ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 8/เรื่องที่ 1"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
| editor =
| editor =
| translator =
| translator =
| section = จดหมายเหตุโหร
| section = 1. จดหมายเหตุโหร
| contributor = พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ)
| contributor = พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ)
| previous = [[../คำนำ/]]
| previous = [[../คำนำ/]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 21:30, 29 สิงหาคม 2565

สำหรับงานที่มีชื่อทำนองเดียวกัน ดู จดหมายเหตุโหร
จดหมายเหตุโหร
ปีมเสง จ.ศ. ๒๘๓ ณวัน ค่ำ เวลารุ่งแจ้ง เกิดพระเจ้าพรหมราช กษัตริย์ที่ ๔๑ เชียงแสน ซึ่งปราบขอมพ่ายแพ้ลงมาถึงแดนชะเลียง
ปีเถาะ จ.ศ. ๔๓๕ ณวัน ค่ำ ยามใกล้รุ่ง เกิดขุนเจื๋องบรมราชาธิราช ชนมายุ ๓๖ ปีได้ราชสมบัติเชียงแสน ครองราชสมบัติ ๒๔ ปี ชนะล้านช้าง ครองล้านช้าง ๓ ปี ชนะญวนแกว ครองแผ่นดินแกว ๑๔ ปี
ปีขาล จ.ศ. ๔๙๖ ณวัน ค่ำ ขุนเจื๋องรับอ๋องจีนแผ่นดินซอง ชนมายุ ๗๗ ปี จึงทิวงคตในท่ามกลางสงคราม
ปีรกา จ.ศ. ๕๓๕ เมืองเสียงแตก พม่าอังวะชนะ
ปีมแม จ.ศ. ๕๘๕ ฝรั่งมาเผาเมืองมัตมะ ครั้งนั้น ศึกฝรั่ง (รับสั่งว่า ฝรั่งยุโรปยังไม่มา)
ปีจอ จ.ศ. ๖๐๐ ณวัน ค่ำ เวลายามรุ่ง เกิดพระยามังรายผู้สร้างเชียงใหม่ ชนะหริภุญไชย ได้ราชสมบัติในเมืองเงินยวง
ปีจอ จ.ศ. ๖๐๐ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลาใกล้รุ่ง เกิดพระยางำเมือง กษัตริย์พเยา เปนศิษย์เทพฤๅษีดอยด้วน แลพระศุกรทันต์ฤๅษีกรุงละโว้ครูพระร่วง ศักราช ๖๒๐ ได้ผ่านสมบัติ
ปีขาล จ.ศ. ๖๗๖ ณวัน ค่ำ เวลารุ่ง เกิดพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี
ปีเถาะ ยังเปนโทศก จ.ศ. ๗๑๒ ณวัน ค่ำ เวลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สร้างกรุงศรีอยุทธยา
ปีกุญ จ.ศ. ๗๒๑ ณวัน ค่ำ ท้าวอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุทธยาธิกูลครั้งที่ ๒ เมืองพะโคเสีย
ปีมเสง จ.ศ. ๗๖๖ เสียเมืองรงมละ
ปีฉลู จ.ศ. ๗๗๑ เสียเมืองสะถ้อย
ปีเถาะ จ.ศ. ๗๗๓ เสียเมืองตละเช เสียเมืองทละ เสียเมืองย่างกุ้ง
ปีเถาะ จ.ศ. ๗๗๓ มาจนถึง จ.ศ. ๗๗๔ ใช้ไปเมืองหนาถูกต้องดีแล
ปีมโรง จ.ศ. ๗๗๔ พญาน้อยคิดขบถในเมืองย่างกุ้ง
ปีมแม จ.ศ. ๗๗๗ ศึกพญาตองอูฝรั่งมังพลู เปนวันเสาร์ ยกลงมา อายุได้ ๒๖ ปี ปีวอก ศักราช ๗๗๘ ตายในเมืองพะโค
ปีวอก จ.ศ. ๗๗๘ พระอาทิตย์อยู่ราษีมิน องศา ๗ จึงได้ชนะมังพลู ตัวมังพลูมหากษัตริย์ทำลายเสีย
ปีเถาะ จ.ศ. ๘๖๙ เกิดพระไชยเชษฐาธิราชเจ้าล้านช้างณวัน ค่ำ เวลายามแตรเที่ยง อายุ ๑๕ ปีได้เปนกษัตริย์ พระชนม์ ๓๙ ปีทิวงคต
ปีกุญ จ.ศ. ๘๘๙ ครั้งนั้น พญาองค์หนึ่งได้ครองเมืองใน ๒๑ พญาองค์หนึ่งนิพพาน เอา ๒๑ นั้นบวกลงใน ๙๔๖ ได้ ๙๖๗ พญาที่ได้ครองเมืองโหมนั้นนิพพานแล
