ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานแปล:โทรเลข 28513 จากสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพมหานครถึงกระทรวงการต่างประเทศ 14 ตุลาคม 1976"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 59: บรรทัดที่ 59:
| 11. || ณ จุดนี้ยังเป็นการง่ายที่จะถามคำถามกว่าให้คำตอบ ในภาพรวม เราเชื่อว่าช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพและความสับสนอยู่บ้างจะอยู่เบื้องหน้า จนกว่าผู้นำรัฐบาลที่ถูกกองทัพครอบงำปักหลักได้ เมื่อคำนึงถึงภูมิหลังและประสบการณ์ของบุคลากรในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ยังน่าสงสัยอยู่ว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ประกอบขึ้นในปัจจุบันสามารถเป็นผู้นำดังที่ประเทศไทยต้องการในช่วงเวลาต่อจากนี้
| 11. || ณ จุดนี้ยังเป็นการง่ายที่จะถามคำถามกว่าให้คำตอบ ในภาพรวม เราเชื่อว่าช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพและความสับสนอยู่บ้างจะอยู่เบื้องหน้า จนกว่าผู้นำรัฐบาลที่ถูกกองทัพครอบงำปักหลักได้ เมื่อคำนึงถึงภูมิหลังและประสบการณ์ของบุคลากรในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ยังน่าสงสัยอยู่ว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ประกอบขึ้นในปัจจุบันสามารถเป็นผู้นำดังที่ประเทศไทยต้องการในช่วงเวลาต่อจากนี้
|}
|}

=== บรรณานุกรม ===
* กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ. 425. Telegram 28513 From the Embassy in Thailand to the Department of State, October 14, 1976, 1117Z. สืบค้นเมื่อ 7-10-63. ลิงก์: https://history.state.gov/historicaldocuments/frus1969-76ve12/d425


{{PD-USGov}}
{{PD-USGov}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:25, 7 ตุลาคม 2563

425. Telegram 28513 From the Embassy in Thailand to the Department of State, October 14, 1976, 1117Z.

14 ตุลาคม 1976, 1117Z
  • โทรเลข
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กรุงเทพมหานคร 28513

R 141117Z OCT 76

  • FM AMEMBASSY BANGKOK TO SECSTATE WASHDC 4685
  • INFO กงสุลอม. ฮ่องกง
  • สถานเอกอัครราชทูต อม. กรุงจาการ์ตา
  • สถานเอกอัครราชทูต อม. กรุงกัวลาลัมเปอร์
  • สถานเอกอัครราชทูต อม. กรุงมะนิลา
  • สถานเอกอัครราชทูต อม. กรุงย่างกุ้ง
  • สถานเอกอัครราชทูต อม. กรุงโตเกียว
  • สถานเอกอัครราชทูต อม. สิงคโปร์
  • CINCPAC โฮโนลูลู
  • USLO กรุงปักกิ่ง
  • สถานเอกอัครราชทูต อม. กรุงเวียงจันทน์

กรุงเทพมหานคร 28513

CINCPAC ALSO FOR POLAD

  • EO 11652: GDS
  • ป้ายระบุ: PGOV TH
  • เรื่อง: การสิ้นสุดการทดลองประชาธิปไตยในประเทศไทย
  • อ้างอิง: BANGKOK 28368

ความย่อ: การทดลองประชาธิปไตยของประเทศไทยนานสามปียุติลงด้วยรัฐประหารในวันที่ 6 ต.ค. รัฐบาลประชาธิปไตยที่อยู่ในอำนาจระหว่างสามปีที่ผ่านมาไม่สามารถเป็นผู้นำที่ประเทศไทยต้องการได้ เหตุการณ์อันน่าสับสนและซับซ้อนซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนั้นแน่นอนว่าเกิดขึ้นจากการหวนกลับประเทศไทยของอดีตนายกรัฐมนตรีถนอมในวันที่ 19 ก.ย. แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่ากองทัพไทยไม่ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จและปฏิบัติหน้าที่ได้ การเกี้ยวพาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยยังไม่สิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์เสียทีเดียว และมีสัญญาณว่าจะมีการประกอบคณะรัฐมนตรีที่ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนในอนาคตอันใกล้ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่มีสมาชิก 24 คนตามที่ประกอบขึ้นในปัจจุบันนั้น เป็นไปได้ว่าใหญ่เกินกว่าปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะต้องใช้เวลาให้รัฐบาลที่ถูกกองทัพครอบงำปักหลักได้ จบความย่อ

1. การยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในประเทศไทยในวันที่ 6 ต.ค. เป็นการสิ้นสุด "การทดลองประชาธิปไตย" นานสามปีของราชอาณาจักร ประเทศไทยอาจประสบช่วงรัฐบาลที่เปิดและอาจมีอิสระในอนาคต แต่อาจมีภาพลวงตาเล็กน้อยเกี่ยวกับลักษณะชั่วคราวของช่วงเวลาเช่นว่า โดยส่วนใหญ่ ผลลัพธ์ของการทดลองนี้ถูกตัดสินล่วงหน้าแล้วในแง่ที่ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยโดดเด่นออกมาเป็นการหยุดรูปแบบการปกครองระบอบอัตตาธิปไตยหรือคณาธิปไตยซึ่งเป็นลักษณะของประวัติศาสตร์ประเทศนี้ ในเวลา 40 ปีกว่าที่ได้ล่วงมาหลังการโค่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในปี 1932 มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพียงประมาณสามปีเท่านั้น และส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังเดือนตุลาคม 1973
2. ภูมิหลัง: คณะรัฐมนตรีสามชุดที่มีอยู่ตลอดการทดลองประชาธิปไตยไทยนั้น (แต่ละชุดมีการปรับเล็กน้อยระหว่างช่วงดำรงตำแหน่ง) ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะของมัน แต่ไม่มีชุดใดที่สามารถให้ความเป็นผู้นำที่มีความคิดอิสระและเข้มแข็งซึ่งประเทศไทยต้องการในช่วงเวลาปัจจุบัน ในหลายด้าน คณะรัฐมนตรีสองชุดของนายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ (ต.ค. 1973 ถึงมีนาคม 1975) อาจเป็นชุดที่น่าจดจำมากที่สุด ในแง่ที่ว่าสัญญาเป็นประธานการเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลอำนาจนิยมสู่ประชาธิปไตยได้สำเร็จ ทว่า บทบาทของสัญญาจำเป็นต้องเป็นบทบาทชั่วคราว เพราะเขาได้รับแต่งตั้งโดยตรงจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีฐานการเมืองจำเพาะ และการปฏิบัติหน้าที่จำกัดอยู่เฉพาะการวางรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในอนาคต คณะรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ ปราโมช (17 ตุลาคม 1975 ถึง 20 เมษายน 1976) ถูกขัดขวางจากรัฐสภาที่มีการแบ่งแยกสูงตั้งแต่การเลือกตั้งในเดือนมกราคม 1975 และพรรคการเมือง 16 พรรคที่มีอยู่ในสภานั้นมุ่งความสนใจไปกับการแก่งแย่งทางการเมือง มากกว่าจัดการกับปัญหาสำคัญที่ประเทศไทยเผชิญ คณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีเสนีย์ ปราโมช (21 เมษายน 1976 ถึง 6 ตุลาคม 1976) ในหลายแง่ดูเหมือนจะมีหวังมากที่สุด เพราะเป็นรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองเพียงสี่พรรค และมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรอยู่โข มีแรงต้านชัดเจนเล็กน้อยระหว่างพรรคทั้งสี่ แต่มีความไม่ลงรอยขั้นหายนะระหว่างกลุ่มแยกภายในพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดการการกลับประเทศของอดีตนายกรัฐมนตรีถนอม การปะทุครั้งสุดท้ายนี้เกิดขึ้นโดยเป็นผลลัพธ์ของประเด็นดังกล่าว
