ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีใช้:หน้าดัชนี"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 152: บรรทัดที่ 152:


* ในเนมสเปซ "หน้า" (คือ หน้าที่มีชื่อหน้าขึ้นต้นว่า "หน้า:") จะเห็นรูปหัวลูกศรชี้ขึ้น (ไอคอน [[File:Font Awesome 5 solid chevron-up.svg|20px]]) อยู่มุมบนซ้ายของหน้า เมื่อคลิกรูปนั้น จะนำพามายังหน้าดัชนี
* ในเนมสเปซ "หน้า" (คือ หน้าที่มีชื่อหน้าขึ้นต้นว่า "หน้า:") จะเห็นรูปหัวลูกศรชี้ขึ้น (ไอคอน [[File:Font Awesome 5 solid chevron-up.svg|20px]]) อยู่มุมบนซ้ายของหน้า เมื่อคลิกรูปนั้น จะนำพามายังหน้าดัชนี
* ในเนมสเปซหลัก (คือ หน้างานโดยตรง) จะเห็นช่อง "แหล่งที่มา" (หรือ "Source" ในภาษาอังกฤษ) อยู่ที่มุมบนซ้ายของหน้า เมื่อคลิกช่องดังกล่าว จะนำพามายังหน้าดัชนี
* ในเนมสเปซหลัก (คือ หน้าที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยชื่อประเภทของหน้า ซึ่งได้แก่ หน้างาน) จะเห็นช่อง "แหล่งที่มา" (หรือ "Source" ในภาษาอังกฤษ) อยู่ที่มุมบนซ้ายของหน้า เมื่อคลิกช่องดังกล่าว จะนำพามายังหน้าดัชนี


==ข้อมูลทางเทคนิค==
==ข้อมูลทางเทคนิค==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:52, 26 สิงหาคม 2563

หน้าดัชนี
หน้านี้อธิบายวิธีใช้หน้าดัชนี
ตัวอย่างหน้าดัชนี

หน้าดัชนีคืออะไร

หน้าดัชนี คือ หน้าในเนมสเปซ "ดัชนี" กล่าวคือ หน้าที่มีชื่อหน้าขึ้นต้นด้วย "ดัชนี:"

หน้าดัชนีเป็นศูนย์กลางของงานที่สแกนต้นฉบับเข้ามาจัดทำแบบพิสูจน์อักษร หน้าดัชนีจะประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับงานนั้น เช่น ชื่องาน, ผู้สร้างสรรค์, ปีที่สร้างสรรค์, หน้าทั้งหมดของงาน, และความคืบหน้าของการพิสูจน์อักษรในแต่ละหน้า

การสร้างหน้าดัชนี

ก่อนจะมีหน้าดัชนี ต้องมีไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งจะเป็นไฟล์เอกสาร เช่น ไฟล์สกุล DjVu หรือ PDF หรือไฟล์รูป เช่น ไฟล์สกุล JPEG, PNG, ฯลฯ ก็ได้

ไฟล์ต้นฉบับ ให้อัปโหลดไว้ที่ วิกิมีเดียคอมมอนส์

หน้าดัชนี ต้องใช้ชื่อเดียวกับชื่อไฟล์ต้นฉบับ เช่น

หน้า ตัวอย่าง
ไฟล์ต้นฉบับ ไฟล์:จดหมายเหตุ เรื่องฯ พระจอมเกล้าฯ ประชวร - มหินทรศักดิ์ธำรง - 2490.pdf
ดัชนี ดัชนี:จดหมายเหตุ เรื่องฯ พระจอมเกล้าฯ ประชวร - มหินทรศักดิ์ธำรง - 2490.pdf

การกรอกข้อมูลในหน้าดัชนี

เมื่อสร้างหน้าดัชนี จะมีช่องต่าง ๆ ให้กรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องลงไป ช่องเหล่านี้เรียกว่า พารามิเตอร์ (parameter) ซึ่งมีดังนี้

