ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๒

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๒ ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ

นางวิจารณนวกรรม และ พระยาวิเศษศุภวัตร์

พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานปลงศพ นางซิ่ว กาญจนะศัพท์ ผู้มารดา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๘๒ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม

คำนำ พระยาวิเศษศุภวัตร์ ได้มาแจ้งความจำนงยังกรมศิลปากร ขอต้นฉะบับหนังสือเรื่องหนึ่ง เพื่อพิมพ์แจกในงานปลงศพนางซิ่ว กาญจนะศัพท์ ผู้มารดา กรมศิลปากรจึงเลือกให้พิมพ์ " ตำนาน เมืองสุวรรณโคมคำ " ซึ่งได้ให้เจ้าหน้าที่แปลถ่ายจากภาษาไทย เหนือไว้ และยังไม่มีใครได้พิมพ์ออกเผยแผ่หรือแจกจ่ายมาก่อน เลย พระยาวิเศษศุภวัตร์ก็พอใจรับพิมพ์ด้วยความยินดี เมืองสุวรรณโคมคำ ปรากฏตามตำนานนี้ว่าเป็นเมืองหรือแคว้นของชนพวกหนึ่ง ซึ่งเรียกในตำนานนี้ว่า กรอมหลวง ได้มา สร้างขึ้น และชาวกรอมหลวงนั้น เดิมมีแคว้นของตนชื่อโพธิสาร หลวง ทำนองจะเป็นเรื่องราวของแคว้นหรือเมืองซึ่งตั้งขึ้นในแหลมสุวรรณภูมิในเวลาก่อนสมัยที่ชนชาติไทยได้อพยพลงมาตั้งหลัก แหล่งจนเป็นอาณาจักรขึ้นในดินแดนตอนนี้ เรื่องที่เล่าในตำนานนี้ ก็ดูเป็นทีว่าเป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นในกาลอันล้ำลึกดึกดำบรรพ์ ด้วย ผู้แต่งพยายามจะแสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น เพราะได้อ้างเอา ศาสนาของพระพุทธเจ้าในยุคก่อน ๆ เข้ามาจับแทนนับศักราช ซึ่ง ที่จริง ผู้แต่งได้เอาตำนานของบ้านเมืองเข้าแซกไว้ในเรื่องราว ทางศาสนาเป็นอันมาก จนยากที่จะกำหนดสมัยได้ว่าเรื่องราวเหล่านี้ เกิดขึ้นในศักราชอะไร เท่าไร นอกจากเชื่อได้ว่าเป็นเรื่องก่อนสมัย ที่ไทยอพยพลงมาจากดินแดน อันเป็นถิ่นเดิมซึ่งเป็นประเทศจีน


ข ตอนใต้ในบัดนี้ แต่เรื่องในตำนานเมืองสุวรรณโคมคำนี้ ก็เป็น เพียงตำนาน ซึ่งยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีหรือโบราณวัตถุ เข้าสนับสนุนยืนยัน ส่วนหลักฐานที่นักโบราณคดีตรวจค้นได้และ เป็นที่รับรองกันอยู่ก็ปรากฏชื่อแคว้นหรืออาณาจักร ตลอดจนชื่อ ชนชาติที่ว่าลงมาอยู่ก่อนชนชาติไทย ผิดเพี้ยนไปจากที่ปรากฏในตำนานนี้ ที่มีสำเนียงใกล้เคียงกัน ก็คือ อาณาจักรฟูนันหรือโพหนำ กับโพธิสารหลวง และชนชาติขอมกับกรอม ซึ่งทั้งนี้จะเป็นแคว้น และชาติเดียวกันหรือไม่ ยังไม่มีหลักฐานที่นักโบราณคดีหรือนัก ประวัติศาสตร์คนใดได้ชี้ขาดลงไป แต่ถ้าว่าโดยทางตำนานแล้ว ปรากฏว่าเรื่องตำนานเมืองสุวรรณโคมคำนี้เก่ากว่าตำนานสิงหนวัติ (พิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘) เพราะในตำนานสิงหนวัติอ้างถึงเรื่องเมืองสุวรรณโคมคำ ซึ่งในสมัยสิงหนวัติ นั้นได้ล้มละลายหายศูนย์ไปแล้ว เมื่อได้พิมพ์ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำขึ้นเช่นนี้ จึงเป็นอัน นับเข้าลำดับชุดของเรื่องราวเก่าแก่เป็นลำดับมา คือ ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ, ตำนานสิงหนวัติ และตำนานเมืองเงินยาง เชียง แสน ( ๒ เรื่องหลังนี้พิมพ์อยู่ในพงศาวดารภาคที่ ๖๐ ) ที่ยัง เหลือนอกนั้นก็เป็นเรื่องแซก ซึ่งยังมิได้พิมพ์ออกเผยแผ่มีอยู่บ้าง เช่นตำนานสุวรรณคำแดง ตำนานเมืองลำพูนซึ่งเข้าใจว่าความเดียว กับจามเทวีวงศ์ แต่ตำนานเมืองลำพูนนี้เป็นภาษาไทยเหนือ ซึ่ง อาจเป็นฉะบับที่คัดลอกมาจากฉะบับที่พระโพธิรังสีเก็บเอาความมา ค แปลถ่ายไว้เป็นภาษาบาลี (หอสมุดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓) หรือ อาจแปลมาจากจามเทวีวงศ์ฉะบับภาษาบาลีของพระโพธิรังสีอีกทีก็เป็นได้ นอกนี้ยังมีตำนานเมืองเหนือเป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีกเช่น ตำนานเมืองปัวและตำนานเมืองยองเป็นต้น ซึ่งหวังว่าจะ ได้มีโอกาศพิมพ์ในกาลต่อไป ขออนุโมทนาในกุศลราศีทักษิณานุปทาน ซึ่งเจ้าภาพได้บำ เพ็ญเป็นมาตุปัฏฐานธรรม และพิมพ์หนังสือตำนานสุวรรณโคมคำ จ่ายเป็นวิทยาทาน เป็นการเกื้อกูลแก่ความรู้ทางตำนาน อันเป็น กุศลสาธารณซึ่งจะมีผลถาวรไปในภายภาคหน้า ขอกุศลทักษิณา พร้อมทั้งวิทยาทานนี้ จงอำนวยอิฐคุณมนุญผลให้สัมฤทธิ์ แด่ นางซิ่ว กาญจนะศัพท์ โดยสมควรแก่คติวิสัยในสัมปรายภพ เทอญ.

กรมศิลปากร ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒




ก.

ประวัติย่อของ นางซิ่ว กาญจนะศัพท์ นางซิ่ว กาญจนะศัพท์ เกิดเมื่อ ๔ ๑๒ ปีกุน. พ.ศ. ๒๔๐๖ ณ ตำบลบ้านถนนพลับพลาไชย จังหวัดพระนคร นางซิ่วเป็นบุตร คนสุดท้องของนายบู๊และนางฟัก เมื่อายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการสมรส กับนายเสียง กาญจนะศัพท์ แล้วย้ายมาตั้งหลักฐานอยู่ที่บ้านถนนบำรุงเมือง ใกล้สี่กั๊กเสาชิงช้า นางซิ่วมีบุตรกับนายเสียง รวม ๔ คน คือ นางเสงี่ยม (ถึงแก่กรรม) นางวิจารณนวกรรม (สงวน) ภรรยา หลวงวิจารณนวกรรม (โต วัลยัษเฐียร) นายกู้ กาญจนะศัพท์ (ถึงแก่กรรม) พระยาวิเศษศุภวัตร์ (เทศสุนทร กาญจนะศัพท์) นายเสียงถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ในขณะที่บุตรคนสุดท้องมีอายุเพียง ๓ ปี และตั้งแต่นั้นมา นางซิ่วก็ต้องรับภาระ เป็นผู้ทำนุบำรุงแต่ผู้เดียว ในครั้งนั้นการศึกษายังไม่แพร่ หลาย แต่นางซิ่วเป็นมารดาที่ดีของบุตรและเป็นผู้เห็นการไกล ฉะนั้นจึงได้พยายามให้บุตรชายหญิงทุกคนได้รับการศึกษาตามสมควรแก่อัตตภาพ ทั้งนี้นับว่าเป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่แก่บุตรหลานในชั้น ต่อมา. นางซิ่วเป็นผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศานา และต้อง การให้บุตรหลานทุกคนเป็นพุทธมามกะที่ดี เวลาไปฟังเทศน์หรือ ง ทำบุญทำทานที่วัด นางซิ่วก็มักจะพาบุตรหลานไปด้วยเนือง ๆ ภาย หลังที่บุตรหญิงได้ทำการสมรส และบุตรชายคนเล็กเข้า รับราชการเป็นหลักฐานแล้ว นางซิ่วได้สละกิจวัตรทางบ้านออก บวชเป็นชี ณ สำนักวัดพิกุล ตำบลบางใหญ่ จังหวัดธนบุรี เป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนี้นางซิ่วได้มีส่วนร่วมมือในการปฏิสังขรณ์วัด วาอารามตลอดจนถนนหนทางเพื่อประโยชน์แก่สาธาณชนทั่วไป และเมื่อถึงวันธรรมสวนะ ท่านก็รักษาอุโบสถศีลตลอดมามิได้ขาด นางซิ่วเป็นผู้มีนิสสัยใจคอโอบอ้อมอารีและไม่เห็นแก่ตัว ฉะนั้นจึงเป็นที่ชอบพอของบรรดาญาติมิตร ตลอดจนผู้ที่รักโดย ทั่วไป ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ นางซิ่วเริ่มป่วยเป็นโรคอัมพาต บุตรหลาน ได้พยายามรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี แต่อาการกลับทรงหรือทรุดตลอดมา ครั้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ มีโรคอุจจาระธาตุ พิการเข้าแทรกจนเหลือความสามารถของนายแพทย์ที่จะเยียวยาให้หายได้ นางซิ่วถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบเงียบ เมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ บ้าน ๖ ข. ถนนนครไชยศรี จังหวัดพระนคร คำนวณอายุได้ ๗๕ ปี.



คำอุททิศ

กุศลบุญราศีอันใด ซึ่งเกิดจากการพิมพ์หนังสือ " ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ " แจกในการปลงศพคุณแม่ที่รักยิ่งของข้าพเจ้านี้ ขอกุศลบุญราศีอันนั้นจงสัมฤทธิผลโดยพลัน แต่ดวงวิญญาณแห่ง คุณแม่ของข้าพเจ้าตามสมควรแก่คติวิสัยในสัมปรายภพนั้น เทอญ.


วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒





สารบาญ เรื่อง หน้า คำนำ " ก ประวัติย่อของนางซิ่ว กาญจนะศัพท์ " ฆ คำอุทิศ " จ สารบาญ " ฉ ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ " ๑ กล่าวความเบื้องต้น " ๑ มูลประวัติถ้ำกุมภ์ " ๑๖ มูลประวัติเมืองสุวรรณโคมคำ " ๒๔ เมืองโพธิสารหลวงและชาวกรอมหลวง " ๒๗ กำเนิดกุรุวงศากุมาร " ๒๗ องค์อินทวรวงศาเสวยราชย์ " ๓๐ อยะมหาเสนาธิบดีไปสร้างเมืองใหม่ " ๓๐ กำเนิดสุวรรณทวารมุขกุมาร " ๓๒ ลอยแพสุวรรณทวารมุขกุมารและนางอุรสาเทวี " ๓๘ อยะมหาเสนาธิบดีมาเยี่ยมเมืองโพธิสารหลวง " ๔๐ มูลเหตุที่ชื่อเมืองสุวรรณโคมคำ " ๔๒ ชาวเมืองโพธิสารหลวงอพยพไปอยู่เมืองสุวรรณโคมคำ " ๔๗ องค์อินทปฐมราชให้ติดตามสุวรรณทวารมุข " ๔๘

ช เรื่อง หน้า องค์อินทปฐมราชเสด็จเมืองสุวรรณโคมคำ " ๕๐ องค์อินทปฐมราชสวรรคตและองค์เทวินทวรได้เสวยราชย์ " ๕๓ พาหิรเสนากรอมดำไปตั้งเมืองอุโมงคเสลากรอมเขตต์ " ๕๔ อาณาเขตต์เมืองสุวรรณโคมคำ " ๕๕ พระยากรอมดำเข้าครองเมืองสุวรรณโคมคำ " ๕๖ มูลเหตุที่เมืองสุวรรณโคมคำทำลาย " ๕๗ อาวสานแห่งเมืองสุวรรณโคมคำ " ๗๑ พระยากรอมดำกลับไปอยู่เมืองอุโมงคเสลากรอมเขตต์ " ๗๒ เล่าเรื่องประวัติพระพุทธกัสสป " ๗๕ พระพุทธกัสสปตรัสเล่าตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ " ๗๙ เมืองสุวรรณโคมคำในคำพยากรณ์ " ๘๐





ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ

จักกล่าวตำนานถ้ำกุมภ์และสุวรรณโคมประเทศ คือเมือง ท่าสุวรรณโคมคำ อันเป็นที่สถาปนาพระศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ซึ่งเสด็จอุบัติมาตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เพื่อ โปรดปาณสัตว์ในภัททกัลป์นี้ เหตุใดจึงได้ชื่อว่าถ้ำกุมภ์และสุวรรณ โคมคำ พึงทราบดังมีในภัททกัลป์นี้เถิด

กล่าวความเบื้องต้น บัดนี้จักกล่าวแต่ตั้งภัททกัลป์นี้มาโดยสังเขป ในเมื่อกัลป์ ก่อนจวนจะสิ้นนั้น พอพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ขึ้นมาในกาลใด ก็เกิดเป็นไปไฟไหม้ทำลายขึ้นมาแต่พื้นมหาอเวจีนรกโพ้น แล้วก็ไหม้ แผ่นพสุธา น้ำสมุทรคงคา น้ำสระใหญ่ชื่อว่าอโนดาต เขาสิเนรุ ราชและชั้นจาตุมหาราชิกา ตลอดขึ้นไปถึงชั้นพรหมที่ชื่อว่าอาภัส- สราถึง ๗ ครั้ง ครั้งนั้นเทวโลก มนุษยโลก สัตว์นรกอเวจี เปรต ผี และสัตว์เดียรฉานทั้งหลาย เหล่านี้ ที่ตายแล้วก็ดี ที่ยังไม่ตาย ก็ดี ก็ขึ้นไปยัดเยียดกันอยู่ชั้นอกนิฎฐพรหมโพ้นทั้งสิ้น ยังเหลือ อยู่แต่เหล่าสัตว์นรกที่ได้กระทำปัญจอนันตริยกรรม และถือมิจฉา ทิฏฐิใหญ่หลวง ไม่เชื่อถือคำพระพุทธเจ้า ในเมื่อเขายังไม่ตาย

๒ ก็ไปตกนรกอยู่นอกจักรวาฬโพ้นถึงแสนโกฏิ ครั้งนั้นในท้องจักร วาฬทั้งสิ้นก็เต็มไปด้วยเปลวไฟ ถัดนั้นก็มีห่าฝนใหญ่ตกลงมา แต่ชั้นพรหมที่ชื่อว่าอตัปปา เพื่อดับไฟนั้น ทีแรกมีเมล็ดเล็ก ๆ เหมือนเมล็ดฝนตามปกติ แล้วต่อมาก็กลายเป็นเมล็ดใหญ่เมล็ด โตขึ้นโดยลำดับ จนเท่าหลังคาเรือนของมนุษย์ แล้วก็ดับไฟ ใหญ่นั้นตลอดลงไปจนถึงพื้นมหาอเวจีนรกโพ้นให้เป็นเถ้าอยู่ ภาย หลังน้ำนั้นก็มากขึ้นอีกจนเต็มท้องจักรวาฬทั้งสิ้น แล้วก็นองทำลาย ขึ้นไปถึงชั้นพรหมอันชื่อว่าสุภกิณหาถึง ๘ ครั้ง ครั้งนั้นมีดอกบัว บังเกิดขึ้นในน้ำที่ศูนย์กลางชมพูทวีปนี้ ๕ ดอก ครั้นแล้วดอกบัว นั้นก็ขึ้นไปตั้งอยู่พ้นน้ำ เมื่อมหาพรหมทั้งหลายได้เห็นดอกบัว ๕ ดอก ก็โสมนัสชื่นชมยินดีเป็นอันมาก จึงพร้อมกันเปล่งเสียง สาธุการว่า " สาธุ สาธุ ปจพุธานามามิหํ " ดังนี้ แล้วกล่าวว่า กัลป์นี้พระพุทธเจ้าจักเสด็จลงไปตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เพื่อ โปรดปาณสัตร์ทั้งหลายพร้อมทั้ง ๕ พระองค์ และกัลป์นี้ก็จักได้ ชื่อว่าภัททกัลป์ แล้วพรหมทั้งหลายมีฆฏิการมหาพรหมเป็นต้น ก็ พร้อมกันมาเอาเครื่องอัฐบริกขาร คือบาตรและผ้าที่ดอกบัวทั้ง ๕ ดอกนั้น ไปรักษาไว้เพื่อคอยท่า ต่อมาดอกบัวก็ยุบกลับลงไป ในน้ำที่นั้น ถัดนั้นมีลมใหญ่พัดลงมาจากชั้นพรหมที่ชื่อว่า เวหัป ผลา แล้วก็มาตีทำลายน้ำใหญ่นั้น ให้แห้งงวดลงไปเรื่อย ๆ ตลอดจนถึงชั้นดาวดึงส์ น้ำนั้นเมื่อถูกลมพัดก็กระด้างเป็นแผ่นศิลาเลี่ยนเหมือนหน้ากลองชัยกว้างได้หมื่นโยชน์ เป็นเวียงดาวดึงส์ก่อน

