ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 8"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย "{{header <!-- ข้อมูลหลัก --> | title = ประชุมพงษาวดาร ภ..."
 
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
| editor =
| editor =
| translator =
| translator =
| section = (1) จดหมายเหตุโหร, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ)|พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ)]]''; (2) จดหมายเหตุของจมื่นก่งศิลป์, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:จมื่นก่งศิลป์ (หรุ่น)|จมื่นก่งศิลป์ (หรุ่น)]]''; (3) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม (จาด), ''ผู้สร้างสรรค์: ไม่ปรากฏ''; (4) ปฐมวงศ์, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''; (5) ตำนานพระโกศ, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ]], [[ผู้สร้างสรรค์:พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์]], และ[[ผู้สร้างสรรค์:สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์]]''
| section = (1) จดหมายเหตุโหร, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ)|พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ)]]''; (2) จดหมายเหตุโหรของจมื่นก่งศิลป์, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:จมื่นก่งศิลป์ (หรุ่น)|จมื่นก่งศิลป์ (หรุ่น)]]''; (3) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม (จาด), ''ผู้สร้างสรรค์: ไม่ปรากฏ''; (4) ปฐมวงศ์, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''; (5) ตำนานพระโกศ, ''ผู้สร้างสรรค์: [[ผู้สร้างสรรค์:พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ]], [[ผู้สร้างสรรค์:พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์]], และ[[ผู้สร้างสรรค์:สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์]]''
| contributor =
| contributor =
| previous = [[ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 7|ภาคที่ 7]]
| previous = [[ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 7|ภาคที่ 7]]
บรรทัดที่ 39: บรรทัดที่ 39:
* เอกสาร
* เอกสาร
*# {{พลป|k5|ข1|จดหมายเหตุโหร}}
*# {{พลป|k5|ข1|จดหมายเหตุโหร}}
*# {{พลป|k5|ข2|จดหมายเหตุของจมื่นก่งศิลป์}}
*# {{พลป|k5|ข2|จดหมายเหตุโหรของจมื่นก่งศิลป์}}
*# {{พลป|k5|ข3|พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม (จาด)}}
*# {{พลป|k5|ข3|พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม (จาด)}}
*# {{พลป|k5|ข4|ปฐมวงศ์}}
*# {{พลป|k5|ข4|ปฐมวงศ์}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:00, 4 มิถุนายน 2563



ตราของราชบัณฑิตยสภา
ตราของราชบัณฑิตยสภา
โบราณคดีสโมสร
โบราณคดีสโมสร
ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๘
พระยาศรีภูริปรีชา รามาธิปติราชภักดี
ศรีสาลักษณวิสัย อภัยพิริยพาห
พิมพ์แจกในงานศพคุณหญิงศรีภูริปรีชา
ปีมเสง พ.ศ. ๒๔๖๐
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย ณถนนรองเมือง



คำนำ

มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา รามาธิปติราชภักดี ศรีสาลักษณวิสัย อภัยพิริยพาหะ (กมล สาลักษณ) ผู้ช่วยราชเลขานุการ จะปลงศพคุณหญิงศรีภูริปรีชา ต.จ. ภรรยา มีความศรัทธาจะรับพิมพ์หนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณเปนของแจกในงานศพ ขอให้ข้าพเจ้าช่วยเลือกเรื่องหนังสือให้พิมพ์ตามประสงค์ ที่จริงพระยาศรีภูริปรีชาเองเปนกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร อยู่ในฐานะแลมีความสามารถที่จะเลือกเรื่องหนังสือในหอพระสมุดฯ ได้เหมือนกับตัวข้าพเจ้า ที่มามอบธุระให้ก็เปนด้วยความไว้วางใจ ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เปนผู้ทำการแทนตัว จึงตั้งใจเลือกเรื่องหนังสือซึ่งคเนว่า จะชอบใจของพระยาศรีภูริปรีชาเปนสำคัญทุก ๆ เรื่อง ได้หนังสือล้วนเปนเรื่องโบราณคดีหลายเรื่องพอรวมกันควรจะพิมพ์เปนสมุดได้เล่ม ๑ ได้แจ้งความให้ท่านทราบ ก็ยินดีอนุโมทนา จึงได้รวบรวมเรื่องเหล่านั้นพิมพ์เปนประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๘ เล่มนี้.

เรื่องที่เลือกมาพิมพ์เปนหนังสือประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๘ มี ๕ เรื่องด้วยกัน คือ จดหมายเหตุโหร เรื่อง ๑ จดหมายเหตุของจมื่นก่งศิลป์ เรื่อง ๑ พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด) เรื่อง ๑ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔ เรื่อง ปฐมวงษ์ เรื่อง ๑ ตำนานพระโกษฐ เรื่อง ๑ หนังสือ ๕ เรื่องนี้มีลักษณต่างกันอย่างไร จะอธิบายต่อไปโดยลำดับ.

 หนังสือจดหมายเหตุโหรนั้น จะอธิบายถึงลักษณที่โหรจดหมายเหตุให้ผู้ซึ่งยังไม่เคยทราบได้ทราบก่อน คือ วิธีจดหมายเหตุของโหร เขาทำประดิทินบอกวันแลฤกษ์ยามเปนรายวันล่วงน่าไว้ตลอดปี แลมีที่ว่างไว้สำหรับจดเหตุการณ์ในประดิทินนั้น โหรฤๅใครที่เอาใจใส่ในฤกษ์ยามแลการจดหมายเหตุก็มีสมุดประดิทินเช่นนี้ไว้ในทำนองเดียวกันกับที่ฝรั่งเรียกว่า สมุดไดเอรี เมื่อมีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นในวันใดซึ่งผู้เจ้าของประดิทินเห็นควรจะจดจำ ก็จดลงไว้ในประดิทินตรงช่องวันนั้น วันที่ไม่มีเหตุการณ์จะจดก็ปล่อยว่างไว้ ทำกันเช่นนี้มาแต่โบราณ แต่ผู้ที่มีประดิทินไว้จดหมายเหตุมีมากด้วยกัน ความรู้เห็น ความนิยม ต่างกัน จดหมายเหตุที่ลงประดิทินจึงต้องกันบ้างต่างกันบ้าง เมื่อนานเข้ามีผู้ดิทินปีล่วง ๆ มาแล้วมาจดวันฤกษ์ยามแลเหตุการณ์ลงเปนสังเขปอิกชั้น ๑ เรียกว่า ปูม หนังสือปูมนี้ฉบับที่มีในหอพระสมุดฯ ๒๐๘ ปี ตั้งแต่ประจำปีฉลู จุลศักราช ๑๐๗๑ พ.ศ. ๒๒๕๒ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระครั้งกรุงเก่าเปนต้นมา นอกจากนี้ ยังมีจดหมายเหตุก่อนเก่าขึ้นไปกว่าปูมที่มีโหรจดลงไว้เปนจดหมายเหตุเบ็ดเตล็ดอิกหลายฉบับ กรรมการรวมหนังสือเหล่านี้มอบให้พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ) คัดแต่เฉภาะจดหมายเหตุการณ์ซึ่งปรากฎในจดหมายเหตุโหรแลปูมบรรดามีในหอพระสมุดฯ เรียบเรียงโดยลำดับเวลาก่อนแลหลังให้รู้เฉภาะวันเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งโหรได้จดไว้แต่โบราณมา เมื่อเรียบเรียงแล้วเอามาดู เห็นเปนหนังสือน่ารู้แลน่าอ่านมาก เชื่อว่า ยังไม่เคยรวบรวมได้อย่างนี้มาแต่ก่อน จึงเอามาพิมพ์ไว้ในประชุมพงษาวดารเล่มนี้เรื่อง ๑.

 จดหมายเหตุของจมื่นก่งศิลป์นั้น พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) พึ่งได้ต้นฉบับมาให้หอพระสมุดฯ เมื่อจะพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เมื่อตรวจดูเห็นน่าอ่านแลอยู่ในพวกเดียวกับจดหมายเหตุโหรที่พิมพ์ไว้ข้างน่า จึงได้คัดส่งลงพิมพ์ต่อกันมาอิกเรื่อง ๑.

จมื่นก่งศิลป์คนนี้ ชื่อตัวชื่อ หรุ่น เปนบุตรพระอัคเนศรม่วง บ้านอยู่ที่น่าวัดราชบุรณ เปนผู้หนึ่งซึ่งชอบศึกษาวิชาโหร จึงมีประดิทินแลเอาใจใส่จดหมายเหตุโดยวิธีที่อธิบายมาก่อนแล้ว จดมาตั้งแต่ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ ในรัชกาลที่ ๔ จนปีฉลู จุลศักราช ๑๒๕๑ พ.ศ. ๒๔๓๒ ในรัชกาลที่ ๕ รวมเบ็ดเสร็จ ๓๓ ปี นับว่า เปนปูมชั้นใหม่ กระบวนจดอยู่ข้างเลอียดลออ มีทั้งเหตุการณ์บ้านเมืองแลเหตุการณ์ในตัว แม้ที่สุดฟันของตัวหักวันใดเวลาใดก็จดลงไว้ในประดิทิน ข้าพเจ้าได้ให้คัดจดหมายเหตุส่วนตัวจมื่นก่งศิลป์ออกเสีย เอาไว้แต่ที่เปนสาธารณะพิมพ์ไว้ในประชุมพงษาวดารเล่มนี้

จดหมายเหตุในปูมของโหรก็ดี ของจมื่นก่งศิลป์ก็ดี ท่านผู้อ่านจะสังเกตเห็นว่า พอใจจดเหตุการณ์ซึ่งเกิดในอากาศ ที่เขาจดเช่นนั้นด้วยเขาเชื่อว่า เหตุการณ์ในอากาศจะเปนนิมิตรให้เกิดเหตุร้ายดีแก่หมู่มนุษย์ เพราะฉนั้น เมื่อเห็นเหตุการณ์แปลกปลาดอันใดมีขึ้นในอากาศ จึงจดไว้คอยดูว่า จะมีเหตุอย่างไรแก่มนุษย์บ้าง เมื่อไม่มีก็แล้วไป ส่วนจดเหตุการณ์ที่บังเกิดมีในหมู่มนุษย์นั้น เขารู้มาอย่างไรแลเขาเข้าใจความอย่างไร ก็จดลงตามรู้ตามคิดเห็น ด้วยเหตุนี้ ความที่จดไว้ในหมายเหตุจะถูกต้องเท็จจริงอย่างไร ก็เปนตามความรู้เห็นของผู้ที่จดนั้น จดหมายเหตุที่คัดมาพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้คัดมาตามที่เขาจดไว้ แม้จนถ้อยคำก็มิได้แก้ไข เพื่อจะให้ท่านทั้งหลายเห็นว่า พวกที่เขาจดหมายเหตุกันแต่ก่อนเขาจดกันอย่างไร กรรมการหอพระสมุดฯ ไม่รับผิดชอบฤๅยืนยันว่า จดหมายเหตุเหล่านี้ถูกต้องทั้งหมด

 พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด) ต้นหนังสือเปนคัมภีร์ลานรวม ๑๗ ผูก นายจิตร บุตรพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด) นำมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๕๑ อุทิศให้ในนามของพระจักรพรรดิพงษ์ผู้บิดา เมื่อแรกได้มา ตรวจสอบดูข้างตอนต้น เห็นตรงกับพระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชำระ เข้าใจไปเสียว่า เปนหนังสือฉบับเดียวกัน ครั้นนานมา ข้าพเจ้าเอามาตรวจอ่านอิกครั้ง ๑ ถึงตอนปลาย เห็นเรื่องตั้งแต่ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชมีแปลกกับฉบับอื่น ๆ ไม่ใช่แปลกโดยมีผู้แซกแซงเพิ่มเติมฤๅแก้ไขของเดิม แปลกในตัวเนื้อเรื่องแต่แต่งมาทีเดียว อ่านตรวจดูเห็นได้ว่า ผิดก็มีหลายแห่ง ที่จะถูกต้องแต่ความแปลกออกไปกว่าฉบับอื่นก็มีหลายแห่ง เห็นว่า ควรจะพิมพ์ออกให้ปรากฎแก่ผู้ศึกษาโบราณคดี จึงได้เอามาพิมพ์ไว้ในประชุมพงษาวดารเล่มนี้ แต่ตอนต้นที่ความต้องกับฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสไม่จำต้องพิมพ์ใหม่ จึงได้ตัดออกเสีย คงพิมพ์แต่ตอนที่ความแปลกกัน นึกเสียดายอยู่น่อยที่หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ ได้มาไม่ตบ อยู่ข้างจะขาดเปนกระท่อนกระแท่น แต่ถึงกระนั้น ก็น่าอ่าน ข้าพเจ้าเชื่อว่า ผู้ศึกษาโบราณคดีคงจะชอบ

 เรื่องปฐมวงษ์ หนังสือเรื่องนี้มีแพร่หลายมาก ที่พิมพ์แล้วก็มี หอพระสมุดฯ รวบรวมฉบับเขียนมาได้ก็มาก ทุก ๆ ฉบับอ้างว่า เปนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ข้าพเจ้าได้อ่านตรวจดู พบหลายฉบับที่เชื่อแน่ว่า มีผู้อื่นแต่งแซกแซงเพิ่มเติมพระราชนิพนธ์เสียมาก แลมีหลายฉบับที่สงไสยว่า มีผู้อื่นแซกแซงเพิ่มเติม พึ่งมาพบฉบับเดียวซึ่งเห็นว่า เปนหลักฐานยิ่งกว่าฉบับอื่น ๆ ที่ได้พบมา หนังสือปฐมวงษ์ฉบับนี้เปนลายมืออาลักษณ์เขียนในสมุดดำ ๒ เล่ม เดิมเปนของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ รับสั่งว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อาลักษณคัดพระราชทานไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอฯ ประทานหนังสือฉบับนี้แก่หม่อมเจ้าประภากรในกรมนั้นแต่ยังทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศ หอพระสมุดฯ ได้มาจากหม่อมเจ้าประภากร อ่านตรวจดูสำนวน เห็นเปนใกล้ต่อพระราชนิพนธ์ยิ่งกว่าฉบับอื่น ๆ จะมีขาดเกินบ้างก็เปนแต่ถ้อยคำที่ผู้เขียนพลั้งพลาด ไม่มีสำนวนแซกแซง จึงเห็นควรจะพิมพ์รักษาไว้ แลเปนฉบับสำหรับสอบกับฉบับอื่น ๆ ที่อ้างว่า เปนหนังสือเรื่องปฐมวงษ์ด้วยกัน

ตำนานพระราชนิพนธ์เรื่องปฐมวงษ์นี้ ข้าพเจ้ายังไม่ทราบความแน่ชัดว่า ทรงพระราชปรารภเหตุอันใด จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องนี้ แลทรงพระราชนิพนธ์เมื่อใด มีหนังสือปฐมวงษ์ที่พิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณเมื่อปีรกา จ.ศ. ๑๒๔๗ ฉบับ ๑ อ้างว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) จดหมายเหตุต้นพระบรมราชวงษ์ไว้สำหรับแผ่นดินเมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๒ ในหนังสือปฐมวงษ์นั้น ทางสำนวนก็เปนพระราชนิพนธ์ มิใช่แต่งเปนสำนวนผู้รับ ๆ สั่ง ความข้างตอนต้นกล่าวเริ่มด้วยพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เดินทำนองความคล้ายเรื่องปฐมวงษ์ลงมาจบตอน ๑ แล้วขึ้นตอนใหม่คล้ายกับความในเรื่องปฐมวงษ์ฉบับที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เห็นได้ว่า เปนหนังสือ ๒ เรื่อง ด้วยมีความซ้ำกันหลายแห่ง แลตรงหัวต่อบอกจบเรื่องเก่าแลขึ้นเรื่องใหม่แลเห็นได้ชัดเจน เหตุใดเรียกว่า เรื่องปฐมวงษ์ จึงเปนหนังสือ ๒ เรื่องเช่นนั้น ข้าพเจ้าก็ยังคิดไม่เห็นแลไม่พร้อมที่จะวินิจฉัยในเวลานี้ จะพิมพ์ไว้ในเล่มนี้แต่ฉบับซึ่งเห็นว่า ดีที่สุด เพื่อให้ปรากฎแก่ท่านทั้งหลาย ขอให้ช่วยกันพิเคราะห์ต่อไป.

 เรื่องตำนานพระโกษฐนั้น เดิมพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ แต่ยังดำรงตำแหน่งเปนสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร ทรงค้นพบบาญชีพระนามที่ได้ทรงพระโกษฐทองใหญ่มีจดไว้ในห้องอาลักษณ มีรายพระนามตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ลงมาจนต้นรัชกาลที่ ๔ กรมพระสมมตฯ ทรงเรียบเรียงเพิ่มเติมต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ ประทานไว้ในหอพระสมุดฯ ข้าพเจ้าเห็นสมควรจะพิมพ์บาญชีนี้ให้ปรากฎ ด้วยเปนของโจทย์กันอยู่เนือง ๆ ว่า พระศพเจ้านายพระองค์ไหนได้ทรงพระโกษฐทองบ้าง ครั้นเมื่อเอาบาญชีของกรมพระสมมตฯ มาตรวจดู เกิดความคิดขึ้นว่า ควรจะเรียงตำนานพระโกษฐอื่น ๆ ขึ้นด้วย พิมพ์รักษาไว้อย่าให้ความรู้ในเรื่องพระโกษฐสูญเสีย ข้าพเจ้าจึงขยายเรื่องเรียบเรียงเปนตำนานพระโกษฐ เมื่อแต่งแล้วส่งไปถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์ ขอให้ทรงช่วยตรวจแก้ให้เรียบร้อย ได้ทรงพระอุสาหะเสด็จไปตรวจดูโดยทางฝีมือช่าง แล้วทรงแก้ไขเรื่องตำนานพระโกษฐที่ข้าพเจ้าเรียงไป สำเร็จรูปเปนอย่างที่พิมพ์ไว้ในประชุมพงษาวดารเล่มนี้ เรื่องตำนานพระโกษฐจึงเปนเรื่องที่ได้แต่งด้วยกัน ๓ คนดังจ่าน่าบอกไว้ในตอนตำนานด้วยประการฉนี้

เมื่อพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้ถามพระยาศรีภูริปรีชาว่า จะให้แต่งประวัติของคุณหญิงพึ่งลงในท้ายคำนำด้วยฤๅไม่ ถ้าจะให้แต่ง ข้าพเจ้าก็เต็มใจจะทำ ด้วยคุณหญิงศรีภูริปรีชาได้คุ้นเคยชอบพอกับสกุลของข้าพเจ้ามาช้านาน พระยาศรีภูริปรีชาว่า ประวัติผู้หญิงไม่มีข้อความสำคัญอันใด ไม่ต้องเรียงก็ได้ แต่เมื่อข้าพเจ้ามาคิดใคร่ครวญดู เห็นว่า ข้อสำคัญมีอยู่ในประวัติของคุณหญิงศรีภูริปรีชาหลายประการ คือ ประการที่ ๑ ได้ร่วมทุกข์ศุขอยู่เปนคู่สามีภริยากับพระยาศรีภูริปรีชาเสมอว่า เปนเพื่อนก่อร่างสร้างตัวมาด้วยกันตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ได้ร่วมรับผลแห่งวัตรปฏิบัติซึ่งบังเกิดความเจริญรุ่งเรืองโดยลำดับมา จนได้เปนปู่ย่าตายายปกครองสกุลวงษ์อันสูงศักดิ์อันหนึ่ง นี้ก็นับว่า เปนข้อสำคัญอันมิได้มีเปนสามัญทั่วไปในบุคคลทั้งปวง อิกประการ ๑ คุณหญิงพึ่งมีบุตรธิดาถึง ๑๑ คน แต่ที่มีตัวอยู่ ๘ คน บรรดาบุตรที่มีอายุสมควรรับราชการได้ได้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณปรากฎคุณวุฒิถึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรมียศแลบันดาศักดิทุก ๆ คน ส่วนธิดาที่มีเรือนก็ได้ไปมีความศุขสำราญอยู่ในสกุลอันสูงศักดิ ความข้อนี้ควรนับว่า เพราะคุณหญิงพึ่งมีความสามารถในน่าที่ของปฐมาจารีสั่งสอบอบรมบุตรแลธิดาของตนมาจนได้แลเห็นผลอันเปนที่ชื่นชมยินดีของบิดามารดา สมควรจะสรรเสริญ อิกประการ ๑ ความที่จะกล่าวต่อไปนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เปนความเห็นร่วมกันในบรรดาผู้ที่ได้รู้จักคุ้นเคยกับคุณหญิงพึ่งทั่วไปไม่เลือกน่า คือว่า คุณหญิงพึ่งเปนผู้มีน้ำใจโอบอ้อมอารีมีอัธยาไศรยอันเปนที่ถูกใจของบรรดาผู้ที่ได้สมาคมคุ้นเคยทุกชั้นบันดาศักดิ เห็นจะอาจกล่าวได้ว่า เปนผู้หนึ่งซึ่งไม่มีผู้ใดชิงชัง มีแต่ชอบพอทั่วไปในบรรดาผู้ที่ได้คุ้นเคย ด้วยเหตุนี้ เมื่อคุณหญิงพึ่งถึงแก่กรรม จึงมีผู้ที่อาไลยเสียดายแลที่พากันสงสารพระยาศรีภูริปรีชาเปนอันมาก ข้าพเจ้าเห็นว่า ควรแสดงประวัติของคุณหญิงพึ่งไว้ในท้ายคำนำหนังสือที่พิมพ์เล่มนี้ แม้พอเตือนใจให้บรรดาผู้ที่ได้คุ้นเคยชอบพอคิดถึงไมตรีจิตรในเวลาอันเปนที่สุดซึ่งได้พร้อมกันมาขมาศพด้วยความเคารพต่อคุณหญิงผู้มรณภาพล่วงไปนั้น.

ประวัติคุณหญิงศรีภูริปรีชา

คุณหญิงพึ่ง ศรีภูริปรีชา เกิดในสกุล คชนันทน์ เปนธิดาของพระคชภักดี (ท้วม คชนันทน์) เกิดที่บ้านริมถนนเฟื่องนคร ตรงวัดราชบพิธข้าม เมื่อณวันที่ ๒๓ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๔๐๗ ในรัชกาลที่ ๔ ตรงกับปีชวด จุลศักราช ๑๒๒๖

เมื่อปีมโรง พ.ศ. ๒๔๒๓ อายุได้ ๑๗ ปี ได้มีการวิวาหมงคลกับพระยาศรีภูริปรีชา แต่ยังเปนนายกมล มหาดเล็ก รับราชการอยู่ในกรมราชเลขานุการ เมื่อแต่งงานแล้ว คุณหญิงอิ่ม ศรีสุนทรโวหาร มารดาพระยาศรีภูริปรีชา นำถวายตัวเปนข้าหลวงเรือนนอกอยู่ในสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ได้เปนสมาชิกาในสภากาชาดแต่แรกตั้งขึ้นเมื่อปีมเสง พ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมา เมื่อสามีได้เลื่อนบันดาศักดิขึ้นโดยลำดับจนเปนที่พระยาศรีสุนทรโวหาร คุณหญิงพึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้าฝ่ายในเมื่อปีรกา พ.ศ. ๒๔๔๐ ครั้นเมื่อสามีได้รับพระราชทานพานทอง ก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์เลื่อนขั้นขึ้นเปนชั้นตติยจุลจอมเกล้าเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ นอกจากนั้น ได้รับพระราชทานเหรียญพระราชพิธีต่าง ๆ ตามบันดาศักดิภรรยาข้าราชการชั้นสูง.

พระยาศรีภูริปรีชามีบุตรธิดากับคุณหญิงพึ่ง ๑๑ คน คือ—

 นายผัน สาลักษณ รับราชการเปนที่พระยาศรีสุนทรโวหาร

 นางสาวถวิล สาลักษณ แต่งงานกับพระยาธรรมศักดิมนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณกรุงเทพ)

 นางสาวปรุง สาลักษณ

 ธิดา ถึงแก่กรรมเสียแต่ยังเล็ก

 นางสาวฉวี สาลักษณ แต่งงานกับหลวงบวรวาที (ม.ร.ว.โต๊ะ นภวงษ์ ณกรุงเทพ)

 ธิดา ถึงแก่กรรมเสียแต่ยังเล็ก

 นายเล็ก สาลักษณ เปนหลวงวิจิตรราชมนตรี

 นายสุนทร สาลักษณ เปนนายแก้ววังสรรค์

 นางสาวศรี สาลักษณ

๑๐ ธิดา ถึงแก่กรรมเสียแต่ยังเล็ก

๑๑ นายอุดม สาลักษณ

คุณหญิงศรีภูริปรีชามีอัธยาไศรยศรัทธามั่นคงในพระสาสนามาตั้งแต่ยังสาว ครั้นเมื่ออายุล่วงเข้ามัชฌิมวัย มีบุตรธิดาเติบใหญ่พอจะดูแลการงานบ้านเรือนต่างตัวได้ ก็ค่อย ๆ ละคฤหกิจไปรักษาศีลแลฟังธรรมเทศนาที่วัดต่าง ๆ มีวัดเทพศิรินทราวาศ วัดโสมนัศวิหาร แลวัดสุทัศน์ เปนต้น แลได้ศึกษาธรรมปฏิบัติต่อพระปัญญาพิศาลเถรวัดประทุมวนารามแลพระพรหมมุนีวัดสุทัศน์เทพวราราม ประพฤติความเพียรในทางธรรมานุธรรมปฏิบัติโดยลำดับมา ภายหลัง มาเกิดโรคาพาธด้วยโรคโลหิตน้อยแลหัวใจอ่อน อาการค่อยทรุดลงโดยลำดับ แต่เมื่อมีกำลัง ก็ยังอุส่าห์ไปฟังธรรมเทศนาที่วัดมิได้ขาด จนอาการป่วยถึงล้มเจ็บเมื่อเดือนสิงหาคม ปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๗ แต่นั้น อาการก็ทรุดลงจนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๕๘ คำนวณอายุได้ ๕๑ ปี ได้พระราชทานเครื่องประกอบศพตามเกียรติยศ สามีแลบุตรธิดาพร้อมกันให้ปลูกโรงเรียนเปนที่รฦกถวายไว้ที่วัดโสมนัศวิหาร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า "สาลักษณาลัย" ได้ทำฌาปนกิจปลงศพณที่นั้นเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ปีมเสง พ.ศ. ๒๔๖๐

  • ลายมือชื่อของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   สภานายก
  • หอพระสมุดวชิรญาณ
  • วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐





จดหมายเหตุโหร
ปีมเสง จ.ศ. ๒๘๓ ณวัน ค่ำ เวลารุ่งแจ้ง เกิดพระเจ้าพรหมราช กษัตริย์ที่ ๔๑ เชียงแสน ซึ่งปราบขอมพ่ายแพ้ลงมาถึงแดนชะเลียง
ปีเถาะ จ.ศ. ๔๓๕ ณวัน ค่ำ ยามใกล้รุ่ง เกิดขุนเจื๋องบรมราชาธิราช ชนมายุ ๓๖ ปีได้ราชสมบัติเชียงแสน ครองราชสมบัติ ๒๔ ปี ชนะล้านช้าง ครองล้านช้าง ๓ ปี ชนะญวนแกว ครองแผ่นดินแกว ๑๔ ปี
ปีขาล จ.ศ. ๔๙๖ ณวัน ค่ำ ขุนเจื๋องรับอ๋องจีนแผ่นดินซอง ชนมายุ ๗๗ ปี จึงทิวงคตในท่ามกลางสงคราม
ปีรกา จ.ศ. ๕๓๕ เมืองเสียงแตก พม่าอังวะชนะ
ปีมแม จ.ศ. ๕๘๕ ฝรั่งมาเผาเมืองมัตมะ ครั้งนั้น ศึกฝรั่ง (รับสั่งว่า ฝรั่งยุโรปยังไม่มา)
ปีจอ จ.ศ. ๖๐๐ ณวัน ค่ำ เวลายามรุ่ง เกิดพระยามังรายผู้สร้างเชียงใหม่ ชนะหริภุญไชย ได้ราชสมบัติในเมืองเงินยวง
ปีจอ จ.ศ. ๖๐๐ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลาใกล้รุ่ง เกิดพระยางำเมือง กษัตริย์พเยา เปนศิษย์เทพฤๅษีดอยด้วน แลพระศุกรทันต์ฤๅษีกรุงละโว้ครูพระร่วง ศักราช ๖๒๐ ได้ผ่านสมบัติ
ปีขาล จ.ศ. ๖๗๖ ณวัน ค่ำ เวลารุ่ง เกิดพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี
ปีเถาะ ยังเปนโทศก จ.ศ. ๗๑๒ ณวัน ค่ำ เวลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สร้างกรุงศรีอยุทธยา
ปีกุญ จ.ศ. ๗๒๑ ณวัน ค่ำ ท้าวอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุทธยาธิกูลครั้งที่ ๒ เมืองพะโคเสีย
ปีมเสง จ.ศ. ๗๖๖ เสียเมืองรงมละ
ปีฉลู จ.ศ. ๗๗๑ เสียเมืองสะถ้อย
ปีเถาะ จ.ศ. ๗๗๓ เสียเมืองตละเช เสียเมืองทละ เสียเมืองย่างกุ้ง
ปีเถาะ จ.ศ. ๗๗๓ มาจนถึง จ.ศ. ๗๗๔ ใช้ไปเมืองหนาถูกต้องดีแล
ปีมโรง จ.ศ. ๗๗๔ พญาน้อยคิดขบถในเมืองย่างกุ้ง
ปีมแม จ.ศ. ๗๗๗ ศึกพญาตองอูฝรั่งมังพลู เปนวันเสาร์ ยกลงมา อายุได้ ๒๖ ปี ปีวอก ศักราช ๗๗๘ ตายในเมืองพะโค
ปีวอก จ.ศ. ๗๗๘ พระอาทิตย์อยู่ราษีมิน องศา ๗ จึงได้ชนะมังพลู ตัวมังพลูมหากษัตริย์ทำลายเสีย
ปีเถาะ จ.ศ. ๘๖๙ เกิดพระไชยเชษฐาธิราชเจ้าล้านช้างณวัน ค่ำ เวลายามแตรเที่ยง อายุ ๑๕ ปีได้เปนกษัตริย์ พระชนม์ ๓๙ ปีทิวงคต
ปีกุญ จ.ศ. ๘๘๙ ครั้งนั้น พญาองค์หนึ่งได้ครองเมืองใน ๒๑ พญาองค์หนึ่งนิพพาน เอา ๒๑ นั้นบวกลงใน ๙๔๖ ได้ ๙๖๗ พญาที่ได้ครองเมืองโหมนั้นนิพพานแล
ปีมแม จ.ศ. ๙๐๙ ณวัน ค่ำ เศษ ๘ (พระยอดฟ้า) เสด็จออกพลับพลาทอดพระเนตรชนช้าง พญาช้างงาหัก ครั้นอยู่มา ช้างร้องเปนอัศจรรย์
ปีวอก จ.ศ. ๙๑๐ ณวัน ค่ำ เศษ ๐ ข้าราชการคิดขบถ จับ (พระยอดฟ้า) พระเจ้าแผ่นดิน สำเร็จโทษ ชิงเอาราชสมบัติ
ปีรกา จ.ศ. ๙๑๑ มีสุริยุปราคาเวลาไถอ่อน เปนสัพคราธกลม มณฑลพระอาทิตย์มืด
ปีมโรง จ.ศ. ๙๑๘ ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ เศษ ๘ เสียพระนครศรีอยุทธยาแก่เจ้าหงษาวดี
ณวัน ๑๒ ค่ำ พระมหาธรรมราชาได้ราชสมบัติ
(หมายเหตุอิกฉบับหนึ่งว่า ปีมเสง จ.ศ. ๙๓๑ ณวัน ๑๐ ค่ำ เสียกรุงศรีอยุธยาแก่เจ้าหงษาฯ 
ปีรกา จ.ศ. ๙๒๓ ณวัน ๑๔ ค่ำ พระศรีศิลป์ตายในพระราชวัง จับพระสังฆราชไปฆ่าเสีย
ณวัน ค่ำ พญาสีหราชเดโชรับพระราชอาญาขัง
ปีกุญ จ.ศ. ๙๒๕ เวลาค่ำแล้ว ๓ นาที พระ ๘ จับพระ ๒ กันภาค ๑ ยัง ๓ ภาค จันทรรัศมี ๖๒๙ แลชนทั้งปวงเกิดทรพิศม์ตายมาก แลครั้งนั้น ทำพระราชไมตรีกับพระเจ้าหงษา
ปีกุญ จ.ศ. ๙๖๑ เมืองหงษาแตก มีลูก ๓ คน
ปีชวด จ.ศ. ๙๖๒ เมืองทวายเสียแก่ไทย
ปีขาล จ.ศ. ๙๗๖ พญาลูก ๓ คนนั้นจึงไปล้อมเมืองเชียงใหม่
ปีวอก จ.ศ. ๙๘๒ เศษ ๘ ยี่ปุ่นเข้าเมือง (หมายเหตุหนึ่งว่า ๙๗๒)
ปีรกา จ.ศ. ๙๘๓ เศษ ๓ ออกฝีตายมาก
ปีวอก จ.ศ. ๙๙๔ สมเด็จพระนารายน์มหาราชสมภพพระชัณษา วัน ฯ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๙๙๔ พระชนม์ได้ ๒๕ ปี ได้ราชสมบัติอยู่ ๒๖ ปี รวม ๕๑ พรรษา สวรรคตวัน ค่ำ ปีจอ จ.ศ. ๑๐๔๔ (รับสั่งว่า ผิด)
ปีรกา จ.ศ. ๙๙๕ เหตุดังนั้นแล มัตมะก็เสีย ชาวนครคิดขบถแล
ปีขาล จ.ศ. ๑๐๑๒ พญาเมืองสะเถินเมืองมอญเสียเคราะห์เสียโศกชำระสลางภาย
ปีวอก จ.ศ. ๑๐๑๘ เศษ ๐ วุ่นวายพระองค์ไชย พระ (ศรีสุ) ธรรมราชา
ปีมโรง จ.ศ. ๑๐๕๐ เศษ ๘ วุ่นวายวิไชเยนทร์เมืองลพบุรี
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๐๕๒ พระเพทราชาเปนเจ้ามาจนทุกวันนี้ ปีนี้ ต้องยกกองทัพกรุงไปปราบเมืองตานี
ปีมแม จ.ศ. ๑๐๕๓ ต้องยกกองทัพกรุงหนุนไปปราบเมืองตานี
ปีมโรง จ.ศ. ๑๐๘๔ เมื่อครั้งขุนหลวงเล่นปลา ปีนี้ เดือน ๑๒ ต้องยกกองทัพกรุงไปปราบเมืองมฤท
ปีมแม จ.ศ. ๑๐๘๙ ณวัน ค่ำ กลาบาตตกเสียงดังปืน พระยาราชสงครามชักพระไสยาศน์วัดป่าโมก
ปีชวด จ.ศ. ๑๐๙๔ ขุนหลวงท้ายสระสวรรคตในเดือน ๒ ข้างแรม อยู่ในราชสมบัติ ๒๗ ปี (รับสั่งว่า ปีรัชกาลผิด) พระชนมายุ ๕๑ ปี ในปีนี้ เพิ่มอธิกวารอิก ๒ ปีเคียงกัน
ปีขาล จ.ศ. ๑๐๙๖ ณวัน ๑๐ ๑๐ ค่ำ จีนเปนขบถปล้นพระราชวัง
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๐๙๗ มีดาวกลางวัน ตั้งต้นปักขคณนาณวัน ค่ำ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๐๙๘ นางช้างเผือกขอมเข้ามาถึงกรุงฯ
ปีมเสง จ.ศ. ๑๐๙๙ พระพันวษานิพพาน
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๐๓ ทำวัดมงคลบพิตร มีดาวหางปีนี้
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๐๔ ช้างเผือกล้ม ได้ช้างเนียมตัวหนึ่ง
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๐๖ ณวัน ๑๒ ค่ำ ไฟไหม้วังน่า ใช้แปะประกับ มิใช้เบี้ย
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๐๗ บูรณะวัดภูเขาทอง
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๐๙ ณวัน ค่ำ มหาทองวัดบันไดอิฐเสีย ไฟไหม้วัดยมไท
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ พบทองแขวงเมืองบางตะพาน
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๑๑ ออกหัดทรพิศม์คนตายชุม มอญบ้านโพธิสามต้นหนี
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๑๓ ลังกามาขอพระสงฆ์ไปสั่งสอน ปีนี้ มีดาวหาง
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๑๖ จับพระวังน่ากับเจ้าฟ้าสังวาล
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐ ณวัน ค่ำ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี พระชนมายุ ๗๗ ปี
ณวัน ค่ำ มีจันทรุปราคา ปีนี้ เข้าแพง เกวียนละ ๑๒ ตำลึง
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๒๑ เนรเทศเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธออกจากกรุงฯ เดือน ๔ พม่ามังลองเข้าล้อมกรุงฯ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๒๒ พม่ายกหนีไป จับนายปิ่นราชมนตรี ณวัน ๑๕ ฯ  ๑๒ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๒๔ ณวัน ๑๒ ค่ำ มีสุริยุปราคา ณวัน ๑๒ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๒๗ พม่ายกเข้ามาตั้งดงรังหนองขาว
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๒๘ ณวัน ค่ำ เสียค่ายปากจั่น พม่าเข้าล้อมกรุงฯ
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๒๙ ณวัน ค่ำ กลาบาตตก
ณวัน ค่ำ เสียกรุงแก่พม่า
ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ พม่าฆ่าคน
ปีนี้ มีอธิกวาร โหรมิได้จดหมาย
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๓๐ เมืองพิศณุโลก เมืองพิจิตร แตกมาสู่โพธิสมภาร ได้เมืองนครราชเสมา
ณวัน ค่ำ เวลาเช้า โมง ๑ แผ่นดินไหว
ปีนี้ เจ้าตากได้ราชสมบัติ อายุ ๓๔ ปี
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๓๑ พระสงฆ์ลุยไฟ ได้เมืองนครศรีธรรมราช
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๓๒ ได้เมืองฉลางบุรี พม่ายกจากฉลางบุรีแตกกลับไป
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๓๕ ณวัน ๑๔ ฯ  ๑๑ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ณวัน ค่ำ พม่ายกมาตั้งเมืองพิไชย
ณวัน ค่ำ พม่าหนี
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๓๖ ณวัน ๑๐ ค่ำ มีสุริยุปราคา
ณวัน ๑๐ ๑๒ ค่ำ เวลา ๑๑ ทุ่ม ดาวพระเสาร์เข้าวงพระจันทร์ ดาวอื่นขึ้นริมแง่เหนือ
ณวัน ๑๑ ๑๒ ค่ำ ไปตีได้เมืองเชียงใหม่
ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ ดาวโรหิณีเข้าแง่พระจันทร์ข้างใต้
ณวัน ๑๓ ฯ  ค่ำ เวลา ๑๐ ทุ่ม ได้เมืองเชียงใหม่ ลาวโปสุพลาหนี
ณวัน ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๓๗ ณวัน ค่ำ เวลา ๒ ทุ่ม พม่ายกหนีจากเขานางแก้วไปปากแพรก
ณวัน ค่ำ พม่าแตกจากปากแพรก
ณวัน ๑๐ ฯ  ๑๐ ค่ำ ข้างในเปนโทษ ลงพระอาญาตระลาการประหารชีวิตนายประตูคนหนึ่ง
ณวัน ๑๑ ค่ำ เฆี่ยนบาดหลวง ๓ คน ๆ ละ ๑๐๐
ปีวอก จ.ศ. ๑๑๓๘ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เสียเมืองพิศณุโลกเวลา ๒ ยามเศษ
ณวัน ๑๒ ๑๐ ค่ำ บ่าย ๔ โมง นางพระยาล้ม
ณวัน ๑๑ ค่ำ เกิดพยุใหญ่ ฝนตกห่าใหญ่ ลูกเห็บตกถูกโรงปืนฉนวนประจำท่าทลาย เรือนทลายประมาณ ๑๐๐ หลัง
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๔๐ ณวัน ๑๔ ค่ำ บอกว่า พม่ายกมาตีเมืองฝาง ลงพระอาญาตำรวจ ๔๐๐ คน
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๔๑ เดือน ๔ พระแก้วมรกฎถึงกรุงฯ
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๔๒ ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ สึกพระราชาคณะอธิการ
ณวัน ค่ำ บ่าย ๕ โมงเศษ เปนปทุมชาติทิศบูรพา
ณวัน ค่ำ ริบเครื่องยศเจ้าวังนอก
ณวัน ค่ำ ราชาคณะแย้งกัน ข้างหนึ่งว่า ไหว้คฤหัสถ์ไม่ได้ เปนโทษต้องตี ๓๐
๕๐
๕๐๐ องค์
ณวัน ค่ำ เสด็จออกขุนนางท้องพระโรง เหยี่ยวฉาบนกขึ้นน่าพระที่นั่ง
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๔๓ เดือน ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ายกทัพไปเขมร ณวัน ค่ำ
แลแรม ๑๑ ค่ำ พระยาสรรค์ยกเข้าล้อมกรุงฯ
ณวัน ๑๒ ค่ำ ขุนหลวงบวชวัดแจ้ง
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๔๔ ณวัน ค่ำ พระจันทร์เข้าฤกษ์กิติกา
ณวัน ค่ำ พระพุทธยอดฟ้าได้ราชสมบัติปราบดาภิเศก ชนมายุ ๔๕ ปี กับ ๑ เดือน กับ ๔ วัน
ณวัน ๑๓ ค่ำ เจ้าตากดับขันธ์ ชนมายุ ๔๘ ปี กับ ๑๕ วัน
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ สร้างเมืองบางกอกเวลารุ่งแล้ว ๙ บาท
ณวัน ค่ำ ไฟไหม้ตึกดินเมืองนครฯ
ณวัน ๑๕ ฯ  ๑๐ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ณวัน ค่ำ มีจันทรุปราคา สมเด็จพระไอยกาเสวยราชย์
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๔๕ ณวัน ค่ำ อ้ายบันทิด ๒ คนเปนขบถ เข้าวังน่าประมาณ ๑๐ ทุ่มเศษ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๔๖ ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ เสด็จไปปิดปากลัด
ณวัน ๑๓ ค่ำ เวลาย่ำรุ่ง ๔๒ นาที สมโภชช้างเผือก แลสร้างวัดสระเกษ
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เวลาเช้า ๒ โมง ๔ บาท ยกยอดฟ้าดุสิตมหาปราสาท
ณวัน ๑๒ ค่ำ อัญเชิญพระแก้วมรกฎมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๔๗ น้ำมาก เข้าแพง เกวียนละชั่ง
ณวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เจ้าวังเก่านิพพาน
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ๔ บาท ยกเสวตรฉัตรที่ประธมวังหลวง
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคา
ณวัน ๑๕ ค่ำ มีสุริยุปราคา
ณวัน ค่ำ ดาวกิติกาเข้าแง่พระจันทร์แง่ใต้
ณวัน ค่ำ เวลาทุ่ม ๑ พม่าปากพิงแตกฝ่ายเหนือ ๑๐,๐๐๐ วังหลังตีแตก
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๔๘ ณวัน ค่ำ ดาวพระอังคารเข้าแง่พระจันทร์ข้างซ้าย
ณวัน ๑๒ ค่ำ ดาวพระศุกรเข้าแง่พระจันทร์ข้างขวา
ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงกับ ๖ บาท ยกทัพหลวงไปไชโยคท่าขนุน
ณวัน ค่ำ ทัพน่าตีพม่าสามสบ
ณวัน ค่ำ พม่าสามสบแตก ๓๐,๐๐๐
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๔๙ ณวัน ค่ำ ยกทัพน่าไปตีค่ายบางบ่อ
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลายาม ๑ ได้ค่ายบางบ่อ
ณวัน ๑๓ ค่ำ ทัพน่าเข้าติดเมืองกลิอ่อง
ณวัน ค่ำ เวลายาม ๑ ได้เมืองกลิอ่อง
ปีวอก จ.ศ. ๑๑๕๐ ณวัน ค่ำ มีสุริยุปราคา ดาวพระศุกรเข้ากลางกิติกา เข้าแง่พระจันทร์ข้างใต้
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๕๑ ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๔ โมง ฟ้าผ่าช่อฟ้ามุขมหาปราสาทข้างอุดรทิศ ไฟติดช่อฟ้าไหม้สิ้นทั้งปราสาท
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๕๔ ขุนณาณโยคใส่อธิกวารผิด หมู่โหรปฎิทินติเตียน
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๕๕ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคาจับ ๙ ทุ่ม ๑ บาท
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๕๗ ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ ดาวขนาบเดือน
ณวัน ค่ำ จับอ้ายอินบางอ้อขบถเมื่อการบรมสมโภชพระอัฐิ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๕๘ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคาจับสัพคราธ ดาวพระเสาร์เข้าแทรก
ณวัน ค่ำ ดาวพระอังคารชิงคลองพระพฤหัศบดี
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๖๐ ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมง ตำหนักแดงสิ้นพระชนม์
ณวัน ๑๐ ๑๒ ค่ำ ตำหนักใหญ่สิ้นพระชนม์เวลา ๑๑ ทุ่ม ๘ บาท
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๖๑ ณวัน ค่ำ เวลาย่ำค่ำแล้ว เกิดลมหนัก
ณวัน๑๔ ฯ  ค่ำ เวลาค่อนรุ่ง แผ่นดินไหว
ณวัน ๑๐ ฯ  ๑๒ ค่ำ เวลา ๒ ทุ่มเศษ แผ่นดินไหวอิกครั้งหนึ่ง
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๖๓ ณวัน ๑๕ ค่ำ มีสุริยุปราคา
ณวัน ค่ำมีจันทรุปราคา ณวัน ค่ำ นางพระยา
ช้างเผือกมาถึงกรุงเทพมหานคร
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๖๔ ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๒ โมง ๗ บาท ขุนหลวงกลาง
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๖๕ ณวัน ๑๒ ค่ำ เวลา ๒ ยาม ๕ บาท กรมพระราชวังสวรรคต
ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ สำเร็จโทษพระเจ้าหลานอินทปัต ลำดวน
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๖๖ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลาย่ำค่ำแล้ว ๔ บาท มีจันทรุปราคาสัพคราธ
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๖๗ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลา ๒ ยาม ๖ บาท มีจันทรุปราคา
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลา ๑๑ ทุ่ม ๕ บาท มีจันทรุปราคา
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๖๘ ณวัน ๑๕ ๑๒ ค่ำ มีสุริยุปราคา แย้งกันที่ว่า ไม่มีได้พระราชทาน ๒ คน
ปีนี้ น้ำแดง ปลาสร้อยชุม
ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๒ โมงเศษ กรมพระราชวังหลังสวรรคต
ณวัน ค่ำ ราชาภิเศกกรมหลวงอิศรเปนพระราชวังบวรฯ ชัณษา๓๙ ปี สำเรทธิ์ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ
(อิกหมายเหตุหนึ่งว่า ณวัน ค่ำ กรมพระราชวังสถานภิมุขมาตย์สวรรคตเวลาบ่าย ๒ โมง)
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๖๙ ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เชิญพระศพกรมพระราชวังหลัง ณวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ ถวายพระเพลิง ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคา เวลา ๔ ทุ่ม ๘ บาท ณวัน ค่ำ เวลาเช้า ๕ โมง ๒ บาท ณวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๗๐ ณวัน ค่ำ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นสิ้นพระชนม์ เวลาเช้า 
บาท เจ้าฟ้าเหม็นเปนโทษถึงตาย
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๗๑ ณวัน ๑๓ ค่ำ เวลา ๖ ทุ่ม พระบรมโกษฐพระพุทธยอดฟ้าสวรรคต พระชนม์ ๗๒ ปีกับ ๖ เดือน ๔ วัน อยู่ในราชสมบัติ ๒๘ ปี
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมง ๓๖ นาที ราชาภิเศกพระพุทธเลิศหล้า
ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมง พระสงฆ์สามเณร ๒ องค์นำพระธาตุมาแต่ลังกาถวาย
ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง ๘ บาท จับอินทรเดชะขบถ
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๗๒ ณ วัน ๑๑ ค่ำ ดาวพระศุกรเข้าในวงพระจันทร์ข้างทักษิณ
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๗๓ ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาย่ำค่ำ เห็นดาวหางขึ้นทิศพายัพ หางไปทิศอิสาณ
ณวัน ค่ำ ดาวหางสูญหายไป เวลาทุ่ม ๑ กลาบาตตก
ณวัน ๑๕ ฯ  ๑๐ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีวอก จ.ศ. ๑๑๗๔ ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง เกิดเปนควันแลพยุ
ณวัน ค่ำ บอกว่า องค์จันหนี บอกมาแต่เชียงใหม่ว่า พม่ายกมา
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เวลาบ่ายโมงเศษ พระยาช้างเผือกผู้มาถึงกรุงฯ มาแต่เมืองโพธิสัตว์
ณวัน ค่ำ พระยาช้างเผือกผู้มาแต่เมืองกัมพูชา
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๗๕ ณ วัน ค่ำ เวลาแดดอุ่น เห็นดาวพระพฤหัศบดีเคียงพระจันทร์ข้างทิศทักษิณ
ณวัน ค่ำ ไฟไหม้บ้านหลังวัดพระเชตุพนเปนอันมาก
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๗๖ เดือน ๑๒ เดือน ๑ รามัญเมืองมัตมะยกครัวเข้ามาสู่พระโพธิสมภารประมาณ ๓๐,๐๐๐
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๗๗ ณวัน ค่ำ แลแรม 
ค่ำ ตั้งพิธีสงฆ์ ๔ พราหมณ์ ๑
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ฝังอาถรรภ์เมืองใหม่ปากลัด
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลา ๕ ทุ่ม ๒ บาท มีจันทรุปราคาสัพคราธ
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง ๖ บาท มีจันทรุปราคา
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๗๘ ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง ไฟไหม้ตรอกวัดโคก พม่าแหกคุกหนีออกฆ่าคนตายบ้างเจ็บบ้างเปนอันมาก
ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่ายโมง ๑ พระยาช้างเผือกผู้มาแต่เมืองเชียงใหม่ถึงกรุงฯ
ณวัน ๑๔ ๑๒ ค่ำ ไฟไหม้วัดทองปุ
ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ จับเจ้ากรมศรีสุเรนทร์แลพระองค์เจ้าสุริวงษ์
ณวัน ๑๓ ค่ำ ไฟไหม้ฉางเข้าน่าวัดมหาธาตุ
ณวัน ๑๓ ฯ  ค่ำ โสกันต์เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๗๙ ณวัน ค่ำ ช้างเผือกผู้มาแต่เมืองน่าน ถึงกรุงฯ เวลาบ่าย ๕ โมง
ณวัน ค่ำ เวลาบ่ายโมง ๑ มีสริยุปราคา
ณวัน ค่ำ สำเร็จโทษเจ้า ๒ ไพร่ ๗
ณวัน ค่ำ เวลาเช้า ๕ โมง ๗ บาท กรมพระราชวังสวรรคต
ณวัน ๑๒ ค่ำ เวลาเช้า มีสุริยุปราคา
ณวัน ค่ำ พระยาพลเทพตีนตก
ณวัน ค่ำ ไฟไหม้สพานหัน
ณวัน ๑๐ ค่ำ เช้า ๒ โมง พระยาช้างเนียมลงน้ำหายไป
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๘๐ ณวัน ค่ำ อาจารย์เทศ อาจารย์ดี อาจารย์ห้อง เชิญพระศรีมหาโพธิ พระบรมธาตุ พระเขี้ยวแก้ว พระบาทจำลอง มาแต่ลังกา
ณวัน ๑๑ ค่ำ ฟ้าผ่าเสาชิงช้า สำเพ็ง แลวัดเชตุพน วัดมหาธาตุ
ปีนี้ ควายตายมาก
หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/29หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/30หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/31หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/32หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/33หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/34หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/35หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/36หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/37หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/38



หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/39หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/40หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/41หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/42หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/43หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/44หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/45หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/46หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/47หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/48หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/49หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/50หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/51หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/52หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/53หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/54หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/55หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/56หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/57หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/58หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/59หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/60หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/61หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/62หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/63หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/64หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/65หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/66หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/67หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/68หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/69หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/70หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/71หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/72หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/73หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/74หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/75หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/76หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/77หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/78หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/79



พระราชพงษาวดารกรุงเก่า
ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม.

