตั้งติดลำคลองอยู่ ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชากับเจ้าพระยาพระคลังปันนาที่กัน เจ้าพระยาบดินเดชาจะยกขึ้นบกตีค่ายกองทัพบก ให้เจ้าพระยาพระคลังตีกองทัพตีกองทัพเรือให้พร้อมกันทั้งสองทัพ ในขณะที่เจ้าพระยาบดินทรเดชายกกองทัพบกเข้าตีค่ายญวนอยู่นั้น เจ้าพระยาพระคลังสั่งให้กองทัพเรือฝ่ายไทยเข้าตีทัพเรือฝ่ายญวน นายทัพนายกองต่างคนย่อท้อบิดพลิ้วไปต่าง ๆ หาได้ยกเข้า


๖๒ ตีกองทัพเรือตามสัญญาไม่ ฝ่ายกองเรือญวนเห็นว่าไม่มีกองทัพไทยมาตีแล้ว ก็ขึ้นช่วยค่ายบกรดมรบเจ้าพระยาบดินทรเดชาเปนศึกขนาบ เจ้าพระยาบดินทรเดชาเห็นผิดที่นัดหมายเหลือกำลังก็ล่าถอยมาได้ทราบความจากเจ้าพระยาพระคลังว่า นายทัพนายกองพากันย่อท้อต่อการสงคราม ก็จะให้ลงโทษตามพระไอยการศึก เจ้าพระยาพระคลังว่าถ้าจะลงโทษนายทัพนายกองแล้ว จะทำการต่อไปสเบียงอาหารก็ขัดสน แลจวนถึงรดูฝนอยู่แล้ว ถ้าทำการไม่สำเร็จก็จะต้องมีโทษเหมือนนายทัพนายกองทั้งปวงนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาเห็นว่าไม่พร้อมมูลกันจะทำการไม่สำเร็จแล้วก็ให้ล่าทัพมาตามลำคลองญวนก็ตามตีจนตลอดถึงเมืองโจดก เจ้าพระยาพระคลังออกจากเมืองโจดก กลับทางเมืองพุดไทมาศ เจ้าพระยาบดินทรเดชาตั้งต่อรบญวนอยู่ที่เมืองโจดกส่งกองทัพเรือไปหมดแล้ว จึ่งได้เดินกองทัพบกมาทางเมืองเขมร ในขณะนั้นเขมรพากันกำเริบลอบแทงฟันคนในกองทัพไทยเนืองๆ เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็ให้ตั้งทัพลงจับตัวพวกเขมรคนร้ายมาลงโทษประหารชีวิตรเสียเปนอันมาก แล้วให้รื้อกำแพงเมืองพนมเปน แลกวาดต้อนครอบครัวเข้ามาตั้งกองทัพอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์ภายหลังขัดด้วยสเบียงอาหารจึ่งถอยเข้ามาตั้งอยู่เมืองพระตะบอง ฝ่ายกองทัพบกซึ่งไปทางบาพนมนั้น เห็นกิริยาเขมรญวนกำเริบขึ้นผิดปรกติแลได้ทราบว่ากองทัพใหญ่แลกองทัพเรือถอยไปแล้ว ก็ล่าทัพกลับมาถึงแม่น้ำโขง เห็นเขมรเผาเรือเสียสิ้น จึงให้ผูกไม้ ไผ่เปนแพตพาน


๖๓ ข้ามแม่น้ำโขงมาได้ เว้นแต่กองทัพพระยานครสวรรค์ไม่ข้ามมาโดย ตพานเรือก เดินเลียบน้ำขึ้นไป เขมรฆ่าเสียสิ้นทั้งกองทัพ ฝ่ายกองทัพพระมหาเทพยกไปประชุมทัพณเมืองนครพนม จะออกจากทางด่านกีเหิบเปนช่องเขาขับขันออกไม่ได้ จึ่งได้ตีแต่เมืองรายทางได้เมืองมหาไชย เมืองพอง เมืองพลาน เมืองชุมพร ฝ่ายพระราชรินทร์ไปตั้งอยู่ณเมืองหนองคาย ให้กองทัพขึ้นไปตั้งบ้านโพงาม มีหนังสือขึ้นไปเกลี้ยกล่อมพวกเมืองพวน ยอมสวามิภักดิ์รับกองทัพพระราชรินทร์เข้าไปตีค่ายญวน ซึ่งมาตั้งรักษาอยู่ที่เมืองเชียงขวาง ๓๐๐ คนกับทั้งแม่ทัพ จับได้เปนบ้างที่ตายเสียมาก หนีไปได้บ้าง ข้างฝ่ายเจ้า พระยาธรรมาซึ่งยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองหลวงพระบาง แต่งนายทัพนายกองไปเกลี้ยกล่อมเมืองพวนอีกทาง ๑ เมืองพวนยอมสวามิภักดิ์ต่อพระราชรินทร์แล้ว จึ่งแต่งให้มารับกองทัพพาไปตีญวนที่ค่ายเมืองสุย ๑๐๐ คนแตกยับเยินไป แล้วญวนไปตั้งรับอยู่ที่น้ำงึมอีกแห่ง ๑ ก็ตีแตกไป เมืองพวนก็กลับได้เปนพระราชอาณาเขตรสืบมา แล้วเจ้าพระยาธรรมาก็แต่งให้คนขึ้นไปเกลี้ยกล่อมเมืองหัวพันทั้งหก ก็ยอมว่าจะลงมาสวามิภักดิ์ พอเจ้าพระยาธรรมาป่วยกลับลงมากรุงเทพ ฯ เสียคราว ๑ ฝ่ายราชการข้างเมืองเขมร เมื่อกองทัพไทยถอยลงมาแล้วญวนให้แม่ทัพพาองค์จันทร์มาตั้งอยู่ณเมืองพนมเปนอีก ขณะนั้นพระยาอภัยภูเบศรเจ้าเมืองพระตะบองถึงแก่กรรม จึ่งโปรดให้องค์อิ่ม


๖๔ เปนเจ้าเมืองพระตะบอง องค์ด้วงไปเปนเจ้าเมืองมงคลบุรี ฝ่ายองค์จันทร์ที่เปนเจ้าเมืองเขมรถึงแก่พิราไลย ญวนยกบุตรหญิงขึ้นเปนเจ้าแผ่นดินแล้วอยู่กำกับว่าราชการ คิดเกลี้ยกล่อมบ้างกดขี่บ้าง จะให้เมืองเขมรเปนของเมืองญวนแท้จนถึงกลับชาติเปนญวน พวกเขมรพากันได้ความเดือดร้อน มีหนังสือเข้ามาขอสวาภักดิ์เปนข้ากรุงเทพ ฯ ในครั้งนั้นองค์อิ่มซึ่งเปนเจ้าเมืองพระตะบอง บอกส่งตัวองค์ด้วงซึ่งเปนเจ้าเมืองมงคลบุรีเข้ามา ว่าคิดจะหนีไปเมืองพนมเปน ถามให้การว่าได้ทราบความว่าญวนมีหนังสือมาเกลี้ยกล่อมองค์อิ่มให้หนีไป จะตั้งให้เปนเจ้าเมืองเขมร แต่พวกพระยาเขมรไม่ชอบใจ อยากจะได้องค์ด้วงไปเปนเจ้าเมือง จะช่วยกันรบญวนให้แตกไป องค์ด้วงจึ่งได้คิดอ่านการที่จะหนีออกไป ครั้นไม่ช้านักองค์อิ่มจะใคร่ได้เปนเจ้าเมืองเขมร กลัวญวนจะไม่ไว้ใจ จึ่งได้จับพระยาปลัดแลกกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อย แลตีปล้นทรัพย์สมบัติกวาดครอบครัวเมืองพระตะบองประมาณห้าพัน หนีไปเมืองพนมเปนเข้าหาเแม่ทัพญวนณเมืองโพธิสัตว์ญวนรับเอาครอบครัวเหล่านั้นไว้แล้วส่งตัวองค์อิ่มไปไว้ณเมืองพนมเปนหาให้เปนเจ้าเมืองเขมรตามที่ว่าไม่ ในขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ จึ่งโปรดให้รีบกลับออกไปณเมืองพระตะบองเจ้าพระยาบดินทรเดชาเกณฑ์คนในหัวเมืองเขมรป่าดงแลเมืองลาวได้แล้วให้ไปตั้งรักษาอยู่ที่เมืองระสือกอง ๑ ที่ค่ายกพงพระกอง ๑ ที่เมืองนครเสียมราฐกอง ๑ แลจัดกองลาดตระเวน ๔๐๐ คน ให้ลงเรือรบ


๖๕ ลาดตระเวนในท้องทเลสาบ แต่ตัวเจ้าพระยาดินทรเดชานั้นตั้งอยู่เมืองพระตะบอง ถ่ายลำเลียงเสบียงอาหารตระเตรียมซึ่งจะทำการในเมืองเขมรต่อไป ในขณะนั้ฝ่ายญวนเกิดความสงสัยกันขึ้น ว่าองค์แบนเจ้าหญิงบุตรองค์จันทร์นั้นคิดจะหนีมาหาไทย ญวนจึ่งให้จับตัวจำไว้ในค่าย ภายหลังก็ให้เอาไปถ่วงน้ำเสีย แลเจ้าหญิงซึ่งยังเหลืออยู่อีก ทั้งองค์อิ่มแลมารดาบุตรภรรยา ครอบครัวองค์อิ่มองค์ด้วงซึ่งตกอยู่กับญวนนั้น ก็เอาส่งไปเมืองญวนทั้งสิ้น แล้วให้หาขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองเขมรจะให้ลงไปเมืองญวน ขุนนางเขมรก็ต่างคนต่างหลบหนีไปตั้งกองส้องสุมผู้คนเปนหมวดเปนกอง พอมีกำลังแล้วก็เข้ารบสู้ด้วยญวน เมื่อไม่มีกำลังก็ซุ่มซ่อนอยู่ในป่า ญวนจะไปมาน้อยกว่าก็ฆ่าเสียทั้งสิ้น ในครั้งนั้นพวกเขมรเปนขบถก่อการจลาจลไปทุกแห่งทุกตำบล ญวนก็มิอาจจะปราบปรามให้สงบระงับลงได้กำลังที่จะรักษาบ้านเมืองนั้นก็อ่อนลง ฝ่ายพระยาเขมรทั้งปวงก็มีหนังสือเข้ามาอ่อนน้อมต่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่พาครอบครัวเข้ามาพึ่งอยู่ในพระราชอาณาเขตรก็มีโดยมาก เจ้าพระยาบดินทรเดชามีใบบอกเข้ามาขอกองทัพแลสาตราวุธออกไป ครั้นกองทัพพร้อมแล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาก็ให้ยกไปช่วย พระยาเดโชเจ้าเมืองกพงสวายตีค่ายกพงทมแลค่ายญวนเมืองชีแครง ญวนแตกไป แล้วจึ่งยกไปตีค่ายญวนที่เมืองโพธิสัตว์ ได้สู้รบกับญวน ๆ หนีเข้าค่ายตั้งล้อมไว้