๓ ต่อมาลมก็พัดทำลายน้ำนั้น ให้แห้งงวดลงไปถึงชั้นจาตุมหาราชิกา แล้วก็พัดตีฟองน้ำนั้น ให้ไหลเข้าไปข้นอยู่ ณ ท่ามกลางจักรวาฬฟองน้ำที่ถูกลมพัดนั้น ก็กระด้างเป็นแผ่นศิลาใหญ่ติดต่อกับเวียง ดาวดึงส์ ลงไปเป็นเขาสิเนรุราชสูงได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ ณ ท่ามกลางนั้นก่อน ต่อมาลมก็พัดทำลายฟองน้ำออกไปกระด้างเป็นดอยผาฝาขอบจักรวาฬ กว้างได้ ๑๒๘๕,๓๕๐ โยชน์ ล้อมไว้ประดุจ ดังว่าถาดทอง ถัดนั้นลมพัดก็พัดตีทำลายฟองน้ำเข้าไปข้นเป็นแท่งผาต่อเขาสิเนรุราช ลงไปในน้ำลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ เป็นโพรงครอบน้ำไว้และพัดเข้าไปแค่นกระด้างเป็นเขาล้อมน้ำนั้น เป็นสระใหญ่ชื่อว่า อโนดาต กว้างประมาณ ๔๒,๐๐๐โยชน์ ส่วนลึก๙๖,๐๐๐โยชน์ล้อมเขาสิเนรุราชไว้ ต่อมาก็กระด้างกลายเป็นก้อนเส้า ๓ ก้อน เป็นเงินก้อน ๑ เป็นทองก้อน ๑ เป็นแก้วก้อน ๑ แต่ละก้อนโตประมาณได้ ๑๒,๐๐๐ โยชน์ ก้อนเส้าเหล่านี้รองตีนเขาพระสุเมรุราชนั้นไว้ แล้วลมก็พัด น้ำให้ไหลเข้าไปแค่นเป็นภูเขาล้อมน้ำสระอโนดาตไว้อีก ๑๕ ชั้น แล้วพัดไหลไปแค่นกระด้างเป็นเขายุคนธร เขากรวิก เขาสุทัสนะ เขา เนมินธร เขาวินัตตกะ และเขาอัสสกัณณ์ เขา ๖ ลูกเหล่านี้เป็น บริวารของเขาสิเนรุราชอยู่ชั้นนอก เขาที่ล้อมสระอโนดาต ๑๕ ชั้น นั้น ได้ชื่อว่าเขาสัตตภัณฑ์ ๗ ลูก ส่วนเขา ๖ ลูกอยู่ชั้นนอกนั้น ติด กับแผ่นดินกึ่ง ๑ ออกจากมหาสมุทรไปกึ่ง ๑ ส่วนสูงขึ้นพ้นน้ำ ประมาณ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ส่วนที่หยั่งลงไปในน้ำมหาสมุทร ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ใคร่รู้ถี่ถ้วนให้ดูในโลกทีปโน้นเถิด เมื่อจักไขในที่นี้ก็จะเป็น การเนิ่นช้าทางตำนานแห่งสุวรรณโคมประเทศไป ๔ ถัดนั้นลมใหญ่ก็พัดให้น้ำกระด้างที่หัวใจชมพูทวีปด้านทักษิณทิศคือเขาที่ดอกบัวเกิดขึ้น และต่อมาน้ำก็กระด้างที่เมืองกุจฉาวดี แล้วก็กระด้างที่หัวใจทวีปทั้ง ๓ และกระด้างที่เมืองใหญ่ทั้ง ๖ เมืองพร้อมแล้ว ลมก็พัดทำลายน้ำและฟองน้ำไปแค่นกระด้างจนกลาย เป็นเขาศิลาล้อมน้ำไว้เป็นสระใหญ่น้อย คือเป็นกัณณมุณฑสระ ๑ รถกาลสระ ๑ ฉัททันตสระ ๑ มณฑากินีสระ ๑ กุณาลสระ ๑ และ สีหปปาตสระ ๑ บรรดาสระ ๖ ลูกนี้ เรียงตีนสระอโนดาตออกมา กว้างประมาณ ๓๐ โยชน์ทุก ๆ ลูก ถัดนั้นมาน้ำก็กระด้างเป็นเขาล้อม น้ำไว้ให้เป็นสระใหญ่น้อย เป็นเขา เป็นป่าหิมพานต์กว้างประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ ถัดนั้นมาลมก็พัดน้ำให้ไหลไปแค่นเท่าฝาขอบจักรวาฬ ในเมื่อน้ำหาทางไหลต่อไปมิได้ก็บังเกิดเป็นน้ำมหาสมุทร มีส่วน กว้างและลึกประมาณได้ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ รอบทวีปทั้ง ๔ ตลอดทุกทิศ ถัดนั้นมาน้ำก็กระด้างที่หัวใจชมพูทวีป ที่เมืองใหญ่ ๑๖ เมือง ก็กระด้างกลายเป็นดินไปติดต่อกันทั้งสิ้น ที่นิคมธานีทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐ เมืองก็เขินไปได้ ๘๒,๐๐๐ โยชน์ ส่วนที่ยังเหลืออยู่ ๒,๐๐๐ เมืองนั้น บางคราวก็เป็นสระน้ำใหญ่และสระรามอยู่ บางคราวน้ำสมุทรก็ ยังท่วมอยู่ แต่ในเกาะทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทวีปนั้นก็เขินขึ้นไปสิ้น ส่วนฟองน้ำที่กระด้างเป็นภูเขาครอบน้ำไว้ ที่ยังไม่แห้ง ก็ไหลเซาะ ออกข้างนอก ที่นั้นก็บังเกิดเป็นถ้ำไปโดยเหตุที่ถูกน้ำเซาะ ส่วน สระใหญ่ชื่อว่าอโนดาต ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำมากมาย น้ำจึงได้ เซาะท้องสระใหญ่ลงไปเป็นปากถ้ำ มีสัณฐานเหมือนคนเม้มปาก ๕ แล้วน้ำก็ไหลบ่าตามแผ่นธรณีไปทั่วทวีปทั้ง ๔ เหตุนั้นจึงได้ชื่อว่าคง คาราชธานี เขาสิเนรุราชที่กระด้างก่อนภูเขาทั้งหลาย ต่อมาก็กระ ด้างครอบน้ำสระอโนดาตนั้นไว้ครึ่ง ๑ เซาะเขาสิเนรุราชให้เป็นปาก ถ้ำออกไปทั้ง ๔ ด้าน ส่วนด้านปัจฉิมทิศ ตะวันตกมีสัณฐานเหมือนปากราชสีห์และมีน้ำไหลออกไป ทวีปนั้นจึงได้ชื่อว่าอมรโคยานทวีป ด้านอุดรทิศเหนือ ที่ปากถ้ำมีสัญฐานเหมือนปากช้างกุญชรและมีน้ำไหลออกมาจากปากช้าง ทวีปนั้นจึงได้ชื่อว่าอุดรกุรุทวีป ด้านบูรพาทิศตะวันออก ที่ปากถ้ำมีสัณฐานเหมือนปากม้า อัศดรและมีน้ำไหลออกไป ที่นั้นจึงได้ชื่อว่าบุพพวิเทหทวีป ด้านทักษิณทิศใต้นี้ ที่ปากถ้ำมีสัณฐานเหมือนปากงัวอุสุภ- ราช ส่วนน้ำที่ไหลออกมาจากรูถ้ำเหล่านั้น ได้ไหลทะลุน้ำสระ อโนดาตออกไปถึงเขาขอบสระใหญ่ชั้นใน แล้วก็ไหลเซาะเขาชั้น ในให้ผุด แล้วก็ไหลวนไปตามหว่างเขาที่เป็นฝา ๑๕ ชั้น ไหลเวียน ๓ รอบเหมือนกันทุก ๆ แม่น้ำ ส่วนแม่น้ำที่ไหลออกจากถ้ำราชสีห์ ไหลไปหนปัศจิม ทิศตะวันตก จึงได้ชื่อว่าแม่น้ำยมุนา แม่น้ำที่ไหลออกจากปากถ้ำช้าง ไหลวนไปทางทิศอุดรสู่ ทวีปหนเหนือ ซึ่งได้ชื่อว่าแม่น้ำมหิ แม่น้ำที่ไหลออกจากปากถ้ำม้าอัศดร ไหลวนออกไปทาง บุพพวิเทหทวีปทิศตะวันออก จึงได้ชื่อว่าแม่น้ำสรภู

๑ ต้นฉะบับเป็นปัจสิมมะ ๒ ปัจสิมมะ ๖ แม่น้ำที่ออกไปแต่ปากถ้ำรูปงัวอุสุภราชนั้น ไหลวนออกไป ด้านทักษิณทิศใต้ แล้วไหลไปประทะภูเขาชั้นที่ ๑๓ เมื่อน้ำนั้นหา ทางไหลต่อไปไม่ได้ จึงไหลพลุ่งขึ้นไปตามภูเขา ส่วนสูงประ มาณ ๓๐ โยชน์ แล้วไหลอาบหลังเขาไประยะ ๓ คาวุต แล้วก็ ไหลกลับตกลงมาลึกประมาณได้ ๖๐ โยชน์ พัดปั่นวนอยู่ในมหิ- ยังคอุโมงค์ที่กว้างประมาณ ๓ คาวุต คือ ๖,๐๐๐ วา และในหว่าง เขาอันเป็นฝาที่ล้อมสระอโนดาตไว้นั้น หนาประมาณได้ ๓๐ โยชน์เหมือนกันทุกชั้น แล้วก็ไหลวนเข้ารูท่อภูเขาชั้นที่ ๑๔ ส่วนต้นไม้ชมพูเป็นเครื่องหมายทวีป ซึ่งตั้งอยู่หลังดอย ท่อผานั้นมีกิ่งอยู่ ๕ กิ่ง แต่ละกิ่งมีส่วนยาวประมาณได้ ๓ โยชน์ เหมือนกันทั้งหมด ผลของกิ่งทักษิณหนขวานั้น ตกหล่นลงมา เป็นทอง ผลของกิ่งซ้ายตกหล่นลงมาเป็นเงิน ผลของกิ่งทิศเหนือ ตกหล่นลงไปในแม่น้ำมหิยังคอุโมงค์ ผลของกิ่งทิศใต้ตกหล่นลงไป ในน้ำอุโมงค์ที่ไหลออกมาจากท่อผานั้น ส่วนกิ่งยอดที่ชี้ตรงขึ้นไป นั้นได้ดูดเอาน้ำฝนที่ตกลงมาขึ้นไว้ โดยเหตุนั้นทวีปทักษิณทิศใต้ นี้จึงได้ชื่อชมพูทวีป ในทวีปทั้ง ๓ นั้น ไม้ลมแล้ง (ต้นคูน) เป็นเครื่องหมาย อมรโคยานทวีป ไม้ฝ้ายเป็นเครื่องหมายอุดรกุรุทวีป ไม้รกฟ้า เป็นเครื่องหมายบุพพวิเทหทวีป ต้นไม้หล่านี้ตั้งอยู่ที่เข้าชั้นเดียว กันทั้ง ๔ ด้าน ส่วนไม้งิ้วเป็นเครื่องหมายเมืองครุธ ไม้แคฝอย เป็นเครื่องหมายเมืองพระอินทร์ ที่อยู่พื้นน้ำสระอโนดาตถัดตีน

๗ เขาสิเนรุราชนั้น ไม้ปาริกชาติเป็นเครื่องหมายชั้นดาวดึงส์ คือยอด เขาสิเนรุนั้น ส่วนแม่น้ำที่ออกมาจากปากงัวอุสุภราช ไหลมาสู่ ชมพูทวีปมีชื่อว่าอจิรวดี ครั้นน้ำผุดออกมาจากรูท่อผาแล้ว ก็ไหล ไปปะทะดอยผา ๔๒ ก้อน ที่ตั้งอยู่หว่างดอยชั้นที่ ๑๕ แล้วแตกเป็น ๕ แคว ไหลผ่าป่าหิมพานต์อันกว้างได้ ๓,๐๐๐ โยชน์ลงมาถึงเมืองมนุษย์ ส่วนน้ำที่ไหลมาทางทิศตะวันตก ณ ศูนย์กลางชมพูทวีปคือ ที่ดอกบัว ๕ ดอก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อก่อนนั้น ๓ แคว ไหลไปทาง ทิศตะวันออก ๒ แคว แม่น้ำเล่านี้ได้มีชื่อเหมือนสระใหญ่ชื่อว่า อโนดาต ซึ่งบังเกิดขึ้นครั้งแรกตามที่กล่าวมาแล้วคือแม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ ในแม่น้ำทั้ง ๕ นี้ ส่วนแม่น้ำอจิรวดีได้ไหลมาท่ามกลางของแม่น้ำเหล่านั้น คือไหลผ่าน มาที่เมืองกุจฉาวดี ที่เป็นเมืองต้นฝ่ายทิศตะวันออก แล้วไหล ผ่านไปที่หัวใจชมพูทวีปนี้ฝ่ายทิศตะวันตก และไหลตกไปในน้ำมหาสมุทรหลวงเหมือนกันทุก ๆ แม่น้ำ ส่วนในป่าหิมพานต์ก็บังเกิดเป็นเขาใหญ่ ๗ ลูกคือเขาสุทัสน์ มีถ้ำอยู่ ๓ ถ้ำ คือ ถ้ำเงิน ถ้ำทอง ถ้ำแก้ว เขากาฬกูฏ เขาเสลทนะ เขาจิตรกูฏ เขาตโรคิรี เขาคันธมาทน์ และเขานาริกะคิรี ส่วน ท้องเขาวงกต เขานาราคิรี เขาคิชฌกูฎ เขาเวภารบรรพต เขา วิปุล เขามังกุสะ เขาอุสีรธชะ ๗ ลูกเหล่านี้ ได้แวดล้อมแคว้น เมืองราชคฤห์ไว้เหมือนกันทั้งหมด เมื่อใคร่ทราบละเอียดแท้ให้ดู

๑ สมุดไทยเป็น เขานาริกาคิรี ๘ ในปฐมกัลป์โน้นเถิด จักอธิบายในที่นี้ก็จักเป็นการเนิ่นช้าทาง ตำนานของถ้ำกุมภ์และสุวรรณโคมประเทศไป ครั้งนั้นแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้นก็บังเกิดเป็นง้วนดินราบงามเสมอเหมือนหน้ากลองชัย และแผ่นดินนั้นมีกลิ่นหอมและรสหวานที่สุด ส่วนโอชารสของแผ่นดิน ก็หอมทราบสร้านตลอดขึ้นไปจนถึงชั้น อกนิฏฐพรหมโพ้น ครั้งนั้นพรหมทั้งหลายประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ ก็จุติจากพรหมโลก ลงมาถืออุปปาติกปฏิสนธิมีอัตตภาพอันเป็น ทิพย์และมีร่างกายใหญ่โต ส่วนสูงประมาณได้ ๒๕ วาของมนุษย์ เรานี้และมีรัศมีสว่างไปประมาณได้ ๒๕ วา เป็นปริมณฑลเหมือน กันทุก ๆ องค์ และพรหมเหล่านี้ได้ชื่อว่า พราหมณะ พราหมณี โดย เหตุอาศัยพรหมโคตร พราหมณ์เหล่านั้นจึงได้กฎหมายวงไว้เพื่อให้ รู้ว่าตัวเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ก็กินง้วนดินที่มีรสหวานเหมือนน้ำผึ้ง นั่นแหละเป็นอาหาร เหมือน ๆ กันหมดทุกคน พราหมณ์ เหล่านั้นมิได้ทำมาหากิน และมีศีล ๕ สำหรับตัวทุกคน มิได้เรียก กันว่า พ่อ แม่ พี่ และน้องเลย โดยที่ได้เกิดมาพร้อมในขณะเดียว กัน จึงเรียกกันแต่เพียงว่า มานพ และนารีเท่านั้น แต่อาศัยที่ได้กิน ง้วนดินเป็นอาหารก็บังเกิดก็มีราคตัณหาขึ้น ก็ได้กระทำการสร้อง เสพจนบังเกิดบุตรขึ้นมากมาย แผ่เต็มไปทั่วเมืองกุจฉาวดี และพราหมณ์ปฐมเหล่านั้น เมื่อตั้งอยู่ในอายุเขตต์ได้อสงไขยหนึ่งแล้ว ก็จุติไปพร้อมกันทั้งหมด ถัดนั้นพราหมณ์ทั้งหลายผู้ที่เป็นบุตรของพราหมณ์ต่อ ๆ มานั้น เมื่อไม่ได้โอภาสอันสว่าง ก็บังเกิดความมืดมน

๙ อนธการเป็นอันมาก มีความหวาดกลัวต่อมรณภัย จึงได้พร้อมกัน ตั้งสัตยาธิษฐานปรารถนา ขอให้ได้โอภาศอันสว่าง ด้วยเดชสัตยา ธิษฐานที่ได้รักษาศีล ๕ แต่พราหมณ์ทั้งหลายลงมาถือเอาอุปปาติก ชาติเป็นพราหมณ์ประมาณได้อสงไขยหนึ่ง ต่อชั่วอายุของคน ๆ หนึ่ง ครั้งนั้นเดือน ๕ เพ็ญปีมะแมเวลา ๕ โมงเช้า อุทธังราชา พระสุริยมณฑลกว้างประมาณได้ ๕๐ โยชน์ ก็บังเกิดขึ้นที่ท่ามกลางบุพพวิเทหทวีปในเวลาเที่ยงวัน ทีนั้นพระอาทิตย์ก็ปทักษิณขึ้น มา มีรัศมีอันส่องแสงสว่างเป็นสุริยภาวะที่แผดแสงอันแรงร้อน ที่สุด โดยเหตุนั้นจึงได้ชื่อว่าพระอาทิตย์ และวันนั้นก็ได้ชื่อว่าวันอาทิตย์ พระอาทิตย์บังเกิดขึ้นในหนปาจีนโลกธาตุเวลาใด ส่วน พระจันทร์มีมณฑลอันกว้างประมาณได้ ๔๙ โยชน์ ก็บังเกิดขึ้นมา ในปัจฉิม โลกธาตุท่ามกลางอมรโคยานทวีปในเวลาเที่ยงคืน ในกาลนั้น เมื่อพระจันทร์ขึ้นมาแล้วก็พลันดับไปเหมือนอย่างพระอาทิตย์ ครั้นแล้วก็บังเกิดความมืดดังเก่า เมื่อเช่นนั้นคนทั้งหลาย ก็มีความหวาดกลัวต่อความตาย จึงได้พากันอธิษฐานปรารถนาหา รัศมีอันสว่างของพระอาทิตย์และพระจันทร์ ครั้งนั้นจันทรมณฑลก็อุทัยขึ้นมาแต่บุพพวิเทหทวีปในเวลาเที่ยงคืนปรากฏแจ้วในชมพูทวีปนี้ตามคำปรารถนาของเขา จึงเรียก จันทรมณฑลนั้นว่าพระจันทร์ และเรียกวันนั้นว่าวันจันทร์ ถัด