ตอนต้นความตรงกับฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ความมาต่างไปตั้งแต่ผูก ๑๗ ตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราช ตรงเล่ม ๒ ฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม น่า ๓๒๓ ความต่างไปดังนี้

 จึงตรัสให้พญากระลาโหมเปนนายกอง หลวงธรรมไตรโลกเปนยุกรบัตร พญาเสนาภิมุขเปนเกียกกาย สมิงพระเปนกองน่า พระมฤตเปนกองหลัง เมืองนนท์ราชธานีเปนปีกขวา พระวิจารณ์มนตรีเปนปีกซ้าย แลกองแล่นพลห้าพันเศษ ปืนใหญ่ ปืนนกสับ ช้างเครื่อง แลม้า สรรพด้วยเครื่องสาตราวุธ เปนทัพหนึ่ง แลให้พญานครราชสีมาเปนนายกอง เมืองอินทบุรีเปนยุกรบัตร พระสุพรรณบุรีเปนเกียกกาย พระกุยบุรีเปนกองน่า พระกลางบรรพตเปนกองหลัง พระพลเปนปีกขวา พระมหาดไทยเปนปีกซ้าย พลสองพัน ปืนใหญ่ ปืนนกสับ ช้างเครื่อง ๖ ช้าง ม้า ๘ ม้า เปนทัพหนึ่ง ให้พญายมราชเปนนายกอง หลวงรามสรเดชเปนยุกรบัตรพระไชยนาทเปนเกียกกาย พระอนันตกะยอสูเปนกองน่า พระศรีมหาราชาเปนปีกขวา ขุนโจมจัตุรงค์เปนปีกซ้าย พลพันหนึ่ง ปืนใหญ่ ปืนนกสับ ช้างเครื่อง ๖ ช้าง ม้า ๘ ม้า เปนทัพหนึ่ง แลให้พญาราชบังสรรเปนนายกอง พระสรรคบุรีเปนยุกรบัตร หลวงวิชิตสงครามเปนเกียกกาย พระนนทบุรีเปนกองน่า พญาสุรราชภักดีเปนกองหลัง พญาตุกาลีเปนปีกขวา หลวงรามภักดีเปนปีกซ้าย พลสามพัน ปืนใหญ่ ปืนนกสับ ช้างเครื่อง ๖ ช้าง ม้า ๑๐ ม้า เปนทัพหนึ่ง แลพญาพิไชยสงครามเปนนายกอง หลวงสุรสงครามเปนยุกรบัตร หลวงราชมนตรีเปนเกียกกาย หลวงคำแหงสงครามเปนกองน่า หลวงนเรนทรภักดีเปนปีกขวา ขุนพิพิธรณรงค์เปนปีกซ้าย พลห้าร้อย ปืนใหญ่ ปืนนกสับ ช้างเครื่อง ๖ ช้าง ม้า ๘ ม้า เปนทัพหนึ่ง จึงทัพห้าทัพก็ยกขึ้นไป ครั้นถึงเมืองนครแลเมืองเถินไซ้ จึงสงเชดกายแลแหงไนซึ่งอยู่ในเมืองนครก็พากันอพยพเมืองนครแลเมืองเถินออกมาหานายทัพนายกองข้าหลวงขอเปนข้าสู่พระราชสมภาร แลฟ้าลายข่าซึ่งอยู่รักษาเมืองนครนั้นก็พากันอพยพหนีไปพึ่งอยู่ณเมืองเชียงใหม่ นายทัพนายกองก็บอกหนังสือส่งตัวสงเชดกาย แลแหงไน กับสกรรจ์อพยพทั้งปวง ลงมายังทัพหลวงณเมืองพิศณุโลก ว่า ได้เมืองนคร เมืองเถินสมเด็จพุทธเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้มีตราตอบให้พญากระลาโหม พญารามเดโช พญาพิไชยสงคราม อยู่รั้งเมืองนคร ให้ซ่องสุมชาวเมืองนครแลครัวอพยพทั้งปวงซึ่งแตกฉานซ่านเซนออกไปจากเมืองนครนั้นให้เข้ามาอยู่ตามภูมิลำเนาดุจก่อน แลให้พญานครราชสีมา พระราชสุภาวดี พระสุพรรณบุรี ยกไปเอาเมืองตัง แล้วก็มีพระราชโองการตรัสสั่งให้พญามหาเทพ แลขุนหมื่นข้าหลวง แลพลห้าร้อย สรรพด้วยเครื่องสรรพยุทธ ไปเอาเมืองลอง ก็ได้แสนเมืองลองแลสกรรจ์อพยพคุมลงมาถวายยังทัพหลวงณเมืองพิศณุโลก ทรงพระกรุณาตรัสให้ขุนราชเสนา หมื่นอินทรสรแม่นไปฟังข่าวพญานครราชสีมา แลพระราชสุภาวดีพระสุพรรณบุรี ซึ่งยกทัพไปเอาเมืองตังนั้น แลได้สังฆราชาเขมราษฎ์ แลเมืองตัง หมื่นจิตร กับไพร่หกสิบแปด มายังทัพหลวงณเมืองพิศณุโลก ถึงวันเดือนสาม แรมสองค่ำ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าช้างเผือกก็เสด็จพระราชดำเนินกรีธาพลแต่เมืองพระพิศณุโลกไปยังเมืองศุโขไท แลเสด็จอยู่พระตำหนักตำบลธานี จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้พญาเกียวเปนนายกองทัพน่า วิเชียรโยธาเปนปีกขวา ขุนรามโยธาเปนปีกซ้าย สมิงสามแหลกเปนเกียกกาย พลรบห้าร้อย สรรพด้วยเครื่องสรรพายุทธ ทัพหนึ่งแลให้พญากำแพงเพ็ชรเปนนายกองทัพใหญ่ ขุนเมืองเปนปีกขวา ขุนราชาเปนปีกซ้าย หลวงอินทแสนแสงเปนเกียกกาย แลช้างม้าไพร่พลพันหนึ่ง สรรพด้วยเครื่องสาตราวุธทั้งปวง แลให้ทัพทั้งสองทัพยกไปเมืองรามตี แลผู้อยู่รักษาเมืองนั้นชื่อ โลกกำเกียว ครั้นรู้ก็พาสกรรจ์อพยพหนีไปจากเมืองรามตี จึงขุนแลสมิงแลจ่าทั้งปวงสิบห้าคนนี้เปนนายหมวด แลลูกหลานนายหมวดสิบห้าคนออกมาหาพญากำแพงเพ็ชรว่า จะขอเปนข้าสู่พระราชสมภาร แลกินน้ำสบถแล้วก็ให้ผมไว้เปนสำคัญตามประเวณีลว้าซึ่งสัญญานั้น แล้วถวายอพยพทั้งปวงพันสี่ร้อยเก้าสิบสามคน ขอเปนข้าขัณฑสิมากรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา จึงพญากำแพงเพ็ชรก็ให้ผ้าเสื้อเปนรางวัลแก่นายหมวดลูกหลานนายหมวดผู้มีความสวามิภักดิ์นั้นถ้วนทุกคน แล้วพญากำแพงเพ็ชรก็บอกหนังสือมาถึงสมุหนายกเมื่อทัพหลวงเสด็จอยู่ตำบลธานีนั้น พญาจักรีจึงเอากราบทูล ทรงพระกรุณาโปรดนายหมวดว่า ผู้มีความสวามิภักดิ์ซึ่งมาสู่พระราชสมภาร แลพระราชทานผ้าเสื้อแลเงินถ้วนทุกคนแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับลงมายังเมืองพระพิศณุโลก จึงเสด็จแต่เมืองพระพิศณุโลกโดยทางชลมารคแปดวันก็ถึงกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ๚

 ส่วนพญากำแพงเพ็ชรก็แต่งขุนโชติภักดี ขุนสรนรินทร์ แลหมื่นมหาเกาทัณฑ์ คุมไพร่ร้อยหนึ่ง สรรพด้วยเครื่องสาตราวุธไปจัดซ่องพญาพรหมคีรี แลว่า ขุนหมื่นนายหมวดพญาพรหมคีรี แลขุนหมื่นสมิงนายหมวดทั้งปวงยี่สิบคนผู้ออกมากินน้ำสบถนั้น พญากำแพงเพ็ชรก็ให้รางวัลเสื้อผ้าแลเงินตราแก่พญาพรหมคีรีแลลว้านายหมวดทุกคน พญาพรหมคีรีแลลว้านายหมวดทั้งปวงถวายสกรรจ์อพยพพันแปดร้อยคนเปนข้าขัณฑสิมากรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาจึงพญากำแพงเพ็ชรให้ขุนราชา เมืองเชียงเงิน ขุนหมื่น แลไพร่ร้อยยี่สิบคน คุมเอาพญาพรหมคิรีแลลว้าเปนขุนหมื่นสมิงนายหมวดทั้งปวงมายังกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา แลพระราชทานชื่อแก่พญาพรหมคิรีนั้นเปนพญาอนุชิตชลธี แลพระราชทานเจียดเงินเลื่อมจำหลักสรรพางค์จุกทองผ้าเสื้อเงินตราสิ่งของแลเครื่องเรือนแก่พญาพรหมคิรีแลขุนหมื่นสมิงลว้านายหมวดนั้นมากนัก แล้วให้ไปอยู่ตามลำเนาดุจก่อน ส่วนพระราชสุภาวดีแลเมืองสรรคบุรี ครั้นได้เมืองตังแล้ว ก็ยกทัพไปเมืองอินทคิรี แลพญาอินทคิรีคุมเอาสกรรจ์อพยพเจ็ดร้อยออกมาหาพระราชสุภาวดีขอเปนข้าพระราชสมภาร จึงพระราชสุภาวดีให้พญาอินทคีรี จึงพญาอินทคิรีให้ลาด่งผู้ลูก แลแสนทักขิณดาน แสนบัวบาน แสนอภัยมาน แสนพิงไชย แลไพร่สี่สิบหกคน ลงมาด้วยพระราชสุภาวดีแลเมืองสรรคบุรีถึงกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าช้างเผือกก็มีพระราชโองการตรัสสั่งให้เบิกล่าด่ง แลแสนทักขิณดาน แสนบัวบาน แสนอภัยมาน แสนพิงไชย เข้ามากราบถวายบังคมณศาลาลูกขุน แลพระราชทานชื่อแก่นายล่าดงเปนแสนหลวงสุนทรราชภักดี (แสนหลวงสุรินทรภักดี) แสนบัวบานเปนแสนภักดีนรินทร์ แสนทักขิณดาเปนแสนภูมินทรบริบาล พระราชทานเจียดเงินเหลื่อมจำหลักสรรพางค์เครื่องสำรับแลผ้าเสื้อผ้าพอกไปแก่พญาอินทคิรี แลพระราชทานเจียดทรงมัน แลผ้าเสื้อแพรพรรณแก่แสนหลวงสุรินทรภักดีผู้ลูกพญาอินทอินทรคิรี แลพระราชทานผ้าเสื้อแพรพรรณแก่แสนภักดีนรินทน์ แสนภูมินทรบริบาล แสนพิงไชย แลพระราชทานเสื้อผ้าแก่แสนขุนแสนหมื่นผู้มานั้นเปนอันมาก แลพระราชทานอัฐบริขารแก่สงฆ์อันมาด้วยนั้นแล้ว แลอรรคมหาเสนาธิบดี แลมหาดเล็ก มหาดไทย กลาโหม จัตุสดมภ์ทั้งสี่ ก็ให้ผ้าเสื้อแก่แสนทั้งสี่นั้น แล้วก็พระราชทานให้เครื่องเลี้ยงนานาประการออกไปเลี้ยงเปนอันมากทั้งสี่นั้น แลทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้แสนหลวงสุรินทรภักดี แสนภักดีนรินทร์ แสนภูมินทรบริบาล แสนพิงไชย แสนขุน แสนหมื่น แลไพร่ทั้งปวง ให้กลับคืนขึ้นไปยังเมืองอินทคิรีอยู่ตามภูมิลำเนาแลรักษาเมืองอินทคิรีด้วยพญาอินทคิรีเปนเมืองขึ้นตามขนบณกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา ๚

 ส่วนทัพพญากำแพงเพ็ชรแลพญาเกียรติซึ่งไปตั้งอยู่ตำบลด่านอุมรุกนั้น ก็จัดซ่องได้สมิงคลองคู สมิงกะเทิง แลลว้านายหมวดแลไพร่ลว้าเปนอันมาก แล้วส่งนายหมวดลงมายังกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา แลพระราชทานชื่อแก่สมิงคลองคูเปนสมิงเทวคิรีรักษ์ สมิงกะเทิงเปนสมิงภักดีศิขรินทร์ แลพระราชทานดาบทองแก่สมิงเทวคิรีรักษ์ พระราชทานขันเงินแก่สมิงภักดีศิขรินทร์ แลพระราชทานผ้าเสื้อถ้วนทุกคน แล้วให้ขึ้นไปจัดซ่องลว้าทั้งปวง ได้สกรรจ์อพยพพลหกร้อย แล้วสมิงเทวคิรีรักษ์ไปสืบซ่อง ได้พญาพรหมคิรีจึงพญากำแพงเพ็ชรให้มนุราชาคุมพญาพรหมคิรีแลสมัครพรรคพวกมายังกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้เบิกพญาพรหมคิรีเข้ามากราบถวายบังคมแต่ศาลาลูกขุน แลพระราชทานชื่อแก่พญาพรหมคิรีเปนพญาสุทัศนธานีศรีวนาภิรมย์ แล้วพระราชทานเจียดเงินเหลี่ยมจุกทองปากจำหลักสรรพางค์แลผ้าเสื้อแพรพรรณเปนอันมาก อรรคมหาเสนาธิบดี มหาดไทย กลาโหม จัตุสดมภ์ทั้งสี่ ก็ให้รางวัลผ้าเสื้อแพรพรรณก็มาก แล้วก็ให้กลับคืนขึ้นไปอยู่รักษาเมืองอินทคิรีตามภูมิลำเนาเปนเมืองขึ้นตามขนบกรุงเทพพระมหานครบวรทวารวดีศรีอยุทธยา แล้วข้าหลวงไปอยู่ด้วยพญาสุทัศนธานีเพื่อจะให้รู้ขนบกิจราชการ ๚

 ฝ่ายมางนันทมิตรอยู่เมืองเมาะตมะ ฮ่อล้อมเมืองอังวะ ในขณะนั้น มางนันทมิตรผู้เปนอาว์พระเจ้าอังวะอยู่ปกครองเมืองเมาะตมะ ส่วนชาวเมืองฮ่อไซ้ยกทัพมาล้อมเมืองอังวะ จะเอาฮ่ออุทิงผาซึ่งพาสกรรจ์อพยพประมาณพันหนึ่งหนีไปพึ่งอยู่เมืองอังวะ จึงมางนันทมิตรเกณฑ์เอาพล ๓๒ หัวเมืองซึ่งขึ้นแก่เมืองเมาะตมะนั้นสามพันให้ไปช่วยป้องกันเมืองอังวะ แลมอญอันไปช่วยป้องกันก็หลีกหนีคืนมาเปนอันมาก จึงมางนันทมิตรก็ให้คุมเอามอญอันหนีมานั้นใส่ตรางไว้ ว่าจะเผาเสีย แลสมิงเพอ (อำเภอ) ทั้ง ๑๑ คนนั้นควบคุมมอญประมาณห้าพันยกเข้าเผาเมืองเมาะตมะเสีย จับตัวมางนันทมิตรได้ ให้คุมเชิงไว้ อยู่ประมาณสามเดือนเศษ มางนันทมิตรคิดกันกับผู้คุมเชิงซ่องมอญได้สองพันเศษ เข้ากันกับพรรคพวกชายหญิงเปนคนห้าพัน ๚