๖๖ เปนหลายวัน จนญวนออกอ่อนน้อมยอมรับแพ้ แลทำหนังสือสัญญาให้ว่าจะถอยกองทัพแล้วก็ปล่อยไป ในขณะเมื่อเมืองเขมรกำลังเปนจลาจลอยู่นั้น พระยาเขมรทั้งปวงมายื่นเรื่องราว แลมีหนังสือมาถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชาจะขอองค์ด้วงออกไปเปนเจ้ากรุงกำพูชาเปนหลายฉบับ เจ้าพระยาบดินทรเดชาบอกเข้ามา ทรงทราบแล้ว จึ่งโปรดให้ส่งองค์ด้วงออกไปอยู่ณเมืองพระตะบอง เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็มีหมายประกาศให้พระยาเขมรทั้งปวงมารับน้ำทำสัตยต่อองค์ด้วง ในขณะนั้นข้างแผ่นดินญวนเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ กองทัพญวนซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเขมรเกิดไข้ประจุบันไพร่พลล้มตายมาก ญวนจึ่งได้คิดอ่านจะพูดจากับกองทัพโดยทางไมตรี แม่ทัพญวนชื่อองเกรินตาเตืองกุน ซึ่งตั้งอยู่เมืองพนมเปนมีหนังสือมายังเจ้าพระยาบดินทรเดชา กล่าวความข้างเบื้องต้นว่าฝ่ายไทยรุกราญคุมเหงญวนต่างๆ ญวนก็เปนแต่สู้รบป้องกันรักษาเขตรแดนไว้หาได้ล่วงพระราชอาณาเขตรเข้ามาจนก้าวหนึ่งไม่แล้วกล่าวถึงเรื่องเมืองเขมร ว่าญวนคิดจะทำนุบำรุงเมืองเขมรแลเจ้านายให้มีความสุข ฝ่ายเขมรกลับคิดประทุษร้ายต่อญวน องค์อิ่มองค์ด้วงก็มีหนังสือไปสวามิภักดิ์ต่อญวน ชวนให้ตีเมืองพระตะบองซึ่งเปนของฝ่ายไทย ญวนก็หาได้ทำตามไม่ บัดนี้เพราะเขมรคิดการทรยศลุกลามขึ้น ญวนจึ่งต้องยกกองทัพมาปราบปราม แต่ถ้ารู้สึกตัวว่าผิดกลับมาอ่อนน้อมก็จะชุบเลี้ยงต่อไป ทางพระราชไมตรีกรุงสยามกับกรุงเวียดนามนั้น ก็อยากจะให้เปนไมตรีดีกันสืบไป ขอให้ไทยมีราชสาสนไปก่อน ซึ่งจะถือตามคำสัญญาซึ่งนายทัพเมือง

๖๗ โพธิสัตว์ทำไว้แต่ก่อนนั้นไม่ได้ หนังสือฉบับนี้แม่ทัพไทยหาได้ตอบไปไม่ เมื่อญวนไม่ได้หนังสือตอบฝ่ายไทยดังนั้น เห็นว่าจะยังมิเปนไมตรี ก็ยกกองทัพเข้าตีค่ายเขมรเมืองบาที ซึ่งพระยาเสนาภูเบศรไปตั้งกำกับอยู่ด้วย เขมรเห็นญวนมากก็หนี พระยาเสนาภูเบศรก็ถอยมาณเมืองโพธิสัตว์ ญวนก็ตามมาตีค่ายปีกกานอกเมือง ได้สู้รบกันอยู่แลผ่อนคนค่ายกพงทมลงมาที่พนมเปนอีก เจ้าพระยาบดินทรเดชาเห็นว่าญวนทำการแขงแรงขึ้น จึ่งได้พาองค์ด้วงยกออกไปตั้งณเมืองโพธิสัตว์ ญวนก็มิอาจตีตอบเข้ามา เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็ให้ ตัดไม้แก่นปักเปนค่ายระเนียดทำเมืองให้องค์ด้วง อยู่ที่ประไทเลียดเหนือเมืองโพธิสัตว์เปนที่ดอน ในขณะนั้นฝ่ายแม่ทัพญวนคิดกันไปขอหนังสือเจ้าหญิงแลมารดาองค์จันทร์ อนุญาตให้องค์อิ่มเปนเจ้าเมืองเขมร แล้วให้องค์อิ่มซึ่งญวนจำไว้นั้นพ้นโทษลงมาด้วย เจ้าพระยา บดินทรเดชาได้ทราบดังนั้น เห็นว่าองค์ด้วงตั้งอยู่เมืองโพธิสัตว์ลับเข้ามานัก กลัวว่าพวกเขมรจะไปเข้าด้วยองค์อิ่มเสียมาก จึ่งให้พระพรหมบริรักษนายทัพนายกอง พาตัวองค์ด้วงลงไปตั้งอยู่ณที่อุดงแขวงเมืองประไทเพชร ฝ่ายญวนได้ทราบดังนั้นก็ให้ไปรับเจ้าหญิงอีก ๓ คนลงมาณเมืองพนมเปน มอบตราสำหรับแผ่นดินแลพระขรรค์ให้นักองค์มี นักองค์มีก็ตั้งขุนนางเต็มตามตำแหน่ง แล้วให้แต่งหนังสือออกเกลี้ยกล่อมราษฎร ก็ไม่มีผู้ใดสามิภักดิ์ ข้างฝ่ายนักองค์ด้วงก็ตั้งขุนนางขึ้นเต็มตำแหน่งบ้าง ในครั้งนั้นขุนนางเขมรมีเต็ม


๖๘ ตำแหน่งเปนสองฝ่าย แล้วแต่งกองทัพออกเที่ยวรักษาตามหัวเมืองทั่วไป ได้ต่อรบกับญวนเปนหลายครั้งแล้วแต่งกองโจรออกอีก ๑๑ กอง กองละพันคนบ้าง หกร้อยคนบ้าง ห้าร้อยคนบ้าง ให้ซุ่มซ่อนอยู่ในป่าถ้าญวนมากก็ให้หลบหนีถ้าเห็นมาน้อยก็เข้าตีฆ่าเสียบ้างจับเปนมาบ้างกองใดได้ญวนมาก็ให้บำเหน็จรางวัลตามสมควร แล้วส่งญวนชเลยนั้นมากรุงเทพ ฯ ในระหว่าง ๗ ปี ๘ ปีนั้น ได้ญวนส่งเข้ามากว่าสองพันคน ฝ่ายเจ้าหญิงทั้ง ๓ คนนั้นมีหนังสือมาถึงองค์ด้วงว่าจะขอมาอยู่เมืองอุดงด้วย ขอให้แต่งกองทัพขึ้นไปรับ ญวนได้ทราบเหตุดังนั้นก็ให้รักษากวดขันขึ้นกว่าแต่ก่อน แล้วให้ส่งองค์อิ่มลงมาเมืองพนมเปน ปลูกเรือนให้อยู่หลังหนึ่งกับเจ้าหญิงทั้ง ๓ คนนั้น ฝ่ายองค์อิ่มก็ให้มีหนังสือออกไปเกลี้ยกล่อมพระยาเขมรทุกแห่งทุกตำบล ก็ไม่มีผู้ใดเข้าเกลี้ยกล่อม แต่คนถือหนังสือไปก็มิได้กลับมา ในขณะนั้นบังเกิดความไข้ขึ้นในกองทัพญวนเสียไพร่พลเปนอันมาก สเบียงอาหารก็ขัดสนเข้าราคาถึงถังละห้าบาท เกลือถังละกึ่งตำลึง เขมรอยู่ที่กว้างพอหาสเบียงอาหารได้ ฝ่ายญวนจะออกไปเที่ยวลาดหาสเบียงไม่ได้ จึ่งได้พาเจ้าหญิง ๓ แลองค์อิ่มกวาดต้อนครอบครัวได้ประมาณสองพันคนลงไปตั้งอยู่ณเมืองโจดก ครั้งนั้นแม่ทัพญวนมีความเสียใจกินยาพิศม์ตาย แม่ทัพคนใหม่ให้ยกลงไปตีเมืองปาสัก เมืองพระตะพัง ได้แล้วก็ตั้งอยู่ในเมืองโจดก ครั้งนั้นเมืองเขมรแบ่งออกเปนสองฝ่าย ข้างฝ่ายใต้เมืองกรังเกรยกราก เมืองตึกเขมา เมืองประมวนสอ เมืองมัจรุค


๖๙ เมืองปาสัก เมืองพระตะพัง เปนขององค์อิ่ม เมืองเขมรฝ่ายเหนือเปนขององค์ด้วง ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชาทราบว่ากองทัพญวนเลิกลงไปแล้วจึ่งได้พาองค์ด้วงยกลงไปตั้งอยู่ณเมืองพนมเปน ด้วยเปนทางร่วมฟังราชการได้โดยรอบทุกทิศ แล้วมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อได้ทรงทราบว่าเมืองเขมรขัดด้วยสเบียงอาหารดังนั้น จึ่งโปรดให้พระอนุรักษโยธาคุมเรือลำเลียงสเบียงอาหารออกไปส่งกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชาโดยทางทเล แลทรงพระราชดำริห์ว่า เมืองเขมรเดี๋ยวนี้เปนสิทธิแก่องค์ด้วงแล้ว ถ้าถมคลองขุดเสียได้ อย่าให้ญวนส่งลำเลียงสเบียงอาหารกันได้ถนัด ตัดทางอย่าให้กองทัพญวนมาตั้งในเมืองเขมรได้เมืองเขมรก็จะเปนสิทธิแก่ไทยฝ่ายเดียว จึ่งได้มีท้องตราไปให้เจ้าพระยา บดินทรเดชาถมคลองเสียให้ได้ จะโปรดให้มีกองทัพเรือออกไปตีเมืองประไทมาศถ่วงไว้ให้ญวนพว้าพวัง ในครั้งนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาป่วยจึ่งขอแม่ทัพบกเข้ามา โปรดให้เจ้าพระยายมราชออกไปเปนแม่ทัพเจ้าพระยายมราชแลองค์ด้วงกับพระพระพรหมบริรักษ์ คุมไพร่พลหมื่นพันเก้าร้อยคน ลงไปตามคลองขุดใหม่ ตั้งค่ายณเขาเชิงกระชุมแล้วทำค่ายตับเข้าประชิตค่ายญวน แล้วให้พูนดินขึ้นเปนป้อมเอาปืนใหญ่ขึ้นยิง ได้ต่อรบกันอยู่เปนสามารถ ฝ่ายกองทัพเรือโปรดให้เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เปนแม่ทัพ จมื่นไวยวรนารถเปนแม่ทัพหน้าคุมกองทัพกรุงเทพ ฯ พระยาอภัยพิพิธคุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายตวันออกรวมสามทัพเปนคนห้าพันเศษ แลให้คุมสเบียงอาหารไปส่งกองทัพ