๑ ต้นฉะบับเป็น ปัจสิมะ

๑๐ มาพระอาทิตย์และพระจันทร์ ก็บังเกิดขึ้นตามลำดับกันไปครบทั้ง ๗ ดวง แต่ว่าดวงหลัง ๆ ไม่มีรัศมีสว่างมาก หรือกว้างเหมือนพระ อาทิตย์ และพระจันทร์ดวงแรก เมื่อคนทั้งหลายได้แสงสว่างเข้า ก็รู้ได้ว่าเป็นเวลากลางคืน เวลากลางวัน ข้างขึ้นเดือนเพ็ญ ข้าง แรมเดือนดับ เรื่องนี้เมื่อใคร่ทราบละเอียดให้ดูในมูลละมูลลี โน้น เถิด เมื่อจักกล่าวในที่นี้ให้สิ้นเชิงก็จะเป็นการเนิ่นช้าทางมูลเหตุ แห่งสุวรรณโคมประเทศไป ถัดนั้นคนทั้งหลาย คือ พราหมณ์ และพราหมณีเหล่านั้น แม้ ถึงมีศีล ๕ บริสุทธิทุกคนก็จริง แต่ว่าเป็นคนหาปัญญามิได้ และ หาศาตรศิลปที่จักประกอบกิจพิธีเลี้ยงชีวิตมิได้ จึงได้พากันไป เที่ยวแสวงหาง้วนดินและข้าวซึ่งมีรสหวานมาสู่กันกิน ต่อมาก็ บังเกิดเป็นบ้านพราหมณ์อยู่ทั่วทิศ ครั้นแล้วเขาก็เป็นอยู่ลำบาก แสนเข็ญเป็นเวลานานประมาณชั่วอายุของคนหนึ่งได้ตั้งอสงไขย กาลอันจักฉิบหายของโลกก็จักบังเกิดมีขึ้นเป็นแท้ ครั้งนั้นมีมหาพราหมณ์ผู้ ๑ ชื่อว่าโลกสละพราหมณ์ ได้พิจารณาหาสิ่งที่จักให้เกิดความเจริญแก่โลก ครั้นแล้วก็เล็งเห็นด้วยปัญญาทิพย์ของตนว่า ในภัททกัลป์นี้ พระพุทธเจ้าจักเสด็จอุบัติ มาตรัสเป็นพระสัพพัญญู เพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย ๕ พระองค์ต่อ กันไปโดยลำดับ แต่ยังไม่จัดว่าเป็นพุทธกาล ต่อเมื่อพระพุทธเจ้า

๑ เป็นชื่อคำภีร์ ซึ่งอ้างกันในครั้งกระโน้น เวลานี้ยังทราบไม่ได้ว่าจะ ยังคงอยู่ ๑๑ ทั้ง ๕ พระองค์นั้น ได้เสด็จลงไปทรงบำเพ็ญโลกัตถจริยาเป็นครู อา-จารย์สั่งสอนเพททั้ง ๓ ให้แก่โลกนั่นแหละ จึงควรจัดว่าเป็น พุทธกาลแท้ ก็บัดนี้พระบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ยังสถิตย์อยู่ ในโลกนี้ กูควรจะเข้าไปสู่สำนักพระบรมโพธิสัตว์ เพื่อทูลอาราธนา ให้เสด็จลงไปทรงบำเพ็ญโลกัตถจริยานั้นเถิด ดังนั้นแล้วโลกสละ มหาพราหมณ์ผู้นั้น ก็เข้าไปสู่สำนักของพระบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ น้อมศีร์ษะลงถวายนมัสการโดยอ่อนน้อมแล้วทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์ ๕ พระองค์ว่า ข้าแด่เจ้ากูทั้ง ๕ ผู้มีความเพียร เป็นอันมากและมีบารมีอันได้ทรงบำเพ็ญมามากยิ่ง บัดนี้กาลพุทธยัง มิควรก่อน ที่ควรพระองค์ทั้ง ๕ เสด็จลงไปทรงบำเพ็ญโลกัตถจริยา เป็นครูอาจารย์สั่งสอนเพททั้ง ๓ เพื่อให้เป็นที่พึ่งแก่โลกเถิด ครั้นโลกสละมหาพราหมณ์ได้ทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์ ๕ พระ องค์ฉะนี้แล้ว ก็ได้ปฏิญญาซ้ำไว้ให้มั่น ส่วนตนจึงได้ลงมาสู่มนุษย โลก แล้วก็นิรมิตศิลาทิพย์ ๕ ก้อนไว้แทบโคนไม้ตักกะรุกขะคือ ไม้มะปรางต้น ๑ จึงได้ส่งเทพดาองค์ที่รักษาต้นไม้นั้นไว้ว่า ดูกร ทิศาปาโมกขเทพดา บัดนี้พระบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์จัก เสด็จลงมาถืออุปปาติกปฏิสนธิเหนือศิลาทิพย์ ๕ ก้อนนี้แหละ ท่านจงได้อุปถัมภ์ค้ำชูรักษาพระบรมโพธิสัตว์ด้วยดีเถิด ครั้นแล้ว โลกสละมหาพราหมณ์ก็กลับขึ้นไปจากที่นั้น ส่วนพระบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ เมื่อทรงรับคำอาราธ- นา และปฏิญญาของโลกสละพราหมณ์แล้ว ก็มีความปีติชื่นชม ๑๒ ยินดีเป็นอันมาก จึงจุติจากพรหมโลกลงมาถืออุปปาติกปฏิสนธิ เป็นอัตตภาพ อยู่เหนือศิลาทิพย์ ๕ ก้อนณต้นไม้ที่เทพดาหาก รักษาไว้ ต่อมาท่านก็เจริญเติบโตประมาณได้แสนโกฎิปีเป็นหนุ่ม ดีงาม มีปัญญาทรงปิฎกเพททั้ง ๓ ปรากฏเป็นบัณฑิตอาจารย์ด้วย กันทั้ง ๕ พระองค์ และท่านเหล่านี้มีพระสรีรกายใหญ่โตเท่า พราหมณ์ปฐมกัลป์นั้น แล้วก็มีภรรยา ครั้นแล้วก็พร้อมกันตั้งเวียง ครอบศิลาทิพย์ ๕ ก้อนและต้นไม้มะปรางนั้น แล้วเรียกที่นั้นว่า เมืองตักกศิลา ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์ก็อยู่สมัครกับด้วยนาง ทั้ง ๕ ที่มีอิตถีลักษณะบริบูรณ์ ก็มีบุตรแต่ละนาง เป็นหญิง ๑๐๐๐ ชาย ๑๐๐๐ พระบรมโพธิสัตว์อาจารย์ทั้ง ๕ พระองค์ ก็ทรงสอน เทพทั้ง ๓ ให้แก่บุตรชาย ๕๐๐๐ คน ส่วนคนทั้งหลายในเมือง ตักกศิลานอกนั้น ก็ได้จบเพทคุณวิเศษและเจริญรุ่งเรืองเป็นอัน มาก เมื่อใคร่ทราบแจ้งแท้ให้ดูในเวทมูลคันถีโน้นเถิด เมื่อจัก กล่าวในที่นี้ให้สิ้นเชิง ก็จะเป็นการเนิ่นช้าทางมูลเหตุเรื่องแห่ง สุวรรณโคมประเทศไป พระบรมโพธิสัตว์ทิศาปาโมกขอาจารย์ทั้ง ๕ พระองค์นั้น องค์ต้นพระนามว่า วิมุลภาคย องค์ที่ ๒ พระนามว่า วิมุลโพธิ องค์ที่ ๓ พระนามว่า สิริทัตตะ องค์ที่ ๔ พระนามว่า อตุลสัมภาร องค์ ที่ ๕ พระนามว่า อเนกปัญญา ทิศาปาโมกขอาจารย์ทั้ง ๕ พระองค์ นี้ตั้งอยู่ได้อสงไขย ๑ แล้วก็จุติไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ตั้งแต่กาลที่พระบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์จุติลงไปแล้ว บุตรชายต้น

๑๓ ทั้ง ๕ องค์ก็ได้เป็นทิศาปาโมกขอาจารย์ สั่งสอนพราหมณ์ทั้ง หลายในชมพูทวีปทั้งมวลให้จบเพทเป็นอันมาก ครั้นแล้วก็จัดส่ง ให้ไปอยู่ตามบ้านใครเมืองมัน ส่วนอาจารย์ทั้ง ๕ องค์นั้นก็สืบเชื้อ สายต่อแต่บิดาของท่านมาประมาณอายุได้อสงไขย ๑ ก็จุติไป แต่ นั้นมาฝ่ายพราหมณ์ทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งมวล ต่างคนพร้อมกัน เรียบจบเพททั้ง ๓ เหมือนกันทั้งนั้น ครั้นแล้วก็เกิดมีมานะสามหาว ขึ้น ใครก็มิได้อ่อนน้อมเข้าหาใคร และมิได้เชื่อฟังถ้อยคำ ของกัน และกัน ก็บังเกิดโกลาหลไปทั่วชมพูทวีป ต่อแต่นั้นมาพอประ มาณได้ชั่วอายุคนหนึ่ง พระบรมโพธิสัตว์องค์นามว่าอเนกปัญญา คือพระโคดมนั้น เสด็จลงมาเกิดเป็นมนุษย์ มีลักษณะสวยงาม ยิ่งนักบริสุทธิถ้วนทุกแห่ง ปรากฏนามบัญญัติว่าศากยมานพอยู่ที่ บ้านพราหมณ์ คือ มูลเมืองกุจฉาวดีมีอายุได้แสนโกฏิปี พอถึงเวลา เป็นหนุ่มดีงาม มีปัญญาเฉลียวฉลาดองอาจในราชกิจปริศนา อรรถธรรมสุขุมคัมภีรภาพยิ่งนัก ซึ่งอาจสามารถที่จักสร้างให้เป็น อิสสรภาพได้แท้ ครั้งนั้นเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย ก็พร้อมกันอภิเศก พระบรมโพธิสัตว์ คือมหาศากยมานพนั้นให้เป็นพระยา เป็นเจ้าของ ไร่นานิคมราชธานีในสกลชมพูทวีป จึงได้พระนามว่ามหาสมันตราช ขัตติยแต่นั้นมา ครั้งนั้นมหาสมันตราชเจ้า ก็ได้ทรงแต่งตั้งคนผู้ ที่ประกอบไปด้วยสติปัญญา ให้ไปอยู่รักษาตามนิคมราชธานีใหญ่

๑ คำนี้และต่อไปควรเป็น มหาสมมตราช. ๑๔ น้อยในชมพูทวีปทั้งสิ้น ส่วนพระองค์ก็ได้เป็นเอกราชในสกลชมพู ทวีปทั้งหมด ส่วนพราหมณ์ทั้งหลายก็ได้อ่อนน้อมเข้าเป็นสมันตราชขัตติยเจ้ากึ่ง ๑ อีกกึ่ง ๑ นั้น ไม่ยอมเข้าอ่อนน้อม โดยอ้างเหตุว่าเราได้ สืบเชื้อสายมาแต่ครั้งพรหมปฐมกัลป์ และขัตติยวงศ์นี้เพิ่งมีในบัด นี้เท่านั้น เราไม่ไหว้ละ ครั้งนั้นพระอินทร์ก็ใช้ให้วิสสุกรรมเทวบุตร ลงมาสักดำสักแดงใส่แล้ว ก็เรียกชื่อมีตัวตนอันน่าเกลียดยิ่งนัก ก็ได้พ่ายหนีไปอยู่ตามซอกห้วยราวเขา แต่นั้นมามหาสมันตราช เจ้าก็ทรงสั่งสอนประชาชนในชมพูทวีป พระองค์สมบูรณ์ไปด้วย อิสสรภาพเป็นอันมาก ดำรงพระชนมายุอยู่ได้อสงไขยหนึ่งแล้วก็ จุติไป เมื่อใคร่ทราบรายละเอียดแท้ให้ดูในคัมภีร์มหาสมันตราชโน้น เถิด จักพรรณนาในที่นี้ ก็จักเป็นการเนิ่นช้าทางเหตุการณ์ของ สุวรรณโคมประเทศไป ตั้งแต่รัชชสมัยพระยามหาสมันตราชหน่อพุทธังกูรนั้น สืบเชื้อสายตลอดมารวม ๓๙ องค์ นานได้อสงไขยหนึ่ง ต่อแต่นั้นมามี กษัตริย์เสวยราชสมบัติสืบมาอีก ๗๖๕๒ องค์ จนถึงพระยาสุนันทราชนานได้ ๕๕,๐๐๐ ปี ครั้งนั้นปัญจมหาวิโลกนกาล ก็บริบูรณ์ในชมพูทวีป พระอินทร์และมหาพรหมก็เข้าไปกราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์ ทรงนามว่าวิมุลภาคย ขอให้เสด็จลงมาถือปฏิสนธิในชมพูทวีปเพื่อโปรดสัตวโลกทั้งหลาย เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงรับคำ

๑ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล มารดา. ๑๕ อาราธนาของพระอินทร์และพรหมแล้ว ก็เสด็จจุติจากชั้นดุสิต ลงมาทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ นางวิสาขาพราหมสีผู้เป็นเทวีของพราหมณ์ผู้ใหญ่ชื่อว่าภทันตะมหาพราหมณ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของ พระยาสุนันทราชในเมืองเมขรกุจฉาวดีคือเมืองพาราณสี ครั้งนั้นมหัศจรรย์ทั้งหลาย มีแผ่นดินไหวเป็นต้น ก็บังเกิด มีขึ้นถึง ๓๒ ครั้ง พระบรมโพธิสัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์มารดาถ้วน กำหนดทศมาสแล้ว ในเดือนวิสาขดิถีเพ็ญวันศุกร์เพลาอรุณขึ้น ยามสาย พระองค์ก็ประสูติจากครรภ์มารดา พอประสูติออก มาแล้ว ก็เสด็จดำเนินด้วยพระบาทได้ ๗ ก้าว และตรัสพระคาถา ว่า "อโค หมมิ โลกส เสโฐ" ดังนี้ แต่นั้นมา เมื่อพระ องค์ทรงเจริญขึ้นโดยลำดับจนพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา พระองค์ ทรงรถยานเสด็จออกไปทรงบรรพชาแทบฝั่งแม่น้ำอโนมานที แล้วบำเพ็ญเพียรอยู่แทบโคนต้นไม้จิกซึ่งเป็นไม้มหาโพธิ์ พระองค์ก็ได้ตรัส รู้พระสัพพัญญุตญาณณโคนไม้มหาโพธิ์นั้น ต่อมาปรากฏพระนาม ว่า พระพุทธเจ้ากกุสันธะ วันนั้นพระองค์ทรงพิจารณาซึ่งพุทธ ประเพณีอยู่ ๗ สัปดาห์รวมได้ ๔๙ วันพอดี ครั้นแล้วก็เสด็จ ไปเพื่อทรงอนุญาตอุปสมบทแก่พระสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา ให้ถึงอรหันตปฏิสัมภิทาญาณ แล้วก็เสด็จต่อไปเพื่อโปรดเวไนย สัตว์ และทรงอนุญาตอุปสมบทแก่ภิกษุทั้งหลายทั่วประเทศ

๑ ฉะบับสมุดไทยว่า ๓ ครั้ง

๑๖ และนิคมราชธานีทุกแห่งหน ให้ได้ถึงอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิ- ทาญาณเป็นอันมาก

มูลประวัติถ้ำกุมภ์ ในที่นี้ จักกล่าวซึงมูลเหตุเรื่องถ้ำที่มีในสุวรรณโคมประเทศ คือถ้ำกุมภ์ ที่ตั้งอยู่ในแคว้นเมืองสุวรรณโคมคำหนตะวันตก ทิศเหนือ ให้แจ้งก่อน ด้วยเหตุใดจึงได้ชื่อว่า ถ้ำกุมภ์และ สุวรรณโคมประเทศเล่า ? วิสัชนาว่า พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระ องค์ที่จักเสด็จอุบัติมาในภัททกัลป์นี้ จักเสด็จมาทรงทำภัตตกิจที่ ถ้ำกุมภ์นี้ทุกพระองค์ ในกาลเมื่อน้ำนอง ทำลายกัลป์นี้ให้แห้งลงจนตื้นเขินขึ้น แต่ส่วนแคว้นเมืองใหญ่ ๑๖ เมือง และนิคมราชธานี ๘๔,๐๐๐ นั้นยังไม่ สิ้นไปพร้อมก่อน ยังคงค้างอยู่เป็นสระใหญ่ เป็นเขาล้อมน้ำไว้ อยู่ ทิศบูรพาแห่งเมืองใหญ่นั้น ทางทิศใต้ ๓ สระ และสระลูก ๑ อยู่ แคว้นเมืองมิถิลา สระลูกนี้กว้าง ๑๔ โยชน์ ต่อนั้นมาระยะทาง ไกลเดือน ๑ มีสระอีกลูก ๑ กว้าง ๑๔ โยชน์ ต่อนั้นมาระยะทาง ไกล ๒ เดือน ๑๕ วัน มีสระอีกลูก ๑ ในสระใหญ่ลูกที่ ๑ นั้นมีพญานาค ๒ ตัวเป็นสหายกัน ตัว๑ ชื่อศรี สัตตนาคราช ตัว๑ชื่อว่าสุตตนาคราช แต่ละตัวมีบริวาร ๗ โกฏิ ได้อา ศัยอยู่ในสระที่นั้น พญานาคตัว ๑ อยู่ทิศเหนือ พญานาคตัว ๑ อยู่ทิศ