3. รายละเอียดว่าการยึดอำนาจของกองทัพมีการวางแผนและลงมืออย่างไรนั้นยังเป็นหัวข้อความสนใจเฉพาะในทางวิชาการอยู่ในขณะนี้ แต่ก็คุ้มค่าที่จะยกบางประเด็นในความสัมพันธ์นี้ มีสิ่งบ่งชี้หลายสิ่งของการคบคิดรัฐประหารระหว่างปีที่แล้ว กองทัพไทยอาจมีขีดความสามารถเริ่มและลงมือรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จได้ตลอดช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ดีต่อเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่องค์ประกอบสำคัญสู่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายถูกนำมาปะติดปะต่อกัน การยึดอำนาจดังกล่าวเป็นไปได้ว่าเกือบเกิดขึ้นแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และแน่นอน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น พลเอกบุญชัย บำรุงพงศ์สั่งการให้กองทัพตื่นตัวป้องกันการเกิดรัฐประหาร ยิ่งไปกว่านั้นพระมหากษัตริย์คัดค้านรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอย่างชัดเจน สุดท้ายผู้นำกองทัพส่วนใหญ่กังวลว่ารัฐประหารอาจต้องฆ่าคนอีกหลายพันคนเพื่อฟื้นฟูระเบียบ ในทางตรงข้ามสัปดาห์ก่อนมีความเห็นตรงกันในหมู่ผู้นำกองทัพ พระมหากษัตริย์ดูเห็นชอบ และผู้นำนักศึกษาและแรงงานถูกปราบปรามไม่ว่าถูกจำกุมหรือด้วยความกังวลเกี่ยวกับการพัวพันของนักศึกษาในการดูหมิ่นพระราชวงศ์
4. ผู้สังเกตการณ์บางคน--โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักหนังสือพิมพ์และผู้อยู่อาศัยต่างด้าวของประเทศไทย--ได้พยายามปะติดปะต่อเหตุการณ์สัปดาห์ที่แล้วกับการกลับประเทศไทยของอดีตนายกรัฐมนตรีถนอมในวันที่ 19 ก.ย. โดยเป็นส่วนหนึ่งของอุบายครอบคลุมเบ็ดเสร็จในการโค่นรัฐบาลประชาธิปไตย ทฤษฎี "คบคิด" นี้ในบางฉบับ กล่าวหาว่าถึงขั้นว่าการแขวนคอล้อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 4 ต.ค. ที่มีนักศึกษาคนหนึ่งที่คล้ายกับมกุฎราชกุมารนั้น ถูกจัดเตรียมโดยผู้คบคิดรัฐประหารเพื่อนำมาซึ่งความไร้ระเบียบ และยังเป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจของกองทัพ แก่นของ "การคบคิด" โดยปราศจากรายละเอียดจำเพาะนี้มีการบอกเล่าในความเห็นต่อการยึดอำนาจในการแพร่สัญญาณวิทยุจากกรุงมอสโก กรุงเวียงจันทน์และกรุงฮานอย
5. นอกเหนือจากการกะเวลาที่ใกล้ชิดแล้ว ไม่มีหลักฐานสำหรับข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้ แม้ถนอมอาจได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทย เขาไม่ได้มีความสัมพันธ์อันดีเป็นพิเศษกับพลเรือเอกสงัดและผู้นำกองทัพคนอื่น และบุคลากรกองทัพไทยส่วนใหญ่บัดนี้ดูเหมือนรู้สึกว่าเวลาของถนอมเป็นอดีตไปแล้วในทุกกรณี การกลับประเทศของถนอมปลดปล่อยความตึงเครียดซึ่งในขั้นแรกนำไปสู่การลาออกของนายกรัฐมนตรีเสนีย์ในวันที่ 23 ก.ย. และการตัดสินใจของเสนีย์ในวันที่ 5 ต.ค. ในการส่งตำรวจเข้าสู่วิทยาเขต ม. ธรรมศาสตร์เพื่อจำกุมนักศึกษาบางส่วน อย่างไรก็ดี การกลับประเทศของถนอมไม่ได้เป็นแรงจูงใจหลักสู่เหตุการณ์สัปดาห์ก่อน ผู้นำกองทัพอาจเคยใช้แผนฉุกเฉินที่เตรียมการมานานในการจัดรัฐประหาร แต่ครั้งนี้ดูเหมือนว่าเป็นครั้งที่เตรียมการล่วงหน้ายาวนานที่สุด ตัวรัฐประหารเองดูเหมือนถูกตัดสินใจเป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ในวันที่ 6 ต.ค.