๗๐ เจ้าพระยาบดินทรเดชาทางเมืองกำปอดด้วย กองทัพพระยาอภัยพิพิธไปก่อน ได้รบเรือลาดตระเวนญวน ญวนแตกไป แล้วจึ่งได้ยกขึ้นตีเมืองประไทมาศ พระยาอภัยพิพิธขึ้นทางบก พระยาราชวังสรรตีป้อมปากน้ำ ทัพจมื่นไวยวรนารถอยู่ที่ปากน้ำ ทัพหลวงตั้งอยู่ณเกาะกระทะคว่ำ ได้ต่อรบกับญวนประมาณหกเจ็ดวัน จมื่นไวยวรนารถกลับมาเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ปฤกษาเห็นว่าญวนต่อรบเปนสามารถเกรงว่าทัพเมืองโจดกจะยกมาช่วย ตกลงกันเลิกทัพกลับเข้ามา จมื่นไวยวรนารถแวะไปตรวจการที่พระราชรินทรส่งลำเลียงกองทัพทางบกที่เมืองกำปอด เห็นว่าส่งได้กึ่งหนึ่งแล้ว จะตั้งส่งต่อไปก็ไม่เปนที่ไว้ใจแก่ญวน จึ่งได้เลิกทัพพาสเบียงกลับเข้ามาณกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพหลวง ฝ่ายญวนที่เมืองประไทมาศเห็นว่ากองทัพเรือถอยมาแล้วก็ยกไพร่พลไปตีค่ายทัพบกที่คลองขุดใหม่ กองทัพไทเหลือกำลังก็แตก เสียพระยาอภัยสงครามแลพระองค์แก้วเขมรกับทั้งนายทัพนายกองเปน เจ้าพระยาราชก็ถูกปืน กองทัพแตกขึ้นไปเมืองพนมเปน ครั้งนั้นญวนหาได้ติดตามไม่ สเบียงอาหารที่เมืองพนมเปนขัดสนนัก เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึ่งให้รื้อเก๋งแลโรงปืนโรงเรือของญวนที่เมืองพนมเปนเสีย แล้วตั้งค่ายรายกองไว้สี่ค่ายแล้วถอยขึ้นมาตั้งเมืองอุดง ให้สร้างเมืองให้องค์ด้วงใหม่ที่ตำบลคลองพระยาฦๅ แลโปรดให้ไปส่งลำเลียงสเบียงอาหารที่เมืองกพงโสมต่อไป ฝ่ายฟ้าทะละหะแลสมเด็จเจ้าพระยากระลาโหม ซึ่งรับอาสาญวน


๗๑ จะมาเอาเมืองเขมรให้เปนของญวนจงได้นั้น ก็พาองค์อิ่มขึ้นมาตั้งค่ายอยู่ตำบลกระพงสัง แล้วเลื่อนขึ้นมาตั้งที่ค่ายจะโรยตามา ญวนก็ส่งกองทัพติดตามเปนอันมาก องค์อิ่มแลฟ้าทะละหะสมเด็จเจ้าพระยา ก็มีหนังสือมาเกี้ยกล่อมพระยาเขมรเปนหลายฉบับ หามีผู้ใดไปเข้าด้วยไม่ ภายหลังนักองค์อิ่มถึงแก่พิราไลย นักองค์มีเจ้าหญิงมีหนังสือถึงองค์ด้วงขอให้ขึ้นมาอยู่ด้วยไม่ ฝ่ายกองทัพญวนแลกองทัพไทยก็เกิดไข้เจ็บอันตราย แลขัดสนด้วยสเบียงอาหาร ต่างคนตั้งรออยู่มิได้รบพุ่งกันแลกัน ในขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาเข้ามาเฝ้าทูลลองธุลีพระบาทณกรุงเทพ ฯ ฝ่ายพระยาเขมรร่วมคิดกันสิบแปดคน มีพระยาจักรีเปนต้นมีหนังสือถึงญวน จะจับองค์ด้วงส่งให้ เหตุการนั้นไม่มิด องค์ด้วงจับได้ ฝ่ายญวนก็ยกทัพเข้ามา ตามที่นัดหมาย พระพรหมบริรักษ์แลองค์ด้วงก็มีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพ ฯ จึ่งโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชากลับออกไป ทัพญวนมาตีค่ายไทยที่เมืองพนมเปนแตกแล้วยกขึ้นมาตีเมืองอุดง เจ้าพระยา บดินทรเดชาก็ออกต่อรบ ทัพญวนแตกพ่ายไป ครั้งนั้นญวนตายเปนอันมากจึ่งเพิ่มนามเมืองอุดงว่าเมืองอุดงฦๅชัยแต่นั้นมา เจ้าพระยา บดินทรเดชาก็จัดกองทัพออกตั้งรายตามหัวเมืองไว้มั่นคง ฝ่ายญวนเห็นว่าจะทำการไม่สดวกแล้ว จึ่งแต่งให้มาเจรจาด้วยเจ้าพระยาบดินเดชาว่าขอให้องค์ด้วงมีหนังสือไปอ่อนน้อม จะยอมส่งมารดาแลญาติพี่น้องให้เปนไมตรีกันสืบไป ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชาสำคัญใจว่าจะเปน


๗๒ อุบายก็นิ่งเสีย ญวนก็ให้มารบกวนตักเตือนอยู่เนือง ๆ แล้วภายหลังแจ้งความว่า เจ้าเวียดเทียวตรีวงศนี้คิดจะจัดการในเมืองเขมรโดยทางใหม่ ไม่ให้เปนการรบพุ่งกันสืบไป เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือบอกเข้ามา ก็ยังไม่เปนที่ไว้วางพระราชหฤทัย เกรงว่าจะเปนอุบายของญวน ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชาเห็นว่าเขมรเหนื่อยหน่ายในการรบพุ่งแลได้ความลำบากอดอยากมาช้านาน ฝ่ายญวนก็ทำดีต่อ เอามารดา แลบุตร ภรรยามาล่อองค์ด้วง ๆ ก็อยากจะใคร่พบมารดาเเลบุตรภรรยาสำเร็จไปอย่างหนึ่งอย่างใดได้ เปนแต่ผลัดกันได้กันเสียอยู่ดังนี้ เปนช่องอันดีสมควรที่จะสงบการศึกษากันคราวหนึ่งได้ จึ่งได้มีใบบอกชี้แจงเข้ามาตามที่คิดเห็นนั้น ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดการไปตามทางซึ่งจะสงบการสงคราม ในจุลศักราช ๑๒๐๘ นั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชา จึ่งให้องค์ด้วงมีหนังสือไปขอมารดาแลบุตรภรรยาจากญวน ญวนก็ส่งมาให้ตามสัญญาแล้วขอให้มีศุภอักษรแลส่งบรรณาการขึ้นไปคำนับเมืองญวนสามปีครั้งหนึ่ง เหมือนเมื่อครั้งองค์สมเด็จพระนารายน์รามาซึ่งเปนบิดาขององค์ด้วง แลขอให้ส่งครัวญวนแขกชเลยซึ่งองค์ด้วงจับส่งเข้ามาภายหลัง สี่สิบคนเศษ คืนออกไป ครั้นมีใบบอกเข้ามาก็โปรดพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ส่งบรรณา การญวน แลพระราชทานคน ๔๐ คนเศษนั้นคืนไป องค์ด้วงก็แต่งศุภอักษรเครื่องบรรณาการขึ้นไปคำนับญวน แลส่งคนชเลยคืนให้


๗๓ แล้วได้รับตราตั้งฝ่ายญวนเปนเจ้าเขมรก๊กหนึ่ง ญวนส่งเจ้าหญิงบุตรองค์จันทร์มาให้ทั้งสิ้น แล้วก็เลิกทัพกลับไปจากเขตรแดนเขมร ฝ่ายกองทัพไทยก็จัดการบ้านเมืองให้องค์ด้วงได้เปนใหญ่ในเมืองเขมรเรียบร้อยสำเร็จแล้ว จึ่งโปรดให้พระยาเพ็ชรพิไชยคุมเครื่องยศออกไปเศกนักองค์ด้วง เปนสมเด็จพระหริรักษรามาธิบดีเจ้ากรุงกัมพูชา องค์ด้วงก็แต่งเครื่องราชบรรณาการเข้าทูลเกล้า ฯ ถวายตามอย่างแต่ก่อน แล้วคิดถึงพระเดชพระคุณที่ ทรงพระมหากรุณา ให้ได้เปนใหญ่ในกรุง กัมพูชาโดยกำลังกองทัพฝ่ายสยาม จึ่งได้เพิ่มเติมครื่องราชบรรณาการกระวานขึ้นอีกปีละ ๕๐ หาบ แล้วให้องค์ราชาวดีซึ่งเปนบุตรใหญ่เข้ามาพร้อมด้วยเจ้าพระยาบดินทรเดชา รับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่ณกรุงเทพ ฯ การศึกกรุงสยามกับญวนก็เป็นอันขาดกันแต่กาลนั้นมา ด้วยประการฉนี้ อนึ่งราชการข้างฝ่ายเมืองหัวพันทั้งหก ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาได้รับท้าวขุนในหัวเมืองเหล่านั้นลงมาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิไว้ แต่เมื่อครั้ง ยกขึ้นไปในจุลศักราช ๑๑๙๕ แล้วแลป่วยกลับลงมารักษาตัว ยังมิได้พาลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพฯ นั้น ครั้นหายป่วยแล้วก็โปรดให้กลับขึ้นไปณเมืองหลวงพระบางในจุลศักราช ๑๑๙๗ เมื่อไปถึงเมืองพิไชยพบท้าวคำอ่อนพาพวกเมืองหัวพันทั้งหกลงมา เจ้าพระยา



๗๔ ธรรมาเห็นว่าเป็นผู้น้อยจึ่งได้พากลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง แล้วปฤกษากันว่า เมืองหัวพันทั้งหกนี้เดิมก็เปนข้าขอบขันธสีมาขึ้นเมืองเวียงจันท์ครั้นอนุเปนขบถหนีเข้าไปอยู่ในเขตรแดนญวน จึ่งยกเอาเมืองหัวพันทั้งหกแลเมืองพวนไปให้ญวน ญวนจึ่งได้ครอบงำเอาหัวเมืองเหล่านี้ไว้ครั้นจะแต่งกองทัพให้ไปปราบปราม ก็เห็นว่าเปนแต่บ้านเล็กเมืองน้อยกลัวว่าจะแตกตื่นเข้าป่าไป จึ่งให้เพี้ยศรีอรรคฮาดพาพวกหัวพันทั้งหกที่ลงมานั้นกลับขึ้นไปบอกเจ้าเมืองกรมการผู้ใหญ่ลงมาเพี้ยศรีอรรคฮาดก็ไปพาเจ้าเมืองเหียง ปลัดหัวเมือง ปลัดเมืองซ่อน ท้าวพลเมืองซำเหนือ ท้าวเพี้ยมีชื่อ ลงมาหาเจ้าพระยาธรรมา ภายหลังท้าวเพี้ย เมืองซำใต้ เมืองโสย เมืองเชียงค้อก็ลงมาอีก ๓ เมือง เจ้าพระยาธรรมาจึ่งพาตัวเจ้าเมืองเพี้ยทั้งหกเมือง ลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทถือน้ำพระพิพัฒสัตยาแล้วก็โปรดเกล้า ฯ ให้กลับขึ้นไปทำราชการขึ้นเมืองหลวงพระบางต่อไป เมืองหัวพันทั้งหกก็คงเปนข้าขอบขันธสีมาดังแต่ก่อน ฯ แลตามเมืองลาวตามเชิงเขาประทัด ซึ่งพระมหาเทพขึ้นไปกวาดต้อนครอบครัวลงมาแต่ก่อนนั้น ครั้นในจุลศักราช ๑๒๐๗ เจ้าอุปราชเมืองเวียงจันท์ซึ่งลงมาอยู่ณกรุงเทพฯ รับอาสาจะไปปราบปราม จึ่งโปรดให้พระมหาสงครามเปนแม่ทัพ ขึ้นไปรวบรวมกองทัพหัวเมืองลาวฝ่ายตวันออกสี่ทัพเปนคนหมื่นเศษ แยกเปนสี่ทางไปตีเมือง