ปีมแม จ.ศ. ๙๐๙ ณวัน ค่ำ เศษ ๘ (พระยอดฟ้า) เสด็จออกพลับพลาทอดพระเนตรชนช้าง พญาช้างงาหัก ครั้นอยู่มา ช้างร้องเปนอัศจรรย์
ปีวอก จ.ศ. ๙๑๐ ณวัน ค่ำ เศษ ๐ ข้าราชการคิดขบถ จับ (พระยอดฟ้า) พระเจ้าแผ่นดิน สำเร็จโทษ ชิงเอาราชสมบัติ
ปีรกา จ.ศ. ๙๑๑ มีสุริยุปราคาเวลาไถอ่อน เปนสัพคราธกลม มณฑลพระอาทิตย์มืด
ปีมโรง จ.ศ. ๙๑๘ ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ เศษ ๘ เสียพระนครศรีอยุทธยาแก่เจ้าหงษาวดี
ณวัน ๑๒ ค่ำ พระมหาธรรมราชาได้ราชสมบัติ
(หมายเหตุอิกฉบับหนึ่งว่า ปีมเสง จ.ศ. ๙๓๑ ณวัน ๑๐ ค่ำ เสียกรุงศรีอยุธยาแก่เจ้าหงษาฯ 
ปีรกา จ.ศ. ๙๒๓ ณวัน ๑๔ ค่ำ พระศรีศิลป์ตายในพระราชวัง จับพระสังฆราชไปฆ่าเสีย
ณวัน ค่ำ พญาสีหราชเดโชรับพระราชอาญาขัง
ปีกุญ จ.ศ. ๙๒๕ เวลาค่ำแล้ว ๓ นาที พระ ๘ จับพระ ๒ กันภาค ๑ ยัง ๓ ภาค จันทรรัศมี ๖๒๙ แลชนทั้งปวงเกิดทรพิศม์ตายมาก แลครั้งนั้น ทำพระราชไมตรีกับพระเจ้าหงษา
ปีกุญ จ.ศ. ๙๖๑ เมืองหงษาแตก มีลูก ๓ คน
ปีชวด จ.ศ. ๙๖๒ เมืองทวายเสียแก่ไทย
ปีขาล จ.ศ. ๙๗๖ พญาลูก ๓ คนนั้นจึงไปล้อมเมืองเชียงใหม่
ปีวอก จ.ศ. ๙๘๒ เศษ ๘ ยี่ปุ่นเข้าเมือง (หมายเหตุหนึ่งว่า ๙๗๒)
ปีรกา จ.ศ. ๙๘๓ เศษ ๓ ออกฝีตายมาก
ปีวอก จ.ศ. ๙๙๔ สมเด็จพระนารายน์มหาราชสมภพพระชัณษา วัน ฯ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๙๙๔ พระชนม์ได้ ๒๕ ปี ได้ราชสมบัติอยู่ ๒๖ ปี รวม ๕๑ พรรษา สวรรคตวัน ค่ำ ปีจอ จ.ศ. ๑๐๔๔ (รับสั่งว่า ผิด)
ปีรกา จ.ศ. ๙๙๕ เหตุดังนั้นแล มัตมะก็เสีย ชาวนครคิดขบถแล
ปีขาล จ.ศ. ๑๐๑๒ พญาเมืองสะเถินเมืองมอญเสียเคราะห์เสียโศกชำระสลางภาย
ปีวอก จ.ศ. ๑๐๑๘ เศษ ๐ วุ่นวายพระองค์ไชย พระ (ศรีสุ) ธรรมราชา
ปีมโรง จ.ศ. ๑๐๕๐ เศษ ๘ วุ่นวายวิไชเยนทร์เมืองลพบุรี
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๐๕๒ พระเพทราชาเปนเจ้ามาจนทุกวันนี้ ปีนี้ ต้องยกกองทัพกรุงไปปราบเมืองตานี
ปีมแม จ.ศ. ๑๐๕๓ ต้องยกกองทัพกรุงหนุนไปปราบเมืองตานี
ปีมโรง จ.ศ. ๑๐๘๔ เมื่อครั้งขุนหลวงเล่นปลา ปีนี้ เดือน ๑๒ ต้องยกกองทัพกรุงไปปราบเมืองมฤท
ปีมแม จ.ศ. ๑๐๘๙ ณวัน ค่ำ กลาบาตตกเสียงดังปืน พระยาราชสงครามชักพระไสยาศน์วัดป่าโมก
ปีชวด จ.ศ. ๑๐๙๔ ขุนหลวงท้ายสระสวรรคตในเดือน ๒ ข้างแรม อยู่ในราชสมบัติ ๒๗ ปี (รับสั่งว่า ปีรัชกาลผิด) พระชนมายุ ๕๑ ปี ในปีนี้ เพิ่มอธิกวารอิก ๒ ปีเคียงกัน
ปีขาล จ.ศ. ๑๐๙๖ ณวัน ๑๐ ๑๐ ค่ำ จีนเปนขบถปล้นพระราชวัง
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๐๙๗ มีดาวกลางวัน ตั้งต้นปักขคณนาณวัน ค่ำ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๐๙๘ นางช้างเผือกขอมเข้ามาถึงกรุงฯ
ปีมเสง จ.ศ. ๑๐๙๙ พระพันวษานิพพาน
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๐๓ ทำวัดมงคลบพิตร มีดาวหางปีนี้