 ลุศักราช ๑๐๒๓ ปีศก มางนันทมิตรยกครอบครัวอพยพมาสู่พระบรมโพธิสมภารโดยทางเมืองกำแพงเพ็ชร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้รับมาตั้งอยู่ตำบลไทยใหญ่ ครั้นณวัน ค่ำ เสด็จทรงพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ออกจับช้างกลางแปลงณเพนียด แล้วเสด็จออกณพระที่นั่งมรฎป ให้หามางนันทมิตรมาเฝ้า ตรัสถามว่า เปนอะไรกันกับพระเจ้าอังวะ มางนันทมิตรบังคมทูลว่า เปนอาว์พระเจ้าอังวะ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า พระเจ้าอังวะหาตั้งไว้ในตระกูลวงษ์ผู้ใหญ่หาไม่ฤๅ มางนันทมิดกราบทูลว่า ตั้งไว้ในที่ผู้ใหญ่อยู่ แต่มีความพิโรธกัน เพราะเหตุว่าพระเจ้าอังวะมิได้ตั้งในพระธรรมสามน (ธรรมสาตร) ราชสาตร แลแจ้งกิติศัพท์ขึ้นไปว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฝ่ายตวันออกมีกฤษฎาภินิหารบารมีใหญ่หลวง ดำรงทศพิธราชธรรมเปนนิตยกาล ไพร่ฟ้าอาณาจักรแลนานาประเทศซึ่งขึ้นขอบขัณฑเสมานั้นก็อยู่เย็นเปนศุข ดังร่มรุกขสุวรรณมหาโพธิอันใหญ่ ข้าพระพุทธเจ้ามีความยินดี จึงอุสาหะเอากะเฬวระมาฝากไว้ใต้ฝ่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคแก่มางนันทมิตรเปนอันมาก ๚

 ลุศักราช ๑๐๒๔ ปีศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทรงชักช้างเถื่อนเข้าเพนียด พังตัวหนึ่งตกลูกในวงพาดเปนเผือกผู้ อยู่เจ็ดวันล้ม ๚

 ศักราช ๑๐๒๕ ปีศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปตั้งคอกขังช้างตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายใหญ่เพรียว ๗๐ ช้าง พังประมาณ ๔๐๐ แล้วเสด็จเข้าพระนคร

 ครั้นรุ่งขึ้น เสด็จออก เสนาบดีทั้งปวงเฝ้าพร้อมกัน นายไชยขรรค์มหาดเล็กลูกพระนมกราบทูลพระกรุณาว่า ช้างไล่ม้าฬ่อแพนนั้น เว้นแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกนั้นหากลัวผู้ใดไม่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสทราบว่า นายไชยขรรค์แกล้งว่าเปรียบพระเพชราชา พระเพชราชาก็รู้เท่า จึงตอบนายไชยขรรค์ว่า ผลัดกันขี่ช้างไล่ม้าฬ่อคนละเที่ยวฤๅ นายไชยขรรค์ว่า จะขี่ช้างไล่ก่อน พระเพชราชาก็ยอม ครั้นถึงวันกำหนด นายไชยขรรค์ขี่ช้างต้นพญาปราบไตรภพสูงหกศอกหกนิ้ว พระเพชราชาขี่ม้ากาฬาคิรีสูงสามศอกสองนิ้ว ตั้งสนามตำบลคลองน่าวัดแตร ม้าไกลช้างเส้นหนึ่ง พระเพชราชาชักม้ารำแพนฬ่อ นายไชยขรรค์ขับช้างไล่ขึ้นมาใกล้สพานอิฐวัดทนัง (วัดหนัง) ช้างได้คว้าพระเพชราชา ๆ เห็นจวนตัว ก็ขับม้าเข้าช่องกุฏน้อย ช้างค้างอยู่ ครั้นเที่ยวพระเพชราชาจะขี่ช้างนายไชยขรรค์หนีไปบ้านเสีย พระเพชราชาเข้ามาเฝ้ากราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แจ้งเนื้อความทั้งนั้นให้ทราบทุกประการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า หารู้ไม่ฤๅ อ้ายไชยขรรค์นั้นเปนทหารปาก ๚

 ครั้นถึงเดือนพิธีอำพวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงม้าพระที่นั่งลงไปณตำบลชีกุน เจ้าฟ้ารามเจ้าฟ้าทองแต่งชาวเพ็ชรบุรี ๓๐๐ คน ตะบองครบมือ นั่งซุ่มอยู่ริมทาง ครั้นเสด็จพระดำเนินลงไปถึงทางสี่แพร่งป่าชมภูแลตแลงกุนปายารวมกัน ชาวเพ็ชรบุรีลุกพร้อมกันขึ้นจะเข้ายุดเอาบังเหียนม้าพระที่นั่ง กรมพระตำรวจก็จับตัวมาถาม ชาวเพ็ชรบุรีให้การว่า เจ้าฟ้าทองเจ้าฟ้ารามใช้ให้มาคอยทำร้ายแก่พระเจ้าอยู่หัว ๆ ก็เสด็จคืนเข้าพระราชวัง จึงมีพระราชโองการให้คุมเอาเจ้าฟ้าทองเจ้าฟ้ารามมาถาม สารภาพรับเปนสัตย์ ทรงกรุณาให้ปฤกษาโทษ ลูกขุนณศาลาปฤกษาว่า เจ้าฟ้าทองเจ้าฟ้ารามทำการขบถ ทรงพระกรุณาพระราชทานชีวิตรไว้แต่ก่อนนั้นก็สองครั้งแล้ว บัดนี้ ยังคิดขบถอยู่อิกเล่า เจ้าฟ้าทอง เจ้าฟ้าราม เปนมหันตโทษที่สุดอยู่แล้ว แผ่นดินหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ทรงสมเด็จพระพุทธเจ้าถึงห้าพระองค์เปนมหาภัทกัลปอันยิ่ง จะให้โลหิตผู้ทรชนตกลงในพื้นปัถพีนี้ก็ดูมิสมควร ขอพระราชทานให้ใส่แพหยวกฟันลอยเสียตามกระแสพระสมุท เอาคำปฤกษากราบทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ตามคำปฤกษาเถิด ๚

 ศุภมัศดุ ศักราช ๑๐๕๐ ปีมโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสด็จขึ้นไปเมืองลพบุรี อยู่ประมาณเดือนหนึ่ง ทรงประชวรหนักลง วันหนึ่ง หม่อมปีย์เสด็จออกมาสรงพระภักตร์อยู่ณษาสา พญาสุรศักดิเข้าไปจะจับ หม่อมปีย์วิ่งเข้าไปในที่พระบรรธมร้องว่า ทูลกระหม่อมแก้ว ช่วยเกล้ากระหม่อมฉันด้วย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสว่า อ้ายพ่อลูกนี้คิดทรยศจะเอาสมบัติ แล้วมีพระราชโองการสั่งให้ประจุพระแสงปืนข้างที่ แล้วให้พญาเพชราชา พญาสุรศักดิ ก็เข้าไปยืนอยู่ที่พระทวารทั้งสองคน สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสด็จบรรธมอยู่ ยื่นพระหัตถ์คลำเอาพระแสงปืน เผยอพระองค์จะลุกขึ้น ก็ลุกขึ้นมิได้ กลับบรรธมหลับพระเนตร ครั้นเพลาบ่าย พญาเพทราชาให้ไปเชิญพญาวิไชเยนทร์เข้ามาว่าปฤกษาราชการ แล้วให้ตำรวจไปกำกับประตูพระราชวัง สั่งว่า ข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายทหารฝ่ายพลเรือนจะเข้ามาเฝ้า ให้เข้ามาแต่ถาดหมากคนโทมัดเฝ้า ครั้นพญาวิไชเยนทร์เข้ามาพร้อมกันณศาลาลูกขุน พญาเพทราชาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่บ้านป่าเมืองดอน เราจะให้แต่งกองร้อยกองตระเวน แลกองร้อยรอบพระราชวังชั้นหนึ่ง น่าเพนียดชั้นหนึ่ง พระตำหนักชุบศรนั้นไว้แต่ม้าเร็วคอยเหตุ พญาวิไชเยนทร์จึงตอบว่า ท่านว่าชอบแล้ว ก็ชวนกันขึ้นไปบนเชิงเทิน พญาวิไชเยนทร์ก็จัดป้อมปากตลาดฉลากให้เจ้าน่าที่อยู่รักษา พญาวิไชเยนทร์เดินไปประมาณเส้นหนึ่ง รักษาองค์เอาตะบองทีท้องหกล้มลง แล้วพญาสุรศักดิเข้าไปจับหม่อมปีย์ได้ เอาไปล้างเสียทั้งพญาวิไชเยนทร์ ฝ่ายพญาพระหลวงข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงเห็นพญาเพทราชาทำการผิดปลาด ก็ให้หนังสือลงมาถึงเจ้าฟ้าอภัยทัศว่า มีคนพวกละ ๓๐๐ บ้าง ๔๐๐ บ้าง เจ้าฟ้าอภัยทัศเสด็จลงไปณพระตำหนักท้องสระ เอาหนังสือซึ่งขุนนางทั้งปวงถวายลงมานั้นขยำน้ำเสีย แล้วเสด็จขึ้นไปถึงปากน้ำปากสบ เข้านมัสการพระพรหม แล้วเสด็จขึ้นไป ชาวน่าที่ซึ่งสั่งให้ลงมาคอยเสด็จ ครั้นพบเสด็จแล้ว กลับขึ้นไปเรียนแก่พญาเพทราชา พญาสุรศักดิ ๆ ให้ลงมาเชิญเสด็จรีบขึ้นไป เจ้าพระขวัญทรงพระเสลี่ยงขึ้นไปถึง พญาสุรศักดิสั่งให้เอาไปวัดซาด (วัดซาก) พญาสุรศักดิขี่ช้างพังออกไปด้วย จึงให้เจ้าพนักงานทำเสียสำเร็จ แล้วก็กลับเข้ามาพระราชวัง เพลาสามยาม พระราชรักษาให้เรียนถามพญาเพทราชา พญาสุรศักดิ ว่า พร้อมแล้วฤๅยัง บอกว่า พร้อมแล้ว ขุนองค์อยู่งานถอนนิ้วขึ้นจากพระองค์ พระโอษฐงับก็นิ่งไป วัน ค่ำ เพลา ๑๐ ทุ่ม เสด็จนิพพาน ๚

  ครั้นเพลาเช้า พระเพทราชานุ่งจีบ ถือพระกระบี่ ขุนนางทั้งปวงเข้าไปพร้อมกัน นั่งลงไหว้ พญาเพชราชาบอกว่า เราจะเชิญพระบรมศพออกไปใส่เรือพระที่นั่งสุวรรณหงษ์ ขุนนางทั้งปวงรับพระโองการพญาเพทราชาว่า ทำไมท่านทั้งปวงมารับพระโองการเรา ขุนนางทั้งปวงพร้อมกันว่า พระองค์ควรจะเปนใหญ่ปกป้องครองแผ่นดินอยู่แล้ว พญาเพชราชาจึงว่า เราจะช่วยรักษาว่าราชการไปพลางกว่าผู้มีบุญจะมีมานี่พอจะได้อยู่ แล้วมีพระราชโองการสั่งให้เชิญพระโกษฐขึ้นบนพระมหาปฤษฎาธารพระที่นั่งสุวรรณหงษ์ กำนัลแสงถวายเครื่องต้น เจ้าพนักงานเอาเรือพระที่นั่งสีสักลาดสองลำเข้ามาประทับ เสด็จลงเรือพระที่นั่งสีสักลาดองค์ละลำ ลอยลงมาท้ายพระที่นั่งสุวรรณหงษ์ เสด็จลงถึงตำบลบ้านตลุง เพลาประมาณสองทุ่มเศษ พระบรมสารีริกธาตุเสด็จปาฏิหารผ่านน่าเรือพระที่นั่งสุวรรณหงษ์วงเวียนรอบเรือพระที่นั่งนั้น พญาไชยทัน พระราชโกษา หลวงราชาพิมล ขุนสมเด็จพระขัน หลวงประไชยชีพ ซึ่งลงในเรือพระที่นั่งสุวรรณหงษ์นั้น ร้องกราบทูลพระเจ้าอยู่หัว ๆ ตรัสว่า เห็นแล้ว ครั้นเรือพระที่นั่งลงมาถึงพระนคร ประทับขนาน มีพระราชโองการให้เชิญพระบรมศพ ให้พระสนมเชิญเครื่องเชิญพระแสงตามธรรมเนียม ถือเครื่องสูงแลหามพระราชยานก็ผู้หญิง เชิญพระบรมศพขึ้นไปไว้ณพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ ครั้นส่งเสด็จแล้ว พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็เสด็จออกลอยเรืออยู่สระบัว ทรงพระกรุณาให้สถาปนาพระที่นั่งบันยงครัตนาด ถึงเดือนสี่แล้ว จวนพระราชพิธีตรุศ เสด็จปราบดาภิเศก ทรงพระนาม สมเด็จพระมหาบุรุษราชบพิตรเจ้า จัดพระอรรคมเหษีเดิมเปนฝ่ายขวา จัดสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระนารายน์เปนเจ้า แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าทอง สองพระองค์ เปนฝ่ายซ้าย ฉิมบุตรภรรยาพนักงานของกินตั้งขึ้นเปนเจ้าอยู่นางพญา ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอรับพระบัณฑูรฝ่ายน่า เอาหม่อมแก้วบุตรท้าวศรีจุฬาลักษณ์ผู้น้องเปนกรมขุนเสนาบริรักษ์ ธิดาพันวสา น้อย
ใหญ่
พระราชทานเครื่องสูงแลเครื่องราชาบริโภค รับพระบัญชา นายทรงบาศหลานเธอเปนพระอภัยสุรินทร์กรมขุนทิพพลภักดิ พระราชทานเครื่องสูงแลเครื่องราชาบริโภค รับพระบัญชา เอาขุนองค์เปนพญาสุรสงคราม พระราชทานเครื่องสูง เอานายบุญมากเปนเจ้าพญาวิชิตภูบาล พระราชทานเครื่องสูง ให้อยู่วังหลัง ทรงพระกรุณาตรัสว่า วัดพญาแมนเราได้อุปสมบท ให้ไปสถาปนาพระวิหารการเปรียญขึ้น แล้วทรงพระราชูทิศกัลปนาส่วยขึ้นพระอารามนั้นเปนอันมาก บ้านป่าตองก็เปนที่ไชยราชศรีสวัสดิมงคล ทรงพระราชูทิศศรัทธาสถาปนาเปนพระอาราม สร้างพระอุโบสถวิหารการเปรียญเสนาสนกุฎีเปนพระรัตนไตรยบูชา สั่งให้หมื่นจันทราชช่างเคลือบ ๆ กระเบื้องสีเหลืองมุงหลังคาพระอุโบสถ แล้วถวายพระนามพระอารามชื่อ บรมพุทธาราม เจ้าอธิการถวายพระนามชื่อ พระญาณสมโพธิ ถวายกับปิยการกต่าง ๆ เปนอันมาก ๚

 ลุศักราช ๑๐๕๒ ปีมเมีย โทศก พระอรรคมเหษีฝ่ายซ้ายทั้งสองพระองค์ ๆ หนึ่งเปนพระราชธิดาสมเด็จพระนารายน์เปนเจ้า มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อว่า พระราชสมภาร พระองค์หนึ่งเปนพระมเหษีเปนพระราชบุตรเจ้าฟ้าทอง ๆ ร่วมพระราชบิดากับสมเด็จพระนารายน์เปนเจ้า มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อ นารายน์ธิเบศร์ ๚

 ลุศักราช ๑๐๖๐ ปีขาล สัมฤทธิศก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปทอดพระเนตรมวยอยู่ณเพนียด อ้ายธรรมเถียรปลอมว่าเปนเจ้าฟ้าอภัยทัศซึ่งเอาไปทุบเสียณวัดซาก เอาช้างมงคลรัตนาศน์ซึ่งอยู่ลพบุรีขี่เข้ามา ไพร่ซึ่งมาด้วยนั้นประมาณ ๕๐๐ ไพร่ชาวนาเกี่ยวเข้าถือหอกบ้าง คานหลาวบ้าง ขุนหลวงกรมพระราชวังบวรฯ กราบทูลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๆ ตรัสว่า ถ้าผู้มีบุญมาจริงแล้ว เราจะยกให้ กรมพระราชวังเสด็จอยู่ป้อมมหาไชย ธรรมเถียรยืนช้างอยู่ตีนรอ มีพระบัณฑูรให้ตำรวจไปพิเคราะห์ดูตัวให้แน่ ตำรวจกลับมากราบทูลว่า มิใช่เจ้าฟ้าอภัยทัศ จึงมีพระบัณฑูรให้วางปืนใหญ่ออกไปพร้อมกันทั้งแปดบอก พวกธรรมเถียรก็แตกไปในเพลาค่ำ รุ่งเช้า จับตัวธรรมเถียรได้ในสวนดอกไม้วัดสีฟัน เอาไปประหารชีวิตรเสีย พรรคพวกทั้งนั้นเอาไปเปนตะพุ่น ๚