๗๕ วัง เมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง เมืองเชียงร่ม เมืองผาบังพลเมืองเหล่านั้นต่างแตกหนีเข้าป่าไปสิ้น แต่งให้ออกเที่ยวกวาดครอบครัว ก็ถูกปืนแลน่าไม้ล้มตายมาก จับได้บ้างเกลี้ยกล่อมได้บ้าง เปนคนครัวพันร้อยเศษ ช้างยี่สิบช้าง จุดเผาบ้านเรือนเสีย แล้วมีใบบอกลงมา โปรดให้มีตราตอบขึ้นไปให้กองทัพตั้งอยู่คอยกวาดต้อนผู้คนอย่าให้ตั้งเปนบ้านเมืองเปนทางสเบียงของญวนได้ภายหลังนายทัพนายกองพากันกลับลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ได้ครอบครัวมาใหม่เปนจำนวน คน เมืองวัง ๘๕๒ คน เมืองตะโปน ๕๗๕ คน เมืองนอง ๑๐๓ คน เมืองพิน ๑๒๒ คน เมืองคำมวน ๘๐๖ คน รวม ๒๔๕๘ คน โปรดให้ถามดูว่าจะสมัคตั้งอยู่ตำบลใดก็ให้ตั้งตามใจสมัค ราชวงศเมืองวังสมัคตั้งอยู่บ้านกุจฉินารายน์ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ท้าวโรงกลางเมืองวังสมัคอยู่บ้านประขาวพังงาขึ้นเมืองเมืองสกลนคร ท้าวลำดวนเจ้าเมืองคำเกิดสมัคอยู่บ้านขอนยางขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ อุปฮาดราชวงศเมืองคำมวนสมัคอยู่บ้านแซงบาดาลขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ท้าวเพี้ยเมืองสูงสมัคอยู่บ้านกุสุมาลขึ้นเมืองสกลนคร ท้าวสายนายครัวเมืองวังซึ่งอยู่บ้านบงหวายท่าตุคนกับเจ้าเมืองเชียงร่ม อุปฮาดราชวงศ ขอตั้งอยู่บ้านห้วยสีสะบัวแขวงเมืองนครพนม พระไชยเชษฐาเจ้าเมืองตะโปนแลครอบครัวขุนป้องพลขันธ์ ขอตั้งอยู่เมืองเขมราษฎร์ บันดาตำบลที่ครัวไปอยู่นี้ โปรด



๗๖ ให้ยกขึ้นเปนเมือง ตั้งเจ้าเมืองอุปฮาดราชวงศราชบุตรท้าวเพี้ยกรมการตามตำแหน่ง (๑) แล้วโปรดให้ตั้งด่านฟากน้ำโขงตวันออกคอยลาดตระเวนถึงกัน คอยฟังเหตุการ จะได้สู้รบญวนให้ทันท่วงที ให้เมืองนครพนมตั้งค่ายที่บ้านบึง แขวงเมืองนครพนมต่อแดนเมืองมหาไชยตำบล ๑ ให้คานบุดีกองอาทมาดตั้งด่านที่เขตรแดนเมืองแซกตำบล ๑ ตั้งด่านที่บานโพแดนเมืองวังตำบล ๑ให้เมืองเชียงร่มตั้งด่านที่แดนเมือง (๑) พวกชาวเมืองต่าง ๆ ที่ต้อนมา เดิมเปนชาวเมืองทางฝั่ง ตวันตกนั้น อพยพหลบหนีไปอยู่ทางชายแดนญวน ในครั้งกองทัพกรุงธนบุรีขึ้นไปตีเมืองจันท์ เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๑ คิดเวลาล่วงมาได้ ๕๕ ปีคนที่ต้อนกลับมาเปนเพียงชั้นบุตรหรือหลานพวกที่อพยพไปโดยมากเมื่อกลับมาถึงถิ่นเดิม จึงมักสมัคตั้งอยู่บ้านเมืองเดิมของบุรพการี พวกชาวเมืองที่รู้เรื่องยังบอกได้ว่าชั้นเดิมบุรพการีของตนอยู่เมืองไหน ดังเช่นพวกชาวเมืองท่าอุเทนเล่าว่าบุรพการีเปนชาวเมืองไชยบุรี แต่เมื่อกลับเข้ามาครั้งนั้น ที่เมืองไชยบุรีมีพวกอื่นไปตั้งภูมิลำเนาเสียแล้วจึ่งเลื่อนขึ้นไปตั้งอยู่ที่เมืองท่าอุเทน ดังนี้ เมื่อต้อนคนกลับมาครั้งนั้นแล้ว พวกที่กลับมาได้เปนเจ้าเมืองกรมการ ก็พากันแต่งคนไปเกลี้ยกล่อมพรรคพวกที่ยังเหลืออยู่ตามมา ก็โปรดฯ ให้จัดตั้งบ้านเมืองให้อยู่ จึ่งปรากฎการตั้งเมืองใหม่ในท้องที่มณฑลอุดรแลอิสาณเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓ มากมายหลายเมือง ด้วยเหตุดังกล่าวมา


๗๗ เชียงร่มตำบล ๑ ให้เมืองท่าขอนยางเมืองแซงบาดาล ตั้งด่านบ้านนาหินแขวงเมืองคำเกิดคำมวนตำบล ๑ เมืองกุจฉินารายน์ตั้งด่านบ้านนาใต้เมืองวังตำบล ๑ เมืองสกลนครตั้งด่านเมืองมหาไชยตำบล ๑ ทางน้ำบำต่อแดนเมืองกวางเบือนตำบล ๑ราชการทางเมืองลาวเชิงเขาประทัดก็สงบเรียบร้อยไม่มีเหตุการอันใด ฝ่ายราชการทางเมืองพม่าในรัชกาลที๓นี้มีแต่เมื่อจุลศักราช๑๑๘๖โปรดให้เจ้าพระยามหาโยธา พระยาสุรเสนา พระยาพิพัฒโกษา ยกกองทัพออกไปทางพระเจดีย์สามองค์ พระยาชุมพรยกกองทัพเรือไปทางเมืองรนอง ตั้งขัดทัพฟังราชการซึ่งอังกฤษรบกับพม่า ตั้งอยู่ในเมืองซึ่งอังกฤษตีได้ หาได้ทำการรบพุ่งไม่ ครั้นอักฤษได้เมืองมริด เมืองทวาย แลเมืองมอลแมนแล้ว ก็เปนอันตัดทางที่พม่าจะมาย่ำยีพระราชอาณาเขตรทางเมืองราชบุรีไป ทั้งพม่าขัดข้องด้วยอังกฤษ ก็มิอาจที่จะมารบกวนในพระราชอาณาเขตร เปนการสงบเรียบร้อยตลอดมา จนถึงจุลศักราช ๑๒๑๐ ปีวอกสัมฤทธิศก เมืองเชียงรุ้งเกิดเหตุวิวาทกันในบ้านเมือง หม่อมมหาไชยหนีเข้ามาอาศรัยอยู่ในเมืองหลวงภูคาซึ่งเปนเมืองขนนครเมืองน่าน ครั้นจุลศักราช ๑๒๑ปีรกาเอกศก มหาอุปราชากันนางปิ่นแก้วก็ลงมาอาศรัยอยู่ในหลวงพระบาง จึ่งโปรดให้หาตัวลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพ ฯ มหาอุปราชาลงมา ตามรับสั่ง แต่มหาไชยนั้นหนีกลับไปเมืองเชียงรุ้ง เมืองน่านกันไว้แต่ครอบครัว จงทรงพระราชดำริห์ว่าพม่าอ่อนกำลังลงแล้ว ควรจะ


๗๘ ตีเมืองเชียงตุงมาไว้ในพระราชอาณาเขตร จึ่งโปรดให้มีท้องตราขึ้นไปให้กองทัพลาวพุงดำยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ห้าพันคน เมืองนครลำปางสี่พันคน เมืองนครลำพูนห้าร้อยคน ยกขึ้นทางเมืองเชียงรายสี่กอง ทางเมืองสาดแปดกอง กองทัพทางเมืองสาดตีได้เมืองโป๊ะเมืองปางซราน เมืองปางไร ท่าออ เมืองแจะ เมืองมาง เมืองปู เมืองเล็น เมืองเพียง ได้แล้วเข้าตีเมืองเชียงตุง มหาขนานเจ้าเมืองเชียงตุงออกมาตั้งกองทัพรับนอกเมือง กองทัพลาวตีทัพมหาขนานแตกหนีเข้าเมือง กองทัพน้อยมหาพรหมตีทัพพระเมืองทก พระเมืองทกตายในที่รบ แล้วตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเชียงตุง เพราะคนน้อยยังจะหักเอาเมืองมิได้ ฝ่ายกองทัพทางเมืองเชียงราย ตีเมืองพยาก เมืองเล็นแล้วเกลี้ยกล่อมเมืองยองได้ เจ้าอุปราชเมืองเชียงใหม่ตั้งทัพอยู่เสียที่เมืองยองไม่ยกขึ้นไปช่วย กองทัพทางเมืองสาดขัดด้วยสเบียงอาหารก็ต้องเลิกทัพกลับลงมา ครั้งนั้นทรงพระประชวรเสียยังหาได้คิดราชการต่อไปไม่ ในราชการข้างฝ่ายหัวเมืองแขกมลายูนั้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๙๒ ตนกูอุดินซึ่งเมืองนครศรีธรรมราชเรียกว่าตนกูเด่น อันเปนหลานเจ้า พระยาไทรบุรี ซึ่งหนีไปอยู่ที่เกาะหมาก ฝ่ายอังกฤษรับไว้ว่าจะมิให้มารบกวนเมืองไทรบุรีแลเมืองแขกในพระราชอาณาเขตรแต่ก่อนนั้นยกเข้ามาตีเมืองไทรบุรีได้ เจ้าพระยาศรีธรรมราชทราบแล้ว จึ่งให้พระสุรินทรไปเกณฑ์ทัพหัวเมืองแขก พวกหัวเมืองพากันเพิกเฉย