พารามิเตอร์ คำอธิบาย ตัวอย่าง
ประเภท เลือกประเภทของงานนั้น เช่น เป็นหนังสือ, เป็นวารสาร ฯลฯ
ชื่อ ชื่อของงานนั้น
  • เช่น "จดหมายเหตุ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ฉบับเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง"
  • อาจทำเป็นลิงก์ เช่น [[จดหมายเหตุ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรฯ|จดหมายเหตุ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ฉบับเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง]]
แสดงผล จดหมายเหตุ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ฉบับเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
ภาษา ใส่รหัสภาษา (ดูรหัสภาษาทั้งหมดที่เมทา) th (สำหรับภาษาไทย), en (สำหรับภาษาอังกฤษ) ฯลฯ
เล่ม ใส่เล่มของงานนั้น (ถ้ามีหลายเล่ม)
  • ถ้าเป็นเล่ม 1 ใส่ "1" เป็นต้น
  • อาจทำเป็นลิงก์ เช่น [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา/ภาค ๑|ภาค 1]]
แสดงผล ภาค 1
  • ผู้สร้างสรรค์,
  • ผู้แปล,
  • บรรณาธิการ,
  • ผู้วาดภาพประกอบ
  1. ใส่ชื่อบุคคลนั้น ๆ
  2. ปรกติให้ทำลิงก์ไปยังหน้าผู้สร้างสรรค์ (ไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างสรรค์, ผู้แปล, หรืออื่น ๆ) เช่น {{ลิงก์ผู้สร้างสรรค์|ชื่อผู้สร้างสรรค์}}
{{ลิงก์ผู้สร้างสรรค์|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ}}
แสดงผล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สถานศึกษา
  1. ช่องนี้ปรกติใช้สำหรับงานประเภทวิทยานิพนธ์, รายงาน ฯลฯ
  2. ใส่ชื่อสถานศึกษาที่เป็นเจ้าของหรือทำให้เกิดงานนั้น
เช่น วิทยานิพนธ์ส่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใส่ว่า "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" (อาจทำเป็นลิงก์ ถ้ามีหน้า)
ผู้เผยแพร่ ใส่ผู้พิมพ์, ผู้โฆษณา, หรือผู้ทำให้งานนั้นแพร่หลายโดยประการอื่น เช่น งานนั้นพิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์ ใส่ "โรงพิมพ์พระจันทร์" (อาจทำเป็นลิงก์ ถ้ามีหน้า)
สถานที่ สถานที่ (ปรกติ ได้แก่ เมือง) ที่งานนั้นเผยแพร่ เช่น สถานที่พิมพ์ เช่น ถ้าพิมพ์ที่กรุงเทพฯ ใส่ "กรุงเทพฯ" (อาจทำเป็นลิงก์ ถ้ามีหน้า)
ปี ปีที่เผยแพร่งานนั้น เช่น งานนั้นพิมพ์ใน พ.ศ. 2563 ใส่ "2563", ถ้าปีอาจกำกวม จะใส่ชื่อศักราช (เช่น "พ.ศ." หรือ "ค.ศ." เพิ่มเข้าไปก็ได้)
ที่มา เลือกชื่อสกุลไฟล์ต้นฉบับที่ถูกต้อง เช่น ถ้าเป็นไฟล์ pdf ก็เลือก "pdf"
ภาพปก
  1. ใส่เลขหน้าปกตามไฟล์นั้น ๆ
  2. จะขึ้น "1" (หมายถึง หน้า 1) โดยอัตโนมัติ ถ้าอยู่หน้าอื่น ก็เปลี่ยนเลขได้
ความคืบหน้า เลือกขั้นความคืบหน้าของการพิสูจน์อักษร
หน้า จัดทำรายการหน้า ดูวิธีการและตัวอย่างโดยละเอียดที่ วิธีใช้:เลขหน้า
รหัสสำหรับจัดหมวดหมู่ ถ้าต้องแสดงให้จัดหมวดหมู่ดัชนีตามชื่ออื่นนอกจากชื่อของดัชนีเอง ก็ใส่ชื่อนั้นลงไป ดัชนีชื่อ "กขค" ต้องการให้จัดหมวดหมู่ด้วยชื่ออื่น เช่น "ขกค" ก็ใส่ "ขกค" ลงไป
  • เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ,
  • OCLC,
  • LCCN,
  • ARK from BNF,
  • รหัสระบุเอกสารของหอจดหมายเหตุ
ใส่รหัสนั้น ๆ แล้วแต่จะมี
ความคมชัดของภาพสแกนในอีดิตโหมด โดยปรกติ ดัชนีจะแสดงภาพด้วยความละเอียดบางอย่างโดยอัตโนมัติ ถ้าต้องการให้แสดงความละเอียดอย่างอื่น ก็ใส่เลขความละเอียดนั้นลงไป เช่น
"300" (หมายความว่า 300 พิกเซล)
"1000" (หมายความว่า 1,000 พิกเซล)
Css ใส่รหัส css สำหรับจัดหน้าตามที่ต้องการให้ใช้แทนรหัสอัตโนมัติ
หัวเรื่อง, ท้ายเรื่อง ช่องนี้จะช่วยจัดการส่วนหัวหรือส่วนท้ายของทุกหน้าโดยอัตโนมัติ (เว้นแต่จะกำหนดไว้ที่หน้านั้น ๆ เป็นอย่างอื่น) ใส่ {{{pagenum}}} จะทำให้ขึ้นเลขหน้าตามที่กำหนดไว้ในพารามิเตอร์ "หน้า" โดยอัตโนมัติ
Categories ใส่หมวดหมู่ของดัชนี, ใส่ชื่อหมวดหมู่ลงไปโดยตรง ไม่ต้องใส่ข้อความนำหน้าว่า หมวดหมู่:
หมายเหตุ ใส่หมายเหตุใด ๆ ที่ต้องการ