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๐๔ ช้างเผือกล้ม ได้ช้างเนียมตัวหนึ่ง
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๐๖ ณวัน ๑๒ ค่ำ ไฟไหม้วังน่า ใช้แปะประกับ มิใช้เบี้ย
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๐๗ บูรณะวัดภูเขาทอง
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๐๙ ณวัน ค่ำ มหาทองวัดบันไดอิฐเสีย ไฟไหม้วัดยมไท
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ พบทองแขวงเมืองบางตะพาน
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๑๑ ออกหัดทรพิศม์คนตายชุม มอญบ้านโพธิสามต้นหนี
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๑๓ ลังกามาขอพระสงฆ์ไปสั่งสอน ปีนี้ มีดาวหาง
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๑๖ จับพระวังน่ากับเจ้าฟ้าสังวาล
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐ ณวัน ค่ำ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี พระชนมายุ ๗๗ ปี
ณวัน ค่ำ มีจันทรุปราคา ปีนี้ เข้าแพง เกวียนละ ๑๒ ตำลึง
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๒๑ เนรเทศเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธออกจากกรุงฯ เดือน ๔ พม่ามังลองเข้าล้อมกรุงฯ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๒๒ พม่ายกหนีไป จับนายปิ่นราชมนตรี ณวัน ๑๕ ฯ  ๑๒ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๒๔ ณวัน ๑๒ ค่ำ มีสุริยุปราคา ณวัน ๑๒ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๒๗ พม่ายกเข้ามาตั้งดงรังหนองขาว
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๒๘ ณวัน ค่ำ เสียค่ายปากจั่น พม่าเข้าล้อมกรุงฯ
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๒๙ ณวัน ค่ำ กลาบาตตก
ณวัน ค่ำ เสียกรุงแก่พม่า
ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ พม่าฆ่าคน
ปีนี้ มีอธิกวาร โหรมิได้จดหมาย
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๓๐ เมืองพิศณุโลก เมืองพิจิตร แตกมาสู่โพธิสมภาร ได้เมืองนครราชเสมา
ณวัน ค่ำ เวลาเช้า โมง ๑ แผ่นดินไหว
ปีนี้ เจ้าตากได้ราชสมบัติ อายุ ๓๔ ปี
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๓๑ พระสงฆ์ลุยไฟ ได้เมืองนครศรีธรรมราช
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๓๒ ได้เมืองฉลางบุรี พม่ายกจากฉลางบุรีแตกกลับไป
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๓๕ ณวัน ๑๔ ฯ  ๑๑ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ณวัน ค่ำ พม่ายกมาตั้งเมืองพิไชย
ณวัน ค่ำ พม่าหนี
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๓๖ ณวัน ๑๐ ค่ำ มีสุริยุปราคา
ณวัน ๑๐ ๑๒ ค่ำ เวลา ๑๑ ทุ่ม ดาวพระเสาร์เข้าวงพระจันทร์ ดาวอื่นขึ้นริมแง่เหนือ
ณวัน ๑๑ ๑๒ ค่ำ ไปตีได้เมืองเชียงใหม่
ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ ดาวโรหิณีเข้าแง่พระจันทร์ข้างใต้
ณวัน ๑๓ ฯ  ค่ำ เวลา ๑๐ ทุ่ม ได้เมืองเชียงใหม่ ลาวโปสุพลาหนี
ณวัน ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๓๗ ณวัน ค่ำ เวลา ๒ ทุ่ม พม่ายกหนีจากเขานางแก้วไปปากแพรก
ณวัน ค่ำ พม่าแตกจากปากแพรก
ณวัน ๑๐ ฯ  ๑๐ ค่ำ ข้างในเปนโทษ ลงพระอาญาตระลาการประหารชีวิตนายประตูคนหนึ่ง
ณวัน ๑๑ ค่ำ เฆี่ยนบาดหลวง ๓ คน ๆ ละ ๑๐๐
ปีวอก จ.ศ. ๑๑๓๘ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เสียเมืองพิศณุโลกเวลา ๒ ยามเศษ
ณวัน ๑๒ ๑๐ ค่ำ บ่าย ๔ โมง นางพระยาล้ม
ณวัน ๑๑ ค่ำ เกิดพยุใหญ่ ฝนตกห่าใหญ่ ลูกเห็บตกถูกโรงปืนฉนวนประจำท่าทลาย เรือนทลายประมาณ ๑๐๐ หลัง
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๔๐ ณวัน ๑๔ ค่ำ บอกว่า พม่ายกมาตีเมืองฝาง ลงพระอาญาตำรวจ ๔๐๐ คน
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๔๑ เดือน ๔ พระแก้วมรกฎถึงกรุงฯ
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๔๒ ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ สึกพระราชาคณะอธิการ
ณวัน ค่ำ บ่าย ๕ โมงเศษ เปนปทุมชาติทิศบูรพา
ณวัน ค่ำ ริบเครื่องยศเจ้าวังนอก
ณวัน ค่ำ ราชาคณะแย้งกัน ข้างหนึ่งว่า ไหว้คฤหัสถ์ไม่ได้ เปนโทษต้องตี ๓๐
๕๐
๕๐๐ องค์
ณวัน ค่ำ เสด็จออกขุนนางท้องพระโรง เหยี่ยวฉาบนกขึ้นน่าพระที่นั่ง
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๔๓ เดือน ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ายกทัพไปเขมร ณวัน ค่ำ
แลแรม ๑๑ ค่ำ พระยาสรรค์ยกเข้าล้อมกรุงฯ
ณวัน ๑๒ ค่ำ ขุนหลวงบวชวัดแจ้ง
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๔๔ ณวัน ค่ำ พระจันทร์เข้าฤกษ์กิติกา
ณวัน ค่ำ พระพุทธยอดฟ้าได้ราชสมบัติปราบดาภิเศก ชนมายุ ๔๕ ปี กับ ๑ เดือน กับ ๔ วัน
ณวัน ๑๓ ค่ำ เจ้าตากดับขันธ์ ชนมายุ ๔๘ ปี กับ ๑๕ วัน
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ สร้างเมืองบางกอกเวลารุ่งแล้ว ๙ บาท
ณวัน ค่ำ ไฟไหม้ตึกดินเมืองนครฯ
ณวัน ๑๕ ฯ  ๑๐ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ณวัน ค่ำ มีจันทรุปราคา สมเด็จพระไอยกาเสวยราชย์
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๔๕ ณวัน ค่ำ อ้ายบันทิด ๒ คนเปนขบถ เข้าวังน่าประมาณ ๑๐ ทุ่มเศษ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๔๖ ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ เสด็จไปปิดปากลัด
ณวัน ๑๓ ค่ำ เวลาย่ำรุ่ง ๔๒ นาที สมโภชช้างเผือก แลสร้างวัดสระเกษ
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เวลาเช้า ๒ โมง ๔ บาท ยกยอดฟ้าดุสิตมหาปราสาท