๗๙ เสีย พระสุรินทร์จึ่งให้จับสีตวันกรมการเฆี่ยนตีแลลงเอาเงิน พวกหัวเมืองแขกทั้งปวงก็พากันเปนขบถขึ้นทุกเมือง เมื่อได้ทรงทราบจึ่งโปรดให้เกณฑ์กองทัพ พระยาณรงค์ฤทธิโกษากอง ๑ พระยาราชวังสรรกอง ๑ พระยาเพชรบุรีกอง ๑ ภายหลังโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังยกทัพใหญ่ออกไปในจุลศักราช ๑๑๙๔ ปีมโรงจัตวาศก เมื่อกองทัพเจ้าพระยาพระคลังไปถึงนั้นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชตีได้เมืองไทรบุรีเสียก่อนแล้ว ตนกูเด่นต่อรบเปนสามารถ ล้อมเมืองอยู่ช้านานครั้นเห็นจะต้านทานมิได้แล้วก็แทงตัวตายเสียในเมืองเจ้าพระยานครจัดการเมืองไทรเรียบร้อยแล้วก็ยกกลับมา ปฤกษาด้วยเจ้าพระยาพระคลังจัดให้พระยาราชวังสรรยกทัพเรือลงไปปิดปากคลองบางน้ำจืดที่เปนลำน้ำเมืองตานีไว้ แล้วเจ้าพระยาพระคลังแลเจ้าพระยานครยกไปทางบกพลสามหมื่น พระยาตานีไม่ต่อรบหนีลงไปเมืองกลันตัน กองทัพไทยเข้าตั้งอยู่ในเมืองตานี คิดจะยกไปตีเมืองกลันตัน ด้วยเมืองกลันตันได้ให้ทัพบกทัพเรือมาช่วยเมืองตานี แลรับพระยาตานีซึ่งหนีลงไปไว้ในเมืองกลันตันด้วย ฝ่ายพระยากลันตันกลัวกองทัพจะย่ำยีบ้านเมืองจึ่งแต่งหนังสือขึ้นมาอ่อนน้อมยอมเสียเงินค่าสเบียงอาหารสามหมื่นเหรียญแลเสียให้นายทัพนายกองอีกสองหมื่นเหรียญ แล้วส่งตัวพระยาตานีมาให้กองทัพไทย ฝ่ายเมืองตรังกานูได้ให้กองทัพมาช่วยเมืองตานี แต่ครั้นจะแต่งกองทัพลงไปตี กลัวว่าจะหนีเข้าเขตรแดนอังกฤษไปเสียจึ่งแต่ข้าหลวงไปเกลี้ยกล่อม พระยาตรังกานูก็มิได้ยอมสามิภักดิ


๘๐ จึ่งมีท้องตราไปตั้งให้ตนกูอุมาน้องชายซึ่งวิวาทกันหนีไปอยู่เมืองลิงาเปนพระยาตรังกานู ฝ่ายพระยาสาย พระยาระแงะ เข้าหากองทัพ พระยายะลาหนีไปจับตัวได้ พระยาหนองจิกตาย พระยายิริงเปนไทยหาได้เปนขบถด้วยไม่ แลเจ้าเมืองแขกซึ่งเข้ามายอมสามิภักดิโดยดี ก็ได้โปรดให้คงเปนเจ้าเมืองอยู่ดังเก่า ที่ต่อสู้แลหลบหนีก็ให้พาตัวเข้ามาไว้ณกรุงเทพ ฯ เลิกกองทัพกลับเข้ามา ภายหลังสุลต่านมหมัดเสาะเมืองลิงาแลเมืองเรียว ซึ่งเปนญาติกับพระยาตรังกานู รับตนกูอุมาไว้นั้น มีหนังสือเข้าถวายขอบพระเดชพระคุณ ที่ได้โปรดตั้งให้ตนกูอุมาเปนพระยาตรังกานู ด้วยแต่แรกได้คิดจะยกมาตีเมืองตรังกานูแล้ว แต่หากเกรงพระเดชานุภาพว่าเปนเมืองขอบขันธสิมาอยู่ครั้งนี้ก็เปนอันได้ช่วยตนกูอุมาสมตามปราถนา ครั้นในจุลศักราช๑๒๐๐ ปีจอสัมฤทธิศก ตนกูมะสะอะหลานตนกูปะแงรันเจ้าพระยาไทรบุรีคบคิดกันกับตนกูหมัดอะเก็บ เปนสลัดตีเรืออยู่ในท้องทเล ยกเข้ามา ตีเมืองตรังได้ ให้หวันอลีอยู่รักษา แล้วยกมาตีเมืองไทรบุรี พระภักดีบริรักษ์ซึ่งเปนพระยาไทรกับพระเสนานุชิตเห็นว่า ไพร่พลเปนแขกเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึ่งหนีเข้ามาณเมืองพัทลุง ในขณะนั้นเจ้าพรนคร ศรีธรรมราชที่อยู่กรุงเทพฯ จึ่งโปรดให้รีบกลับออกไป เจ้าพระยานครศรีธรรมราชจัดให้พระยาไทรบุรีกับพระเสนานุชิตพระวิชิต สรไกร ไปตีเมืองไทรบุรี แล้วโปรดให้พระยาไชยาคุมคนเมืองไชยาพันหนึ่งออกไปช่วยรักษาเมืองพังงา แล้วโปรดให้เจ้าพระยายมราช


๘๑ พระยาศรีพิพัฒยกทัพใหญ่ตามออกไปภายหลัง พอพระยาไทรบุรีเมืองไทรได้ กองทัพกรุงเทพ ฯ ออกไปตังอยู่ณเมืองสงขลา พระยากลันตันมีหนังสือมาว่าวิวาทกันกับตนกูปะสา พระยาบาโงย ต่วนหลวงมหมัดกับพวกบุตรตนกูมดา ตั้งล้อมพระยากลันตันไว้ทั้งสี่พวกพระยากลันตันได้ยกออกไปรบสองครั้งเสียทีมา ขอให้กองทัพลงไปช่วยโดยเร็ว พระยาศรีพิพัฒจึงให้หลวงสรเสนีคุมไพร่ ๘๐ คน ลงเรือแกล้วกลางสมุทไปโดยทางทเล ให้พระยาเพ็ชรบุรีคุมคนพันหนึ่ง ไปตั้งอยู่ที่เมืองสายต่อแดนเมืองกลันตัน พระยาบาโงยตกใจหนีไปตั้งอยู่ณแขวงเมืองตรังกานู หลวงสรเสนีให้ไปหาตัวพระยาตรังกานูแลตนกูประสา ขึ้นมาหาพระยาศรีพิพัฒที่เมืองสงขลา ก็ต่างคนต่างไม่มาด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระยาศรีพิพัฒ จึ่งให้พระยาไชยาเอาเรือรบลงไปทอดอยู่ในกลางน้ำน่เมือง กลันตัน บังคับให้รื้อค่ายทั้งสองฝ่าย ตนกูปะสาพระยากลันตันก็ยอม แล้วพระยาไชยาก็พาตัวพระยากลันตันแลตนกูปะสาขึ้นมาหาพระยาศรีพิพัฒ ๆ ให้ทำสัตยสัญญาว่าจะไม่พุ่งต่อกันสืบไป ต่างก็ยอมทำสัตยสาบาลทั้งสองฝ่าย เจ้าพระยายมราชพระยาศรีพิพัฒก็ยกออกไปจัดการเมืองไทรบุรี เห็นว่าจะให้ไทยครองเมืองต่อไปก็จะรักษาไว้ไม่ได้ ด้วยไพร่พลเมืองเปนแขก จึ่งได้มอบเมืองไทรบุรีให้แก่ตนกูอะหนุ่มซึ่งเปนญาติห่าง ๆ ของเจ้าพระยาไทยบุรีอยู่รักษา แล้วให้ตนกูอะสันเปนผู้ช่วยราชการ แล้วยกที่สตูนในแขวงเมืองไทรบุรีขึ้น


๘๒ เปนเมือง ให้ตนกูหมัดอาเก็บเปนเจ้าเมือง ยกที่ปลิดในแขวงเมืองไทรบุรีขึ้นเปนเมือง ให้ตุวันเสดหะเซนเปนที่เจ้าเมือง เมืองไทรบุรีก็แยกออกเปนสามเมืองแต่นั้นมา ครั้นในจุลศักราช ๑๒๐๓ ปีฉลูตรีศก เจ้าพระยาไทรบุรีซึ่งอยู่เมืองมลกา ทราบความว่าไทยมอบเมืองไทรให้ตนกูอะหนุ่มอยู่รักษาก็มีความยินดี จึ่งมีหนังสือให้ตนกูอับดุลาเข้ามาขอพระราชทานเมืองคืน จึ่งโปรดตั้งให้บุตรเจ้าพระยาไทรบุรีเปนพระยาไทรบุรี แต่ขอแบ่งที่กะบังปาสูในแขวงเมืองไทร ยกขึ้นเปนเมืองให้ตนกูอะหนุ่มไปเปนเจ้าเมืองพระยาไทรก็ยอม การในหัวเมืองแขกก็เรียบร้อยแต่นั้นมา ฝ่ายการหยุกหยิกในพระนครเกิดขึ้น ได้โปรดให้ข้าราชการไปปราบปรามราบคาบไปหลายครั้ง ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๘๖ ปีวอกฉศกที่เมืองจันทบุรีพวกจีนแต้จิ๋วเข้ากันเปนตั้วเหี่ยประมาณเจ็ดร้อยแปดร้อยคนครั้งนั้นทำการทิ้งกระจาดที่บ้านหนองปรือ พวกจีนแต้จิ๋วไม่ชอบกับพวกจีนฮกเกี้ยน คุมพวกเข้าตีตลาดบางกระจะแล้ว ไปล้อมบ้านพระยาสุนทรเสรษฐี ๆ คุมพวกจีนฮกเกี้ยนออกต่อสู้ พระยาจันทบุรีให้กรมการออกจับ ได้ตัวหัวหน้าแลพระยาปลัดเมืองจันทบุรีชื่อจั่น ส่งเข้ามาลงพระราชอาญาตามโทษานุโทษ ฯ ครั้งหนึ่งในจุลศักราช ๑๒๐๔ ปีขานจัตวาศก ที่เมืองนครไชยศรีเมืองสมุทสาคร เกิดจีนตั้วเหี่ยขึ้นอีกสามพวก มีพวกพ้องเข้าด้วยพวกละพันคนเศษ โปรดให้หัวหมื่นพระตำรวจออกไปจับพร้อมด้วยพระสมบัติวานิชหลวงเทพภักดี ได้ตัว


๘๓ หัวหน้าเข้ามาลงพระราชอาญาณกรุงเทพ ฯ แต่พวกซึ่งเข้าตั้วเหี่ย ซึ่งยังเหลืออยู่คุมกันเปนโจรผู้ร้าย เข้าตีปล้นบ้านเรือนทั่วไป โปรดให้ชำระปราบปรามเปนการใหญ่จนสงบเรียบร้อย ฯ อีกครั้งหนึ่งในจุลศักราช ๑๒๐๗ ปีมเสงสัปตศก พวกจีนตามหัวเมืองชายทเลฝ่าย ตวันตกตั้งแต่เมืองปราณลงไปจนเมืองหลังสวน คุมกันเปนตั้วเหี่ยแล้วลงเปนสลัดตีเรือลูกค้า จนเรือค้าขายไปมาตามฝั่งทเลตวันตกไม่ได้ก็โปรดให้กรมพระตำรวจออกไปชำระได้ตัวคนร้ายเข้ามาลงโทษเปนอันมากการสงบเรียบร้อยมา ถึงจุลศักราช ๑๒๐๙ ปีมแมนพศก ในระหว่างนั้นเปนเวลาโปรดให้จับฝิ่นเถื่อน จีนเขียวมีความเจ็บแค้นด้วยพระยามหาเทพจึ่งประชุมพวกพ้องคุมกันเปนตั้วเหี่ย ตั้งอยู่ตำบลลัดกรูดแขวงเมือง สมุทสาคร จมื่นทิพเสนาออกไปจับฝิ่นเถื่อน จีนเขียวก็ต่อสู้ จมื่นทิพเสนากลับเข้ามา จึ่งโปรดให้พระยามหาเทพกับพระยาสวัสดิวารีออกไปจับ พวกจีนต่อสู้ยิงต้องพระยามหาเทพตาย จึ่งโปรดให้เกณฑ์กองทัพให้เจ้าพระยาพระคลังแลข้าราชการผู้ใหญ่น้อยออกไปปราบปราม จับได้ตัวหัวหน้าเข้ามาลงโทษ ในขณะนั้นฝ่ายข้างเมืองฉเชิงเทรา พวกจีนตั้วเหี่ยก็คุมกันเข้าตั้งเลี้ยงโต๊ะ แล้วคุมพวกเที่ยวปล้นโรงหีบฆ่าเจ้าของตาย พระยาวิเศษฦๅไชยคุมคนไปจับพวกจีนต่อสู้ฆ่า พระยาวิเศษฦๅไชยตาย พวกจีนก็เข้าตั้งมั่นอยู่ในกำแพงเมืองฉเชิงเทรา จึ่งโปรดให้หากองทัพที่ออกไปปราบปรามตั้วเหี่ยทางเมืองสมุทสาครกลับเข้ามา แล้วให้ยกออกไปเมืองฉเชิงเทรา จับได้จีนหัวน่า แลฆ่า ๑๒