เครื่องมือพิเศษ

ในหน้าดัชนี จะเห็นเครื่องมือพิเศษสามอย่างอยู่ทางมุมบนซ้าย คือ

  1. Book to scroll (ไอคอน ) ช่วยให้ดูไฟล์ทั้งหมดแบบเลื่อนขึ้นลงในหน้าเดียวจบได้ แทนที่จะไล่คลิกดูเป็นรายหน้าไป
  2. Transclusion check tool (ไอคอน ) ช่วยในการตรวจสอบความสมบูรณ์ในการผสานหน้า
  3. Purge file tool (ไอคอน ) ช่วยรีเฟรชไฟล์ต้นฉบับที่วิกิมีเดียคอมมอนส์

หมายเหตุ: ปัจจุบัน เครื่องมือที่ 1 และ 2 ยังไม่รองรับภาษาไทย ซึ่งกำลังปรับปรุงกันอยู่

การเข้าถึงหน้าดัชนีจากหน้าต่าง ๆ

ตัวอย่างหน้าในเนมสเปซ "หน้า" ซึ่งมีหัวลูกศรชี้ขึ้นอยู่มุมบนซ้ายของหน้า

เมื่ออยู่ในเนมสเปซต่าง ๆ สามารถเข้าถึงหน้าดัชนีได้ ดังนี้

  • ในเนมสเปซ "หน้า" (คือ หน้าที่มีชื่อหน้าขึ้นต้นว่า "หน้า:") จะเห็นรูปหัวลูกศรชี้ขึ้น (ไอคอน ) อยู่มุมบนซ้ายของหน้า เมื่อคลิกรูปนั้น จะนำพามายังหน้าดัชนี
  • ในเนมสเปซหลัก (คือ หน้าที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยชื่อประเภทของหน้า ซึ่งได้แก่ หน้างาน) จะเห็นช่อง "แหล่งที่มา" (หรือ "Source" ในภาษาอังกฤษ) อยู่ที่มุมบนซ้ายของหน้า เมื่อคลิกช่องดังกล่าว จะนำพามายังหน้าดัชนี

ข้อมูลทางเทคนิค

วิกิซอร์ซอาศัยหน้า มีเดียวิกิ:Proofreadpage index template ควบคุมหน้าดัชนีทั้งหมด

บางกรณี ผู้ใช้วิกิซอร์ซจำเป็นต้องเปิดจาวาสคริปต์ (Javascript) เพื่อให้หน้าควบคุมนี้ทำงาน มิฉะนั้น อาจเห็นหน้าดัชนีเป็นหน้าสำหรับแก้ไขตามธรรมดา

วิธีการเปิดจาวาสคริปต์ ดู คำชี้แจงที่เว็บไซต์จาวาสคริปต์ (ภาษาไทย)