ชุมนุมพระนิพนธ์ (บางเรื่อง)/(๙)

จาก วิกิซอร์ซ
ประวัติ
ของ
พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย
(สวาสดิ์ บุนนาค)




พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) เกิดที่บ้านบางยี่ขัน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนเดียวของหลวงสุนทรภักดี (วุธ บุนนาค) กับนางสุนทรภักดี (ฉุน บุนนาค) เกิด ณ วันจันทร์ ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๔๕ ตรงกับวันที่ ๕ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๒๖ (ร.ศ. ๑๐๒)

เข้ารับราชการทหารเป็นนักเรียนนายร้อยเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ (ร.ศ. ๑๑๗) ในกรมยุทธศึกษาทหารบก

สอบไล่วิชาในโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้น ๓ เป็นที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ (ร.ศ. ๑๑๙)


ตำแหน่งหน้าที่ราชการ


วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๑ เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยในโรงเรียนทหารบก รับเงินเดือนสี่บาท

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๔๓ เป็นหัวหน้านักเรียนนายร้อยในโรงเรียนทหารบก รับเงินเดือนแปดบาท

วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๔๔๔ สอบไล่ได้ออกรับราชการสำรองราชการกองทหารม้ามณฑลกรุงเทพฯ ในหน้าที่นายร้อยตรี เงินเดือนให้คงรับที่โรงเรียนทหารบกจนกว่าจะได้ประจำกอง

วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๔๔ ได้เลื่อนขั้นว่าที่นายร้อยตรีประจำกองร้อยที่ ๒ กองทหารม้าในมณฑลกรุงเทพฯ รับเงินเดือนนายร้อยตรีชั้น ๒ เดือนละสามสิบห้าบาท

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๔๕ ย้ายไปประจำกองร้อยที่ ๒ กรมทหารม้าที่ ๓ มณฑลนครราชสีมา รับเงินเดือนอัตรานายร้อยโทชั้น ๓ เดือนละแปดสิบบาท

วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๔๖ ประจำกองร้อยที่ ๒ กรมทหารม้าที่ ๓ มณฑลนครราชสีมา รับเงินเดือนอัตรานายร้อยโทชั้น ๒ เดือนละเก้าสิบบาท

วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๔๖ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารม้าที่ ๓ มณฑลนครราชสีมา รับเงินเดือนอัตรานายร้อยโทชั้น ๑ เดือนละหนึ่งร้อยบาท

วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๔๘ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารม้าที่ ๓ มณฑลนครราชสีมา รับเงินเดือนอัตรานายร้อยเอกชั้น ๓ เดือนละหนึ่งร้อยยี่สิบบาท

วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๔๙ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารม้าที่ ๓ มณฑลนครราชสีมา รับเงินเดือนอัตรานายร้อยเอกชั้น ๒ เดือนละหนึ่งร้อยสามสิบบาท

วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๔๔๙ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ คงรับเงินเดือนนายร้อยเอกชั้น ๒

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๐ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม คงรับเงินเดือนนายร้อยเอกชั้น ๒

วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๔๕๐ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๑ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม คงรับเงินเดือนนายร้อยเอกชั้น ๒

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๑ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๑ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม รับเงินเดือนอัตรานายร้อยเอกชั้น ๑ เดือนละหนึ่งร้อยสี่สิบบาท

วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ เป็นปลัดบัญชาการโรงเรียนทหารบก คงรับเงินเดือนนายร้อยเอกชั้น ๑

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๒ เป็นปลัดบัญชาการโรงเรียนทหารบก รับเงินเดือนอัตรานายพันตรีชั้น ๓ เดือนละหนึ่งร้อยหกสิบบาท

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๒ เป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ ๗ คงรับเงินเดือนอัตรานายพันตรีชั้น ๓

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๔ เป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ ๗ รับเงินเดือนอัตรานายพันตรีชั้น ๑ เดือนละสองร้อยบาท

วันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๕๔ เป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ คงรับเงินเดือนอัตรานายพันตรีชั้น ๑

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๕ เป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ รับเงินเดือนอัตรานายพันโทชั้น ๓ เดือนละสองร้อยยี่สิบบาท

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ เป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ คงรับเงินเดือนอัตรานายพันโทชั้น ๓ เดือนละสามร้อยบาท (เปลี่ยนอัตราเงินเดือน)

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๗ เป็นผู้รั้งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๖ รับเงินเดือนอัตรานายพันเอกชั้น ๓ เดือนละห้าร้อยบาท

วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๕๘ เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๖ คงรับอัตราเงินเดือนนายพันเอกชั้น ๓ เดือนละห้าร้อยบาท

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๐ เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๖ รับเงินเดือนอัตรานายพันเอกชั้น ๒ เดือนละห้าร้อยห้าสิบบาท

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๑ เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๖ รับเงินเดือนอัตรานายพลตรีชั้น ๓ เดือนละเจ็ดร้อยบาท

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๔ เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๖ รับเงินเดือนอัตรานายพลตรีชั้น ๒ เดือนละแปดร้อยบาท

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๖๔ เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๕ คงรับเงินเดือนอัตรานายพลตรีชั้น ๒

วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๖๔ เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม คงรับเงินเดือนอัตรานายพลตรีชั้น ๒

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๗ เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม เงินเดือนอัตรานายพลตรีชั้น ๑ เดือนละเก้าร้อยบาท

วันที่ ๙ ตุลาคม เป็นแม่ทัพกองน้อยทหารบกที่ ๓ คงรับเงินเดือนอัตรานายพลตรีชั้น ๑ เดือนละเก้าร้อยบาท

วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ เป็นราชองครักษ์เวร

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๐ เป็นแม่ทัพกองน้อยทหารบกที่ ๓ เงินเดือนอัตรานายพลโทชั้น ๓ เดือนละหนึ่งพันบาท

วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๖๐ เป็นแม่ทัพกองทัพน้อยที่ ๒ คงรับเงินเดือนอัตรานายพลโทชั้น ๓ เดือนละหนึ่งพันหนึ่งร้อยบาท

วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๗๐ เป็นราชองครักษ์เวร

วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๗๑ เป็นแม่ทัพกองทัพที่ ๑ คงรับเงินเดือนอัตรานายพลโทชั้น ๓ เดือนละหนึ่งพันสามร้อยบาท

วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๓ เป็นแม่ทัพกองทัพที่ ๑ เลื่อนขั้นเงินเดือนอัตรานายพลโทชั้น ๒ เดือนละหนึ่งพันสามร้อยบาท

วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๗๔ เป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาธิการทหารบก คงรับเงินเดือนอัตรานายพลโทชั้น ๒ เดือนละหนึ่งพันสามร้อยบาท

วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาธิการทหารบก คงรับเงินเดือนอัตรานายพลโทชั้น ๒ เดือนละหนึ่งพันสามร้อยบาท


ออกนอกตำแหน่งประจำการทหาร


ออกจากประจำการเป็นนายทหารนอกราชการ กองบังคับการ กระทรวงกลาโหม เพื่อรับพระราชทานบำนาญตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

เป็นนายทหารนอกราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตั้งแต่วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๔๗๗ เพื่อให้ตรงกับโครงการที่เปลี่ยนใหม่

ย้ายประเภทเป็นนายทหารพ้นราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๒ เพราะมีอายุครบกำหนดอยู่ในประเภทนายทหารนอกราชการแล้ว


ตำแหน่งพิเศษ


วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๕๓ เป็นราชองครักษ์เวรในรัชกาลปรัตยุบัน (ในครั้งแรกที่มีราชองครักษ์เวร)

วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๕ คงเป็นราชองครักษ์เวรต่อไป

วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๗ คงเป็นราชองครักษ์เวรต่อไป

วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๔๖๑ คงเป็นราชองครักษ์เวรต่อไป

วันที่ ๔ เมษายน ๒๔๖๓ เป็นองคมนตรี

วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๓ เป็นราชองครักษ์พิเศษ

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ เป็นนายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้าที่ ๑ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ ฯลฯ

วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา

วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ ๒

วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ พ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (โดยการจับสลาก)

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ เป็นกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์

วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการสลากกินแบ่งรัฐบาล

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ เป็นกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์

วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๙๕ เป็นกรรมการอำนวยการสลากกินแบ่งรัฐบาล (ยกเลิกการแต่งตั้งเดิม ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๙ ตอนที่ ๓๘ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๕)

วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๕ ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์


ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร


วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๔๔ เป็นนายร้อยตรี

วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๔๕ เป็นนายร้อยโท

วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๔๘ เป็นนายร้อยเอก

วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๕๒ เป็นนายพันตรี

วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๕๕ เป็นนายพันโท

วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๗ เป็นนายพันเอก

วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๔๖๑ เป็นนายพลตรี

วันที่ ๗ เมษายน ๒๔๗๐ เป็นนายพลโท


ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์


วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๑ เป็นหลวงไกรกระบวนหัด ถือศักดินาแปดร้อย

วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๕๖ เป็นพระราญรอนอริราช ถือศักดินาหนึ่งพัน

วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๕๙ เป็นพระยาพระกฤษณรักษ์ ถือศักดินาหนึ่งพันห้าร้อย

วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๑ เป็นพระยาสีหราชเดโชไชยอภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินาหนึ่งหมื่น


ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ


วันรับพระราชทาน ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ๒๔๔๑ เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)

วันรับพระราชทาน ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ เหรียญรัชมังคลาภิเษก (ร.ม.ษ.)

วันรับพระราชทาน ธันวาคม ๒๔๕๑ เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)

วันรับพระราชทาน ๘ ตุลาคม ๒๔๕๓ ตราเบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)

วันรับพระราชทาน ๒ ธันวาคม ๒๔๕๔ เหรียญบรมราชาภิเษก (ร.ร.ศ.)

วันรับพระราชทาน ๑๘ มกราคม ๒๔๕๔ ตราจัตุรถาภรณ์มงกุฎ (จ.ม.)

วันรับพระราชทาน ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ ตราตริตาภรณ์มงกุฎ (ต.ม.)

วันรับพระราชทาน ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๗ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖ (ว.ป.ร.)

วันรับพระราชทาน ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๗ เข็มข้าหลวงเดิม

วันรับพระราชทาน ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๘ ตราตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

วันรับพระราชทาน ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๙ ตราตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ กับโต๊ะถาดทอง (ต.จ.ว.)

วันรับพระราชทาน ๑๒ เมษายน ๒๔๕๕ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปรัตยุบันชั้นที่ ๕

วันรับพระราชทาน ๓๑ ธันวาคม ๒๔๕๙ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.)

วันรับพระราชทาน ๓๑ ธันวาคม ๒๔๕๙ เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)

วันรับพระราชทาน ๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๐ เหรียญดุษฎีมาลาเข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.แผ่นดิน)

วันรับพระราชทาน ๓๑ ธันวาคม ๒๔๖๑ ตราทุติยจุลจอมเกล้า และพานทองเครื่องยศ (ท.จ.)

วันรับพระราชทาน ๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๑ ตราทวีติยาภรณ์มงกุฎ (ท.ม.)

วันรับพระราชทาน ๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๖ ตราทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

วันรับพระราชทาน ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๗ ตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

วันรับพระราชทาน ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเษก (ทอง)

วันรับพระราชทาน ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙ ตราประถมาภรณ์มงกุฎ

วันรับพระราชทาน ๑๒ มีนาคม ๒๔๗๓ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบันชั้นที่ ๓ (ป.ป.ร.๓)

วันรับพระราชทาน ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ ตราประถมาภรณ์ช้างเผือก

วันรับพระราชทาน ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ เหรียญบรมราชาภิเษก (ทอง) รัชกาลที่ ๙

วันรับพระราชทาน ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๙๗ เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๓


ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ


วันรับ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๕๐ ตราเซนต์มอริซลัซซาร์ชั้น ๔ ของประเทศอิตาเลีย

วันรับ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๖๔ ตราเลยองด’ฮอนเนอร์ชั้นที่ ๓ ของประเทศฝรั่งเศส


ชีวิตสมรส


ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ขณะนั้น ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบก) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สู่ขอนางสาวสุนีย์สาย อมาตยกุล ธิดาหลวงพิเทศพิสัย (ประวัติ อมาตยกุล) กับนางพิเทศพิสัย (พระนมร่ำ อมาตยกุล) ซึ่งถวายตัวเป็นข้าหลวงอยู่ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ประทานพระยาสีหราชเดโชไชย ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็นนายพันเอก พระยาพระกฤษณรักษ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๖ และทรงพระกรุณาประกอบพิธีสมรสประทานที่วังปารุสกวัน จังหวัดพระนคร เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙

พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) มีบุตรธิดาดังรายชื่อต่อไปนี้

๑. นายร้อยตำรวจโท สืบสวัสดิ์ บุนนาค
๒. นายพันตำรวจโท เกียรติ บุนนาค
๓. นางสเริงรมย์ อมันตกุล
๔. ร้อยเอก เผด็จ บุนนาค
๕. ร้อยตรี สีหเดช บุนนาค
๖. นางสายสวาท บุนนาค
๗. จ่านายสิบตำรวจ พัฒนเดช บุนนาค
๘. นายบุญรักษ์ บุนนาค

พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) ได้ถึงอนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรมแปดค่ำ เดือนเจ็ด เวลา ๐๒:๐๐ น. ณ บ้านเลขที่ ๕๑๘ ซอยประเสริฐสุข ถนนลาดหญ้า จังหวัดธนบุรี อายุเจ็ดสิบสี่ปี