๘๔ จีนตายเสียครั้งนั้นเปนอันมาก แต่นั้นมาก็สงบเรียบร้อยไม่มีเหตุการจนตลอดรัชสมัย ฯ ส่วนทางพระราชไมตรีซึ่งได้มีแก่นานาประเทศในรัชกาลที่ ๓บ้าง นั้น คือเมื่อแรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดให้มีกองทัพออกไปตั้งขัดทัพในเวลาพม่ารบกับอังกฤษ แต่ให้ข่าวปรากฎว่าจะยกไปช่วยอังกฤษ ในครั้งนั้นฝ่ายอังกฤษมีความประสงค์จะใคร่เปนทางไมตรีกับกรุงสยามให้สนิทขึ้น จะได้ขอทำหนังสือสัญญาทางค้าขาย จึ่งยอมรับให้กองทัพฝ่ายสยามเปนอันได้ไปช่วยอังกฤษในการรบพม่า จึ่งได้ลงข้อหนังสือสัญญาเลิกการรบ กล่าวถึงกรุงสยามมิให้พม่ามารบ กวนด้วย แล้วอีสต์อินเดียกัมปนี มีหลอดเอมเหิสเปนคอเวอนเนอออฟเบงกอลในขณะนั้น มีอักษรสาสนเข้ามาขอบพระเดชพระคุณ แลฝากปืนบ้าเหรี่ยมกระสุนห้านิ้วสองบอกกับกระจกสองแผ่นเข้ามาถวายฯ ครั้นในจุลศักราช ๑๑๘๗ จึ่งแต่ให้กับตันเฮนรีเบอนีเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาก็ไม่โปรดจะให้ทำ แต่พระบรมวงศานุวงศ์แลท่านเสนาบดีมีกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเปนต้น กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าอังกฤษมีเขตรแดนใกล้ชิดเข้ามา ถ้ามิผ่อนตามให้บ้าง จะเกิดเปนเสี้ยนสัตรูขึ้น จึ่งโปรดให้กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ซึ่งเปนผู้สำเร็จราชการเปนประธานในการทำหนังสือสัญญา ได้ตกลงกันเปนสัญญาว่าด้วยทางพระราชไมตรี แลว่าด้วยการเมืองไทรบุรี ซึ่งอังกฤษรับจะมิให้พระยาไทรบุรีเข้ามารบกวนในพระราชอาณาเขตรแลจะกำหนดปักเขตร


๘๕ แดนเปนต้น รวม ๑๔ ข้อ ว่าด้วยการซึ่งจะมีเรือไปมาค้าขายอีกหกข้อรวมเปน ๒๐ ข้อ หนังสือสัญญานั้นประทับตราเสนาบดีทั้งหกตำแหน่งลงวัน ๓๗ ค่ำ ปีจออัฐศก จุลศักราช ๑๑๘๘ แล้วกัปตันเฮนรีเบอนีขอครัวพม่ารามัญทวายซึ่งเจ้าพระยามหาโยธา แลพระยาชุมพรกวาดเข้า มาเมื่อครั้งออกไปขัดทัพ โปรดพระราชทานคืนให้เปนสัมโนครัว ๕๘๕ คน ที่ค้างอยู่เมืองชุมพร ก็โปรดให้พระยาไกรโกษาออกไปชำระคืนให้ที่เมืองมริด กัปตันเฮนรีเบอนีเข้ามาครั้งนั้นได้เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทตามอย่างแขกเมืองใหญ่ ครั้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๙๓ อังกฤษให้มาขอทำหนังสือสัญญาด้วย เรื่องเขตรแดนโปรวินศเวเลสะลีกับเมืองไทรบุรีโปรดให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชลงชื่อทำหนังสือสัญญากับโรเบิดอิดเบ็ดซันเจ้าเมืองสเตรดเซ็คเตอละเม็นต์ กับเยมสโลซึ่งเปนผู้ช่วยราชการแลเปนล่าม หนังสือสัญญาฉบับนั้นลงวัน ๔๑๑ค่ำ ปีเถาะตรีศกจุลศักราช ๑๑๙๓ ฯ ครั้นจุลศักราช ๑๑๙๔ ปีมะโรงจัตวาศกเอ็ดมันด์โรเบิดทูตยุไนติดสะเตดอะเมริกา เข้ามาขอทำหนังสัญญาทางพระราชไมตรีแลการค้าขาย ก็โปรดให้ทำหนังสือสัญญาเปนความ ๒๐ ข้อ คล้ายกันกับหนังสือสัญญากัปตันเฮนรีเบอรี ได้ลงชื่อหนังสือสัญญาวัน ๔๔ ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๙๔ เอ็ด มันด็โรเบิดก็ได้เข้าเฝ้าเปนแขกเมืองใหญ่เหมือนครั้นเฮนรีเบอรี ครั้น



๘๖ จุลศักราช ๑๒๐๐ ปีจอสัมฤทธิศกอีสอินเดียกัมปนีให้มิสเตอริดซันถือหนังสือเข้ามาทางบกถึงเมืองกาญจนบุรี จะพาช้างแลไพร่เข้ามาทางเมืองนครไชยศรี พระยานครไชยศรีห้ามมิให้เข้ามา ได้โต้ตอบกันเปนอันมาก จึ่งได้ยอมมาโดยทางเรือ ครั้งนั้นพระยานครไชยศรีมีความชอบเปนอันมาก เมื่อมิสเตอริดซันเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ว่าด้วยความสองข้อ ข้อหนึ่งจะขอซื้อช้างม้าโคกระบือออกไปเมืองพม่า ข้อหนึ่งว่าได้ขึ้นไปจัดซื้อช้างม้าโคกระบือที่เมืองเชียงใหม่ ลาวรับช้างไว้แล้วไม่ให้เงิน ในข้อต้นเจ้าพระยาพระคลังตอบไม่ยอมให้ซื้อ แต่ข้อหลังนั้นให้มีศุภอักษรให้ข้าหลวงเชิญขึ้นไปยังเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน ให้ชำระเงินคืนให้ฝ่ายอังกฤษ มิสเตอริดซันก็ได้เข้าเฝ้าเปนการใหญ่เหมือนราชทูต ฯ ครั้นในเดือนห้า จุลศักราช๑๒๑๒โยเสฟบาละสะเตียเปนราชทูตยุไนติดสะเตสอะเมริกาเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา ซึ่งได้ทำไว้แต่ในจุลศักราช ๑๑๙๔ ซึ่งเปนข้อสำคัญนั้นจะขอลดภาษีค่าปากเรือ แต่เมื่อโยเสฟบาละสเตียได้พบพระยา ศรีพิพัฒซึ่งโปรดให้รับทูตแทนเจ้าพระยาพระคลังเกิดถุ้มเถียงเกี่ยงกันด้วยเรื่องจะถวายอักษรสาสนต่อพระหัตถ ฝ่ายไทยไม่ยอมการก็เปนอันเลิกไป ไม่ได้ทำหนังสือสัญญา ฯ ครั้นในเดือน ๑๐ ปีเดียวนั้นฝ่ายอังกฤษก็ให้เซอเยมสบรุกเข้ามาขอแก้หนังสือ สัญญาด้วยความ ปราถนาอันคล้ายคลึง ครั้งนั้นโปรดให้พระยาศรีสุริยวงศ์จางวางมหาดเล็กรับทูตแทนเจ้าพระยาพระคลัง ให้ทราบพระกระแสว่าจะไม่


๘๗ โปรดให้แก้หนังสือสัญญาเปนแน่แล้ว เมื่อเจรจาการกันไปก็ไม่ได้สำเร็จดังประสงค์ ราชทูตก็มิได้เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งสองคราวการซงราชทูตมาทั้งสองครั้งนี้ ทางพระราชไมตรีเปนที่มัวหมองร้าวรานอยู่มาก ก็พอสิ้นรัชกาล ฯ ส่วนการป้องกันพระนคร ตั้งแต่แรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติก็โปรดให้เจ้าพระยาพระคลังลงไปทำป้อมที่เมืองสมุทปราการ ซึ่งได้ทรงเปนแม่กองทำยังมิสำเร็จทีเดียวนั้น ให้การนั้นแล้วเสร็จทุกสถานแล้วจึ่งโปรดให้ชักเลขฝีพ่ายไพร่หลวงแลสมกำลัง บันดาที่บ้านอยู่เมืองสมุทปราการมาสักเปนทหารปืนใหญ่ไว้สำหรับรักษาป้อม ทรงตั้งจางวาง ปลัดจางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม เปนฝ่ายซ้านฝ่ายขวาตำแหน่งใหม่ ให้อยู่ประจำราชการเปนกวดขัน อนึ่งเมื่อขบถเวียงจันท์ โปรดให้หากองทัพที่ขึ้นทางเมืองปราจิณบุรีกลับลงมารักษาเมืองสมุทปราการสามทัพนั้นกองทัพได้จัดการทำป้อมเมืองสมุทปราการฝ่ายตวันออก ให้ชักปีกกาตั้งแต่ประโคนไชยตลอดขึ้นมาถึงฉางพริกไทย ให้ก่อใบเสมาวางปืนทุกช่อง ที่บางจะเกรงให้ทำป้อมขึ้นอีกป้อม๑ ชื่อป้อมตรีเพ็ชร์ ตามน่าป้อมผีเสื้อสมุทนั้นให้ปักต้นตาลหลาย ๆ ต้นเปนหย่อม ๆ รัดด้วยปลอกเหล็กใหญ่ ไว้ช่องแต่ฉเพาะเรือเดินกันทางน้ำแล้ว ให้เอาต้นตาลปักเสาตพานตั้งแต่ป้อมเข้ามาถึงฝั่งทอดตพานให้เดินโดยสดวก แล้วให้ตัดทางบกเปนทางตรงขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ ให้ทำตพานข้ามคลองปักเสาด้วยต้นตาลสำหรับจะได้เดิน


