ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำสั่งนายกรัฐมนตรี ให้ประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 35: บรรทัดที่ 35:
* สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2505). ''[[:ไฟล์:คำสั่งของนายกรัฐมนตรี (๒๕๐๕-๐๔-๒๔).pdf|รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่นิติบัญญัติ) ครั้งที่ 120 วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พุทธศักราช 2505]]''. สภาร่างรัฐธรรมนูญ: พระที่นั่งอนันตสมาคม. หน้า 328–329.
* สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2505). ''[[:ไฟล์:คำสั่งของนายกรัฐมนตรี (๒๕๐๕-๐๔-๒๔).pdf|รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่นิติบัญญัติ) ครั้งที่ 120 วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พุทธศักราช 2505]]''. สภาร่างรัฐธรรมนูญ: พระที่นั่งอนันตสมาคม. หน้า 328–329.


{{สทย}}
{{ลมท}}


[[หมวดหมู่:คำสั่ง|นายกรัฐมนตรี ให้ประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์]]
[[หมวดหมู่:คำสั่ง|นายกรัฐมนตรี ให้ประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:52, 7 สิงหาคม 2564

(สำเนา)
คำสั่ง
ให้ประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์

โดยที่มีหลักฐานแน่ชัด ทั้งเอกสารและคำให้การของผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนตรงกันว่า นายรวม วงศ์พันธ์ มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ทำการเป็นกบฏ ทรยศต่อประเทศชาติ รับคำสั่งจากคนต่างด้าวภายนอกประเทศมาล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทย เพื่อจะเปลี่ยนให้กลายเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ นายรวม วงศ์พันธ์ ได้วางแผนดำเนินงานไว้อย่างกว้างขวาง โดยได้แบ่งเขตการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และส้องสุมกำลังผู้คนไว้เป็นภาค ๆ เมื่อได้สมัครพรรคพวกพอแล้ว ก็จะทำการเป็นกบฏเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยสืบไป การกระทำดังกล่าวนับว่า ร้ายแรงที่สุด เพราะเป็นการทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ ก่อกวนความสงบสุขของประชาชน และคุกคามต่อเอกราชอธิปไตยของชาติเป็นอย่างยิ่ง นายรวม วงศ์พันธ์ ได้กระทำความผิดนี้ในท้องที่ ๕ จังหวัด คือ จังหวัดพระนคร สุพรรณบุรี ลพบุรี อ่างทอง และกาญจนบุรี การกระทำของนายรวม วงศ์พันธ์ ไม่สมควรเป็นการกระทำของผู้ที่เกิดมาเป็นคนไทย เพราะเป็นการกระทำที่พยายามจะนำเอาเอกราชและอธิปไตยของชาติตนไปมอบให้เป็นทาสของชาติอื่น ซึ่งเป็นความผิดอันร้ายแรงยิ่ง สมควรจะต้องโทษประหารชีวิตเพื่อมิให้เป็นตัวอย่างที่เลวทรามแก่ผู้อื่นสืบไป

ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร และโดยมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๐๕ จึงให้กระทรวงมหาดไทยทำการประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์ เสียแต่บัดนี้ และเมื่อทำการประหารชีวิตเสร็จแล้ว ให้รีบรายงานให้ข้าพเจ้าทราบโดยด่วน

การประหารชีวิตนี้ให้กระทำที่เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี

  • สั่ง ณ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๐๕
  • (ลงนาม) จอมพล ส. ธนะรัชต์
  • (สฤษดิ์ ธนะรัชต์)
  • นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก