ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือสัญญากรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษเปนทางไมตรีค้าขายกัน"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{คุณภาพเนื้อหา|70%}}
{{คุณภาพเนื้อหา|75%}}
{{หัวเรื่องกฎหมาย
{{หัวเรื่องกฎหมาย
|ชื่อเรื่อง= สนธิสัญญาเบาว์ริง<br>(หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม)
|ชื่อเรื่อง= สนธิสัญญาเบาว์ริง<br>(หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม)
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
|ก่อนหน้า=
|ก่อนหน้า=
|ถัดไป=
|ถัดไป=
|หมายเหตุ= คัดจาก:
|หมายเหตุ=
}}
}}
{{รุ่น}}
{{รุ่น}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:30, 29 มกราคม 2554

แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)

สารบัญ

สนธิสัญญาเบาว์ริง ฉบับภาษาไทย เขียนลงสมุดไทย ก่อนส่งไปจักรวรรดิอังกฤษ ให้รัฐบาลอังกฤษประทับตรา
อารัมภบท
ข้อ ๑ หน้าที่ภาคี ในอันที่จะต้องบำรุงรักษาประชาชนของอีกฝ่าย
ข้อ ๒ อำนาจกงสุลอังกฤษ ในอันที่จะควบคุมคนในบังคับอังกฤษซึ่งอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓ อำนาจกงสุลอังกฤษ ในอันที่จะพิจารณาพิพากษาคนในบังคับอังกฤษ
ข้อ ๔ สิทธิคนในบังคับอังกฤษ ในอันที่จะอยู่อาศัยในสยาม
ข้อ ๕ หน้าที่คนในบังคับอังกฤษ ในอันที่จะต้องจดแจ้งการอยู่อาศัย
ข้อ ๖ เสรีภาพของคนในบังคับอังกฤษ ในอันที่จะนับถือและปฏิบัติวัตรศาสนา
ข้อ ๗ ข้อห้ามกำปั่นรบของอังกฤษเดินเรือเข้ามาในน่านน้ำกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและภาษี
ข้อ ๙ การรักษาการตามสนธิสัญญานี้
ข้อ ๑๐ ข้อสงวนสิทธิของอังกฤษ
ข้อ ๑๑ การแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญานี้
ข้อ ๑๒ ความถูกต้องตรงกันของตัวบท และการใช้สนธิสัญญานี้บังคับ
ลงนามและประทับตรา




หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
ประเทศอังกฤษ แล ประเทศสยาม

ศุภมัศดุ จุลศักราช ๑๒๑๗ ปีเถาะสัปตศก ความเจริญงามจงมีแก่บ้านเมืองเทอญ

ครั้งนั้น มีทูตอังกฤษมาแต่พระนางซึ่งเปนใหญ่เปนเจ้าราชอาณาจักรอันผสมกัน คือ ทวีปปริตเตียนใหญ่ แลทวีปไอยยิแลน แลที่อื่น ๆ อันขึ้นแก่ราชอาณาจักรนั้น เข้ามาขอทำสัญญาทางพระราชไมตรีแลการค้าขายกับกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยา จึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงษ วงษาดิศวรกระษัตรย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล พระบาทสมเด็จพระบวเรนทราเมศวรมหิศเรศรังสรรค์ มหันตวรเดโชไชยมหาโหฬารคุณอดุลยเดช สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจุฬจักรพรรดิราชสังกาศ บวรธรรมมิกราชบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สองพระองค์ ทรงเห็นชอบกับพระราชดำริห์พระนางเปนเจ้าเปนใหญ่ในทวีปปริตเตียนใหญ่และไอยยิแลน ร่วมพระราชประสงค์ทำหนังสือสัญญาทางไมตรี กับพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเมืองปริตเตนอิริลานต์ เพื่อจะให้มีผลประโยชน์แก่ราษฎรอยู่ใต้บังคับไทยแลคนในบังคับอังกฤษ จัดแจงการทำมาหากินค้าขายให้มีผลประโยชน์เรียบร้อย เพราะเหตุฉะนี้ จึ่งได้ตั้งพระไทยจะทำหนังสือสัญญาไมตรีการค้าขาย จึ่งได้ตั้งเสนาบดีให้มีอำนาจทั้งสองฝ่าย ๆ พระเจ้าแผ่นดินเมืองปริตเตนไอยยิแลนตั้งเซอยอนโบวริงเปนขุนนางลูกขุนผู้ใหญ่ ฝ่ายพระบาทสมเด็จบรมนาถบพิตร์ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ พร้อมกันกับความคิดพระราชวงษานุวงษ์ แลข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง มอบความพระราชดำริห์แลพระราชประสงค์ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มาประชุมแทนพระราชวงษานุวงษ์ แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาปยุรวงษ์ วรุตมพงษ์นายก สยามดิลกโลกานุปาลนนารถ สกลราชวราณาจักราธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชานุกูล สรรพกิจมูลมเหศวรเชฐามาตยาธิบดี ตรีสรณรัตนธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร์ ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีอาญาสิทธิ์บังคับบัญชาได้สิทธิ์ขาดทั่วทั้งราชอาณาจักร์ กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ นรเนตรนารถราชสุริยวงษ สกุลพงษปดิฐามุขมาตยาธิบดี ไตรสรณศรีรัตนธาดา สกุลมหารัชชาธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชวโรประการ มโหฬารเดชานุภาพบพิตร์ ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีอำนาจบังคับบัญชาทั่วทั้งพระนคร กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ สมันตพงษ์พิสุทธิ์ มหาบรุษรัตโนดม ผู้ว่าที่สมุหพระกระลาโหม ผู้สำเร็จราชการบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝั่งตะวันตก กับเจ้าพระยาผู้ช่วยสำเร็จราชการกรมท่า เปนผู้สำเร็จราชการบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ทั้ง ๕ เปนประธาน ฝ่ายเสนาบดีไทยก็ได้ส่งพระราชลัญจกร ฝ่ายขุนนางอังกฤษได้ส่งหนังสือเจ้าวิกตอเรียซึ่งให้เข้ามาทำหนังสือสัญญากับไทย เห็นถูกต้องพร้อมกันทั้งสองฝ่าย ได้ตกลงกันตามข้อสัญญาที่เขียนไว้สืบต่อไปข้างน่า

ข้อ ๑ ว่า ตั้งแต่นี้ไปพระเจ้าแผ่นดินกรุงบริเตนไอยยิแลน กับพระเจ้าแผ่นดินที่จะสืบวงษ์ต่อไปภายน่า กับด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทั้งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไทยที่จะสืบพระราชอิศริยยศต่อไปภายน่า ให้มีไมตรีรักใคร่กันราบคาบไปชั่วฟ้าแลดิน แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานครเสนาบดีฝ่ายไทยก็จะช่วยบำรุงรักษา ให้อยู่เปนศุขสบายให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดฝ่ายไทยคุมเหงเบียดเบียฬ แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับไทยที่จะไปอยู่ในดินแดนอังกฤษ ขุนนางอังกฤษก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบายให้ได้ค้าขายได้สดวก มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดฝ่ายอังกฤษข่มเหงเบียดเบียฬ

ข้อ ๒ ว่า แต่บรรดาการงานของคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษ ซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ก็ต้องฟังบังคับบัญชาของกงสุลที่เข้ามาตั้งอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร กงสุลจะได้ทำตามหนังสือสัญญานี้ แลข้อหนังสือสัญญาเก่าที่มิได้ยกเสียจงทุกประการ แล้วจะได้บังคับบัญชาคนในบังคับอังกฤษทำตามด้วย แล้วกงสุลจะได้รับรักษากฎหมายค้าขาย แลกฎหมายที่จะห้ามปรามมิให้คนที่อยู่ในบังคับอังกฤษ ทำผิดล่วงเกินกฎหมายของอังกฤษกับไทย ที่มีอยู่แล้วแลจะมีต่อไปภายน่า ถ้าคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษ จะเกิดวิวาทกันขึ้นกับคนที่อยู่ในบังคับไทยกงสุลกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยจะปฤกษาชำระตัดสิน คนที่อยู่ในบังคับอังกฤษทำผิดกงสุลจะทำโทษตามกฎหมายอังกฤษ คนที่อยู่ในบังคับไทยทำผิด ไทยจะทำโทษตามกฎหมายเมืองไทย ถ้าคนอยู่ใต้บังคับไทยเป็นความกันเอง กงสุลไม่เอาเป็นธุระ คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาอังกฤษเป็นความกันเอง ไทยก็ไม่เอาเป็นธุระ แลไทยกับอังกฤษยอมกันว่ากงสุลซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานครนั้นยังไม่ตั้ง ต่อเมื่อทำหนังสือสัญญาตกลงลงชื่อกันแล้ว กำปั่นอังกฤษเข้ามาค้าขาย ณ กรุงเทพหานคร ใช้ธงอังกฤษมีหนังสือสำหรับลำเปนสำคัญครบ ๑๐ ลำ หนังสือสัญญาประทับตราเข้ามาถึงเปลี่ยนกันแล้ว กงสุลจึงตั้งได้

ข้อ ๓ ว่า คนซึ่งอยู่ในบังคับไทย จะไปเปนลูกจ้างอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ฤาคนไทยที่มิได้เปนลูกจ้างก็ดี ทำผิดกฎหมายเมืองไทยจะหนีไปอาไศรยอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ซึ่งอยู่ในกรุงเทพ ฯ ถ้ามีพยานว่าทำผิดหนีไปอยู่กับคนในบังคับอังกฤษจริง กงสุลจะจับตัวส่งให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายไทย ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษที่เข้ามาตั้งบ้านเรือน แลเข้ามาอาไศรยค้าขายอยู่ในกรุงเทพ ฯ ทำผิดหนีไปอยู่กับคนในใต้บังคับไทย ถ้ามีพยานว่าทำผิดหนีไปอยู่กับคนในบังคับไทยจริง กงสุลจะขอเอาตัว เจ้าพนักงานฝ่ายไทยจะจับตัวส่งให้ถ้าพวกจีนคนไรว่าเปนคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ไม่มีสำคัญสิ่งไรเปนพยานว่าเปนคนอยู่ในบังคับอังกฤษ กงสุลก็ไม่รับเอาเป็นธุระ

ข้อ ๔ ว่า คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะมาค้าขายตามหัวเมืองชายทเลซึ่งขึ้นแก่กรุงเทพ ฯ ก็ค้าขายได้โดยสดวก แต่จะอาไศรยอยู่ได้ที่เดียวก็แต่ในกรุงเทพ ฯ ตามในจังหวัดซึ่งกำหนดไว้ในหนังสือสัญญา ประการหนึ่งคนอยู่ในบังคับอังกฤษจะมาเช่าปลูกโรงปลูกเรือนปลูกตึก แจะซื้อโรงซื้อเรือนซื้อตึก พ้นกำแพงออกไปในกำหนด ๒๐๐ เส้น คือสี่ไมล์ อังกฤษเช่าได้ แต่จะซื้อที่ซื้อไม่ได้ ถ้าอยู่ถึง ๑๐ ปีแล้วจึ่งจะซื้อได้ ถ้าอยู่ยังไม่ถึง ๑๐ ปี ท่านเสนาบดีจะโปรดให้ซื้อก็ซื้อได้ แลที่นอกกำหนด ๒๐๐ เส้นนั้น คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อจะเช่าที่เรือนที่สวนที่ไร่ที่นา ตั้งแต่กำแพงเมืองออกไปเดินด้วยกำลังเรือแจวเรือภายทาง ๒๔ ชั่วโมง จะซื้อจะเช่าเมื่อไรก็ซื้อได้เช่าได้ แต่เมื่อคนอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อที่ซื้อเรือนจะต้องบอกกงสุล ๆ จะได้บอกเจ้าพนักงานฝ่ายไทย เจ้าพนักงานกับกงสุลเห็นว่าคนที่จะซื้อที่นั้น เปนคนจะทำมาหากินโดยจริง เจ้าพนักงานกับกงสุลจะช่วยว่ากล่าวให้ซื้อตามราคาสมควร แล้วจะได้ดูแลปักที่วัดที่ทำหนังสือประทับตราเจ้าพนักงานให้ไว้เปนสำคัญ แล้วจะได้ฝากฝังเจ้าเมือกรมการให้ช่วยดูแลทำนุบำรุงด้วย แลให้ผู้ที่ไปอยู่นั้นฟังบังคับบัญชาเจ้าเมืองกรมการตามยุติธรรม ค่าธรรมเนียมที่ทำไร่ทำสวน ราษฎรบ้านนั้นเมืองนั้นต้องเสียอย่างไรก็ให้เสียตามชาวบ้านนั้นชาวเมืองนั้น ถ้าในกำหนดสามปีแล้วผู้ที่ซื้อไม่มีทุนรอนฤาแชเชือนเสียมิได้ตั้งการปลูกสร้าง เสนาบดีจะคืนเงินค่าที่ให้ จะตัดสินคืนเอาที่นั้นเสีย

ข้อ ๕ ว่า คนอยู่ในบังคับบัญชาอังกฤษที่เข้ามาอาไศรยอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ต้องไปบอกแก่กงสุลให้จดชื่อไว้ ถ้าคนเหล่านี้จะออกไปทะเล ฤาจะไปเที่ยวเกินกำหนด ๒๔ ชั่วโมงตามสัญญาไว้ ที่จะให้คนในบังคับอังกฤษอยู่กงสุลจะไปขอหนังสือเบิกล่องเจ้าพนักงานฝ่ายไทยให้ไป ถ้าคนในบังคับอังกฤษจะกลับออกไปกรุงเทพ ฯ ถ้าขุนนางเจ้าพนักงานฝ่ายไทยบอกแก่กงสุลว่ามีเหตุควรจะห้ามมิให้ออกไป กงสุลก็จะมิให้ออกไป ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษไปเที่ยวในระหว่าง ๒๔ ชั่วโมง กงสุลจะเขียนเปนหนังสือไทยให้ไป ว่าคนนั้นชื่ออย่างนั้นรูปร่างอย่างนั้นมีธุระอย่างนั้น และจะต้องให้เจ้าพนักงานฝ่ายไทยประทับตราหนังสือให้ไปเปนสำคัญด้วย เจ้าพนักงายฝ่ายไทยดูหนังสือแล้วให้คืนหนังสือให้ปล่อยตัวไปโดยเร็ว ถ้าไม่มีหนังสือกงสุลประทับตราเจ้าพนักงานฝ่ายไทยไปสำหรับตัวสงไสยว่าเปนคนหนีก็ยึดเอาตัวไว้ แล้วให้มาบอกความแก่กงสุลให้รู้

ข้อ ๖ ว่า คนซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาเที่ยว แลจะเข้ามาอาไศรยอยู่ ณ กรุงเทพ ฯ จะถือสาศนาคฤษเติน ไทยก็ไม่ห้ามปราม เมื่อจะสร้างวัดขึ้นจะทำได้ก็แต่ในที่เสนาบดีจะโปรดให้ ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ซึ่งจะเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ จะจ้างคนซึ่งอยู่ใต้บังคับไทยมาเปนลูกจ้าง เสนาบดีฝ่ายไทยจะไม่ห้ามปราม ถ้าคนที่มีมุลนายจะมารับจ้างอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษมุลนายไม่รู้ มุลนายจะมาเอาตัวไปก็เอาไปได้ ถ้าคนในบังคับอังกฤษไปจ้างคนในใต้บังคับไทยเปนลูกจ้าง ไม่ได้ทำสัญญากับมุลนายเขา ภายหลังถ้าเกี่ยวข้องสิ่งหนึ่งสิ่งใด เสนาบดีฝ่ายไทยไม่ชำระให้

ข้อ ๗ ว่า กำปั่นรบจะเข้ามาทอดน่าด่านเมืองสมุทรปราการเข้ามาทอดได้ แต่จะขึ้นมา ณ กรุงเทพ ฯ ไม่ได้ เมื่อกำปั่นรบชำรุดจะต้องเข้าอู่ เสนาบดีเจ้าเมืองกรมการเห็นว่าชำรุดจริงจะยอมให้เอามาเข้าอู่ ถ้าจะมีขุนนางถือหนังสือพระเจ้าแผ่นดินกรุงบริเตนให้มาด้วย กำปั่นรบเข้ามา ณ กรุงเทพ ฯ จะให้ขึ้นมาแต่ลำเดียว ต้องให้ขึ้นมาทอดอยู่ใต้ป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิจปัจจนึก อย่าให้ขึ้นมาพ้นป้อมเว้นไว้แต่เสนาบดีจะโปรดให้ขึ้นมาพ้นป้อมจึ่งขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีเรือรบอังกฤษอยู่ในกรุงเทพ ฯ คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะวิวาทกันขึ้นน กกงสุลจะไประงับ ไทยจะให้ทหารไปช่วยกงสุลระงับภอระงับได้

ข้อ ๘ ว่า ค่าธรรมเนียมปากเรือที่เคยเรียกแต่ลูกค้าอังกฤษตามสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น จะยอมเลิกเสียตั้งแต่หนังสือสัญญานี้ใช้ได้ พ้นนั้นไปจะต้องเสียแต่ภาษีสิ่งของขาเข้าขาออก สินค้าเข้าจะต้องเสียภาษี ๑๐๐ ละสาม จะเสียเปนของฤาจะเสียเปนเงินคิดราคาตามราคาท้องน้ำ สุดแต่ให้เจ้าของจะเสีย ถ้าของเสียภาษี ๑๐๐ ละสามแล้วของจำหน่ายไม่ได้จะเหลือกลับออกไปมากน้อยเท่าใด ต้องคิดภาษีสิ่งของที่เหลือคืนให้แก่เจ้าของให้ครบ ถ้าราคาสิ่งของไม่ตกลงกันต้องไปบอกกงสุล ๆ จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤาสองคน เจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤาสองคนช่วยตีราคาภอสมคววร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝิ่นเข้ามา ณ กรุงเทพ ฯ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายฝิ่นให้แก่เจ้าภาศี ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อฝิ่นไว้ ให้บันทุกกลับออกไปไม่ต้องเสียอะไร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษ เอาฝิ่นไปลักลอบขายทำผิดสัญญาข้อนี้ ให้ริบเอาฝิ่นไปเสียให้สิ้น แลของที่เปนสินค้าจะบันทุกออกไปนั้น ตั้งแต่ของสิ่งนั้นเกิดมาจนได้เปนสินค้าบันทุกกำปั่นออกไป ให้เสียภาษีแต่ชิ้นเดียว ของสิ่งไรที่เปนสินค้าในกรุงเทพ ฯ จะเรียกเปนสมพักษร ฤาจะเรียกเปนภาษีป่าภาษีในกรุงเทพ ฯ ภาษีปากเรืออย่างไร ได้กำหนดแจ้งในพิกัดอยู่กับหนังสือสัญญาแล้ว ได้ยอมกันเปนชัดว่าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้องเสียภาษีข้างในแล้วเมื่อลงเรือไม่ต้องเสีย พวกลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อสินค้ายอมให้ซื้อ แต่ผู้ทำผู้ปลูกแลของที่เขาขายนั้น ถ้าผู้ใดผู้หนึ่งจะซื้อยอมให้ขาย มิให้ผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางห้ามปรามภาษีที่กำหนดในพิกัดสัญญานี้ สินค้าที่บันทุกเรือไทยเรือจีนที่เคยเสียแลว ฝ่ายไทยจะยอมลดภาษีให้เรือไทยเรือจีนแลชาติอื่น ๆ ก็จะยอมลดให้ลูกค้าซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษเหมือนกัน ลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาต่อเรือ ณ กรุง ฯ เสนาบดียอมให้ต่อแล้วก็ต่อได้ แลเข้าปลาเกลือของสามสิ่งนี้ที่กรุง ฯ ไม่บริบูรณ มีหมายประกาศห้ามไม่ให้ออกไปก็ได้ เงินทองแลของสำหรับตัวเข้าออกไม่ต้องเสียภาษี

ข้อ ๙ ว่า ความในกฎหมายซึ่งติดในสัญญานี้ กงสุลกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยพร้อมกันจะต้องรักษา แลจะต้องบังคับให้คนทั้งปวงกระทำตามกฎหมาย เจ้าพนักงานฝ่ายไทยกับกงสุลจะคิดจัดแจงเพิ่มเติมกฎหมาย หวังจะรักษาหนังสือสัญญาให้เจริญก็ทำได้ เงินที่ปรับไหมแลของที่ริบเพราะทำผิดสัญญานี้ ต้องส่งเปนของแผ่นดินก่อน เมื่อกงสุลจะเข้ามาตั้งในกรุง ฯ เจ้าของเรือแลกัปตันนายเรือจะว่าด้วยการค้าขายกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็ได้

ข้อ ๑๐ ว่า ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใด ๆ แก่ชาติอื่น ๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมให้อังกฤษ แลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน

ข้อ ๑๑ ว่า เมื่อพ้น ๑๐ ปี ตั้งแต่ประทับตราเปลี่ยนหนังสือสัญญานี้แล้ว ถ้าฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษจะขอเปลี่ยนข้อใด ๆ ในสัญญานี้ แลข้อใด ๆ ในหนังสือสัญญาเก่า ซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปี ซึ่งมิได้ยกเสียนั้น แลข้อใด ๆ ในกฎหมายค้าขายแลพิกัดภาษีที่ติดอยู่กับหนังสือสัญญานี้แลกฎหมายจะทำต่อไปภายน่า เมื่อบอกให้รู้ก่อนปีหนึ่ง แล้วจะตั้งขุนนางฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้ ตามแต่เห็นควรเห็นชอบด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ข้อ ๑๒ ว่า หนังสือสัญญานี้ทำไว้เปนอักษรไทยฉบับหนึ่งเปนอักษรอังกฤษฉบับหนึ่งข้อความต้องกัน เมื่อหนังสือสัญญญาประทับตราเข้ามาเปลี่ยนกันแล้วใช้ได้ เมื่อวันที่ ๖ เดือนเอปริล คฤษตษักราช ๑๘๕๖ ปี คิดเปนไทย ณ วันอาทิตย์เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช ๑๒๑๘ ปีมโรงอัฐศก ผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษทำหนังสือสัญญานี้ เขียนเปน ๔ ฉบับ ลงชื่อประทับตราด้วยกันทั้งสองฝ่าย ทำไว้ในกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสิทรมหินทรายุทธยา ณ วันพุฒ เดือน ๖ ขึ้นสองค่ำ ปีเถาะสัปตศก



(ลงชื่อประทับตรา) เซอยอนโบวริง ราชทูตอังกฤษ
(ลงชื่อประทับตรา) ท่านผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทย ห้าดวง



งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"