๘๘ ข่าวราชการแลส่งไพร่พลอุดหนุนได้โดยเร็วทั้งสองฟากน้ำ แล้วให้ถมศิลาเปนเกาะเหนือป้อมผีเสื้อสมุท แล้วให้ก่อพระเจดียสถานในที่นั้นมีศาลารายสี่หลัง แล้วโปรดให้เก็บไพร่หลวงผีพายแลสมกำลัง เปนทหารปืนเพิ่มเติมขึ้นอีก ที่เมืองสมุทสาครโปรดให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ออกไปทำป้อมที่ทางร่วมริมปากคลองมหาไชยป้อม ๑ พระราชทาน ชื่อป้อมวิเชียรโชฎก ให้ชักมอญกองเจ้าพระยามหาโยธาซึ่งไปทำมาหากินในเขตรแขวงนั้นเปนทหารปืนรักษาป้อม ครั้นในจุลศักราช ๑๙๔โปรดให้เจ้าพระยาพระคลังออกไปสร้างป้อมกำแพงเมืองกาญจนบุรี ณ ฝังตวันออกอีกเมือง๑เจ้าพระยาพระคลังก็เกณฑ์กองมอญออกไปเผาอิฐทำการจนแล้วเสร็จ แล้วโปรดให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ไปทำป้อมที่เมืองสมุทสงครามอีกป้อม ๑ พระราชทานชื่อว่าป้อมพิฆาฏข้าศึก ฯ ครั้นในจุลศักราช ๑๑๙๖ เมื่อโปรดให้เจ้าพระยาบดินเดชาแลเจ้าพระยาพระคลังลงไปตีเมืองไซ่ง่อนกลับมาแล้ว ไม่เปนที่ไว้วางพระราชหฤทัย กลัวว่าญวนจะคิดตอบแทนจึ่งโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังออกไปสร้างกำแพงเมืองจันทบุรี เจ้า พระยาพระคลังเห็นว่าเมืองเก่านั้นตั้งอยู่ลึกเข้าไปหลังหมู่บ้านคน ถ้ามีข้าศึกสัตรูมาโดยทางน้ำก็จะถึงหมู่บ้านคนก่อนไม่เปนที่ป้องกันอันใดได้จึ่งได้ให้รื้อป้อมกำแพงเสียมาสร้างเมืองใหม่ที่เนินวง ซึ่งอยู่ในระหว่างบางกระจะและเมืองเก่า แล้วสร้างวัดในเมืองนั้นวัด ๑ ชื่อวัดโยธานิมิตรแล้วให้จมื่นราชามาตย์สร้างป้อมที่แหลมด่านปากน้ำป้อม ๑ ชื่อป้อม


๘๙ ไพรีพินาศ ซ่อมแปลงใหม่ที่แหลมสิงห์ป้อม ๑ชื่อป้อมพิฆาฏปัจจามิตรแล้วโปรดให้กรมหลวงรักษรณเรศออกไปสร้างป้อมกำแพงที่เมืองฉเชิงเทราอีกตำบล ๑ โปรดให้สร้างวัดไว้ในกลางเมือง ซึ่งพระราชทานนามในบัดนี้ว่า วัดปิตุลาธิราชรังสฤษดิ อนึ่งเมื่อจุลศักราช๑๑๙๙ ทรงพระราชดำริห์ว่าเมืองพระตะบองเปนเมืองน่าด่านต่อเขตรแดนเขมร เสา ซึ่งปักเปนรเนียดเมืองแต่ก่อนซุดโซมไปไม่เปนที่มั่นคง จึ่งโปรดใหเจ้า พระยาบดินทรเดชาซึ่งเปนแม่ทัพใหญ่ไปประจำอยู่ในที่นั้นคิดทำอิฐเผาปูนขึ้นก่อป้อมกำแพงเมือง เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ทำการป้อมกำแพงแล้วเสร็จในปีเดียว ได้รับท้องตราดำรัสสรเสริญไปในครั้งนั้น ภายหลังเมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชากลับเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท โปรดให้พระยาราชสุภาวดีออกไปขัดทัพอยู่แทน ครั้งนั้นโปรดให้สร้างเมืองนครเสียมราฐอีกเมือง ๑ แล้วเสร็จตามพระราชประสงค์ ส่วนการที่เมืองสมุทปราการนั้น ก็โปรดให้กรมขุนเดชอดิศร กรมหมื่นเสพสุนทร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ ลงไปเปนแม่กองทำการที่ค้างอยู่สืบไปได้กำแพงเชิงเทินโอบหลังมาปลายปีกกา แล้วขุดคูล้อมกำแพงด้านหลังเมืองให้เปนที่มั่นคง แล้วให้สร้างป้อมขึ้นที่ปากคลองบางปลากดอีกป้อม๑ชื่อป้อมคงกระพันอนึ่งในปีมะโรงฉศกจุลศักราช๑๒๐๖ เกิดเหตุขัดข้องขึ้นด้วยเรื่องฝรั่งซึ่งเข้ามาค้าขาย ทรงสงสัยว่าจะไปคิดอ่านพากองทัพเข้ามาตีกรุง จึ่งโปรดให้กรมหลวงรักษรณเรศ ลงไป


๙๐ จัดการทำป้อมเมืองนครเขื่อนขันธ์ให้เปนที่สกัดกั้นอีกชั้น ๑ คือป้อมมหาสังหารแลป้อมเพชรหึง ทำปีกกาขึ้นที่หน้าเมืองอีก ๒ ตำบล ชื่อปีกกาวงเดือนแล้วโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังลงไปทำที่เมืองสมุทปราการชักปีกกาขึ้นอีกทั้งสองฟากน้ำต่อป้อมนาคราชลงไป พระราชทานชื่อว่าปีกกาพับสมุท ป้อมผีเสื้อสมุทนั้นให้รื้อชั้นบนเสีย ตั้งใบเสมาปีกกาออกไปสองข้าง แล้วให้ทำทุ่นปักหลักขึงโซ่แล่นสาย โซ่ข้ามแม่น้ำที่หลังป้อมผีเสื้อสมุทข้ามมาถึงปากคลองด่านฝั่งตวันออก แล้วให้ถมศิลาที่แหลมฟ้าผ่ารั้วกลาวอีกห้ากอง ไว้ช่องแต่ฉเพาะเรือเดิน เรียกว่าโขลนทวาร ครั้นในปัจฉิมกาลโปรดให้พระยาศรีสุริยวงศจางวางมหาดเล็กไปสร้างป้อมขึ้นที่บางจะเกรงให้เปนที่พักแม่ทัพ พระราชทานชื่อว่าป้อมเสือซ่อนเล็บ การป้องกันพระนครทางทเลนั้น พระองค์ทรงเปนพระราชธุระอันยิ่งใหญ่มิได้เว้นว่าง อนึ่งทรงพระราชดำริห์ว่า แต่ก่อนมามีการสงครามแต่กับฝ่ายพม่า ไม่สู้จะต้องใช้กองทัพเรือ ครั้งนี้ทางไมตรีกับญวนหม่นหมองจะเกิดสงครามขึ้น ก็จะต้องใช้กองทัพเรือซึ่งใช้ได้ในท้องทเล จึ่งโปรดให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชคิดต่อเรือรบขึ้นเปนตัวอย่าง เจ้าพระยานครก็ได้ต่อเรือปากปลาท้ายกำปั่นแปลง มีที่พลแจวนั่งได้ทั้งสองกราบเรือปากกว้าง ๙ ศอกคืบ ยาว ๑๑ วา พระราชทานเชื่อเรือตัวอย่างนั้นว่าเรือมหาพิไชยฤกษ์ แล้วพระราชทานทุนเกณฑ์ให้เสนาบดีเจ้าภาษีนายอากรต่อคนละลำสองลำ ได้เรือสามสิบลำ พระราชทานชื่อทั่วทุก


๙๑ ลำ แล้วให้ปลูกโรงรักษาไว้สำหรับใช้ราชการครั้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๙๖ ได้รบพุงติดกันกับญวนเข้าแล้ว จึ่งโปรดให้เกณฑ์ขอแรงต่อใหม่อีก ๘๐ ลำ เปนเรือป้อมอย่างญวน ไว้ใช้ราชการในกรุงเทพ ฯ ๔๐ ลำ จ่ายไปใช้ราชการในหัวเมือง ๔๐ ลำ ภายหลังโปรดให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถคิดต่อเรืออย่างกำปั่นขึ้นที่เมืองจันทบุรีเปนตัวอย่างใช้ได้เรียบร้อยดี จึ่งให้ต่ออีกรายไปตามระยะปีได้ถึง ๑๒ ลำ สำหรับใช้ราชการศึกสงครามแลการค้าขาย อนึ่งการในพระนครซึ่งเปนที่ชนสัญจรไปมา ได้โปรดให้ขุดคลองบางขนากบันจบคลองพระโขนง เปนทาง ๓๓๗ เส้น ๑๙ วาคลอง ๑ คลองที่เรียกว่าสุนักข์หอนขุดแยกที่น้ำชนเข้าไปในทุ่งริมบ้านโพหักคลอง ๑ คลองบางขุนเทียนบันจบคลองด่านวัดปากน้ำแลแยกเปนสองสายคลอง ๑ อนึ่งในรัชกาลนั้นได้โปรดให้ยกบ้านอันมีประชุมชนอยู่มากขึ้นเปนเมือง นอกจากเมืองซึ่งตั้งขึ้นสำหรับพวกครัวเมืองลาวเชิงเขาประทัด ๖ เมืองนั้น เมืองขึ้นกรมมหาดไทย ๒๑ เมืองคือเมืองประจันตคาม เมืองกระบินทรบุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร เมืองศรีโสภณ เมืองอำนาจเจริญ เมืองเสนางคนิคม เมืองลำเนาหนองปรือ เมืองภู แล่นช้าง เมืองเรณูนคร เมืองรามราฐ เมืองอาจสามารถ เมืองอากาศอำนวย เมืองหนองคาย เมืองโพนพิไสย เมืองไชยบุรี เมืองคำเขื่อนแก้ว เมืองสะเมียะ เมืองภูเวียง เมืองปากเหือง เมืองคำ ๑๓

๙๒ ทองน้อย เมืองเชลำเพา เมืองขึ้นกรมพระกระลาโหมเมือง ๑ คือเมืองกำเนิดนพคุณ เมืองขึ้นกรมท่าเมือง ๑ คือ เมืองพนัศนิคม แลพระองค์ทรงพระมหากรุณาแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎรทั่วหน้า ทรงตั้งพระราชกฤษฎีกาพระราชกำหนดสำหรับที่จะปราบปรามคนพาลทุจริตคิดหากินโดยมิชอบธรรม ให้ราษฎรทั้งปวงอยู่เย็นเปนสุขตามกาลสมัย มีตั้งพระราชกำหนดโจรห้าเส้นเปนต้น แลได้ทรงตั้งกลองวินิจฉัยเภรีไว้ ให้ราษฎรที่มีทุกข์ร้อนมาตีร้องฎีกา แลดำรัสให้ราชการพิจารณา แล้วทรงตัดสินเปนนิจนิรันดรมิได้เว้นว่าง ส่วนพระราชทรัพย์ที่จะสำหรับจับจ่ายการพระนครแลแจกเบี้ยหวัดประจำปี ในรัชกาลนั้นเกิดการภาษีอากรขึ้นมาก มีภาษีเกลือน้ำมันมะพร้าวไต้ชันน้ำมันยางเปนต้น พระราชทรัพย์ก็ค่อยสมบูรณ์ขึ้น เงินที่จะจ่ายราชการพระนครแลการพระราชกุศลก็มีมากกว่ารัชกาลที่ ๒ พระบรมวงศานุวงแลข้าราชการก็ได้เบี้ยหวัดทวีขึ้นทุกถ้วนหน้าเงินเดือนพระบรมวงศานุวงศฝ่ายหน้าฝ่ายในก็เริ่มพระราชทานขึ้นในรัชกาลนั้นเปนต้นมา ฯ แลการในพระราชวังแลพระนครซึ่งชำรุดปรักหักพังไป พระองค์ก็ได้โปรดให้รื้อลงซ่อมแซมแลสถาปนาใหม่ มีพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทเปนต้น ตลอดจนซ่อมป้อมกำแพงแลประตูพระนคร ให้ถาวรมั่นคงอยู่มิให้เสื่อมทราม ฯ การพระราช ชกุศลพระองค์ทรงปฎิสังขรณ์แลสร้างพระอารามใหม่เปนอันมาก เปนจำนวนพระอารามที่ได้ทรงสร้างใหม่ ๔ พระอาราม มีวัดราชโอรส