 ลุศักราช ๑๐๖๕ ปีมแม เบญจศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรเสด็จสวรรคต เมื่อได้ราชสมบัติ พระชนม์ได้ ๕๑ อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี ๚

 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวรฯ ขึ้นเสวยราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอสองพระองค์ พระเชษฐาพระชนม์ได้ ๒๔ พระวสา พระอนุชาพระชนม์ได้ ๒๐ พระวสา รับพระบัณฑูรทั้งสองพระองค์ แล้วให้จับเจ้ากรมขุนเสนาบริรักษ์ว่า คบคิดกันกับอำมาตย์หลอ พระรักษมณเฑียร เจ้าพระองค์ แขก/ดำ ว่า ซ่องสุมผู้คนคิดขบถ มิได้ถวายเครื่องสาตราวุธ ให้เอาไปประหารชีวิตรเสียสิ้น อยู่มาอิกสองวัน จับเจ้าพระขวัญให้เอาไปสำเร็จโทษเสียณวัดโคกพญา ๚

 ลุศักราช ๑๐๖๗ ปีรกา สัปตศก พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปณเมืองพระพิศณุโลก ถึงที่ประทับโพธิ์ทับช้าง มีพระโองการตรัสว่า สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปตีเมืองล้านช้าง สมเด็จพระมารดาทรงพระครรภ์แก่ เสด็จขึ้นมาส่ง ตั้งจวนใต้ต้นมะเดื่อ ประสูตรกู จึงให้สถาปนาพระวิหาร พระอุโบสถ พระสถูป ที่จวนนั้น เสด็จขึ้นไปเมืองพระพิศณุโลก ประทับแรมอยู่ ๗ เวน เสด็จกลับลงมาพระนคร ๚

 ศุภมัศดุ ศักราช ๑๐๖๘ ปีจอ อัฐศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปล้อมช้างตำบลยางคลองทอง ได้ช้างพลาย ๖ ศอก ๕๐ ช้าง ได้ช้าง ๕ ศอกคืบ ๗๐ ช้าง ได้ช้างพัง ๓๒๐ ช้าง แล้วเสด็จกลับลงมาพระนคร มีพระโองการโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกปรือทแกล้วทหาร จะเสด็จไปเอาเมืองหงษา ๚

 ในปีนั้น หม่อมเดโชกินเมืองนคร จับปลัดฆ่าเสีย มีตราให้หาก็มิได้เข้ามา จึงยกทัพออกไปจะจับหม่อมเดโช ๆ ขับคนขึ้นน่าที่เชิงเทินต่อรบพุ่งเปนสามารถ พระไกรพลแสนอยู่ในเมืองเปนใจด้วยทัพหลวง ให้คนหนีจากน่าที่เชิงเทิน กองทัพจึงเข้าเมืองได้ หม่อมเดโชหนีไปได้ กองทัพยกกลับมา ๚

 ลุศักราช ๑๐๗๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ให้สถาปนาพระมณฑปพระพุทธบาท ๚

 ศักราช ๑๐๗๗ ปีมแม สัปตศก เสด็จขึ้นไปฉลองพระพุทธบาท ๗ เวน ทรงพระประชวร เสด็จทรงพระที่นั่งสุวรรณราเชนทร์เสด็จลงมาถึงกรุง ขึ้นพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ได้ ๗ เวน ประชวรหนักลงแปลงสถานลงมาพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ เพลาเช้า พระชนม์ ๒๗ พระวสา เปนกรมพระราชวังบวรฯ อยู่ ๑๕ ปี ได้เสวยราชสมบัติ๗ ปี พระชนม์ได้ ๔๙ พระวสา เสด็จสวรรคต ๚

 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสององค์แต่งพระบรมศพถวายพระเพลิงพระราชบิดาเสร็จ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเชษฐาธิราชพระชนม์ ๒๔ ขึ้นเปนกรมพระราชวังบวรฯ อยู่ ๗ ปี ๚

 เสด็จทรงนามพระรามาธิบดีแตกนักพระอินทร์เข้ามาแต่กรุงกัมพูชา ทรงพระกรุณาให้ออกไปรับ ปลูกตำหนักให้อยู่ตำบลวัดค้างคาว ๚

 ศักราช ๑๐๘๐ ปีจอ สัมฤทธิศก อสนีบาตลงยอดวัดมงคลบพิตร ไหม้เครื่องไม้ลงมาจนผนัง ๗ วันจึงดับ พระสอพระประธานหัก ๚

 ศักราช ๑๐๘๑ ปีกุญ เอกศก ทรงพระกรุณาให้เกณฑ์กองทัพเรือพล ๕๐๐๐ ทัพบกคน ๕๐๐๐ ให้พญาจักรีบ้านโรงฆ้องเปนแม่ทัพบก พญาโกษาจีนเปนแม่ทัพเรือกำปั่นสองลำ ยกออกไปรบญวนลแวกตีแตกเข้ามา ๚

 ศุภมัศดุ ศักราช ๑๐๘๔ ปีขาล จัตวาศก ทรงพระราชศรัทธาให้บุรณพระเจดีย์พระอุโบสถวัดมงคลบพิตรให้กว้างให้ยาวออกกว่าเก่า ๚

 ลุศักราช ๑๐๘๙ ปีมแม นพศก ทรงพระประชวรชิวหา ในปีนั้น สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรฯ เสด็จออกไปทรงผนวชณวัดกุฎีดาว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอภัยถามนายบุญมีราชวังเมืองกรมช้างพระราชวังบวรฯ ว่า ตัวไรมีฝีงา นายบุญมีราชวังเมืองกราบทูลว่า ช้างพลายสระสงสาร ช้างพลายแก้ว พลายรัดกลึง รับวงพาดแลชนเถื่อน รับสั่งให้เอาช้างสามช้างไปพระราชวังหลวง แล้วสั่งว่า ช้างม้าซึ่งอยู่วังน่านั้นอย่าให้ตะพุ่นจ่ายหญ้าให้ หลวงมณเฑียรบาล หลวงกลาโหม เปนโทษครั้งปลงศพพระอาจารย์วัดคูหา เข้าไปกราบทูลพระกรุณาให้เอามาไว้ในพระราชวังหลวง จึงมีพระราชโองการให้ไปต่อว่าขุนหลวงกรมพระราชวังบวรฯ ก็ยอมถวาย จึงทรงพระกรุณาเอาหลวงมณเทียรบาลใส่ที่พระบำเรอภักดิ หลวงกลาโหมเปนที่หมื่นไวยวรนารถ สองคนนี้ พิดทูลยุยงพระเจ้าอยู่หัวแลสมเด็จพระเจ้าท้าวเจ้าฟ้าอภัยว่า ถ้าหาหลวงจ่าแสน ขุนชำนาญ นายชิดภูบาล มิได้ การดำริห์สิ่งใดก็จสะดวก ๚

หมดฉบับเพียงเท่านี้



ปฐมวงษ์

 จะขอกล่าวถึงความประวัติเปนไปต่าง ๆ ในโลกย์นี้จนถึงกาลเมื่อละโลกย์นี้ล่วงไปยังปรโลกย์ของพระองค์ท่านซึ่งเปนบุรพบุรุษในพระบรมราชวงษ์อันนี้ซึ่งเปนชั้นต้น คือ สมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดี แลสมเด็จพระไปยิกาใหญ่ แลสมเด็จพระไปยิกาน้อย ๓ พระองค์ แลชั้นสอง คือ พระเอารส พระธิดา ของสมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดีทั้ง ๗ พระองค์ ดังออกพระนามมาแต่ก่อน ตามกำหนดประวัติเวลาของพระองค์นั้น ๆ เรียงไปในลำดับโดยสังเขป เพื่อจะให้ผู้อ่านผู้ฟังได้สติปลงพระไตรลักษณปัญญา ปลงเห็นอนิจจลักษณ ทุกขลักษณ อนัตตลักษณ เพราะได้สดับเรื่องนี้ จะได้ไม่ปราศจากประโยชน์ในทางภาวนามัยกุศล ซึ่งเปนกุสโลบายอันใหญ่อันงามกว่ากุศลอื่น ๚

 สมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดีนั้น ทราบแต่ว่า ได้ดำรงพระชนมายุแลศุขสมบัติ ครอบครองสกุลใหญ่ แลมีอำนาจในราชกิจดังกล่าวแล้วอยู่สิ้นกาลนานจนตลอดเวลาพม่าข้าศึกเข้าล้อมกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาในคราวที่กรุงจะแตกทำลายนั้น ๚

 สมเด็จพระไปยิกาพระองค์ใหญ่นั้น ได้มีพระเอารส พระธิดา ๕ พระองค์ แล้วก็สิ้นพระชนม์ล่วงไปโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว แต่เมื่อสิ้นพระชนม์นั้น พระชนมายุเท่าไรไม่ทราบถนัด พระไปยิกาพระองค์น้อยได้รับปรนิบัติสมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดีในที่นั้น ต่อมา ได้ประสูตรพระธิดาพระองค์หนึ่ง แล้วจะสิ้นพระชนม์เมื่อใดก็หาได้ความเปนแน่ไม่ ได้ความเปนแน่แต่ว่า เมื่อเวลาพม่าเข้าล้อมกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาเวลาที่สุดนั้น สมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดีมีพระดำริห์จะออกจากกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาหลีกหนีข้าศึกไปอยู่ให้ห่างไกล จะชักชวนพระเอารสพระธิดาทั้งปวงตามเสด็จไปด้วยพร้อมกัน พระเอารสพระธิดาทั้ง ๖ พระองค์ที่ทรงพระเจริญแล้วนั้นได้แยกย้ายไปตั้งสกุลอื่น มีพระบุตร พระบุตรี เกี่ยวข้องเปนห่วงใยพัวพันมากมาย จะรวบรวมมาพร้อมเพรียงกันแล้วคุมเปนพวกใหญ่ออกไปโดยง่ายหาได้ไม่ เมื่อได้ช่อง จึงได้พาแต่พระกุมารพระองค์น้อยกับหญิงบาทบริจาริกซึ่งเปนหม่อมมารดาของพระกุมารนั้นไปอาไศรยอยู่ณเมืองพระพิศณุโลก ได้ทรงปรนิบัติแด่เจ้าเมืองพระพิศณุโลกซึ่งทราบไปว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาอยู่ในเนื้อมือพม่าข้าศึกแล้ว ก็ถืออำนาจตั้งตนเปนเจ้าแผ่นดินใหญ่ขึ้นในเวลานั้น ได้ที่สมุหนายกอรรคมหาเสนาธิบดี ๚

 เจ้าเมืองพระพิศณุโลกนั้นมีจิตรกำเริบ บังคับให้ทอดโฉนดบาดหมายอ้างบังคับตนเรียกว่า พระราชโองการ โดยไม่มีการพิธีราชาภิเศก อยู่ได้ ๗ วัน ก็ถึงแก่พิราไลย ก็เมื่อเจ้าเมืองพระพิศณุโลกถึงแก่พิราไลยแล้ว องค์สมเด็จพระไปยกาธิบดีจะทรงปรนิบัติอยู่ประการใดความไม่ทราบถนัด ทราบแต่ว่า ภายหลัง ทรงพระประชวรแล้วเสด็จสวรรคตอยู่ในเมืองพระพิศณุโลก เมื่อเวลากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาแตกทำลายแล้วมิได้นาน กำลังการบ้านเมืองยังเปนจลาจลอยู่นั้น จึงพระโอรส คือ กรมหลวงจักรเจษฎา กับหม่อมมารดาซึ่งตามเสด็จไปด้วยนั้น ได้มีความกตัญญูกตะเวทีได้จัดการถวายพระเพลิงตามกำลังที่จะทำได้แล้ว ได้เชิญพระบรมอัฐิ กับพระมหาสังข์อุตราวัฏซึ่งเปนของสำหรับสกูลสืบมาแต่ก่อนเปนสำคัญ คืนนำกลับลงมา แล้วได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เมื่อครั้งเสด็จอยู่วังบ้านหลวงในกรุงธนบุรีเมื่อแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีนั้น เปนความชอบอันยิ่งใหญ่ของกรมหลวงจักรเจษฏาแลคุณมาซึ่งเปนหม่อมมารดานั้นอยู่ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเศกแล้ว จึ่งได้เชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกนารถนั้นใส่พระโกษฐทองคำประดับด้วยพลอยทับทิมตั้งประดิษฐานในหอพระที่นมัสการในพระบรมมหาราชวังสำหรับทรงสักการบูชาทุกค่ำเช้ามิได้ขาด แลสำหรับให้พระราชวงษานุวงษ์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทได้กราบถวายบังคมในวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแทนธรรมเนียมเดิมซึ่งเปนโบราณจารีตมีนิยมให้คำนับพระเชษฐบิดรซึ่งเปนพระราชปฎิมากรรูปของสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีเปนปฐม คือ พระองค์ซึ่งสร้างกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหานครแต่ก่อนนั้น ได้เปนที่นมัสการของพระเจ้าแผ่นดิน แลเปนที่ถวายบังคมของพระราชวงษานุวงษ์แลข้าราชการในวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในพระนครนั้นสืบ ๆ มา จนสิ้นแผ่นดินกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยานั้น ๚

 กล่าวด้วยประวัติของท่านซึ่งเปนบุรพบุรุษชั้นต้นสิ้นแต่เท่านี้ ๚

 กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีนั้น กับทั้งพระภัศดา พระโอรสพระบุตรี เมื่อกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยายังไม่แตกทำลาย จะตั้งอยู่ตำบลใดไม่ทราบถนัด ทราบแต่ว่า พระภัศดาของท่านพระองค์นั้นมีนามว่า หม่อมเสม ได้รับปรนิบัติในราชการแผ่นดินเปนที่พระอินทรรักษา เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้ายฝ่ายพระบวรราชวัง ได้ประสูตรพระโอรส ๓ พระธิดา ๑ ซึ่งออกพระนามมาแล้วนั้นก่อนแต่กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยายังไม่แตกทำลาย ก็ฝ่ายพระภัศดานั้นจะถึงแก่พิราไลยเมื่อใดไม่ทราบเปนแน่ เปนแต่เมื่อครั้งแผ่นดินกรุงธนบุรีไม่มีแล้ว มีแต่กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี กับพระโอรสพระธิดาทั้ง ๔ เสด็จมาประทับตั้งอยู่ที่ตำบลสวนมังคุด ซึ่งบัดนี้เปนที่วังเก่าของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ซึ่งกรมหมื่นเทวานุรักษ์แลหม่อมเจ้าในกรมขุนอิศรานุรักษ์ยังครอบครองอยู่นั้น แต่เวลานั้น เรียกว่า บ้านปูน ตามนามสถานที่แต่บุราณมา ๚

 กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีได้ถวายพระโอรสพระธิดาให้ทำราชการฝ่ายน่าฝ่ายในในแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรี แลได้พึ่งพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์แลพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวัง ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์นั้นทั้งสองพระองค์ ซึ่งได้ทำราชการในตำแหน่งมีอำนาจใหญ่เวลานั้นด้วย จึงได้คุ้นเคยเฝ้าแหนได้ในเจ้ากรุงธนบุรีเนือง ๆ ๚

 กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์นั้น เมื่อครั้งกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ได้พระภัศดาเปนบุตรที่ ๔ ของมหาเศรษฐีซึ่งเปนผู้สืบเชื้อวงษ์ลงมาแต่มหาเสนาบดีเมืองปกิ่งแต่ครั้งแผ่นดินเจ้าปกิ่งเม่งไท้โจซึ่งเปนพระเจ้าปกิ่งที่สุดในวงษ์หมิง ครั้นพระเจ้าปกิ่งเม่งไท้โจเสียเมืองแก่พวกตาดแล้ว ท่านเสนาบดีนั้นกับเสนาบดีอื่นหลายนายไม่ยอมตัดผมมวยไว้หางเปียตามพวกตาด จึงได้หนีออกจากแผ่นดินจีนมาอยู่ในแผ่นดินญวนบ้าง แผ่นดินไทยบ้าง สืบสกูลต่อมาเปนจีนอย่างเก่า ไม่ได้ไว้หางเปีย ๚

 พระภัศดาในกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์นั้นมีนามว่า เจ้าขรัวเงิน มีพี่หญิงชื่อ ท่านนวล ๑ ท่านเอี้ยง ๑ มีพี่ชายชื่อ เจ้าขรัวทอง ๑ ได้ตั้งนิวาศฐานอยู่ตำบลถนนตาล เปนพานิชใหญ่ ชาวกรุงเก่าเรียกว่า เศรษฐีถนนตาลในกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหานคร พระมารดาของพระภัศดาในกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์นั้นเปนน้องร่วมมารดากับภรรยาเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ ว่าที่โกษาธิบดีในแผ่นดินพระบาทสมเด็จบรมธรรมิกมหาราชาธิราช ภรรยาเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ซึ่งเปนป้าของพระภัศดาในกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์นั้นมีบุตรกับเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ผู้หนึ่งชื่อ นายฤทธิ์ นายฤทธิ์ เมื่อเปนหนุ่มเจริญแล้ว เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ ผู้บิดา ได้สู่ขอหม่อมบุนนาค เปนบุตรพระยาวิชิตณรงค์ เจ้ากรมเขนทองซ้าย มาให้เปนภรรยา ได้แต่งงานอาวาหวิวาหมงคลกัน พระยาวิชิตณรงค์นั้นเปนพี่ชายร่วมบิดามารดากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราชซึ่งได้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ตลอดเวลากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ครั้นกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาแตกทำลายเสียแล้ว ได้ตั้งตนเปนเจ้านั้น ๚

 กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์นั้น เมื่อกรุงเทพทราวดีศรีอยุทธยายังไม่แตกทำลาย ได้มีพระโอรส ๒ พระธิดา ๑ ซึ่งออกพระนามในข้างต้นแล้วนั้น ครั้นเมื่อปีกุญ นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ พระพุทธสาสนกาล ๒๓๑๐ พรรษา พวกพม่าข้าศึกเข้ารุกรานทำลายล้างกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาเสียได้ ชาวพระนครทั้งปวงซึ่งมีครอบครัวสกูลต่าง ๆ พากันแตกแยกย้ายกระจายกระจัดหนีไป ครั้งนั้น กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ทรงพระครรภ์อยู่ได้ ๔ เดือนเศษแล้ว พร้อมกันกับพระภัศดา กับพระธิดา ตามเสด็จสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ออกไปอาไศรยอยู่ด้วยในนิวาศฐานที่เดิมของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ณตำบลอัมพวาพาหิรุทยานประเทศ ครั้นถึงวันกาฬปักษ์ ดิถีที่สิบสอง นับเบื้องน่าแต่โปฐบทบุรณมี มีอาทิตยวารเปนกำหนด จึงได้ประสูตรพระธิดาพระองค์หนึ่งซึ่งได้นับโดยลำดับว่า เปนที่ ๔ คือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ๚

 ครั้งนั้น เจ้าคุณชีโพ ผู้เปนพระน้องนางของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ได้รับอุปถัมภ์บำรุงเลี้ยง เปนเหตุให้สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ได้ทรงนับถือว่า เปนพระมารดาเลี้ยงมา ครั้นเมื่อแผ่นดินกรุงธนบุรีตั้งขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จเข้ามาปรนิบัติในราชการ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ กับพระภัศดา แลพระ (ฉบับตก) ก็ได้ตามเสด็จเข้ามาตั้งนิวาศฐานบ้านเรือนโรงแพอยู่ที่ตำบลกระฎีจีน ที่นั้น บัดนี้ เปนพระวิหารแลหอไตรวัดกัลยาณมิตร แพลอยลงในคลองแม่น้ำใหญ่ตรงวัดโมฬีโลกย์ข้ามไปข้างใต้ ๚

 แต่กรมหลวงเทพหริรักษ์ซึ่งเปนพระโอรสใหญ่ของกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์นั้น เมื่อเวลากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาแตกทำลายนั้น ทรงผนวชเปนสามเณรตามพระอาจารย์ไปทางอื่น ได้ลาผนวชกลับมายังสกูลเมื่อมาตั้งอยู่ในตำบลนี้แล ๚

 ฝ่ายนายฤทธิ์ บุตรเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ เมื่ออยู่กับหม่อมบุนนาค ภรรยา มีบุตรีหนึ่งชื่อ หม่อมอำพัน ครั้นเมื่อกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาแตกทำลายแล้ว พาบุตรพาภรรยาหนีไปเมืองนครศรีธรรมราชเข้าพึ่งอาไศรยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลบ้านสามอู่เหนือเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาประมาณทาง ๑๐๐ เส้น ครั้งนั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช เมื่อจะตั้งตัวเปนเจ้า ได้ปฤกษาขนบธรรมเนียมต่าง ๆ กับนายฤทธิ์ ผู้หลานเขย เพราะนายฤทธิ์เปนบุตรท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ เข้าใจมากในขนบธรรมเนียมราชการแผ่นดิน เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมีความยินดีต่อสติปัญญาความคิดอ่านของนายฤทธิ์มากนัก เมื่อตั้งตนเปนเจ้าแผ่นดินขึ้นแล้ว จึงตั้งนายฤทธิ์ให้เปนกรมพระราชวัง เรียกว่า วังน่าเมืองนครศรีธรรมราช ท่านบุนนาคเรียกว่า เจ้าครอกข้างใน หม่อมเจ้าอำพันนั้นเปนพระองค์เจ้าอำพัน กิติศัพท์นั้นทราบมาถึงพระภัศดาของกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ จึงมีความดำริห์ไม่เห็นชอบด้วยนายฤทธิ์ ผู้เปนญาติซึ่งเปนหลานเขยเจ้านครศรีธรรมราช มิใช่ญาติอันสนิท เข้าไปรับที่ตำแหน่งใหญ่ นานไปภายน่า เห็นว่า ไภยจะบังเกิดมี อนึ่ง ครั้งนั้น ก็ได้ทราบความประสงค์ของเจ้ากรุงธนบุรีว่า จะยกกองทัพออกไปตีปราบปรามเมืองนครศรีธรรมราชสักเวลาหนึ่งเมื่อว่างราชการทัพรบกับพม่า กลัวว่า ถ้าเปนอย่างนั้นจริง นายฤทธิ์จะพลอยตายด้วยเจ้านครศรีธรรมราช มีความปราถนาจะออกไปลองใจนายฤทธิ์ซึ่งเปนวังน่าเมืองนครศรีธรรมราชนั้น ยังจะนับถือว่า เปนญาติอยู่ฤๅหาไม่ ถ้านับถือรับรองดี ก็จะว่ากล่าวให้สติเสียให้รักษาตัว ด้วยเหตุนี้ พระภัศดาในกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ได้มอบถิ่นฐานบ้านเรือนทาษกรรมกรทั้งปวงให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ ซึ่งเปนบุตรผู้ใหญ่ อยู่รักษา แล้วพากรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ กับพระธิดาใหญ่น้อยสองพระองค์ กับชายหญิงสองสามคน ลงเรือทเลแล่นล่องลงไปเมืองนครศรีธรรมราชในฤดูลมว่าวปลายปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๓๐ ครั้นไปถึงแล้ว ก็ขึ้นไปเมืองนครศรีธรรมราชนั่งอยู่ที่ริมทางเมื่อวังน่าเมืองนครจะมีที่ไป ครั้นเมื่อเสลี่ยงวังน่าเมืองนครมาใกล้ ก็กระแอมไอให้เสียงเปนสำคัญ วังน่าเมืองนครได้เห็นแล้ว ก็มีความยินดี ลงจากเสลี่ยงออกมารับ แล้วปราไสโดยฉันญาติ แล้วพาไปที่อยู่พร้อมกับสมเด็จพระศรีสุดารักษ์แลพระธิดาสองพระองค์ ครั้งนั้น วังน่าเมืองนครชวนจะให้อยู่ด้วยแลว่า จะพาไปให้เฝ้าเจ้านครศรีธรรมราช พระภัศดาในกรมพระสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ไม่เห็นด้วย ไม่ยอมเข้าไปหาเจ้านครศรีธรรมราช แลไม่ยอมอยู่ด้วย ขอให้ปิดความเสีย แล้วได้ให้สติดังคิดไปนั้นทุกประการ วังน่าเมืองนครก็เห็นชอบด้วย ได้รับว่า ภายหลังจะค่อยคิดอ่านเอาตัวออกหากให้พ้นไภยตามความคิดนั้น ครั้งนั้น ชาวเมืองนครศรีธรรมราชบางพวกกระซิบกระซาบเล่าฦๅกันว่า ผู้ซึ่งออกไปจากกรุงธนบุรีนั้นเปนผู้อาสากรุงธนบุรีไปเกลี้ยกล่อมวังน่าเมืองนครศรีธรรมราชให้เปนไส้ศึก ๚

 ด้วยเหตุที่กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์กับพระภัศดามีความสดุ้ง รีบลาวังน่าเมืองนครศรีธรรมราชกลับเข้ามากรุงธนบุรีในฤดูลมสำเภาปลายปีชวด สัมฤทธิศก กับปีฉลู เอกศก ต่อกัน ครั้งนั้น เจ้ากรุงธนบุรีทราบว่า พระภัศดาของกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ออกไปเมืองนครศรีธรรมราชกลับเข้ามาถึงใหม่ ก็ให้มีผู้รับสั่งไปหามาซักไซ้ไต่ถามข้อราชการ ก็ได้มาให้การว่า เปนแต่ยากจน ก็หาสิ่งของเปนสินค้าขาย แลได้ให้การข่าวบ้านเมืองแต่ตามเห็นเล็กน้อยโดยสมควร ความซึ่งว่า ได้ไปพบวังน่าเมืองนครศรีธรรมราชนั้น ไม่ให้การ เจ้ากรุงธนบุรีจึงดำริห์ไว้ว่า เมื่อใดว่างราชการทัพกับพม่า จะได้ยกทัพไปเมืองนครศรีธรรมราช จะให้พระภัศดากรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์เปนผู้นำทัพนำทาง ฝ่ายพระภัศดากรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ไม่ปราถนาจะอาสาเจ้ากรุงธนบุรีดังนั้น จึงบอกป่วยว่าเปนง่อยเสียก่อนแต่เริ่มการทัพเมืองนครศรีธรรมราช ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ได้ทำราชการเปนตำแหน่งใดในแผ่นดินนั้นเลย ๚

 กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ในแผ่นดินกรุงธนบุรี ได้ประสูตรพระโอรสอิกสองพระองค์ซึ่งออกพระนามมาข้างหลังแล้วนั้น ในปีขาล โทศก จุลศักราช ๑๑๓๒ พระองค์หนึ่ง ปีมเสง เบญจศก จุลศักราช ๑๑๓๕ พระองค์หนึ่ง พระภัศดากรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ก็สิ้นพระชนม์เสียแต่ในเวลาเปนกลางแผ่นดินกรุงธนบุรี ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเศกแล้ว กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ทั้งสองพระองค์ ก็ได้ตามเสด็จเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีมีพระตำหนักอยู่ข้างหลังพระมหามณเฑียร เรียกว่า พระตำหนักใหญ่ ได้ว่าราชการเปนใหญ่ทั่วไปแทบทุกอย่าง แลว่าการวิเศษใน พระคลังเงิน พระคลังทอง แลสิ่งของต่าง ๆ ในพระราชวังชั้นในทั้งสิ้น ๚

 กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์นั้นมีพระตำหนักอยู่เบื้องหลังหมู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแลพระวิมานรัตยา เรียกว่า พระตำหนักแดง ได้ทรงราชการทรงกำกับเครื่องใหญ่ในโรงวิเศษต้น แลการสดึง แลอื่น ๆ เปนหลายอย่าง กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีแลกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ทั้งสองพระองค์นั้นได้เสด็จดำรงทรงพระชนม์อยู่มานานในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ถึง ๑๕ ปี ครั้นถึงปีมแม เอกศก จุลศักราช ๑๑๖๑ ทั้งสองพระองค์นั้นทรงพระประชวรพระโรคชรา กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์พระชนมายุ ๖๐ ปีเศษยังไม่ถึง ๗๐ เสด็จทิวงคตลงก่อน ล่วงไปได้ ๓ เดือนเศษ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีมีพระชนมายุได้ ๗๐ ปีเศษไม่ถึง ๘๐ เสด็จทิวงคต พระศพได้ไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยกัน ได้ถวายพระเพลิงพร้อมกัน ๚

 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์นั้น เมื่อครั้งกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา หาได้ทำราชการในหลวงไม่ เพราะเสด็จไปอยู่กับสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ณตำบลอัมพวาโดยนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หลัง เปนแต่เข้าแอบอิงอาไศรยมีสังกัดอยู่ในพระองค์เจ้าอาทิตย์ ซึ่งเปนพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิราช เปนเอารสของกรมพระราชวังในแผ่นดินนั้น ครั้นเมื่อแผ่นดินสุริยามรินทร ได้เปนพระองค์เจ้า โปรดปรานในพระเจ้าแผ่นดิน มีผู้นิยมนับถือมาก ครั้นมาถึงแผ่นดินกรุงธนบุรี ได้ทรงทำราชการในตำแหน่งเปนพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา แล้วเลื่อนที่เปนพระยาอนุชิตชาญไชย[1] แล้วเลื่อนที่ต่อขึ้นไปเปนเจ้า[2] พระยายมราช เสนาบดีในกรมพระนครบาล แล้วจึงได้เลื่อนที่เปนเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกเอกอุ ได้เปนแม่ทัพทำการสงครามกับพม่า แลเขมร แลลาว มีความชอบได้ราชการมากหลายครั้ง ภายหลัง จึงได้เลื่อนที่เปนสมเด็จเจ้าพระยาพระมหากระษัตรศึก พิฦกมหิมา ทุกนคราระอาเดช สรรพเทเวศรานุรักษ์ เอกอรรคบาทมุลิกา กรุงเทพธนบุรีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชมหาสถาน อวตารสถิตย์ บพิตรพิไชย อภัยพิริยปรากรมพาหุ ได้ทรงพระเสลี่ยงงา กั้นพระกลด แลมีเครื่องทองต่าง ๆ เปนเครื่องยศเสมอเจ้าต่างกรม เมื่อปีกุญ เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ กรุงธนบุรีมีความต้องการจะต้องไปรบเมืองเวียงจันท์แก้แค้นที่เจ้าเวียงจันท์บุญสารยกมาทำแก่เมืองนครจำปาศักดิซึ่งมาขึ้นแล้วแก่กรุงธนบุรี แลเจ้าเวียงจันท์บุญสารไปขอกำลังพม่ามาช่วยด้วยนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ซึ่งเปนสมเด็จเจ้าพระยาพระมหากระษัตรศึกในเวลานั้น กับพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ซึ่งเปนเจ้าพระยาสุรสีห์พิศณวาธิราชในเวลานั้น ต้องยกพยุหโยธาขึ้นไปรบเมืองเวียงจันท์ มีไชยชำนะตีเอาเมืองเวียงจันท์ได้ ได้ชนชเลยแลสิ่งของมาเปนอันมาก ครั้งนั้น ได้พระพุทธปฎิมากรแก้วมณีสีเขียว ที่เรียกว่า พระแก้วมรกฏ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกาลบัดนี้นั้น ลงมายังกรุงธนบุรีด้วยนั้น เปนเหตุมหัศจรรย์ดังนี้ เพราะพระแก้วพระองค์นี้ยังไม่มีผู้ใดในเมืองไทยไปได้มาตลอดเวลาแผ่นดินกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาแลแผ่นดินเมืองเหนือซึ่งล่วงแล้วมาหลายร้อยปี ๚

 ครั้นเมื่อปีฉลู ตรีศก จุลศักราช ๑๑๔๓ แผ่นดินเมืองเขมรซึ่งมาขึ้นกรุงธนบุรีอยู่แต่ก่อนนั้นกำเริบ พระยาพระเขมรลุกขึ้นจับพระองค์ราม ซึ่งเปนสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้ากรุงกัมพูชา ฆ่าเสีย แล้วแขงเมืองกระเดื่องกระด้างไป เพราะฉนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ซึ่งเปนสมเด็จเจ้าพระยาพระมหากระษัตรศึกในเวลานั้น กับพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ซึ่งเปนเจ้าพระยาสุรสีห์พิศณุวาธิราชในเวลานั้นต้องยกพยุหโยธาออกไปยังการทัพทำสงครามปราบปรามพวกเขมรอยู่ ๚