๑๗ ใต้ พร้อมด้วยบริวารคุ้ยควักแต่สระที่อาศัยนั้น ออกไปถึงแม่น้ำ ที่ ๕ มีนามว่าแม่น้ำมหิ ส่วนแม่น้ำมหินั้นก็ไหลหลั่งเป็นกระแส ไปเป็นอันมาก หนองนั้นจึงเรียกว่าหนองกระแสหลวงลุไหลเข้า มาเท่าหนองนั้น จึงได้ล้นหนองนั้นแตกเป็นแม่น้ำไปทิศอาคเนย์ ไปต่อกับน้ำมหาสมุทรโพ้น เพราะฉะนั้นน้ำนั้นจึงได้ชื่อว่าแม่น้ำ แตกหลวง ใช่แต่เท่านั้น นาคเหล่านั้นยังควักดั้นเป็นรูลงในท้อง หนองไปทางฝั่งทักษิณใต้ มาทะลุออกทางหนองลูกกลาง หนอง นั้นจึงได้ชื่อว่าหนองกระแสน้อย ต่อมาน้ำก็ล้นแตกออกไปทิศ บูรพา ไปต่อแม่น้ำแตกหลวงโพ้น น้ำนั้นจึงได้ชื่อว่าแม่น้ำน้อย บัดนี้จักพรรณนาถึงสระหนองที่มีในทิศอาคเนย์เฉียงใต้หมู่นั้นคือตั้งแต่ครั้งปฐมกัลป์มา น้ำสมุทรก็ยังอมอยู่ตลอดมาจนถึงบัดนี้ เมื่อน้ำสมุทรแห้งลงไปจนเขินขาด มีเขาล้อมไว้เป็นหนอง ส่วน ยาว ๓ โยชน์ ส่วนกว้าง ๒ โยชน์ มีน้ำห้วยใหญ่ห้วย ๑ ไหลมาแต่ ทิศตะวันตกขุนน้ำนั้น มีหินแผ่น ๑ สัณฐานเหมือนเสื่อคล้าปกปิด อยู่ น้ำนั้นจึงได้ชื่อว่าน้ำห้วยสาด แล้วไหลต่อกันมาหลายห้วย มาต่อหนองนั้นทางทิศหรดี แล้วมาด้วนเสีย น้ำนั้นจึงได้ชื่อว่า กุกะนที ถัดนั้นไปทางทิศเหนือมีน้ำห้วยหนึ่งไหลออกมาจากถ้ำ ลูกหนึ่ง และในถ้ำนั้นมีรูปสิงห์ทองคำ ห้วยนั้นจึงได้ชื่อว่าห้วยคำ แล้วไหลมาต่อหนองทิศปัศจิม ไปทางทิศเหนือมีน้ำห้วยหนึ่ง ไหล ๑ ต้นฉะบับเป็น ปัจฉิม.

๑๘ ออกมาจากท้องเขาลูกหนึ่งมีสัณฐานเหมือนกูบช้าง ห้วยนั้นจึงได้ชื่อ ว่าห้วยพวง แล้วไหลออกจากห้วยนั้นมาต่อต้นหนองทางทิศพายัพ แต่นั้นไปมีสระหนองน้อยหนองหนึ่ง มีเขาแวดล้อมอยู่ทางทิศอีศาน ครั้งนั้นมีเงือกตัวหนึ่งได้พยายามคุ้ยควักออกมาตามภูเขาทั้งหลาย มาถึงต้นหนอง ห้วยนั้นจึงได้ชื่อว่าห้วยรี ถัดนั้นไปมีสระหนอง น้อยอีกหนอง ๑ อยู่ทิศบูรพา มีเขาแตกกึ่งลูก ๑ มีเงือกตัว ๑ ควัก คุ้ยเอาน้ำที่เขาลูกนั้น ออกมาต่อหนองใหญ่ทางทิศใต้หนอาคเนย์ น้ำห้วยนั้นจึงได้ชื่อว่าห้วยเกิ่งและภูเขานั้นได้ชื่อว่าภูเขากึ่ง สระ หนองใหญ่ลูกนั้นจึงมีน้ำห้วยใหญ่ห้วยรวม ๕ ห้วย ไหลเข้ามาล้อม ถัดนั้นไปมีถ้ำลูก ๑ อยู่ทิศปัจจิม ระยะไกลจากริมหนองไปประมาณ ๕๐๐ วา ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่ป่ามฤคทายวัน พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปโคจรบิณฑบาตเพื่อภัตตาหารในเมืองมิถิลา แล้วเสด็จโดยทางอากาศด้วยอิทธิฤทธิ์มาสถิตย์อยู่ที่ถ้ำนั้น แล้ว ทรงกระทำภัตตกิจเสร็จแล้วไม่มีน้ำที่จะเสวย เทพดาทั้ง ๔ องค์ จึงนำเอาหม้อน้ำจากทิศทั้ง ๔ มาเพื่อบำเพ็ญบุญแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์เสวยน้ำแล้ว ก็ตรัสเทศนาปานิยโมทนาแก่เทพดา ทั้ง ๔ องค์ ๆ ก็ได้เสวยผลอานิสงส์ส่วนบุญที่ได้ให้น้ำเป็นทาน ได้ อยู่ในวิมานอันตั้งอยู่ยอดเขาทั้ง ๔ ทิศ

๑ ต้นฉะบับเป็น ปัจสิมะ.

๑๙ ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ำ นี้เป็นที่ประทับทรงทำภัตตกิจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระตถา- คตเป็นต้นนี้ และพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ต่อแต่พระตถาคต ไปในภายภาคหน้า ก็จักเสด็จมาทรงทำภัตตกิจที่ถ้ำนี้ทุกพระองค์ เมื่อเราตถาคตนิพพานล่วงไปแล้ว จะมีพญานาคตัว ๑ มีบริวาร ถึง ๗ โกฎิ อยู่ที่หนองกระแสหลวงในเมืองมิถิลา จักขุดควัก ล่องลงมาถึงหนองกระแสหลวง แล้วจักขุดควักล่องลงไปจนถึงน้ำมหาสมุทรหลวง น้ำสระหนองนี้ก็จักลุไหลลงไปจนแห้งเขินขึ้น เป็นแผ่นดินราบเสมอ และต่อไปภายภาคหน้ายังจะมีพระยาองค์ ๑ มีบุญญาภิสมภารเป็นอันมาก จักได้มาตั้งอยู่ที่หนองนี้ และ สถานที่นี้ก็จักเป็นที่ตั้งพระศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ด้วย เมื่อภัททกัลป์นี้ตั้งขึ้นได้ ๗ อสงไขยเศษแสนปี น้ำมหาสมุทรก็ อมครอบหนองหลวงนี้ไว้ ครั้นนั้นพระยาองค์ ๑ อยู่เมืองสิงทิศ บูรพาโพ้น ได้พาบริวารลงเดินเรือไปเที่ยวตามริมฝั่งน้ำมหาสมุทร พอไปถึงก็จอดเรือพักแรมอยู่ที่นั้นราตรี ๑ ครั้นรุ่งขึ้นผเอิญน้ำมหา สมุทรเกิดแห้งลงไปพื้นดินตื้นเขินขึ้นมา เรือของพระยาองค์นั้น ก็ติดค้างอยู่ที่พื้น เมื่อพระยาได้ประสพอุบัติเหตุเข้าเช่นนั้น จึงได้ ให้บริวารกลับเรือ แต่เผอิญเรือขาดออกเป็น ๓ ท่อน จมลงไป ในน้ำที่นั้น ขณะนั้นคนทั้งหลายมีพระยาเป็นต้น เมื่อติดค้างอยู่ที่ นั้น ก็พากันร้องไห้ ไม่รู้ว่าจะกระทำประการใด ได้แต่ต่างคนต่างว่ายน้ำหนีเอาตัวรอดไปตามกำลังของใครของมันเท่านั้น ส่วนพระยาว่าย

๒๐ น้ำไปทางทิศบูรพาโพ้นได้คืนหนึ่ง ครั้นพ้นน้ำนั้นแล้ว ไปถึงภูเขา แห่งหนึ่ง พระยานั้นก็เที่ยวไปตามสันภูเขา ระยะทางไกลได้ ๓ ราตรี ก็มีความอิดโรยเป็นอย่างยิ่ง พอพระยาไปถึงสระหนอง น้อยหนองหนึ่งก็พักแรมค้างคืนแล้วถึงแก่อนิจกรรมไป กาลต่อมา สถานที่นั้นก็ได้ชื่อว่าเมืองค้างตลอดกาลนาน ส่วนเรือของพระยา ก็เลยกลายเป็นหินจมอยู่ในน้ำริมสระหนองที่มีในภายใต้นั้นเอง กาล ต่อไปเมื่อน้ำแห้งเขินขาดไปแล้ว ที่นั้นก็จักเป็นที่สถาปนาพระ ศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในภายภาคหน้าเที่ยงแท้ ครั้นพระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ฉะนั้นแล้ว พระองค์ก็เสด็จ ไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันโพ้น ต่อแต่นั้นมาพระพุทธเจ้าก็พระนาม ว่ากกุสันธะ โปรดปาณสัตว์อยู่ตลอดพระชนมายุของพระองค์ ได้ ๔๐,๐๐๐ ปี ครั้นถึงเดือน ๘ เพ็ญวันอังคารก็เสด็จนิพพานไป พระองค์ทรงตั้งพระศาสนาไว้ ๕๐๐,๐๐๐ ปี นับตั้งแต่พระองค์นิพพานไปแล้วได้ ๑๐๐ ปี ครั้งนั้นมีพญา นาค ๒ ตัวเป็นสหายกัน อาศัยอยู่ในหนองกระแสหลวง เมื่อได้ บริโภคอาหารสิ่งใดก็แบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วน ๑ ส่งไปให้แก่สหาย เสมอมิได้ขาด อยู่มาวันหนึ่งพญาศรีสัตตนาคราชซึ่งอยู่ทิศใต้ หนองกระแสหลวงได้กุญชรตัว ๑ ก็แบ่งเนื้อกุญชรส่งไปให้แก่ สหายซึ่งอยู่ทิศเหนือหนองบริโภคส่วน ๑ วันหนึ่งพญาสุตตนาค ตัวเป็นสหายซึ่งอยู่ทิศเหนือหนอง ได้สรกาคือเหม้นตัว ๑ ก็ได้

๑ ฉะบับสมุดไทยว่า ๕๐๐๐ ปี. ๒๑ แบ่งเนื้อเหม้น ส่งไปให้สหายส่วน ๑ ดังหนหลังนั้นแหละ ครั้งนั้น ฝ่ายพญาศรีสัตตนาค เมื่อได้แลเห็นเนื้อเหม้นน้อยนักก็มีความ โกรธแก่พญาสุตตนาค เรียกร้องเอาบริวารของตนได้ ๗ โกฎิพา กันไปถึงที่อยู่ของพญาสุตตนาค ก็เห็นขนเหม้น จึงกล่าวว่าสหายนี้ ไม่รักกันแท้หนอ เมื่อได้อาหารตัวใหญ่ตัวโตถึงเพียงนี้ เหตุไร จึงแบ่งไปให้เราแต่หนิดหน่อย แม้แต่เพียงดมก็ไม่พอจักเหม็น สาบ พญาสุตตนาคจึงกล่าวว่าสัตว์นี้มีขนโตก็จริงแต่ตัวเล็ก เรา ได้แบ่งเป็น ๓ ส่วนส่งไปให้ท่านส่วน ๑ ดังที่เคยกระทำมาแล้ว พญา ศรีสัตตนาคจึงกล่าวว่าชาติสัตว์ตัวมีขนใหญ่ถึงปานนี้ เหตุไรท่านจึง ว่าตัวเล็กเล่า กูไม่เชื่อฟังถ้อยคำมึงละ มึงนี้หาความสัตย์บมิได้ แล้วก็ได้พาเอาบริวารของตนเข้ากระทำยุทธกับบริวารของพญาสุตตนาค มีเสียงอันกึกก้องโกลาหลสนั่นหวั่นไหว ประดุจดังว่า สระหนองกระแสนั้นจักแตกทำลายไป แต่รบกันอยู่นานได้ ๗ วัน ๗ คืน ส่วนพญาศรีสัตตนาคเป็นผู้ที่หาความสัตย์มิได้พลอยมากล่าวว่าพญาสุตตนาคราชผู้มีสัตย์ว่าหาสัตย์มิได้ ดังนั้นบริวารของตนก็ พ่ายแพ้แก่บริวารของพญาสุตตนาค ครั้นแล้วพญาศรีสัตตนาคก็ พาบริวารหนีไปยังที่อยู่ของตน ส่วนพญาสุตตนาคเห็นว่าพญาศรีสัตตนาคไม่สามารถจะต้านทานเอาไชยชนะแก่ตนได้ดังนั้น ก็พาบริวารขับไล่พญาศรีสัตตนาคพร้อมทั้งบริวารไปถึงที่อยู่แห่งพญาศรีสัตตนาค ฝ่ายพญาศรีสัตต

๒๒ นาคเห็นว่าพญาสุตตนาคพาบริวารตามมาถึงที่อยู่แห่งตนเช่นนั้น ก็ พาบริวารคุ้ยควักพ่ายหนีออกไปทางทิศหรดี เที่ยวอาศัยอยู่ตาม ซอกห้วยถ้ำภูเขา คุ้ยควักมาจนถึงริมถ้ำคูหาที่พระพุทธเจ้าประทับกระทำภัตตกิจนั้น เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย แต่นั้นมาหนองกระแส ก็ไหลตามคลองที่พญานาคและบริวารคุ้ยควักมาถึงหนองลูกนั้นต่อ มาพญาศรีสัตตนาคเห็นว่าหนองที่นั้นจะไม่เป็นที่อยู่ปลอดภัย ก็ คุ้ยควักแต่หนองลูกนั้นหนีออกไปทางทิศอาคเนย์ คุ้ยควักมาใด้ ๗ วันก็ถึงแม่น้ำรวมแม่ ๑ ที่ไหลมาทิศอีศาน มีน้ำอันมากอัน อู้ โดยเหตุนั้นแม่น้ำนั้นจึงได้ชื่อว่าแม่น้ำอู แม่น้ำที่พญาศรีสัตต นาคควักคุ้ยมาแต่หนองกระแสจนถึงหนองสระริมถนนถ้ำที่พระพุทธเจ้าทรงทำภัตตกิจนั้นได้ชื่อว่าน้ำแม่ขลนที ส่วนพญาศรีสัตตนาคนั้น ก็ล่องไปตามแม่น้ำอู ตลอดจน ถึงเมืองโพธิสารหลวงโพ้น ยังมีสระหนองอันหนึ่ง ไม่เล็กไม่ใหญ่ นัก มีน้ำลึกเขียวงามยิ่งนัก อยู่ใกล้แม่น้ำอูทิศตะวันออก ครั้งนั้น พญาศรีสัตตนาค ก็พาบริวารคุ้ยควักฝั่งแม่น้ำแวะเข้าไปอาศัยอยู่ที่ สระหนองนั้น หนองนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกว่าน้ำค้างอ่างหลงตั้งแต่ นั้นมา จากที่นั้นไปหาเมืองโพธิสารระยะทางคนเดิน ๑๕ คืนจึงถึง แต่นั้นมาสระน้ำหนองรามที่อยู่ริมถ้ำนั้น ก็ลุไหลไปตามรอยที่พญา นาคควักคุ้ยไป เป็นแม่น้ำใหญ่ตลอดไปถึงน้ำมหาสมุทรโพ้น โดย เหตุนั้นพระยาองค์ที่ได้สร้างบ้านเมืองอยู่ที่ริมแม่น้ำขลนทีนี้ ย่อม มีอิทธิฤทธิ์อานุภาพกล้าหาญและได้เป็นเอกราช แต่ว่าไม่ยืนนาน ๑ เป็น ขรนที ก็มี ๒๓ แต่นั้นมาน้ำหนองนั้นแห้งเขินขาด ท้องหนองก็เป็นแผ่นดินราบ งามเสมอ ภายหลังบังเกิดเป็นป่าไม้ต้นไม้กลวง ไม้ตัน ป่าอ้อ ป่าแขม ป่าเลา และเป็นป่าพงใหญ่ เป็นที่อาศัยอยู่แห่ง แรด ช้าง ละมั่ง กวาง ฟานและหมูเถื่อนมากมาย ภายหลังมีพรานพเนจรผู้หนึ่งอยู่บ้าน ตำบลหนึ่งแคว้นเมืองโพธิสารทิศใต้โพ้น ได้พาเอาพรรคพวกลง เรือเดินขึ้นมาตามแม่น้ำขลนที ได้มาอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ในป่าพง ใหญ่เป็นนิตยกาล อยู่มาวันหนึ่งพรานป่าผู้นั้นพาพวกของตนออกไปเที่ยวตาม ริมป่าพงใหญ่ทางทิศตะวันตก ก็ไปถึงถ้ำที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประ ทับเพื่อทำภัตตกิจนั้น พรานป่าเห็นหม้อ ๔ ลูก ที่เทพดาเอาน้ำ ใส่นำมาเพื่อบำเพ็ญบุญแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์เสวย น้ำแล้ว ก็ทรงทิ้งหม้อน้ำไว้ที่นั้น เทพดาทั้ง ๔ องค์ก็รักษาไว้ เป็นอันดี พรานป่าจึงกล่าวกับลูกน้องของตนว่า นี่ชะรอยโจรนักเลงเหล้าลักเอาหม้อเหล้ามาเลี้ยงกันที่นี้ แล้วทิ้งหม้อเหล้านี้หนีไปเสีย เป็นแน่ เราจักเอาหม้อ ๔ ลูกนี้ไปไว้เพื่อเป็นประโยชน์การแก่เรา เถิด พรานนั้นก็นำเอาหม้อมาไว้ที่เรือนของตน พอถึงตอนกลางคืน ด้วยเดชของพระพุทธเจ้า และเดชของเทพดาทั้ง ๔ องค์ หากรักษา หม้อ ๔ ลูกนั้นไว้ ก็บันดาลให้หม้อ ๔ ลูกกลับไปอยู่ที่ถ้ำตามเดิม ครั้นรุ่งขึ้นนายพรานมิได้เห็นหม้อ ๔ ลูก จึงโจทกันว่า ใครมาลักเอาหม้อไปเสียนี่น้ะ ครั้นพูดดังนั้นแล้ว ก็นิ่งเงียบอยู่ เมื่อภายหลัง พรานป่าไปเที่ยวที่ถ้ำนั้นอีก ก็พบหม้อ ๔ ลูกอยู่ที่ถ้ำด้วยดีดังเก่า ๒๔ ก็บังเกิดอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงกล่าวว่าหม้อ ๔ ลูกนี้ ชะรอยว่าจะมี เจ้าของรักษาเราไม่ควรเอาไป เมื่อพูดเช่นนั้นแล้วก็พากันหลีก หนีไป ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งหลายจึงเรียกสถานที่นั้นว่า คูหาถ้ำกุมภ์ กล่าวด้วยมูลเหตุเรื่องถ้ำกุมภ์ ก็แล้วไปตอนหนึ่งก่อน