6. ขณะที่การตัดสินใจจัดรัฐประหารนั้นเกิดขึ้นจากตัวผู้นำกองทัพเอง แต่เป็นคำบรรยายที่น่าเศร้าต่อการทดลองประชาธิปไตยในการบันทึกว่าพวกเขามิได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จและปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่รัฐบาลประชาธิปไตยถูกมองจากคนไทยจำนวนมาก--ไม่ใช่ทั้งหมดเป็นนายทหาร--ว่าไม่เหมาะสมต่อความต้องการของประเทศไทย ความรับผิดชอบส่วนใหญ่สำหรับเหตุการณ์ซึ่งนำไปสู่การยุติการทดลองประชาธิปไตยนี้ต้องตกอยู่แก่ผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) และกลุ่มแยกก้าวหน้าของพรรคประชาธิปัตย์ แกนนำนักศึกษาซึ่งบางทีในทีแรกกังวลต่อผลพวงของการกลับประเทศของถนอม ดูเหมือนว่าใช้การเดินขบวนต่อต้านถนอมเพื่อเพิ่มการควบคุมนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยและการเอื้อมไปยังชุมชนโดยรวม กลุ่มแยกก้าวหน้าของพรรคประชาธิปัตย์ชัดเจนว่ามองการกลับประเทศของถนอมเป็นวิธีการกดดันนายกรัฐมนตรีเสนีย์ให้เพิ่มสัดส่วนตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีเพื่อแลกกับการยกเลิกการรณรงค์เพื่อบังคับถนอมให้ออกนอกประเทศไทย
7. หากเป็นการถูกต้องที่จะกล่าวถึงการสิ้นสุดการทดลองประชาธิปไตย การเกี้ยวพากับสถาบันและการปฏิบัติประชาธิปไตยของประเทศไทยไม่ได้ยุติลงเสียทีเดียว คนไทยหลายคนชัดเจนว่าอุทิศตนต่อหลักปฏิบัติและความเชื่อในสังคมเปิดและให้คุณค่าต่อสารัตถะของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในอนาคต โดยมีการรับประกันเสรีภาพส่วนบุคคลในรัฐธรรมนูญ แน่นอนว่าแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในวันที่ 6 ต.ค. ในย่อหน้าสุดท้าย ระบุว่า "สภายืนยันว่าจะธำรงรักษาความประสงค์ของประชาชนไทยในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และจะทำทุกวิถีทางในการวางรากฐานการปกครองระบอบนี้เป็นขั้น ๆ จนกว่าเราจะมีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน" แถลงการณ์ดังกล่าวอาจถือเป็นความไม่จริงใจที่น่ากังขาก็ตาม แต่การบรรจุอยู่ในแถลงการณ์ขั้นต้นอย่างน้อยบ่งชี้ถึงความตระหนักในฝ่ายของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินว่ามีการยึดโยงในประเทศไทยอยู่บ้างต่อมโนทัศน์ระบอบประชาธิปไตย
8. การแต่งตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 ต.ค. คำประกาศว่าคณะรัฐมนตรีเต็มคณะจะมีการแต่งตั้งในสองสัปดาห์ และการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 11 ต.ค. บ่งชี้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตระหนักว่าตนไม่สามารถปกครองประเทศได้โดยตรง และโครงสร้างการปกครองตามปกติจะต้องทำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว อย่างไรก็ดีสุนทรพจน์ของธานินทร์ในวันที่ 13 ต.ค. (REFTEL) บ่งชี้ว่าการทดลองโครงส้างรัฐบาลอยู่มากกำลังรออยู่เบื้องหน้า
9. สำหรับคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 24 คนเอง เป็นไปได้ว่าไม่สามารถดำรงอยู่ในรูปปัจจุบันได้อย่างไม่มีกำหนด มันมีขนาดใหญ่เกินกว่าปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมาชิกหลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บัญชกาารกองทัพภาคสนามที่มีกองบัญชาการอยู่นอกกรุงเทพมหานคร เป็นไปได้ว่าจะเข้าร่วมสมัยประชุมได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขาดผู้นำคนเดียวที่เข้มแข็ง ประธาน พลเรือเอกสงัด ได้รับความเคารพดีในกองทัพไทย แต่ราชการอาชีพของเขาในกองทัพเรือเป็นความผิดปกติในรัฐบาลทหาร ซึ่งแต่เดิมถูกครอบงำโดยกองทัพบกที่มีขนาดใหญ่กว่า มีสิ่งบ่งชี้ว่าหากรัฐประหาร 6 ต.