 ฝ่ายเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ได้พระพุทธปฎิมากรแก้วมณีองค์นี้มาถึงกรุงธนบุรีแล้ว ก็มีจิตรกำเริบเติบโตในอันใช่ที่ คือ มีสัญญาวิปลาศว่า ตนเปนผู้มีบุญศักดิใหญ่ เปนพระโพธิสัตว์ จะสำเร็จพระพุทธภูมิ ได้ตรัสเปนพระ ชนะแก่มาร เปนองค์พระศรีอาริยเมตไตรยในกัลปนี้ ก็คิดอย่างนั้นบ้าง ตรัสอย่างนี้บ้าง ทำไปต่าง ๆ บ้าง จนถึงเปนพระเจ้าแผ่นดินเสียจริต ทำการผิด ๆ ไปให้แผ่นดินเปนจลาจล ร้อนรนทั่วไปทั้งไพร่แลผู้ดีสมณพราหมณ์ชี เปนการผิดใหญ่ยิ่งหลายอย่างหลายประการยิ่งกว่าการร้อนของแผ่นดินซึ่งเคยมีมาแต่ก่อน พ้นที่จะร่ำจะพรรณา จึงเกิดข้าศึกเข้ามาล้อมวัง เจ้ากรุงธนบุรีต้องยอมแพ้แก่ข้าศึก ขอแต่ชีวิตรออกบรรพชา ฝ่ายพวกข้าศึกเข้ารักษาแผ่นดินอยู่ก็รักษาไปไม่ได้ การบ้านเมืองในกรุงธนบุรีก็ป่วนปั่นวุ่นวายไปต่าง ๆ ครั้งนั้น กรมพระราชวังหลัง ซึ่งเปนพระโอรสใหญ่ของกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี เวลานั้น เปนที่เจ้าพระยานครราชสิมา ได้ยกพวกพลเข้ามาปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินรักษากรุงธนบุรีไว้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เมื่อได้ทราบเหตุนั้นไปแล้ว ก็ยกกองทัพเสด็จกลับเข้ามากรุงธนบุรี ครั้งนั้น ผู้มีบันดาศักดิข้างน่าข้างในทั้งปวง พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ชีอาณาประชาราษฎร ก็มีความสโมสรโสมนัศพร้อมกันเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติรักษาแผ่นดินเปนที่พึ่งสืบต่อไป จึงได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ในปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ พระชนมายุ ๔๖ ปีถ้วน จึงได้ตั้งการสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยานี้ขึ้นเปนพระมหานครบรมราชธานี แลได้ทรงสร้างสิ่งต่าง ๆ คือ พระบรมมหาราชวัง แลพระอารามนั้น ๆ ได้ดำรงอยู่ในศิริราชสมบัติโดยผาสุกภาพ แลทรงประพฤติราชกิจนั้น ๆ บรรดาที่กล่าวแลจะกล่าวว่ามีว่าเปนในแผ่นดินนั้นทุกประการโดยยุติธรรมแลชอบด้วยเหตุผลแลกาลเทศะซึ่งเปนไปตลอดเวลาพระชนมายุของพระองค์แล้ว ก็ทรงพระประชวรพระโรคชรา เสด็จสวรรคตณวัน ๑๓ ค่ำ ปีมเสง เอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ ๚

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ยังมีพระราชโอรสพระราชธิดาพระองค์อื่น ๆ แต่หม่อมบาทบริจาริกข้าหลวงเดิมแต่ยังไม่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบ้าง แต่พระสนมนารีมีศักดิต่าง ๆ เมื่อเสด็จสถิตย์ในราชสมบัติบ้าง มากมายหลายพระองค์ สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์บ้าง ได้ทรงพระเจริญอยู่มานาน ได้เปนใหญ่ในราชการแผ่นดินในแผ่นดินต่อ ๆ มาบ้าง คงอยู่แต่ตามบันดาศักดิพระองค์เจ้า ไม่ได้ทรงทำราชการเปนแผนกบ้าง ครั้นจะออกพระนามนับไปเปนลำดับทางกถานี้ก็จะพิศดารมากไป แล้วจะสับจะไขว้ข้างในข้างน่า แลพระองค์ที่ปรากฎควรจะปรากฎ แลพระองค์ที่ไม่ปรากฎไม่ควรจะปรากฎนั้น ก็จะสับสนพัลวันกันนัก จะสังเกตยาก เพราะฉนั้น จะขอกำหนดออกพระนามแต่พระองค์ที่ได้เปนใหญ่ในตำแหน่งราชการปรากฎ แลไม่มีความผิดในราชการ ควรนับถือว่า พระนามนั้นเปนมงคล

พระราชเอารสซึ่งได้เปนเจ้าต่างกรมมีราชการได้บังคับอยู่ในแผ่นดินนั้นแลแผ่นดินลำดับมานั้น ที่ควรนับแต่ ๑๑ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าทับทิม เปนกรมหมื่นอินทรพิพิธ ได้ว่ากรมพระคชบาล แล้วภายหลัง ได้ว่ากรมแสงใหญ่ ๑ พระองค์เจ้าอภัยทัศ เปนกรมหมื่น แล้วเปนกรมหลวงเทพพลภักดิ เจ้าจอมมารดาเปนพระสนมเอกอุ บุตรพระยาจักรีเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งเจ้าเมืองนั้นขึงแขงตั้งตัวเปนเจ้านั้น ได้ว่ากรมพระคชบาล แลการอื่น ๆ บ้างพระองค์หนึ่ง พระองค์เจ้าอรุโณไทย เปนกรมหมื่นศักดิพลเสพย์ เจ้าจอมมารดาเปนพระสนมเอก ได้เปนเจ้าในเวลาหนึ่ง เพราะเปนบุตรเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พัด แลมารดานั้นเปนบุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งตัวเปนเจ้านคร ครั้งกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาแตกทำลายแล้วใหม่นั้น แลพระองค์เจ้าพระองค์นี้ได้เปนใหญ่ เปนอธิบดีว่าราชการกรมพระกระลาโหมแลหัวเมืองปากใต้ทั้งปวง ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ครั้นถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พระองค์เจ้าทับ เปนกรมหมื่นจิตรภักดี ว่าราชการช่างสิบหมู่ ๑

พระองค์เจ้าสุริยา เปนกรมหมื่น แล้วเปนกรมขุนแล้ว ภายหลัง เลื่อนเปนกรมพระรามอิศเรศ ๑ ได้ว่าการต่าง ๆ ไม่เปนตำแหน่ง ว่าความรับสั่งบ้าง เปนแม่กองทำการงานบ้าง

อิกพระองค์หนึ่ง คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เจ้าจอมมารดาเปนพระสนมโท บุตรพระราชเศรษฐี ทรงพระผนวชมาแต่ยังทรงพระเยาว์พระชนม์ได้ ๑๔ พรรษา เมื่อพระชนม์ครบ ๒๐ ได้อุปสัมปทาเปนพระภิกษุได้ ๔ พรรษา เปนอธิบดีสงฆ์ แล้วได้เลื่อนเปนเจ้าต่างกรมมีพระนามว่า กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงษ์ พระองค์นี้เปนอัจฉริยมนุษย์บุรุษรัตนอันพิเศษ ทรงพระปรีชาฉลาดรู้ในพระพุทธสาตรแลราชสาตรแบบอย่างโบราณราชประเพณีต่าง ๆ แลได้เปนอุปัธยาจารย์เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ในพระบรมราชวงษ์นี้มากหลายพระองค์ ภายหลังเมื่อในแผ่นดินประจุบันนี้ ได้เลื่อนเปนกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงษ์ฯ มหาปาโมกขประธานวโรดมบรมนารถบพิตร เสด็จสถิตย์ณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระองค์เจ้าฉัตร ๑ เปนกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ได้ว่าราชการกรมพระนครบาลในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ครั้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ว่าราชการกรมมหาดไทย กรมพระกระลาโหม เปนที่ทรงปฤกษาราชการแผ่นดิน

พระองค์เจ้าสุริยวงษ์ ๑ เปนพระองค์เจ้าเคราะห์ร้าย สบายบ้างไม่สบายบ้างแต่เดิมมา ครั้นถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัคไปทำราชการในพระบวรราช ได้เปนกรมหมื่นสวัสดิวิไชย ว่าราชการแทบทุกตำแหน่ง ครั้นมาในแผ่นดินประจุบันนี้ กลับลงมาทำราชการในพระบรมมหาราชวัง ได้เปนกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ ศุขวัฒนวิไชย

พระองค์เจ้าดารากร เปนกรมหมื่นศรีสุเทพ ว่าราชการกรมช่าง ๑๐ หมู่

พระองค์เจ้าดวงจักร ๑ ก็เปนพระองค์เจ้าพระเคราะห์ร้าย สบายบ้างไม่สบายบ้าง แต่แขงแรง ได้ราชการ ได้เปนกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ว่าราชการกรมช่างหล่อ

พระองค์เจ้าสุทัศน์ ๑ เปนกรมหมื่นไกรสรวิชิต ได้ว่าราชการคลังเสื้อหมวก คลังศุภรัต แลกรมสังฆการี กรมธรรมการ

พระราชธิดาซึ่งควรจะกำหนดออกพระนามนั้น ควรนับ ๙ พระองค์

 พระองค์เจ้านุ่ม เปนผู้ใหญ่กว่าทุกพระองค์บรรดาซึ่งมีพระชนมพรรษาอ่อนกว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดีลงมา เจ้าจอมมารดาเปนเจ้าจอมข้าหลวงเดิม เปนญาติเจ้าพระยานครราชสิมา ทองอิน พระองค์เจ้าพระองค์นี้ได้ทำราชการข้างในในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย

 พระองค์เจ้าพลับ พระองค์หนึ่ง เปนกำพร้า ไม่มีเจ้าจอมมารดา พระราชทานมอบให้กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ทำนุบำรุง มีพระชนม์ยืนนาน ได้เปนพระบรมวงษ์เธอผู้ใหญ่ข้างในในแผ่นดินประจุบันนี้

 พระองค์เจ้าเกสร ได้ทำราชการข้างในในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย

 พระองค์เจ้าจงกล เปนพระเชษฐภคินีของกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ร่วมเจ้าจอมมารดา ได้ทำราชการในการสดึงในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย

 พระองค์เจ้ามณฑา  พระองค์เจ้ามณีนิล  พระองค์เจ้าดวงสุดา สามพระองค์นี้ มีพระชนม์ยืนมาอยู่นาน ได้เปนพระบรมวงษ์เธอผู้ใหญ่ในแผ่นดินประจุบันนี้

 พระองค์เจ้าศศิธร ได้ทำราชการเปนครูชักแลสอนพระองค์เจ้าสวดมนต์ในหอพระพุทธรูปข้างใน

 พระองค์เจ้าจันทบุรี ภายหลัง ได้เลื่อนที่เปนเจ้าฟ้ากุณฑลทิพวดี เพราะเจ้าจอมมารดาซึ่งเปนพระสนมเอกนั้นเปนเชื้อเจ้าเมืองลาว คือ เปนธิดาเจ้าเวียงจันท์อินทร์ เจ้าฟ้าพระองค์นี้ได้เปนพระวรราชชายานารีในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยมีเจ้าฟ้า ๔ พระองค์ซึ่งจะนับในพวกข้างน่าต่อไป ๚

 พระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์นั้น เมื่อก่อนกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาไม่แตกทำลายนั้น ก็ยังไม่มีพระโอรสพระธิดา ครั้นมาเมื่อแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรี ได้มีนารีหนึ่งมาเปนพระชายา ประสูตรพระโอรสแลพระธิดาพระองค์หนึ่งฤๅสองพระองค์ สิ้นพระชนม์เสียแต่ยังเยาว์แล้ว นารีนั้นก็เริศร้างร้าวฉานไปไม่ได้อยู่ด้วย ครั้นภายหลัง จึงได้นารีลาวชาวเชียงใหม่ชื่อ เจ้ารจจา เปนธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เก่า มาเปนพระอรรคชายา ประสูติพระธิดาพระองค์หนึ่งชื่อ เจ้าพิกุลทอง ซึ่งภายหลัง เปนกรมขุนศรีสุนทร ควรนับว่า เปนธิดาผู้ใหญ่กว่าทั้งปวง แลได้มีพระราชบุตรพระราชบุตรีแต่นารีบาทบริจาริกแลพระสนมนางในอิกหลายพระองค์แต่ครั้งยังไม่ได้เฉลิมอุปราชาภิเศกบ้าง เมื่อเฉลิมอุปราชาภิเศกแล้วบ้าง จะขอออกพระนามแต่พระองค์ที่เปนสำคัญปรากฎควรเปนที่นับถือแลเปน (ฉบับลบ) ฤๅควรเปนต้นวงษ์ของเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้าหม่อมเจ้าต่อลงมาในชั้นหลัง ๆ นั้น

พระราชบุตรนั้น คือ กรมหมื่นเสนีเทพ ๑ กรมขุนนรานุชิต ๑ สองพระองค์นี้ ได้เปนเจ้าต่างกรม มีพระบุตรพระบุตรีเปนหม่อมเจ้าชายหม่อมเจ้าหญิงสืบลงมามาก พระราชบุตรีนั้น คือ พระองค์เจ้าดวงจันทร์พระองค์ ๑ เปนผู้ใหญ่ กับพระองค์เจ้าดุสิดาอับศร ๑ สองพระองค์นี้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ได้ทำราชการอยู่ในพระบวรราชวัง ครั้นพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังเสด็จสวรรคตแล้ว ได้ลงมาทำราชการอยู่ในพระบรมมหาราชวัง อยู่จนสิ้นแผ่นดินนั้น

พระองค์เจ้าดารา อิกพระองค์หนึ่ง เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ได้ทำราชการอยู่ในพระบวรราชวังเหมือนกันกับพระองค์เจ้าดวงจันทร์ ครั้นกรมพระราชวังเสด็จสวรรคตแล้ว จึงกรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในเวลานั้นยังเปนกรมหมื่นศักดิพลเสพย์ ได้ให้กราบทูลขอแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยไปเปนพระชายา ประสูตรพระบุตรพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ ครั้นเมื่อกรมพระราชวังพระองค์นั้นได้เฉลิมอุปราชาภิเศกแล้ว พระองค์เจ้าดาราก็ได้มีอำนาจเปนใหญ่ในการข้างในทั้งปวงในพระบวรราชวัง จึงได้ปรากฎพระนามภายหลังรู้เรียกกันว่า เจ้าข้างใน บ้าง เสด็จข้างใน บ้าง แต่พวกในพระบวรราชวังเวลานั้นเรียกว่า ทูลกระหม่อมข้างใน

ครั้นภายหลัง จึงได้มาเปนพระอรรคชายาในพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทั้งปวงรู้เรียกกันว่า เจ้าข้างในพระองค์เจ้าปัทมราช พระองค์หนึ่ง เจ้าจอมมารดาเปนพระน้านางของพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมหลวงนรินทรเทวีนั้น เมื่อแผ่นดินกรุงธนบุรี ได้กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ ซึ่งคนเปนอันมากเรียกว่า กรมหมื่นมุก เปนพระภัศดา ได้ประสูตรพระบุตรพระองค์หนึ่ง คือ กรมหมื่นนรินทรเทพ แล้วมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ประสูตรพระบุตรอิกพระองค์หนึ่ง คือ กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ กรมหมื่นซึ่งเปนพระบุตรทั้งสองนั้นก็ได้เปนต้นวงษ์ของหม่อมเจ้าชายหม่อมเจ้าหญิงเปนอันมากสืบลงมา

กรมหลวงจักรเจษฎานั้นไม่ได้มีพระชายาเปนสำคัญ มีแต่หญิงบาทบริจาริกเปนอันมาก ประสูตรหม่อมเจ้าชายหม่อมเจ้าหญิงก็เปนอันมาก แต่ควรจะออกชื่ออยู่องค์หนึ่ง คือ หม่อมเจ้าสอน ซึ่งทรงผนวชมาแต่อายุ ๒๐ ปี ได้เล่าเรียนพระคัมภีร์พุทธวจนะอยู่บ้าง ภายหลัง ได้เลื่อนที่เปนหม่อมเจ้าราชาคณะ ปรากฎนามว่า หม่อมเจ้าศีลวราลังการ ได้เปนอธิบดีสงฆ์ในวัดชนะสงคราม

ด้วยทางกถามีประมาณเท่านี้ เปนอันพรรณนาถึงพระบรมราชวงษานุวงษ์ซึ่งออกจากพระโอรสพระธิดาของสมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดีทั้ง ๗ พระองค์ซึ่งเปนต้นแซ่ต้นสกูลสืบลงมา นับว่า เปนชั้นสามเพราะสมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดี ถ้านับว่า เปนชั้นต้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ แลพระญาติเสมอยุค ๖ พระองค์นั้น ก็ควรนับว่า เปนชั้นสอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย แลพระบรมวงษานุวงษ์ซึ่งเปนสมานะยุคพวกนี้ จึงควรนับว่า เปนชั้นสาม ดังพรรณามานี้แล ๚


เชิงอรรถ

เชิงอรรถต้นฉบับ

เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ

บรรณานุกรม

เอกสารต้นฉบับ
  • ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 8. (2460). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย ณถนนรองเมือง. [พระยาศรีภูริปรีชา รามาธิปติราชภักดี ศรีสาลักษณวิสัย อภัยพิริยพาห (กมล สาลักษณ) พิมพ์แจกในงานศพคุณหญิงศรีภูริปรีชา (พึ่ง) ปีมเสง พ.ศ. 2460].
เอกสารอ้างอิง
  • ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. (2542). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ISBN 9744192151.
  • ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (2542). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ISBN 9744192186.

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก
  1. ในพระราชพงษาวดารทุกฉบับว่า เปนพระยาอภัยรณฤทธิ สงไสยว่า ตรงนี้ อาลักษณจะเขียนผิด แลสร้อย ชาญไชย นั้น ก็น่าจะเขียนเพลินไป เพราะในเวลานั้นใช้ว่า อนุชิตราชา พึ่งมาเปลี่ยนเปน อนุชิตชาญไชย เมื่อรัชกาลที่ ๔
  2. ในพระราชพงษาวดารว่า เปนพระยายมราช สมด้วยแบบแผนในครั้งนั้น สงไสยว่า ที่นี่จะเขียนเกินไป