มูลประวัติเมืองสุวรรณโคมคำ ทีนี้จักพรรณามายังมูลพื้นฐานของสุวรรณโคมประเทศ คือเมืองสุวรรณโคมคำนั้นต่อไป คือตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะนิพพานไปแล้ว อายุแห่งคนทั้งหลายก็ลดน้อยลงไปโดยลำดับ จนอายุตั้งอยู่ในเขตต์ ๑๐ ปี โรคันตรายก็บังเกิดมี คนทั้งหลายได้ ตายด้วยโรคันตรายและทุพภิกขภัยเป็นอันมากทั่วทั้งโลก ในเมื่อ โรคันตรายสงบแล้ว อายุของคนก็ค่อยเจริญขึ้นไปทีละเล็กละน้อย ตลอดจนอายุได้อสงไขยหนึ่ง คนทั้งหลายก็บังเกิดมีความเบื่อ หน่ายในร่างกายของตน โดยเหตุนั้นอายุแห่งบุตรและหลานของ ตนก็กลับลดน้อยถอยลงไปอีกเรื่อย ๆ ตลอดจนถึงอายุตั้งอยู่ใน เขตต์ ๓๕,๐๐๐ ปี ครั้งนั้นมหาวิโลกนกิจ ๕ ประการก็บริบูรณ์ พระอินทร์พรหมและเทพดาก็พร้อมกันไปทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์ องค์นามว่าวิมูลโพธิสัตว์ยังชั้นดุสิต เพื่อให้เสด็จลงมาเป็นพระสัพพัญญูโปรดสัตวโลก เมื่อพระองค์ทรงรับคำอาราธนาของ อินทร์และพรหมแล้ว ก็เสด็จจากชั้นดุสิต ลงมาถือปฏิสนธิใน ครรภ์ของนางอุตตราพราหมณี ที่เป็นเทวีของมหาพราหมณ์ชื่อว่า ๒๕ พระปิสละ ในเมืองโสภิตตกุจฉาวดี คือเมืองพาราณสี ใน เดือน ๘ เพ็ญวันพฤหัสบดียามเช้า ครั้นพระบรมโพธิสัตว์ตั้งอยู่ ในครรภ์มารดาถ้วนกำหนดทศมาสแล้ว พอถึงเดือน ๖ เพ็ญวันศุกร ยามเช้า พระบรมโพธิสัตว์ก็ประสูติออกจากครรภ์ของมารดา ครั้ง นั้นมหัศจรรย์ ๓๒ ประการ มีแผ่นดินไหวเป็นต้น ก็บังเกิดมี ครั้นพระบรมโพธิสัตว์ประสูติแล้ว ก็เจริญขึ้นโดยลำดับ จนชนมายุ ได้ ๒๙ พรรษา ขณะนี้พระองค์ทรงเห็นนิมิตร ๔ ประการ พอถึง เดือน ๗ เพ็ญวันศุกรเพลาเที่ยงคืน พระองค์ทรงรถยานเสด็จออก ไปบรรพชาแทบฝั่งแม่น้ำอโนมานที แล้วทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา อยู่ได้เดือน ๑ พอถึงเดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำวันอังคาร พระองค์ทรง ลอยถาดทองที่แม่น้ำเนรัญชรา ถึงเดือน ๘ เพ็ญวันพุธยามเที่ยง คืน ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณเหนือแท่นแก้วแทบควงไม้มหา โพธิ์ แล้วก็ทรงรำพึงถึงธรรมทั้งหลายและพุทธประเพณีตลอดเวลา ๗ สัปดาห์ รวมทั้งสิ้นเป็น ๔๙ วัน ก็ทรงทราบบริบูรณ์ แล้ว ปรากฏเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาพระองค์เสด็จมาสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งมีในที่ใกล้ เมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่ของพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา แล้วทรงอนุญาตอุปสมบทแก่พระสาวกเบื้องซ้าย และเบื้องขวา

๑ ฉะบับสมุดไทย เป็น โสกิกุจฉวะดี


๒๖ และพระองค์เสด็จไปเที่ยวเพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย และทรงอนุญาตอุปสมบทให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้ได้ถึงพระอรหันต์พร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาญาณทุกมหานครและนิคมราชธานี ตามประเพณีของ พระกกุสันธะพระพุทธเจ้าที่เคยมีมานั้น วันหนึ่งพระพุทธเจ้าทรง พาภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ไปบิณฑบาตในเมืองผามอง เมื่อพระองค์พร้อมทั้งพระภิกษุได้บิณฑบาตแล้ว ก็มากระทำภัตตกิจ ที่ถ้ำกุมภ์นั้น ครั้นทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว เทพดาทั้ง ๔ องค์ ก็เอา น้ำใส่หม้อ นำมาบำเพ็ญบุญแด่พระองค์ เพื่อได้เสวยเหมือนอย่างพระกกุสันธะพุทธเจ้านั้น ครั้นพระโกนาคมนะสัมพุทธเจ้าทรง กระทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ตรัสเทศนาอนุโมทนาภัตตทานแก่เทพดา แล้วทรงพยากรณ์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไปภายหน้าอีก ๗ ปี จักมีโอรสของมหากษัตริย์องค์หนึ่งอยู่เมืองทางทิศใต้น้ำริมมหาสมุทรหลวงโพ้น มีบุญญาภิสมภารเป็นอันมาก จักมาตั้ง ประเทศหนตะวันออกทิศใต้ถ้ำนี้ ให้เป็นนิคมราชธานีใหญ่โต ประเทศนี้จักปรากฏชื่อว่าสุวรรณโคมประเทศ และจักเป็นที่ตั้ง เขตต์แห่งพระรัตนตรัยกำหนดตั้งแต่พระตถาคตนี้ต่อไปภายหน้าอีก ๓ องค์เป็นเที่ยงแท้ ครั้นพระโกนาคมนะพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ดัง นั้นแล้ว ก็เสด็จไปเพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลายตามบ้านน้อยและเมือง ใหญ่โดยลำดับ ตลอดจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแคว้นเมือง กุจฉาวดีราชธานีโพ้นตามเดิม


๒๗ เมืองโพธิสารหลวงและชาวกรอมหลวง ทีนี้จักกล่าวถึงบุตร์พระยาเมืองโพธิสารหลวงที่เป็นเจ้าของ ชาวกรอมหลวงซึ่งจักได้มาตั้งประเทศที่นี้ให้แจ้งก่อน คือในเมื่อ โรคันตรายกลับเกิดมีขึ้น คนทั้งหลายล้มตายและแตกตื่นพ่ายหนี ไป เพราะโรคันตรายและทุพภิกขภัยทั่วทั้งโลก กำเนิดกุรุวงศากุมาร ครั้งนั้นมีพระราชบุตรของพระยาเมืองปาฏลิบุตร สืบเชื้อ สายมาแต่ครั้งมหาสมัตราชวงศ์ และพระราชบุตรพร้อมทั้งพระยา ก็พากันทำลายฝาเรือนออกหนีไปซ่อนอยู่ในป่า ในขณะนี้ได้อาศัยหัวมันและผลไม้เลี้ยงชีวิตไป ในเมื่อโรคันตรายสงบแล้ว คนทั้ง ๒ ก็ หากลับคืนมายังบ้านเมืองอย่างเดิมไม่ โดยเหตุว่าหนทางไกลนัก จึงได้อยู่ในป่า ต่อมาภายหลังชายาก็ทรงครรภ์ ครั้นครบ ๑๐ เดือนบริบูรณ์แล้วนางก็ประสูติกุมารองค์หนึ่ง มีรูปโฉมทรวดทรงงดงาม ยิ่งนัก บิดามารดาขนานนามว่า กุรุวงศา เมื่อกุรุวงศากุมารเจริญวัยขึ้นได้ ๓ พรรษา บิดาก็สิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อกุรุวงศากุมารเจริญวัย มีพระชนม์ได้ ๗ พรรษา มารดาก็สิ้นพระชนม์ คงเหลือแต่กุรุวงศากุมารอยู่ในป่าองค์เดียวเท่านั้น ต่อมากุรุวงศากุมารก็มีพระกายอวบอ้วนใหญ่โตและมีพระกำลังเป็นอันมาก กุรุวงศากุมารค่อยเลี้ยง ชีวิตในป่าต่อไป จวบจนพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ก็ประกอบ

๑ เป็น คุรุวงศา ก็มี.

๒๘ ด้วยกำลังเท่าช้างสาร ๗ ตัว กุรุวงศากุมารหาทรงทราบว่าพระองค์มีตระกูลเป็นขัตติยวงศาไม่ ครั้งนั้นพระองค์ได้ไปขนเอาก้อนศิลา มาก่อล้อมเป็นกรอมรั้วปราการอันเป็นที่อยู่แห่งพระองค์ ความลือชาสาคตปรากฏแก่ประชาชนชาวเมืองโพธิสารหลวงว่า มีกุมาร ผู้หนึ่งไปขนเอาศิลามาก่อเป็นกรอมปราการเวียงอยู่ในป่า ซึ่งเป็น เขตต์แดนเมืองโพธิสารหลวงของเรานี้ และต่อมาคำลือชานั้น ก็ปรากฏไปถึงพระกรรณของพระยาเจ้าเมืองโพธิสารหลวง พระยา นั้นจึงตรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์เอาหมู่รี้พลไป แวดล้อมที่อยู่ของกุรุวงศากุมาร เมื่อหมู่รี้พลไปถึงแล้วจักเข้าไปข้างในไม่ได้ ได้แต่เพียงยืนอยู่ภายนอก แล้วยิงปืนไฟกองหน้าเข้าไปข้างในเท่านั้น ขณะนั้น กุรุวงศากุมารก็กระโดดข้ามกรอมรั้วปราการ ศิลาอันสูงประ มาณ ๑๒ ศอกออกมาแย่งชิงเอากองหน้าและหอกดาบของหมู่รี้พล ได้ แล้วทรงหักทำลายเสียจนสิ้น ครั้นแล้วกุรุวงศากุมารก็กระโดด ข้ามกลับเข้าไปอยู่ข้างในกรอมรั้วปราการตามเดิม เมื่อภายหลังพระ ยาโพธิสารหลวงได้ทรงทราบเหตุเช่นนั้นเข้า ก็กลัวบุญญาภินิหารของ กุรุวงศากุมาร จึงยกเมืองโพธิสารหลวงให้แก่กุรุวงศากุมารปกครอง ต่อไป ตั้งแต่นั้นมาจึงได้ชื่อว่าชาวกรอม โดยเหตุที่กุรุวงศากุมาร ได้ขนเอาศิลามาล้อมเป็นกรอมปราการที่อยู่ ต่อมาเจ้ากุรุวงศาได้ไปเที่ยวแสวงหานางผู้ประเสริฐมาเพื่อ เป็นชายา จึงไปพบนางคนหนึ่งเป็นเชื้อชาติกษัตริย์ที่พระบิดาสิ้นชีพ ไปแล้ว ต่อมามารดาของนางไปได้ไพร่เมืองมาเป็นสามีใหม่ แล้ว

๒๙ บังเกิดความเกลียดชังนางที่สุด ได้คำรามบุตรี นางมีความทุกข์ใน ใจมากยิ่งจนไม่อาจจะอดทนอยู่ได้จึงขวนขวายหาพรรณข้าวแต่เพียงเล็กน้อย แล้วหนีไปตามวิสัยของตน แต่ผเอิญหลงเข้าไปในป่า ดงใหญ่ ไปพบปลักหนองน้อยแห่งหนึ่ง นางก็เอาพรรณข้าวที่ตน หามาได้ ลงปลูกไว้ตามขอบหนอง ด้วยเดชบุญของนาง เป็นระยะ เวลาไม่นานเท่าใดนัก ข้าวก็เกิดเป็นต้นเป็นรวงขึ้นมากมาย ครั้น ข้าวสุกแล้ว นางก็รูดเอาข้าวนั้นมาคั่วกิน คันธรสของข้าวที่บริโภค ก็หอมเข้าไปถูกต้องจมูกของผีเสื้อทั้งหลาย ๆ ก็พากันมาขอกินข้าว นางได้ให้ข้าวแก่ผีเสื้อกินทุกตน ครั้นแล้วผีเสื้อก็มีความปิติยินดี พากันไปขนเอาศิลามาเพื่อกระทำที่อยู่ให้ ฝ่ายนางก็หาทราบว่าตัว เป็นเชื้อชาติกษัตริย์ไม่ และอยู่ยังที่ที่ผีเสื้อสร้างให้นั้น แล้ว นางนั้นก็ปรากฏนามว่านางอินทปัฏฐาน ครั้นองค์กุรุวงศาไปประสบ นางอินทปัฏฐานเข้าแล้ว ก็เอามาตั้งเป็นเทวีของพระองค์โดยเหตุนั้นเมืองโพธิสารหลวงนี้ นัยหนึ่งจึงได้ชื่อว่าเมืองอินทปัฏฐานนคร ตั้ง แต่นั้นก็สืบขัตติยวงศ์ท้าวพระยาตอมาถึงศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะได้๕๔,๘๐๐ องค์ตลอดมาจนถึงพระยาพระนามว่าสุริยวงศานี้ ฝ่ายองค์พระสุริยวงศานั้นมีโอรส ๒ องค์ ๆ ต้นพระ นามว่า องค์อินทวรวงศา องค์ที่ ๒ พระนามว่า อยะกุมาร องค์สุริยวงศาผู้พระชนกได้ทรงตั้งองค์อินทวรวงศาผู้เชษฐา ให้เป็นพระ ยาเสวยเมืองแทนพระองค์ แล้วทรงตั้งอยะกุมารผู้เป็นอนุชาของ องค์อินทวรวงศาไว้ในตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีรองพระเชษฐา ส่วนองค์สุริยวงศาผู้พระชนกนั้น ครั้นทรงชราแล้วก็ทิวงคตไป ๓๐ องค์อินทวรวงศาเสวยราชย์ ฝ่ายองค์อินทวรวงศาสมัยที่เสวยราชสมบัติแทนพระชนก มานั้นมีโอรสองค์ ๑ พระนามว่า อินทปฐม ส่วนอยะมหาเสนา ธิบดีผู้อนุชามีธิดาองค์ ๑ พระนามว่า นางอุรสา จำเนียรกานต่อมา องค์อินทวรวงศาได้อภิเศกนางอุรสา ซึ่งเป็นธิดาของอยะมหาเสนา ธิบดีให้เป็นเทวีขององค์อินทปฐมที่เป็นโอรส ครั้นองค์อินทวร วงศาทรงชราแล้วก็ทิวงคตไป ส่วนองค์อินทปฐมก็อยู่เสวย ราชสมบัติในเมืองโพธิสารหลวงแทนสืบต่อมา เธอมีโอรส ๖ องค์ แต่โอรส ๕ องค์ต้น พระนามมิได้ปรากฏ ปรากฏพระนามแต่ โอรสองค์ที่ ๖ ว่า เทวินทวร

อยะมหาเสนาธิบดีไปสร้างเมืองใหม่ ภายหลังแต่นั้นมาอยะมหาเสนาธิบดีผู้เป็นบิดาของนางอุรสาทรงชราแล้ว ก็มิได้มีพระทัยใคร่ต่อการบ้านเมืองสืบไปแต่อย่าง ใด จึงได้เข้าไปกราบทูลปฏิบัติกับองค์อินทปฐมราชผู้เป็นพระ ชามาดาที่เป็นพระยาเจ้าเมืองโพธิสารว่า ข้าแต่สมมติเทวะเป็น เจ้า บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าก็ชรา การที่จักคิดราชการบ้านเมืองสืบต่อ ไปนั้น ก็ไม่เหมาะเสียแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจักทูลขอราชานุญาต ต่อพระมหาราชเจ้า ออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ยังปัจจันตประเทศเขตต์แดนเมืองณทิศเหนือน้ำโพ้น พอให้เป็นที่สงัดเย็นไจสักหน่อย ครั้ง


๓๑ นั้นองค์อินทปฐมราชผู้เป็นพระมหากษัตริย์เจ้าแผ่นดิน เมือง อินทปฐมนครกรอมหลวง ครั้นได้ทรงสดับถ้อยคำของอยะมหา เสนาธิบดีกราบทูลดังนั้น ก็มีพระราชดำรัสว่า ดูราบิดาเอ๋ย เมื่อ บิดามีพระทัยปรารถนาจะเสด็จออกไปสร้างบ้านสร้างเมืองอยู่ในที่ สงัดต่างหากเช่นนั้น ท่านก็จุ่งเสด็จไปตามใจปรารถนาเถิด ข้าพเจ้าอนุญาตให้ ครั้นอยะมหาเสนาธิบดีที่เป็นบิดาของนางอุรสาได้รับราชา นุญาตจากพระราชาเช่นนั้นแล้ว ก็ได้รวบรวมเอาครัว ชายา โอรส ธิดา และบริวารประมาณ ได้ ๓๐๐๐ ครัว พอได้นักขัตตฤกษ์ วันดี มาถึงเข้าแล้ว อยะมหาเสนาธิบดีก็พาครอบครัวลงเรือเดินขึ้นไปตามกระแสแม่น้ำขลนที ระยะทางนานได้ ๓ เดือน ก็ไปถึงสถานที่ แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเกาะเนินทรายชายแม่น้ำขลนที ถัดปากน้ำ แม่ราม คือกุกะนทีที่มาผุดต่อทิศตะวันตก ส่วนเกาะเนินทราย นั้นมีทรงสัณฐานเหมือนสำเภาหงายไว้ฉะนั้น และที่หลังเกาะเป็น ป่าเป็นดงราบเสมองดงาม พออยะมหาเสนาธิบดีเดินเรือไปถึง ก็ ได้จอดเรือครัวแรมอยู่ที่นั้น ครั้นเดือน ๔ เพ็ญวันอังคารซึ่งเป็น อุทธังราชา ก็ได้ตั้งบ้านสร้างเรือนอยู่ที่นั่นแหละ ตั้งแต่นั้นมาก็ เลยปรากฏเป็นบ้านหมู่ใหญ่ถึง ๓๐๐๐ หลัง แต่อยะมหาเสนาธิบดี ตั้งบ้านเมืองอย่ที่นั้นเวลาล่วงมาได้ ๓ ปี ก็บริบูรณ์ด้วยข้าวน้ำและ

๑ ในฉะบับสมุดไทยขาวเป็น ๑๓,๐๐๐. ๒ แม่น้ำไม่เล็กไม่ใหญ่. ๓ ในฉะบับสมุดไทยเป็น ๑๓๐๐๕ หลัง.