ค. ถูกชะลอไปอีกหลายวัน จะมีรัฐประหารที่แตกต่างออกไป โดยมีชุดผู้นำคนละชุด ซึ่งในบรรดาผู้นำเหล่านั้นจะมีกองทัพบกเป็นส่วนใหญ่ การปลดพลเอกฉลาดอย่างกระทันหันในวันที่ 10 ตุลาคม ภายใต้พฤติการณ์ซึ่งบ่งชี้ว่าเขาเกี่ยวข้องกับการคบคิดรัฐประหาร และการส่งตัวพลโทวิฑูร ยะสวัสดิ์ไปประเทศญี่ปุ่นอย่างรวบรัดในวันที่ 13 ต.ค. เพื่อ "ควบคุมดูแลนักศึกษาไทย" ในประเทศนั้น เป็นการเน้นย้ำความกังวลของผู้นำคณะปฏิรูปการปกครองในการขัดขวางกิจกรรมรัฐประหารต่อไป
10. ยังเร็วเกินไปในการคาดหมายว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจะทำสิ่งใดต่อเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจของกอทัพโดยตรง รวมประเด็นต่อไปนี้ ซึ่งจะครอบงำเหตุการณ์ในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้:
ก) การเมือง - จะให้เสรีภาพมากเท่าใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสื่อ ความเคลื่อนไหวสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะรวดเร็วเพียงใด จะทำอย่างไรเกี่ยวกับการก่อการกำเริบ จะปรับปรุงสภาพการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยอย่างไร จะทำอย่างไรเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งเป็นความชั่วร้ายแพร่หลายที่มีความสำคัญยืดเยื้อ
ข) เศรษฐกิจ - จะทำอย่างไรเกี่ยวกับการลงทุน รวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศ และอะไรที่เป็นส่วนผสมระหว่างทั้งสองที่พึงประสงค์ มีความสนใจในการปฏิรูปที่ดินมากน้อยเพียงใด
ค) นโยบายเศรษฐกิจ - จะทำอะไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านคอมมิวนิสต์ของประเทศไทย (ทั้งเวียดนามและลาวประณามรัฐประหารอย่างรุนแรงตามคาด) แล้วความสัมพันธ์กับสหรัฐจะเป็นอย่างไร (กองทัพไทยไม่อยมเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสหรัฐในช่วงปีที่ผ่านมา และการกีดกันพวกเขาจากการเจรจาในต้ปนี 1976 ในเรื่องประเด็นการคงกองทัพและฝ่ายข่าวกรองสหรัฐที่เหลือ) สนธิสัญญามะนิลาจะมีคุณค่าอะไรต่อผลประโยชน์ความมั่นคงของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการกำจัดขั้นสุดท้ายของซีโต้ในเดือนมิถุนายน 1977
11. ณ จุดนี้ยังเป็นการง่ายที่จะถามคำถามกว่าให้คำตอบ ในภาพรวม เราเชื่อว่าช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพและความสับสนอยู่บ้างจะอยู่เบื้องหน้า จนกว่าผู้นำรัฐบาลที่ถูกกองทัพครอบงำปักหลักได้ เมื่อคำนึงถึงภูมิหลังและประสบการณ์ของบุคลากรในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ยังน่าสงสัยอยู่ว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ประกอบขึ้นในปัจจุบันสามารถเป็นผู้นำดังที่ประเทศไทยต้องการในช่วงเวลาต่อจากนี้

บรรณานุกรม

งานนี้เป็นเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ เนื่องจากเป็นงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (ดู ประมวลกฎหมายสหรัฐ ลักษณะ 17 มาตรา 105)