ณวัน ๑๒ ค่ำ อัญเชิญพระแก้วมรกฎมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๔๗ น้ำมาก เข้าแพง เกวียนละชั่ง
ณวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เจ้าวังเก่านิพพาน
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ๔ บาท ยกเสวตรฉัตรที่ประธมวังหลวง
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคา
ณวัน ๑๕ ค่ำ มีสุริยุปราคา
ณวัน ค่ำ ดาวกิติกาเข้าแง่พระจันทร์แง่ใต้
ณวัน ค่ำ เวลาทุ่ม ๑ พม่าปากพิงแตกฝ่ายเหนือ ๑๐,๐๐๐ วังหลังตีแตก
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๔๘ ณวัน ค่ำ ดาวพระอังคารเข้าแง่พระจันทร์ข้างซ้าย
ณวัน ๑๒ ค่ำ ดาวพระศุกรเข้าแง่พระจันทร์ข้างขวา
ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงกับ ๖ บาท ยกทัพหลวงไปไชโยคท่าขนุน
ณวัน ค่ำ ทัพน่าตีพม่าสามสบ
ณวัน ค่ำ พม่าสามสบแตก ๓๐,๐๐๐
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๔๙ ณวัน ค่ำ ยกทัพน่าไปตีค่ายบางบ่อ
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลายาม ๑ ได้ค่ายบางบ่อ
ณวัน ๑๓ ค่ำ ทัพน่าเข้าติดเมืองกลิอ่อง
ณวัน ค่ำ เวลายาม ๑ ได้เมืองกลิอ่อง
ปีวอก จ.ศ. ๑๑๕๐ ณวัน ค่ำ มีสุริยุปราคา ดาวพระศุกรเข้ากลางกิติกา เข้าแง่พระจันทร์ข้างใต้
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๕๑ ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๔ โมง ฟ้าผ่าช่อฟ้ามุขมหาปราสาทข้างอุดรทิศ ไฟติดช่อฟ้าไหม้สิ้นทั้งปราสาท
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๕๔ ขุนณาณโยคใส่อธิกวารผิด หมู่โหรปฎิทินติเตียน
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๕๕ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคาจับ ๙ ทุ่ม ๑ บาท
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๕๗ ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ ดาวขนาบเดือน
ณวัน ค่ำ จับอ้ายอินบางอ้อขบถเมื่อการบรมสมโภชพระอัฐิ
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๕๘ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคาจับสัพคราธ ดาวพระเสาร์เข้าแทรก
ณวัน ค่ำ ดาวพระอังคารชิงคลองพระพฤหัศบดี
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๖๐ ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมง ตำหนักแดงสิ้นพระชนม์
ณวัน ๑๐ ๑๒ ค่ำ ตำหนักใหญ่สิ้นพระชนม์เวลา ๑๑ ทุ่ม ๘ บาท
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๖๑ ณวัน ค่ำ เวลาย่ำค่ำแล้ว เกิดลมหนัก
ณวัน๑๔ ฯ  ค่ำ เวลาค่อนรุ่ง แผ่นดินไหว
ณวัน ๑๐ ฯ  ๑๒ ค่ำ เวลา ๒ ทุ่มเศษ แผ่นดินไหวอิกครั้งหนึ่ง
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๖๓ ณวัน ๑๕ ค่ำ มีสุริยุปราคา
ณวัน ค่ำมีจันทรุปราคา ณวัน ค่ำ นางพระยา