๙๓ แลวัดสุทัศนเทพวรารามเปนต้น ที่ทรงปฎิสังขรณ์ ๓๔ พระอารามมีวัดพระศรีรัตนสาสดารามแลวัดพระเชตุพนเปนต้นที่พระบรมวงศานุวงศแลข้าราชการสร้างก็พระราชทานทุนช่วย สิ้นพระราชทรัพย์เปนอันมากแลพระอารามเหล่านั้นย่อมวิจิตรด้วยฝีมือช่างต่าง ๆ พ้นที่จะพรรณนาพิเศษกว่าพระอารามซึ่งมีมาแต่กาลก่อน หาคราวใดเสมอมิได้ ครั้นเมื่อสร้างพระอารามทั้งหลายนั้นแล้วเสร็จลง ก็โปรดให้มีมหกรรมการฉลองเปนการใหญ่ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการฉลองพระอารามนั้น เปนอเนกนักพ้นที่จะพรรณนา แลทรงสร้างพระพุทธปฎิมากรพระฉลองพระองค์หุ้มด้วยทองคำ ถวายนามพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์พระพุทธเลิศหล้านภาไลย แลพระพุทธรังสฤษดิพระพุทธเจษฏาบดินทร์แลพระพุทธรูปฉลองพระองค์อื่น ๆอีกเปนอันมากแลให้หล่อพระพุทธรูปพระองค์ใหญ่ มีพระประธานในวัดสุทัศน์เทพวราราม แลพระประธานวัดราชนัดดารามเปนต้น ทรงสร้างพระปริยัติธรรมฉบับเอกจบ ๑ ฉบับโทจบ ๑ กรอบเทพชุมนุมจบ ๑ กรอบลายกำมลอจบ ๑ ฯ แลทรงอุดหนุนพระภิกษุสงฆ์ให้เล่าเรียนพระปริยัตธรรม ด้วยบรมราโชบายแลราชสังคหเปนอเนกประการ ในขณะนั้นพระสงฆ์ซึ่งรู้พระไตรปิฎกไพศาลสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเปนอันมาก ฯ แลทรงพระเมตตากรุณาแก่ยาจกวรรณิพกทรงเพิ่มเติมจัดการโรงทานให้แพร่หลายไพบูลย์ยิ่งขึ้นกว่าแก่แต่ก่อน ฯ กรพระราชพิธีอันใดซึ่งเปนการสำหรับพระนครก็ได้ทรงประพฤติตามพระราชจริยามาแต่ก่อนทุกประการแลเพิ่มเติมขึ้น


๙๔ บ้าง มีเลี้ยงพระสงฆ์ในวัดตรุศจีนเปนต้น ฯ แลทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระเมรุท้องสนามหลวงก็หลายครั้งหลายคราว มีการพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย แลการพระศพกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระบรมราชชนนีเปนต้น ฯ แลมีสระสนานใหญ่ในรัชกาลนั้นครั้ง ๑ ฯ พระองค์มีพระราชหฤทัยอันเยือกเย็นไปด้วยพระมหากรุณาห่างเหินจากวิหิงษาอาฆาฏในที่อันมิควร ทรงเคารพต่อพระพุทธสาสนาแลพระบรมวงศยิ่งนัก ทรงประพฤติราชการกรณียกิจน้อยใหญ่สม่ำเสมอมิได้เคลื่อนคลาด ตั้งแต่บันทมตื่นไปจนเวลาเข้าพระบันทม แลมิได้ทรงสดับคำขับร้องแลทอดพระเนตรฟ้อนรำ เสด็จประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาศแห่งใด เว้นไว้แต่เวลาพระราชทานพระกฐิน ทรงประกอบไปด้วยพระสติสัมปชัญมั่นคงยั่งยืนมิได้พลั้งพลาด เสด็จดำรงศิริราชสมบัติมาโดยความผาสุกศิริสวัสดิจนถึงจุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก ทรงพระประชวรไม่สบายพระองค์มาตั้งแต่เดือน ๑๐ แต่ในเดือนท้ายรดูพรรษาได้เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานพระกฐินได้ตลอดตามเคยอย่างทุกปี แต่นั้นมาพระอาการก็ไม่สบายมากขึ้น พระบังคลเบาขุ่นค่นเปนตะกอน พระองค์ก็ซุดโซมลงโดยลำดับ ได้ประชุมแพทย์ถวายพระโอสถพระอาการก็ไม่เคลื่อนคลายขึ้น พระองค์ทรงทราบชัดแต่เดิมมา ว่าพระอาการซึ่งประชวรครั้งนี้ จะเปนอวสานแห่งพระชนมายุมิได้ทรงประมาท ครั้นณวัน ๒๓ ค่ำ จึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้หากรมหมื่นวงศา


๙๕ สนิท พระยาพิพัฒโกษา ให้จดหมายดำเนินพระบรมราชโองการ ยกพระไตรยสรณคมขึ้นเปนเบื้องต้น แล้วดำเนินพระกระแสพระราชดำรัสว่า ให้เจ้าพระยาพระคลัง พระยาศรีพิพัฒ พระยาราชสุภาวดี กับขุนนางผู้น้อยเปนสามัคคีแก่กัน ช่วยกันรักษาแผ่นดินของสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวอันเปนประถมกษัตริย์สืบมาถึง ๖๙ปี พระบรมวงศานุวงศก็มีมาก จะให้ทรงบังคับว่าให้พระองค์ใดเปนเจ้าแผ่นดินนั้นขอเสียเถิด แล้วแต่จะพร้อมกันสมมุติพระองค์ใด ให้เห็นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ อย่าให้ฆ่าฟันกันเสียนักเลยจงช่วยรักษาแผ่นดินไปด้วยกันเถิด ในท้ายกระแสพระบรมราชโอง การนั้น ทรงขอยกเงินพระคลังข้างที่หมื่นชั่งทองร้อยชั่งไว้สำหรับใช้ในการปฎิสังขรณ์พระอาราม แลทรงพระราชดำริห์ด้วยอัฎฐิพระอัยยกาพระอัยยกีแลกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยว่าจะเปนที่กีดขวาง ขอให้มอบไว้แก่พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใด ๆ ถ้าพระราชโอรสหมดสิ้นไปก็ให้มอบแก่พระราชบุตรีรักษาไว้ การซึ่งพระองค์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เลือกพระเจ้าแผ่นดินตามชอบใจของชนเปนอันมากเช่นนี้ก็ด้วยอาศรัยที่ทรงประกอบด้วยพระสติแลพระปัญญาทรงพิจารณาเห็นการอันจะเปนสุขเรียบร้อยไปภายหน้าอย่างไรตลอดแล้ว แลมิได้ทรงพระอาลัยในศิริราชสมบัติจนถึงมุ่งหมายจะให้ตกแก่พระราชโอรสตามธรรมดาโลก ด้วยทรงเคารพต่อบรมราชบรรพบุรุษแลรักแผ่นดินกรุณาแก่ไพร่ฟ้าประชากรเปนอันมาก หวังจะให้พระราชอาณาเขตร


๙๖ ดำรงอยู่ในเอกราชปราศจากการจลาจลสืบไปภายหน้า เปนพยานในพระราชอัธยาศัยของพระองค์ซึ่งได้เสด็จดำรงอยู่ในความสุจริตธรรมแต่เดิมมาจนถึงปัจฉิมกาล แลพระราชดำริห์ประการใดนั้นได้ปรากฎชัดในกระแสพระบรมราชโองการซึ่งได้ดำรัสแก่พระยาศรีสุริยวงศจางวางมหาดเล็กว่า ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าผู้ซึ่งจะเปนเจ้าแผ่นดินนั้น กรมขุนเดชอดิศรก็พระกรรณาเบา กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ก็ดีแต่จะเล่น ท่านฟ้าน้อยก็เปนช่างเชียวดีอยู่ แต่ไม่เอาราชการชอบแต่การเล่น เห็นแต่ท่านฟ้าใหญ่ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่กลัวว่าจะให้พระสงฆ์ห่มมอญทั้งแผ่นดิน เพราะฉนั้นพระองค์จึ่งไม่ทรงจำกัดมอบศิริราชสมบัติแก่พระองค์ใด ด้วยเกรงจะเปนที่ชอบใจท่านทั้งปวงทั่วไป แต่ครั้นเมื่อภายหลังก็ดูประหนึ่งจะทรงทราบพระญาณชัดเจน ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ จึ่งได้โปรดให้จดหมายพระราชดำรัสพระราชทานแก่กรมสมเด็จพระเดชาอดิศร ให้ทูลกรมสมเด็จพระปรมานุชิตด้วยเรื่องพระสงฆ์ห่มผ้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทำสารภาพถวายยอมตามกระแสพระราชดำริห์ เปนอันต้องตามพระราชอัธยาศัยภายหลังโปรดให้ถวายค่าจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร ในพระอารามหลวงรูปละห้าตำลึง เปนเงินถึงพันแปดร้อยสามสิบแปดชั่ง เปนการพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่แลได้ดำรัสอาราธนาให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับพระราชดำรัสทรงขมาพระภิกษุสงฆ์ซึ่งให้ทรงล่วง


๙๗ เกินเปนการพลั้งพลาดมาแต่กาลก่อน แต่นั้นมาพระองค์ทรงพระประชวรพระอาการซุดลงโดยลำดับ ทรงพระราชดำริห์ว่า ถ้าจะเสด็จสวรรคตในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตวันออก ซึ่งเปนที่พระบันทมแต่เดิมมา ก็จะเปนที่รังเกียจแก่พระเจ้าแผ่นดินซึ่งจะดำรงศิริราชสมบัติสืบไปภายน่า จึ่งเสด็จแปรสถานมาประทับอยู่ณพระที่นั่งองค์ ตวันตก พระองค์ดำรงอยู่ในพระสติสัมปชัญเปนปรกติเรียบร้อยมาแต่พระอาการนั้นยงซุดหนัก ๆ ตามลำดับ จนถึงณวัน ๔๕ ค่ำปีกุนยังเปนโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ เวลา ๘ ทุ่มห้าบาทเสด็จสวรรคตพระชนมายุ ๖๓ ปีกับ ๑๑ วัน ฯ เสด็จดำรงในศิริราชสมบัติ ๒๕ ปี กับ ๗ เดือน ๒๓ วัน ด้วยประการฉนี้


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก