ประกาศพระราชบัญญัติแลพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 5/เล่ม 13/เรื่อง 33

จาก วิกิซอร์ซ
ดูฉบับอื่นของงานนี้ที่ กฎอัยการศึก ร.ศ. 126
กฎอัยการศึก
รัตนโกสินทรศก ๑๒๖

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า

ตามระเบียบการที่จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชบัญญัติใหม่แทนพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งใช้อยู่ในพระราชอาณาจักรในเวลานี้เพื่อปกครองการยุติธรรมของทหาร และในพระราชบัญญัติใหม่นั้น มีทั้งส่วนพิเศษว่าด้วยศาลทหารบกเมื่อได้มีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึก เพราะฉนั้น ก่อนที่จะเริ่มใช้พระราชบัญญัติใหม่นี้ สมควรตรากฎอัยการศึกขึ้นไว้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "กฎอัยการศึก ร.ศ. ๑๒๖"

มาตราเมื่อเวลาที่มีเหตุอันจำเปนเพื่อจะได้รักษาความเรียบร้อยปราศจากไภย ซึ่งจะมีจากภายนอกหรือภายในพระราชอาณาจักรนั้นแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกในส่วนหนึ่งส่วนใดของพระราชอาณาจักร์

มาตราในประกาศนั้น จะต้องแสดงให้ปรากฎว่า มณฑลใด ตำบลใด หรือเขตรใด ให้ใช้กฎอัยการศึก

มาตราเมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้นณแห่งใด ผู้บังคับบัญชาทหารที่นั้นซึ่งมีกำลังไม่น้อยกว่ากองพัน หรือผู้บังคับบัญชาในที่มั่นของทหาร มีอำนาจที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกในเขตรอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่ต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด

มาตราเมื่อจะยกเลิกกฎอัยการในแห่งใด ต้องเปนไปตามประกาศพระบรมราชโองการ

มาตราในเขตร์ที่ใช้กฎอัยการศึกนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหมือนกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในการระงับปราบปรามหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องช่วยราชการทหารตามความต้องการของฝ่ายทหาร

มาตราอำนาจของศาลทหารในตำบลที่ใช้กฎอัยการศึกนั้น ต้องเปนไปตามพระราชกำหนดกฎหมายอาญาทหารทุกประการ

แต่ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาความอาญาที่ยังตกค้างอยู่ก่อนออกประกาศใช้กฎอัยการศึก และศาลทหารคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาความอาญาที่ยังตกค้างอยู่เมื่อยกเลิกกฎอัยการศึก

มาตราเมื่อใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจที่จะทำดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็ได้

๑)มีอำนาจที่จะเข้าค้นที่หนึ่งที่ใดในเวลาใดได้

๒)มีอำนาจขับไล่ผู้ใดซึ่งไม่มีภูมิ์ลำเนาอาไศรยเปนหลักถานในตำบลนั้น

๓)มีอำนาจบังคับให้คนในตำบลนั้นส่งอาวุธและกระสุนดินปืนซึ่งมีอยู่ไปยังเจ้าพนักงานฝ่ายทหาร และมีอำนาจตรวจและจับกุมอาวุธ และกระสุนดินปืน และสิ่งของต้องห้ามในการสงคราม ๚

ประกาศมาณวันที่ ๑๐ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ เปนวันที่ ๑๔๒๗๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้