ช้างเผือกมาถึงกรุงเทพมหานคร
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๖๔ ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๒ โมง ๗ บาท ขุนหลวงกลาง
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๖๕ ณวัน ๑๒ ค่ำ เวลา ๒ ยาม ๕ บาท กรมพระราชวังสวรรคต
ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ สำเร็จโทษพระเจ้าหลานอินทปัต ลำดวน
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๖๖ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลาย่ำค่ำแล้ว ๔ บาท มีจันทรุปราคาสัพคราธ
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๖๗ ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลา ๒ ยาม ๖ บาท มีจันทรุปราคา
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลา ๑๑ ทุ่ม ๕ บาท มีจันทรุปราคา
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๖๘ ณวัน ๑๕ ๑๒ ค่ำ มีสุริยุปราคา แย้งกันที่ว่า ไม่มีได้พระราชทาน ๒ คน
ปีนี้ น้ำแดง ปลาสร้อยชุม
ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๒ โมงเศษ กรมพระราชวังหลังสวรรคต
ณวัน ค่ำ ราชาภิเศกกรมหลวงอิศรเปนพระราชวังบวรฯ ชัณษา๓๙ ปี สำเรทธิ์ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ
(อิกหมายเหตุหนึ่งว่า ณวัน ค่ำ กรมพระราชวังสถานภิมุขมาตย์สวรรคตเวลาบ่าย ๒ โมง)
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๖๙ ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เชิญพระศพกรมพระราชวังหลัง ณวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ ถวายพระเพลิง ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ มีจันทรุปราคา เวลา ๔ ทุ่ม ๘ บาท ณวัน ค่ำ เวลาเช้า ๕ โมง ๒ บาท ณวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
ปีมโรง จ.ศ. ๑๑๗๐ ณวัน ค่ำ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นสิ้นพระชนม์ เวลาเช้า 
บาท เจ้าฟ้าเหม็นเปนโทษถึงตาย
ปีมเสง จ.ศ. ๑๑๗๑ ณวัน ๑๓ ค่ำ เวลา ๖ ทุ่ม พระบรมโกษฐพระพุทธยอดฟ้าสวรรคต พระชนม์ ๗๒ ปีกับ ๖ เดือน ๔ วัน อยู่ในราชสมบัติ ๒๘ ปี
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมง ๓๖ นาที ราชาภิเศกพระพุทธเลิศหล้า
ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมง พระสงฆ์สามเณร ๒ องค์นำพระธาตุมาแต่ลังกาถวาย
ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง ๘ บาท จับอินทรเดชะขบถ
ปีมเมีย จ.ศ. ๑๑๗๒ ณ วัน ๑๑ ค่ำ ดาวพระศุกรเข้าในวงพระจันทร์ข้างทักษิณ
ปีมแม จ.ศ. ๑๑๗๓ ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาย่ำค่ำ เห็นดาวหางขึ้นทิศพายัพ หางไปทิศอิสาณ
ณวัน ค่ำ ดาวหางสูญหายไป เวลาทุ่ม ๑ กลาบาตตก
ณวัน ๑๕ ฯ  ๑๐ ค่ำ มีจันทรุปราคา
ปีวอก จ.ศ. ๑๑๗๔ ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง เกิดเปนควันแลพยุ
ณวัน ค่ำ บอกว่า องค์จันหนี บอกมาแต่เชียงใหม่ว่า พม่ายกมา
ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เวลาบ่ายโมงเศษ พระยาช้างเผือกผู้มาถึงกรุงฯ มาแต่เมืองโพธิสัตว์
ณวัน ค่ำ พระยาช้างเผือกผู้มาแต่เมืองกัมพูชา
ปีรกา จ.ศ. ๑๑๗๕ ณ วัน ค่ำ เวลาแดดอุ่น เห็นดาวพระพฤหัศบดีเคียงพระจันทร์ข้างทิศทักษิณ
ณวัน ค่ำ ไฟไหม้บ้านหลังวัดพระเชตุพนเปนอันมาก
ปีจอ จ.ศ. ๑๑๗๖ เดือน ๑๒ เดือน ๑ รามัญเมืองมัตมะยกครัวเข้ามาสู่พระโพธิสมภารประมาณ ๓๐,๐๐๐
ปีกุญ จ.ศ. ๑๑๗๗ ณวัน ค่ำ แลแรม 
ค่ำ ตั้งพิธีสงฆ์ ๔ พราหมณ์ ๑
ณวัน ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ฝังอาถรรภ์เมืองใหม่ปากลัด
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลา ๕ ทุ่ม ๒ บาท มีจันทรุปราคาสัพคราธ
ณวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง ๖ บาท มีจันทรุปราคา
ปีชวด จ.ศ. ๑๑๗๘ ณวัน ค่ำ เวลาบ่าย ๕ โมง ไฟไหม้ตรอกวัดโคก พม่าแหกคุกหนีออกฆ่าคนตายบ้างเจ็บบ้างเปนอันมาก
ณวัน ๑๑ ค่ำ เวลาบ่ายโมง ๑ พระยาช้างเผือกผู้มาแต่เมืองเชียงใหม่ถึงกรุงฯ
ณวัน ๑๔ ๑๒ ค่ำ ไฟไหม้วัดทองปุ
ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ จับเจ้ากรมศรีสุเรนทร์แลพระองค์เจ้าสุริวงษ์
ณวัน ๑๓ ค่ำ ไฟไหม้ฉางเข้าน่าวัดมหาธาตุ
ณวัน ๑๓ ฯ  ค่ำ โสกันต์เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่
ปีฉลู จ.ศ. ๑๑๗๙ ณวัน ค่ำ ช้างเผือกผู้มาแต่เมืองน่าน ถึงกรุงฯ เวลาบ่าย ๕ โมง
ณวัน ค่ำ เวลาบ่ายโมง ๑ มีสริยุปราคา
ณวัน ค่ำ สำเร็จโทษเจ้า ๒ ไพร่ ๗
ณวัน ค่ำ เวลาเช้า ๕ โมง ๗ บาท กรมพระราชวังสวรรคต
ณวัน ๑๒ ค่ำ เวลาเช้า มีสุริยุปราคา
ณวัน ค่ำ พระยาพลเทพตีนตก
ณวัน ค่ำ ไฟไหม้สพานหัน
ณวัน ๑๐ ค่ำ เช้า ๒ โมง พระยาช้างเนียมลงน้ำหายไป
ปีขาล จ.ศ. ๑๑๘๐ ณวัน ค่ำ อาจารย์เทศ อาจารย์ดี อาจารย์ห้อง เชิญพระศรีมหาโพธิ พระบรมธาตุ พระเขี้ยวแก้ว พระบาทจำลอง มาแต่ลังกา
ณวัน ๑๑ ค่ำ ฟ้าผ่าเสาชิงช้า สำเพ็ง แลวัดเชตุพน วัดมหาธาตุ
ปีนี้ ควายตายมาก
หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/29หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/30หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/31หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/32หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/33หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/34หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/35หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/36หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/37หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/38