๓๒ ปัจจัยทุกสิ่งทุกอย่าง และสถานที่นั้นเป็นแว่นแคว้นของถ้ำกุมภ์ และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แห่งถ้ำกุมภ์ ทีนี่จักกล่าวถึงองค์อินท ปฐมราชผู้เป็นเจ้าแห่งเมืองโพธิ สารกรอมหลวงต่อไปอีก ครั้นอยะมหาเสนาธิบดีที่เป็นบิดาของ นางอุรสาออกไปตั้งบ้านเมืองอยู่ที่อื่นเสียดังนั้น ครั้งนั้นองค์อินท ปฐมราชก็ทรงตั้งพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่าพาหิรพราหมณ์ ให้เป็น อัครมหาเสนา จัดการบ้านเมืองแทนสืบต่อไป แต่พราหมณ์ที่ องค์อินทปฐมราชทรงตั้งให้เป็นอัครมหาเสนาใหม่นั้น มิได้เป็นเชื้อ วงศ์สมันตราชแต่ทางใดเลย หากเป็นเชื้อชาติพราหมณ์กรอมเก่า ที่สืบเชื้อสายมาแต่เมืองโพธิสารหลวงเท่านั้น

กำเนิดสุวรรณทวารมุขกุมาร ทีนี้จักกล่าวถึงนางอุรสาราชเทวีนั้นอีก ต่อมานางก็ทรง ครรภ์อีก เป็นครั้งที่ ๗ ครั้งนั้นนางอุรสาเทวีก็ไปกราบทูลแด่ องค์อินทปฐมราชที่เป็นพระวรสามีว่า นางทรงครรภ์ ครั้งนั้นพระยา เจ้าองค์ผู้เป็นอิสสระก็ทรงโสมนัสยินดีพระทัย ดำรัสว่านางจุ่ง รักษาครรภ์ให้ดีเถิด แต่นั้นมาครรภ์ของนางก็ถ้วนกำหนดทศมาส พอถึงเดือน ๕ เพ็ญวันพฤหัสบดี ยามแตรเป็นยามอุทธังราชา ลม กัมมชวาตก็บังเกิดแด่นาง นางก็เจ็บครรภ์ บังเกิดมหัศจรรย์เป็น แผ่นดินไหวมากมาย นางก็บังเกิดอาการใคร่จะอาเจียน นางสนม

๑ ในฉะบับสมุดไทย คำว่า องค์อินท์ เป็นขุนอินท์ทุกแห่ง. ๓๓ ทั้งหลายจึงเอาถาดทองคำมารองถวาย ขณะนั้นกุมารที่อยู่ในครรภ์ มิได้คลอดเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย คือประสูติออกมาทางมุขทวาร ของมารดา แล้วร่วงลงไปอยู่ที่ถาดทองคำ มีรูปอันบริสุทธิ์มิได้มี มูลมลทิน ไม่มีโลหิตติดแปดเปื้อนแม้แต่สิ่งเดียวเหมือนหนึ่งล้าง ไว้ฉะนั้น ครั้งนั้นนางอุรสาผู้เป็นมารดาทอดพระเนตรแล้ว ก็ตรัสให้ นางสนมไปเอาน้ำสุคนธ์มาชำระ แล้วเอาภูษาอันอ่อนมาห่อไว้ ครั้ง นั้นพระยาพลาหกก็นำเอาม้าอัศดรตัวมีกำลัง อาจเดินวันเดียวระยะทางไกลได้ถึง ๓๒ โยชน์ มาไว้ในโรงม้าของพระยาผู้เป็นพระบิดา ของกุมาร ครั้นแล้วนางอุรสาราชเทวีจึงตรัสให้นางสนมไปกราบ ทูลแด่พระยาเจ้าองค์เป็นพระวรสวามี เพื่อทรงทราบนัยอันพระราช บุตรประสูติทุกประการ เมื่อองค์อินทปฐมราชเจ้าได้ทรงทราบแล้ว ก็อัศจรรย์ในพระทัย รับสั่งให้หาพราหมณ์ปุโรหิตมาเฝ้า แล้วดำรัส ถามว่า ดูราปุโรหิต บุตรของเราเกิดมาในวันนี้ มิได้ออกมาเหมือน คนทั้งหลาย โดยที่เกิดมาทางมุขทวารของมารดาฉนี้ จักเป็นร้าย ฉันใดดีหนอ พราหมณ์ปุโรหิตพิจารณาดูก็หยั่งรู้ด้วยปัญญา จึงกราบทูลพระยาว่าเทวะข้าแด่สมมติเทวะ เป็นเจ้าพระโอรสองค์นี้มีบุญญา ภิสมภาร หากได้กตาธิการมาเป็นอันมาก และมีมหาปุริสลักษณะ ไม่ครบ ๓๒ ประการ คือยังขาดอยู่อย่างหนึ่ง ครั้นไม่เทียมพระสัพ พัญญูพุทธเจ้ายังทรงธรมานอยู่ดังนั้น ก็จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


๓๔ ปราบทวีปทั้ง ๔ กาลบัดนี้เป็นกาลสัพพัญญูพุทธ ก็มิได้เป็นพระ เจ้าจักรพรรดิ แต่ว่าจักได้เป็นท้าวพระยามหาเอกราช จักได้ปราบ ทิศอุดรตราบถึงต้นแม่น้ำขลนทีย้อยมานั้น ดังนั้นแล้ว พระยาเจ้าผู้ เป็นพระชนกเป็นต้นก็ได้พร้อมกันตั้งพิธีขนานนามกรว่า องค์สุวรรณทวารมุข โดยเหตุที่ถือเอานิมิตรอันกุมารประสูติออกมาทางมุขทวารของมารดามาวางอยู่เหนือถาดทองคำ แต่นั้นมาได้ ๗ เดือน เจ้า กุมารพอลุกคลานไปมาได้ ถึงเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ยามเที่ยงคืนกุมารบรรธมอยู่กับชนนีก็สดุ้งตื่นขึ้น ได้สดับเสียงคนตีดุริยดนตรี ฆ้องกลองบูชาพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กุมารจึงคำนึงว่า วันพรุ่งนี้ก็จักเป็นวันมหาอุโบสถศีล กูจักรักษาศีล ๘ เทอะ เมื่อ คำนึงดังนี้แล้วก็ค่อย ๆ เสด็จลุกออกไปจากที่ใกล้พระปรัศว์ของชนนีเสด็จเข้าไปสมาทานศีลอยู่ ยังที่สำหรับใส่ภูษาของพระยาผู้พระ ชนก รุ่งขึ้นนางอุรสาผู้ชนนีไม่เห็นกุมารก็ตกพระทัยกรรแสง จึงพา นางทาสีไปเที่ยวค้นหาตามตำหนัก ก็หาพบกุมารในที่ใดสักแห่งไม่ นางก็ทรงกรรแสงตรัสว่า ดูราเจ้าสุวรรณทวารมุขลูกรักของ แม่เอ๋ย เจ้าทิ้งแม่หนีไปซ่อนอยู่ที่ใดหนอ หรือว่าผีร้ายจัญไรตัว กล้า มาเอาลูกรักของแม่ไปกิน เมื่อมีดำรัสดังนั้นแล้ว ก็เสด็จ ไปกราบทูล แด่พระยาเจ้าผู้เป็นพระวรสวามีว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ไม่ทราบว่าอะไรมาลักเอาปิโยรสของเราหนีไปทางใด ก็ไม่เห็นณที่ ไหนสักแห่งเลย ครั้งนั้นพระยาผู้เป็นพระวรสวามี เมื่อได้ทรงทราบ พฤตติการณ์เช่นนั้นแล้ว จึงมีพระดำรัสสั่งให้เสนาและอำมาตย์ทั้ง ๓๕ หลายไปเที่ยวค้นหากุมารในตำหนักน้อยใหญ่ ตลอดทั้งในเวียง และนอกเวียงจนทั่วทุกแห่งหนอย่างรีบเร่ง ก็หาพบกุมารในที่ใดสัก แห่งไม่ ต่อถึงวันรุ่งขึ้นเทวีก็ได้มีดำรัสให้พวกมหาดเล็กเปิดดูที่ สำหรับใส่เครื่องครัวทุกลูกก็หาเห็นไม่ นางก็ตรัวไฃให้เปิดดูพระที่ หลวงลูกสำหรับใส่กระยาหารอย่างดีของพระยาเจ้า องค์เป็นพระวร สวามีต่อไปอีก ด็ได้พบกุมารอยู่ที่นั่นแท้ นางก็โสมนัสยินดี ตรัส ว่าดูรา เจ้าสุวรรณทวารมุขลูกรักของแม่เอ๋ย ไฉนเจ้าจึงได้ทิ้งแม่ไว้ แล้วหนีมาอยู่ที่นี่เล่า ตรัสดังนั้นแล้วก็อุ้มเอาปิโยรสเสด็จมาสู่ ห้องบรรธม นำกระยาหารอันประณีตมาให้โอรสเสวย แล้วสรง น้ำสุคนธ์ให้ และจุมพิตเศียรพระโอรสด้วยโสมนัสเป็นอันมาก แต่ นั้นมามินานนัก ฝ่ายเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารได้ถูกพาหิรเสนาผู้ ใจบาปคิดฤษยามากมาย มันไปกราบทูลองค์อินทปฐมราชผู้เป็นเจ้าเมืองซึ่งเป็นพระบิดาขององค์สุวรรณทวารมุขกุมารว่า สมมติเทวะ เป็นเจ้า สุวรรณทวารมุขกุมารน้อยที่เป็นโอรสของพระองค์นี้ ข้า พระพุทธเจ้าพิจารณาดู นี่ชรอยว่าจะมิใช่มนุษย์ธรรมดาเสียแล้ว พระเจ้าข้า เพราะมิได้ประสูติทางทวารเบื้องต่ำของชนนีเหมือน ดังคนทั้งหลาย และไม่ฉะเพาะแต่ประสูติออกมาทางมุขทวารเท่านั้นพอประสูติออกมาก็เสด็จดำเนินไปได้ทีเดียว และต่อมาก็เสด็จ หนีเข้าไปประทับอยู่ในที่กำบังอีกด้วย ฉะนั้นมหาราชเจ้าไม่ควร จักทรงเลี้ยงไว้ เมื่อกุมารเจริญวัยไปข้างหน้า ก็จักชนะพระชนก พระชนนี และพระญาติวงศ์ ตลอดถึงบ้านเมืองของมหาราชเจ้าก็ ๓๖ จักถึงความพินาศเป็นเที่ยงแท้ มหาราชเจ้าควรเอาใส่แพลอยน้ำ ไปเสีย เมื่อองค์อินทปฐมราชผู้เป็นเจ้าเมืองโพธิสารกรอมหลวง ได้สดับคำของพาหิรเสนากราบทูลเช่นนั้น ก็สดุ้งตระหนกพระทัย หวาดกลัวยิ่งนัก จึงมีดำรัสว่า ประการใดดีก็สุดแท้แต่ท่านมหาเสนา ผู้แต่งบ้านสร้างเมืองจะเห็นสมควรเถิด พาหิรเสนาผู้ใจบาปจึง กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าจักทูลขอเอากุมารนี้ไปลอยน้ำเสียเป็น แม่นมั่น ดังนั้นแล้วก็ทูลลาพระราชาไปประกาศให้บริวารของตน ๑๐๐๐ คน ตบแต่งแพและมณฑปซึ่งเป็นที่สำหรับจะได้ใส่กุมารลอย น้ำไป ครั้งนั้นนางอุรสาราชเทวีเมื่อได้ทรงทราบพฤตติการณ์ว่า พระ ยาเจ้าผู้เป็นพระวรสวามี มีดำรัสให้เอากุมารไปลอยน้ำเสียเช่นนั้น นางก็กรรแสงเป็นที่น่าสงสารอย่างยิ่ง แล้วเสด็จเข้าไปสู่สำนัก ของพระยาเจ้าผู้พระวรสวามี กรรแสงพลางกราบทูลพลางว่า เทวะ ข้าแต่มหาราชเจ้า เหตุไฉนพระองค์จึงได้โปรดให้เอาปิโยรสของ พระองค์ไปลอยน้ำเสียเล่า ปิโยรสของเรานี้จักเป็นคุณประโยชน์ แก่บิดาและมารดาในภายภาคหน้า ขอพระมหาราชเจ้าจงได้ทรง อดโทษ แล้วไว้ชีวิตแก่ปิโยรสของเราก่อนเถิด ฝ่ายองค์อินทปฐม ราชผู้พระวรสวามีก็ดุษณีภาพอยู่มิได้ดำรัสกับนางราชเทวีสักคำเดียว เมื่อนางทอดพระเนตรเห็นพระยาผู้พระวรสวามี มิได้ดำรัสตอบ นางก็กรรแสงเสด็จกลับมาหาโอรส แล้วตรัสกับโอรสทั้ง ๖ ผู้เป็น เชษฐาของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารว่า ดูราเจ้าลูกรักของแม่ทั้ง

๓๗ ๖ เอ๋ย แม่นี้จักไปด้วยกับเจ้าสุวรรณมุขกุมารน้องของพวกเจ้า เพราะน้องของพวกเจ้ายังหนุ่มน้อยไม่รู้เดียงสาดีเลย ฉะนั้นเจ้า ทั้ง ๖ จุ่งอยู่กับพระยาเจ้าผู้พระบิดาเถิด โอรสทั้ง ๖ ก็พากันกรร แสงโดยที่มีเสนหาอาลัยในชนนีและอนุชา แล้วก็พากันเสด็จลงไป สู่เรือนของพาหิรเสนาตรัสว่า ดูรามหาเสนาเอ๋ย บัดนี้พวกเราทั้ง ๖ คนพี่น้องนี้จักให้ช้างร้อยหนึ่งและม้าร้อยหนึ่ง เพื่อขอไถ่เอาเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารผู้เป็นน้องของพวกเราไว้ พาหิรเสนาผู้ใจ บาปทูลว่า ข้าแต่เจ้าราชบุตรทั้งหลายเอ๋ย อย่าว่าแต่ช้างร้อยหนึ่ง และม้าร้อยหนึ่งเลย แม้ถึงเมืองทั้งหมดนี้ก็เอาไว้ไม่ได้ เมื่อเป็น เช่นนั้นแล้วเจ้าราชบุตรทั้ง ๖ พระองค์ก็พากันกรรแสงเสด็จมาหา ชนนีและอนุชา แล้วก็พากันจุมพิตอนุชาและกรรแสงอยู่ที่นั้น ฝ่ายพาหิรเสนา ครั้นพวกบริวารของตนตบแต่งแพเสร็จแล้ว พอ ถึงวันเดือนอ้ายเพ็ญ ก็พาบริวารเข้าไปสู่วังเพื่อเอาเจ้าสุวรรณ- ทวารมุขกุมารไปลงแพลอยน้ำไป ครั้งนั้นองค์เทวินทรผู้เชษฐา ทรงเล็งเห็นหมู่เสนาทั้ง หลายเข้ามาดังนั้น ก็ทรงจับเอาพระขรรค์เล่มค่าควรเมือง เพื่อ จักประหารยังหมู่เสนาผู้ใจบาปนั้น ฝ่ายราชบุตรทั้ง ๕ พระองค์ผู้ เป็นเชษฐา ก็ห้ามองค์เทวินทรผู้อนุชาว่า ดูราเจ้าน้องรักของ พี่ ขอเจ้าอย่าได้กระทำเช่นนั้นเลย เจ้าจุ่งอดเอาเถิด ก็บาปนี้ห่อน จักชนะบุญได้เลย เมื่อเราฆ่าเสนาผู้นี้เสียดังนั้น พระยาเจ้าผู้ เป็นชนก ก็จักประหารพวกเราพี่น้องเสียเป็นแท้ เรามาเอาศีล

๓๘ และบุญเป็นที่พึ่งเถิด ครั้นแล้วก็พากันกรรแสงอยู่อึงมี่ และ สรวมกอดบาทของมารดา ทั้งทาสา ,ทาสี, เด็ก, สาว และชาวหญิง ชราทั่วตำหนักก็พากันร่ำไห้ ด้วยความรักในชนนีและโอรสทั้ง ๒ พระองค์มากมาย

ลอยแพสุวรรณทวารมุขกุมารและนางอุรสาเทวี ฝ่ายหมู่พาหิรเสนาผู้ใจบาป ก็เข้าไปยื้อแย่งเอาเจ้าสุวรรณ ทวารมุขกุมารในสำนักเจ้าราชบุตรทั้ง ๖ องค์ซึ่งเป็นเชษฐานั้น ครั้งนั้นนางอุรสาผู้เป็นชนนีก็เก็บเอาเครื่องทรงของโอรสได้ ครบแล้ว อุ้มเอาเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารผู้ปิโยรส ตรัสอำลา โอรสทั้ง ๖ ซึ่งเป็นเชษฐาของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมาร แล้วก็ทรงกรรแสงเสด็จออกไปตาม พวกเหล่าร้ายตลอดถึงท่าน้ำสมุทรหลวง แล้วเขาก็ได้เอานางอุรสาพร้อมด้วยสุวรรณทวารมุขกุมารเข้าใส่ใน แพให้ลอยไปตามน้ำในวันนั้น นางอุรสาเทวีก็ตั้งสัตยาธิษฐานต่อเทพดาทั้งหลายเปล่ง อุทานวาจาว่า ดูรา เทพดา ครุฑ นาคน้ำ และปรเมศวรทั้งหลาย เอ๋ย ข้าขออันเชิญเจ้าทั้งหลายจุ่งมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าทั้ง ๒ แม่ลูก ผู้หาโทษมิได้ ซึ่งถูกท่านเอาข้าทั้ง ๒ แม่ลูกมาลอยน้ำเสียในกาล บัดนี้ ครั้งนั้นด้วยเดชแห่งคำสัตยาธิษฐานและเดชกุศลของเจ้า สุวรรณทวารมุขกุมาร ก็ดังสนั่นไปถึงเทพดาที่อยู่รักษาแม่น้ำ


๓๙ สมุทรสาคร และนาคน้ำตลอดถึงเทพดา ก็พากันมารักษาแพมิให้ เป็นอันตราย ใช่แต่เท่านั้น ยังมีพญานาคตัวหนึ่งนำเอาแก้วทับทิมซึ่งมีวรรณอันแดงดุจดอกตระแบก มีค่าเป็นเอนกแต่เมืองนาคมา ถวายแด่เจ้าสุวรรณทวารมุขกุมาร เพื่อจะมิให้ลมใหญ่มาพัดให้หวั่นไหวได้ แพก็ลอยไปโดยสวัสดี ฝ่ายชาวเมืองอินทปฐมนครโพธิสารกรอมหลวงทั้งสิ้น ตลอด ทั้งหญิงทั้งชายก็พากันร่ำร้องไห้ด้วยสงสารมารดาและกุมาร ได้พูด กันว่า พระยาเจ้านี้เป็นใบ้ไร้ปัญญาแท้หนอ ช่างมาฟังคำพาหิรเสนา ผู้พาลใจบาป แล้วเอาพร้อมทั้งเทวีที่เสนหา ไปลอยน้ำเสียโดย ง่ายได้นี่ ชาวเราเอ๋ยแต่บัดนี้ต่อไปภายหน้า บ้านเมืองของเราก็จะ หม่นหมองเป็นเที่ยงแท้ ประชาชนร้องไห้ซบเซาเหงาอยู่ทั่วทั้ง เมือง มาตรว่าสัตทั้งหลายเป็นต้นว่า ช้าง ม้า งัว ควาย ที่กำลัง กินหญ้าอยู่ก็มิได้โบกหูและแกว่งหางเลย และฟ้าฝนก็หาตกลง มาสักครั้งไม่ ก็บังเกิดแห้งแล้งไป เป็นต้นว่า พืชพรรณที่คนทั้ง หลายเพาะปลูกไว้ก็ตายแห้งตายแล้งไปเป็นอันมาก และมิได้มีคนที่ จะเข้าเฝ้านวดฟั้นพระยาเจ้าสักครั้งเดียว มีแต่พาหิรเสนากับบริวาร ๑๐๐๐ คนเท่านั้น ที่เข้าไปเฝ้าปฏิบัติพระยาอยู่ทุกวัน และแม้แต่ ลมก็มิได้พัดหางช่อและหางธงสักครั้งเดียว ฝ่ายองค์อินทปฐมราชองค์เป็นเจ้าเมืองโพธิสารหลวงทรงเข้าพระทัยผิด โดยที่เชื่อคำของพาหิรเสนาผู้พาล มิได้ทรง พิจารณา จึงได้มีพระอาชญาให้เขาเอาเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารผู้

๔๐ เป็นพระโอรสกับนางอุรสาราชเทวีไปลอยน้ำเสีย เมื่อภายหลัง ทรงเห็นเป็นเหตุอันผิดไปแล้ว ก็บังเกิดแหนงพระทัยมากมาย จัก ทรงทำประการใดมิได้ ก็ได้แต่ซบเซาเหงาอยู่มิได้ตรัสกับ บุคคลใดแม้แต่คนเดียว ก็ทรงพระดุษณีภาพอยู่

อยะมหาเสนาธิบดีมาเยี่ยมเมืองโพธิสารหลวง ฝ่ายอยะมหาเสนาธิบดี ผู้เป็นบิดานางอุรสา ที่ออกไปตั้ง บ้านอยู่ทิศเหนือน้ำนานถึง ๖ ปี วันหนึ่งท้าวเธอคำนึงว่า กูนี้แต่ ขึ้นมาตั้งบ้านสร้างเมืองอยู่ที่นี้ นานได้ถึง ๖ ปีแล้วก็บริบูรณ์ดังใจทุกประการ ทางบ้านเก่าเมืองเดิมของกูนั้นจักเป็นฉันใดหนอ กูจัก ลงไปเยี่ยมดูเพื่อจะได้รู้ว่าร้ายและดี ดังนั้นแล้ว ก็ขวนขวายหา ของอันควรกินเข้าไถ้เข้าถุงได้แล้ว สั่งให้บริวารตบแต่งเรือ ล่องไป ตามกระแสแม่น้ำขลนที ไปไม่นานเท่าใดก็ถึงท่าเมืองอินทปฐม นครโพธิสารหลวงก็พักแรมอยู่ แล้วได้พาบริวารรีบเอาของฝาก อันควรเข้าไปสู่วังน้อยใหญ่ของพระยาอินทปฐมราชาธิราช เห็น รั้วเวียงบ้านเมือง และประชาชนเงียบเหงาเศร้าหมองหารัศมีมิได้ เหมือนอย่างแต่ก่อนนั้นเลย จึงเข้าถึงตำหนัก เห็นองค์อินทปฐม ราชผู้เป็นพระชามาดากำลังมีพระพักตร์ตรมตรอมซบเซาเหงาอยู่ มิได้ตรัสถ้อยคำดีร้ายแต่อย่างไร ครั้งนั้นมหาเสนาธิบดีได้เห็นเป็น

๑ เป็นไอยการมหาเสนาธิบดี หรือ ไอยะมหาเสนาธิบดี ก็มี.

๔๑ ฉะนั้น จึงทูลว่า สมมติเทวะเป็นเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถาม มหาราชเจ้า ขอมหาราชเจ้าได้ทรงพระกรุณาตรัสบอกณบัดนี้ เถิด ดังฦๅมหาราชเจ้าจึงไม่ตรัสคำใหญ่น้อยสักคำ ชรอยว่า มหาราชเจ้าจะโทมนัสเยื่องใดพระเจ้าข้า ประการหนึ่ง ข้าพระพุทธ เจ้ามาเล็งเห็นบ้านเมืองทั้งสิ้นหม่นหมอง ไม่รุ่งเรืองเหมือนเมื่อข้า พระพุทธเจ้าจัดการบ้านเมืองอยู่แต่ก่อน มิฉะนั้นมหาราชเจ้าคง ทรงเข้าพระทัยผิด ได้เอาคนผู้หาปัญญามิได้มาไว้ใช้ต่างพระองค์ แล้วกระทำการมิชอบเลยเกิดแหนงพระทัยขึ้นดังนั้นหรือ ขอจุ่ง ได้ทรงพระกรุณาตรัสบอกแก่ข้าพระพุทธเจ้า หากได้ทูลถามมาณบัด นี้เถิดพระเจ้าข้า ฝ่ายองค์อินทปฐมราชผู้เป็นอธิบดีแก่ประชา ราษฎรในเมืองโพธิสารกรอมหลวงทั้งสิ้น เมื่อจักตรัสบอกแก่อยะ มหาเสนาธิบดีหากทูลถามนั้นจึงตรัสว่า ดูราพระเจ้าพ่อเอ๋ย ตั้งแต่ พระเจ้าพ่อได้ออกไปอยู่ที่อื่น แต่นั้นมา ข้าพเจ้าก็ได้ตั้งพาหิร พราหมณ์ให้เป็นที่อัครมหาเสนาธิบดีจัดการบ้านเมืองแทน ถัดนั้น มานางอุรสาราชเทวีที่เป็นธิดาของพระเจ้าพ่อประสูติกุมารองค์ ๑ แต่กุมารนั้นหาได้ประสูติออกมาทางทวารเบื้องต่ำ ของมารดาเหมือน มนุษย์ทั้งหลายไม่ คือประสูติออกมาทางมุขทวารของมารดา ใช่แต่เท่านั้นก็หามิได้ พอเติบโตมาได้ ๗ เดือน ในคืนหนึ่งก็ ได้หายไปจากที่ใกล้พระปรัศว์ของชนนีได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง เมื่อพา กันเที่ยวค้นหา ก็ไปได้ในพระที่หลวง โดยเหตุนั้นพาหิรเสนาจึง


๔๒ กล่าวว่า กุมารน้อยนี้เป็นคนอัปมงคลนักเมื่อเติบโตไปภายภาคหน้า ก็จักชนะชนกและชนนี ตลอดถึงประชาราษฎรและบ้านเมืองทั้ง สิ้นมหาราชเจ้าไม่ควรจักทรงเลี้ยงไว้ ควรจะเอาใส่แพลอยน้ำไปเสียชนกชนนีและบ้านเมืองก็จักได้อยู่สุขสำราญเป็นแท้ เมื่อเป็นดัง นั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็มีความสะดุ้งตกใจหวาดกลัวแต่ภัยทั้งหลาย จึง ได้ปลงอาชญาว่าเยื่องฉันใดบ้านเมืองจักอยู่สุขสำราญ ก็สุดแท้ แต่มหาเสนาจักคิดเถิด ครั้งนั้นพาหิรเสนาผู้นั้นมันก็ให้สร้างแพ และมณฑปแล้วมันก็ไปเอากุมารผู้เป็นโอรสของข้าพเจ้าใส่แพ แต่ นางอุรสามิได้ทรงทอดทิ้งโอรส ก็เลยเสด็จลงแพไปด้วย แล้วก็ ถูกลอยน้ำไปกับกุมารน้อย แต่นั้นมาบ้านเมืองก็บังเกิดความเดือด ร้อนแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกเหมือนอย่างพระเจ้าพ่อหากได้มาเห็นนี้ แหละ เมื่ออยะมหาเสนาธิบดีได้ฟังเช่นนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า มหาราชเจ้านี้หาได้ทรงพิจารณาดูจารีตประเพณีธรรมดาที่แท้ไม่ ได้ ทรงกระทำกรรมอันไม่ควรแท้ เมื่อกราบทูลดังนั้นแล้วก็กราบทูล ลาพระยาเจ้ารีบเสด็จกลับไปบ้านเมืองของตน

มูลเหตุชื่อเมืองสุวรรณโคมคำ ครั้นไปถึงตำหนักของตนแล้ว ก็รีบให้บริวารเอามีดพร้า และขวาน เข้าไปในป่าเพื่อโค่นและตัดเอาไม้สักได้แล้ว ก็ลากนำ มาสู่ท่าริมแม่น้ำขลนที แล้วให้นายช่างไม้มาถากย่อเข้าเพื่อทำให้


๔๓ เป็นเสาโคม ลงรักล่องชาดและปิดทองเสร็จ พอถึงวันมหาอุโบ- สถเดือน ๖ เพ็ญ อยะมหาเสนาธิบดีผู้ใหญ่ก็ให้ชายา โอรส ธิดา บริษัท นัดดา และบริวารทั้งหลายขวนขวายหาน้ำมัน น้ำ ผึ้ง ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนและใส้โคมทั้งมวลได้แล้ว พร้อม กันปักเสาโคมทองขึ้นรายไว้ตามริมท่าแม่น้ำขลนทีที่หน้าบ้านแห่ง ตน ๆ แล้วก็ตามน้ำมันประทีปและโคมไฟ และถวายข้าวตอก ดอกไม้ หว่านไว้เพื่อถวายพระรัตนตรัยมีพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นประธาน ตั้งสัตยาธิษฐานปรารถนาว่า ด้วยเดชะที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้กระทำสักการบูชาพระรัตนตรัย มีพระศรีสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นประธานนี้ ขอจุ่งให้พวกข้าพเจ้าได้เห็นพระพักตร์เจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารหลานรัก ผู้ซึ่งหาโทษมิได้แม้แต่สิ่งใด แต่ได้ถูกพระยาอินท ปฐมราชผู้เป็นชนก ที่เป็นเจ้าเมืองโพธิสารหลวงได้มีอาชญาให้ พาหิรเสนาผู้ใจบาปเอาไปลอยน้ำเสียบ้างเถิด ว่าดังนั้นแล้วก็อธิษ ฐานเทพดาอารักษ์ แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่เทพดา อินทร์ พรหม ยมราช ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ทั้งนางนาคไท้ธรณีและครุฑนาคน้ำ ปรไมไอศวรเจ้าทั้งหลาย ขอจุ่งได้มาเป็นสักขีพร่ำรู้กับด้วยข้าพ เจ้าทั้งหลาย ด้วยเดชกุศลของข้าพเจ้าทั้งหลายที่ได้ปักเสาโคม ทองถวายบูชาพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้ ขอจุ่งให้แพ มณฑปของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารนั้น ทวนน้ำขึ้นมาสู่ที่เสาโคม ทองของข้าพเจ้าณที่นี้ด้วยความสวัสดีเถิด ว่าดังนั้นแล้วก็ได้สักการ


๔๔ บูชา มีงานมหรสพอยู่ที่นั้นถึง ๗ วัน ๗ คืน แล้วจัดให้คนเฝ้าแหน อยู่ที่นั้น ครั้งนั้น ด้วยเดชสัตยาธิษฐานและด้วยเดชกุศลของเจ้า สุวรรณทวารมุขกุมาร ก็สนั่นไปถึงเทพดา ครุฑ นาคน้ำและไอศวร ทั้งหลาย ที่รักษาอยู่ในท้องสมุทรและบนพื้นพสุธาทั้งสิ้น ก็มา พร้อมกันเป็นเอกฉันทสามัคคี แล้วพากันกระทำให้เกิดเป็นลมใหญ่ พัดแพและมณฑป ของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารกับมารดาให้ลอย ออกจากท้องสมุทรสาครมาสู่ริมฝั่ง แล้วลอยเข้าปากแม่น้ำขลนที กาลนั้นนาคทั้งหลายที่อยู่ในแม่น้ำขลนที มีพญาศรีสัตตนาคซึ่งมี บริวารถึง ๗ โกฏิเป็นต้น ก็พร้อมกันหนุนแพให้ลอยขึ้นมาตามกระ แสแม่น้ำขลนทีผ่านท่าเมืองโพธิสารกรอมหลวง ซึ่งเป็นท่าประทับ อยู่แห่งองค์อินทปฐมผู้เป็นชนก แต่ชาวเมืองหาเห็นแพของเจ้า สุวรรณทวารมุขกุมารสักคนไม่ ครั้งนั้น หมู่นาคทั้งหลายก็พลันรีบหนุนแพของเจ้าสุวรรณ- ทวารมุขกุมาร ไปถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นหาดศิลา ที่มีน้ำไหลเชี่ยว ยิ่งนัก นาคจึงพร้อมกันกวาดเอาก้อนศิลามาทำเป็นทำนบปิดแม่ น้ำขลนทีไว้ ให้น้ำเอ่อขึ้นเต็มฝั่ง เพื่อให้แพลอยทวนน้ำขึ้นไปได้ สะดวก โดยเหตุนั้น เมืองโพธิสารหลวงจึงได้มีเขตต์ไปถึงที่นั้น แต่นั้นมา เมื่อแพของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารลอยทวนน้ำขึ้นมาตาม แม่น้ำขลนทีโดยฉับพลันไม่นานเท่าใด ในคืนเดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ๔๕ คนทั้งหลายมีอยะเสนาธิบดีเป็นประธาน ก็ได้สดับศัพทสำ เนียงแห่งดนตรีฆ้องกลอง ที่เทพดาและนาคลงบูชาเจ้าสุวรรณ ทวารมุขกุมารตลอดคืน รุ่งนขึ้นเป็นวันมหาอุโบสถเดือน ๘ เพ็ญ วันศุกรยามเช้า คนทั้งหลายมีอยะมหาเสนาธิบดีเป็นประธาน ก็ ถือเอาเข้าตอกดอกไม้และเทียนไปที่ท่าเสาโคมทองแล้วก็จุดสักการ บูชาพระรัตนตรัย และอยู่เฝ้าณะที่นั้นไม่นานนัก ก็เล็งเห็นยอด มณฑปและแพลอยทวนแม่น้ำขลนทีขึ้นมาเรื่อย ๆ ขณะนั้นคนทั้ง หลายก็อัญชุลีเหนือศีร์ษะ แล้วเปล่งวาจาว่า สาธุ สาธุ ขอให้แพ นั้นลอยเข้ามาจอดที่ท่าเสาโคมทองแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายณบัดนี้เถิด ว่าดังนั้นเหมือนกันทุกคน แพก็ลอยเข้ามาจอดณฝั่งน้ำที่ท่าเสาโคม ทองในยามนั้นจริง ๆ ขณะนั้นอยะมหาเสนาธิบดีก็วิ่งไปหาแพ และ เข้าไปในมณฑป ก็ได้เห็นนางอุรสาราชเทวีกำลังบรรธมทอดพระ เนตรดูรัตนกัมพล คือว่าแก้วทิพย์ที่พญานาคเอามาถวายไว้เพื่อให้ เป็นที่พึ่งของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมาร ยามเมื่ออยู่กลางน้ำสมุทร นั้น และทรงจุมพิตกุมารเล่นอยู่ ขณะนั้นนางอุรสาและเจ้าสุวรรณ ทวารมุขกุมารทอดพระเนตรเห็นอยะมหาเสนาธิบดีก็รีบเสด็จลุกขึ้นกราบลงแทบบาทของบิดา แล้วจึงทูลว่าข้าแต่บิดาเอ๋ย บัดนี้ท่านมา แต่ที่ใด จึงได้มาพบแม่ลูกทั้งสองผู้ซึ่งถูกกล่าวร้ายว่าไม่ดีแล้ว เอามาลอยน้ำเสียเช่นนี้ อยะมหาเสนาธิบดีจึงตอบว่าลูกรักของ พ่อเอ๋ย พ่อได้รู้พฤตติการณ์ว่าลูกถูกองค์อินทปฐมราชวรสวามีของเจ้าได้มีอาชญาให้พาหิรเสนาเอาเจ้าทั้งสองไปลงแพลอยน้ำเสีย พ่อจึง

๔๖ ได้ปักเสาโคมทอง แล้วจุดประทีปบูชาพระรัตนตรัยอุทิศส่วนบุญไปถึงเทพดาและหมู่นาคทั้งหลาย แล้วตั้งสัตยาธิษฐานปรารถนาขอ ให้แพของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารผู้เป็นนัดดามาสู่ท่าเสาโคมและ ขอให้พ่อได้เห็นพักตร์นัดดาที่เสนหาด้วยเถิด บัดนี้ก็เป็นอันสำเร็จ ความปรารถนาของพ่อแล้ว เมื่อเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารได้เห็นไอยกาแล้ว จึงทูลว่าข้าแต่ไอยกา หลานนี้มีกรรมหนัก แต่เกิดมายังมิทันได้เห็นพักตร์ ไอยกาสักครั้งเดียว แม้พักตร์บิดาเล่า ก็ยังมิทันจะรู้จัก แต่เผอิญ กรรมหนักหากบันดาล ทั้งสองแม่ลูกจึงได้ถูกท่านเอาไปลอยน้ำเสีย บัดนี้หลานได้มาเห็นไอยกามีความปิติยินดีอย่างยวดยิ่ง เพราะได้พ้นจากทางผลาญมาแล้ว ก็หวังว่าจักได้เห็นบ้านพร้อมด้วยกุศลของ ไอยกานี้แหละ อยะมหาเสนาธิบดีจึงอัญเชิญนัดดาและธิดาเสด็จ ออกจากแพ ขึ้นมาสู่ฝั่งน้ำณที่เสาโคมทองนั้น แล้วประกาศให้คน ทั้งหลายมีงานมหรสพ เพื่อบูชาพระกุศลของเจ้าสุวรรณทวารมุข กุมาร อยู่ที่นั้นนานได้ถึง ๗ วัน ๗ คืน แล้วก็ประกาศแก่บริษัท และบ่าวเพื่อนแห่งพระองค์ ให้ไปสร้างหออุทุมพลในวัง แล้วก็ สั่งให้ถางทางหลวงให้กว้าง ประดับประดาด้วยต้นกล้วยต้นอ้อย และปักธงช่อธงชัยรายไปทั้ง ๒ ฟากทางหลวงเสร็จแล้ว ก็อัญเชิญ เจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารผู้เป็นนัดดา ให้เสด็จจากท่าเสาโคมทองมา สู่วัง และมีมหกรรมทำขวัญธิดาและนัดดา เพื่อให้เจริญศิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลยิ่งยืนนาน และเพื่อให้คนทั้ง ๒ อยู่ครองบ้านเมือง ๔๗ ต่อไป แล้วสั่งให้หานายสุวรรณการมาตีอ่างทองใหญ่ลึกเพียงบั้น พระองค์ของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมาร กับสั่งให้สร้างนิคมอีก เพื่อ ให้เป็นทาสท้าวปราการดีงามเป็นอันมาก แล้วก็อันเชิญเจ้าสุวรรณ ทวารมุขกุมารเสด็จขึ้นสู่หออุทุมพล น้อมบ้านเมืองทั้งสิ้นถวายแด่นัดดา และสรงสนานนัดดาด้วยมุรธาภิเษกอันดีวิเศษ ครั้งนั้นมนุษย์และเทพดาทั้งหลายก็ชื่นชมยินดีเป็นอันมาก ได้พร้อมกันสรงสนาน เจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารเป็นมหามงคลสมัย กาลอันใหญ่ ส่วนมนุษย์ทั้งหลายก็มิได้เห็นและมิได้ถูกต้องเทพดา แต่ฝ่ายเทพดาหากได้เห็นมนุษย์ถ่ายเดียว แต่มิได้ถูกต้องร่างกาย เลยของมนุษย์ทั้งหลายเหมือนกัน และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นก็รู้ ด้วยสุคนธรสน้ำทิพย์อันหอม กาลนั้นทวยเทพก็โปรยห่าฝนทิพย์ ลงมาสระสรงบ้านเมือง แห่งเจ้าสุวรรณทวารมุขราชให้ชุ่มเย็นเป็นอันมาก แต่นั้นมาถ้ำกุมภ์ จึงได้ชื่อว่า สุวรรณโคมประเทศ คือว่าเมืองสุวรรณโคมคำ แล้ว มนุษย์และเทพธิดาทั้งหลาย ก็สระสรงเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารทุกวัน ไปมิได้ขาด คำลือชาก็ปรากฏไปทั่งประเทศทั้งหลาย แต่นั้นมา บ้านเมืองก็ชุ่มเย็นเป็นสุขสำราญไปด้วยฟ้าฝน ข้าวกล้าในไร่นาก็บริบูรณ์มิได้ขาดแคลน

ชาวเมืองโพธิสารหลวงอพยพไปอยู่เมืองสุวรรณโคมคำ ครั้งนั้นก็ลือชาปรากฏไปถึงประชาราษฎรเมืองอินทปฐมนคร

๔๘ โพธิสารหลวง ซึ่งเป็นชาติภูมิเดิมของเจ้าสุวรรณทวารมุขราช เมืองนั้นฝนมิได้ตกสักครั้งเลย คนทั้งหลายมิได้ทำไร่ทำนาเลย เกิดอดข้าวอดน้ำกันมากมาย แล้วก็พากันแตกตื่นเข้าป่าดงพงไพร ไป เพื่อแสวงหาหัวมันและผลไม้กินเป็นอันมาก ครั้นคนเหล่านั้น รู้ข่าวว่าเจ้าสุวรรณทวารมุขราชพร้อมด้วยมารดา ได้เสด็จไปสถิตย์ อยู่ที่เมืองสุวรรณโคมคำทิศเหนือน้ำโพ้น ก็ต่างคนอพยพครอบครัว พ่ายหนีขึ้นไปหาเจ้าสุวรรณทวารมุขราช ที่เมืองสุวรรณโคมคำประ มาณวันละพันสองพันครัวมิได้ขาด ตลอดเวลา ๓ ปีมีคนประมาณ มากกว่าแสนครัวเรือน ครั้งนั้นองค์อินทปฐมราชผู้เป็นเจ้าเมืองโพธิสารกรอมหลวง หาได้ทรงทราบข่าวสาส์นว่า นางอุรสาเทวีและกุมารของพระองค์ เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองสุวรรณโคมคำไม่ และการที่พลเมืองของ พระองค์ได้อพยพไปอยู่ที่เมืองสุวรรณโคมคำนั้น พระองค์ก็ไม่ทรง ทราบเหมือนกัน

องค์อินทปฐมราชให้ติดตามสุวรรณทวารมุข กาลนั้น เทพดาทั้งหลายประสงค์จะให้องค์อินทปฐมราช ผู้ เป็นราชบิดาของเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารได้ทรงทราบ จึงบันดาล ให้กลิ่นคันธรสน้ำทิพย์ที่เทพดาสรงเจ้าสุวรรณทวารมุขไปปรากฏทั่วเมืองโพธิสารหลวง ครั้งนั้นพระยาเจ้าผู้เป็นราชบิดาตรัสสั่งให้ ราชบุตร ๕ องค์ ผู้ซึ่งเป็นเชษฐาขององค์เทวินทวรเป็นประธาน

๔๙ แห่งคนทั้งหลาย ไปเที่ยวค้นหายังกลิ่นคันธรสอันหอมทั่วเวียง ตลอดทุกแห่งหนก็ห่ได้พบในที่ใดสักแห่งหนึ่งไม่ จึงได้ตรัสสั่งให้ ทรงม้าไปเที่ยวค้นหาภายนอกเวียงต่อไปอีก ฝ่ายราชบุตรทั้ง ๕ องค์ ก็ได้ไปจับม้าอัศดรตัวที่มาในวันที่เจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารประสูติ แต่ก็หาจับมิได้ไม่ เพราะม้าตัวนั้นมีกำลังและคึกคะนองมาก ครั้งนั้นพระราชบิดาก็มีดำรัสสั่งให้องค์เทวินทวรองค์ที่ ๖ ผู้ เป็นพระเชษฐาของเจ้าสุวรรณทวารมุขมีพระชนม์ได้ ๗ พรรษา ไปเอาม้าอัศดรมา พอองค์เทวินทวรไปถึงม้าเข้า ตัวนั้นก็นิ่งสงบ อยู่ จึงจับเอาม้านั้นโดยง่ายดาย แล้วก็จูงมาแสดงถวายแด่ พระราชบิดา ๆ ก็ทรงอนุญาตให้องค์เทวินทวรทรงม้าไปเที่ยวค้นหา คันธรสอันหอมนั้น ครั้งนั้นองค์เทวินทวรถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว ก็ทรงม้าบริวารเสด็จออกจากเวียงไป ฝ่ายม้าตัวนั้นบ่ายหน้าไปสู้ทิศอุดรแล้ว ก็ไปด้วยกำลังแห่งตนและด้วยอานุภาพแห่งเทพดาทั้งหลาย ส่วนบริวารตามไปไม่ทัน ม้าตัวนั้นไปเพียงวันเดียวได้ตั้ง ๓๐ โยชน์ พอ เวลาเย็นก็ถึงสุวรรณโคมประเทศครั้นแล้วก็เสด็จไปในเวียงสุวรรณ โคมคำ และเสด็จเข้าไปในวังน้อยของไอยกา ฝ่ายอยะมหา เสนาธิบดี เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นนัดดา ก็เสด็จลงไปทำการ ต้อนรับแล้วพาขึ้นไปบนตำหนัก ครั้นแล้วองค์เทวินทวรได้เห็น มารดาและเห็นคนทั้งหลาย กำลังสรงเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารที่


๕๐ เสนหาอยู่ ก็เสด็จเข้าไปถวายบังคมแทบบาทมารดา และทูลถาม ถึงเรื่องที่ได้พ้นจากทุกข์อันเขาเอาไปลอยน้ำนั้น แล้วได้เสด็จกลับ มาทรงเกษมสำราญอยู่กับไอยกา ครั้นทรงทราบเรื่องของมารดาทุกประการแล้ว ท้าวเธอก็เสด็จเข้าสู่สำนักเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมาร ผู้เป็นอนุชา แล้วทรงอุ้มและจุมพิตที่เศียร พร้อมด้วยดำรัสปิย วาจากับอนุชาแล้วจึงประทับอยู่ในที่อันสมควร ฝ่ายไอยกาตรัสสั่ง ให้คนทั้งหลายจัดเครื่องเสวยมาประทานนัดดา ครั้นเสวยเสร็จแล้ว ก็เชิญเสด็จบรรทมอยู่ด้วยความสวัสดีตลอดราตรี ครั้นองค์เทวิน- ทวรเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ก็ทูลลาไอยกาทั้งพระมารดา และสั่งอำลาเจ้าสุวรรณทวารมุขผู้อนุชา แล้วเสด็จขึ้นทรงม้าอัศดร กลับมาถึงเมืองโพธิสารหลวง ท้าวเธอก็กราบทูลยุบลที่ได้เสด็จ ไปพบพระมารดาและอนุชาซึ่งไปประทับอยู่ที่เมืองสุวรรณโคมคำกับไอยกา แด่พระบิดาให้ทรงทราบทุกประการ

องค์อินทปฐมราชเสด็จเมืองสุวรรณโคมคำ ครั้งนั้นองค์อินทปฐมราชผู้เป็นพระมหากษัตริย์ในเมืองอินทปฐมนครโพธิสารหลวง เมื่อได้ทรงทราบว่านางอุรสาเทวีและ เจ้าสุวรรณทวารมุข ราชบุตรองค์น้อยของพระองค์เสด็จไปประทับ อยู่กับอยะมหาเสนาธิบดีดังนั้น พระองค์จึงได้มีดำรัสสั่งให้เตรียม รี้พลพร้อมแล้ว ก็เสด็จยาตราไปยังเมืองสุวรรณโคมคำ ซึ่งเป็นที่


๕๑ ประทับอยู่ของราชบุตรโดยเร็วพลัน ครั้นเสด็จไปถึงแล้ว ก็ทอด พระเนตรเห็นบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปด้วย หอ เรือน และคนมาก มาย ก็ให้เกิดปีติยินดีพร้อมด้วยบุญญาภิสมภารของพระองค์อย่าง ยิ่งแล้วรีบเสด็จเข้าไปในเวียงและตำหนักน้อยใหญ่โดยลำดับ ครั้งนั้นพระไอยกามหาเสนาธิบดีพร้อมทั้งธิดา พอทอดพระเนตรเห็นองค์อินทปฐมราชเสด็จไปถึง ก็รีบเสด็จมาต้อนรับ แล้ว เชิญเสด็จขึ้นสู่ตำหนักและเชิญให้ขึ้นประทับเหนืออาศน์ที่สมควร กาลนั้นนางราชเทวีกราบทูลพระยาเจ้าผู้เป็นพระวรสวามีเก่าของพระองค์ว่า มหาราชเจ้าเสด็จมาที่นี้จักมีพระประสงค์ด้วยประ โยชน์เยื่องใด พระราชาตรัสว่า เราพี่ได้ทราบข่าวว่าเทวีและลูกรัก ทั้ง ๒ ได้มาอยู่สำราญที่นี้ เราพี่ได้มาที่นี้ก็ใคร่เพื่อเห็นเจ้าทั้ง ๒ แม่ ลูก และประการหนึ่งก็ใคร่เพื่อสรงเกษเกล้าลูกของเราทั้ง ๒ ว่า ดังนั้นแล้ว ก็เชิญเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารผู้เป็นโอรสเสด็จขึ้นสู่ หออุทุมพล แล้วก็พร้อมด้วยยศบริวารของพระองค์สระสรงโอรส ด้วยน้ำมุรธาภิเศกอันหอมประมาณร้อยแปดกระออม ครั้นเสร็จ แล้วก็เชิญชายาและโอรสขอให้นิรโทษกรรมแก่พระองค์ และ ขอให้เสด็จคืนไปประทับอยู่ที่เมืองโพธิสารหลวงกับพระองค์ตาม เดิม แล้วพระองค์ตรัสวิงวอนอีกว่า ดูราเทวีบัดนี้เราพี่ของเชิญเทวีพร้อมด้วยโอรส จุ่งเสด็จคืนไปเป็นอัครมเหสีราชเทวีอยู่เมือง โพธิสารหลวงกับเราพี่ตามเดิมเถิด


๕๒ เทวีจึงกราบทูลมหาราชเจ้าว่า หม่อมฉันนี้มิใช่ว่าไม่รัก มหาราชเจ้าหามิได้ เท่ากับว่าชีวิตหม่อมฉันทั้งสองแม่ลูกอันเกิดยังเมืองโพธิสารหลวงนั้น ก็หากสิ้นสุดเสียที่กลางมหาสมุทรสาครหลวงนั้นแล้ว และบัดนี้พ่อเป็นเจ้าจึงสร้างเสาโคมทองบูชาพระรัตนตรัย แล้วอธิษฐานให้แพแห่งหม่อมฉันทั้งสองแม่ลูกขึ้นมาสู่ที่นี้ จึงได้มี ชีวิตอินทรีย์ และบัดนี้มหาราชเจ้าจักเอาหม่อมฉันกับทั้งลูกกลับ คืนไปสู่บ้านเมืองเก่าอีกนั้น หม่อมฉันนี้ต้องขอพรกับมหาราช เจ้าก่อน และหม่อมฉันทั้งสองนี้จักละเมืองสุวรรณโคมคำนี้ไว้แล้ว จักหนีไปมิได้ โดยที่เมืองสุวรรณโคมคำนี้ พระไอยกาก็ได้เวน ให้แก่โอรสของเราเพื่อได้เสวย บัดนี้ขออัญเชิญมหาราชเจ้าจุ่งประ ทับอยู่เสวยราชสมบัติในเมืองนี้เถิด หม่อมฉันก็จักอยู่เป็นอัคร ชายาแทบยุคลบาทของมหาราชเจ้าพร้อมด้วยโอรสแห่งเราทั้งสอง พระยาก็ซ้ำตรัสชวนเทวี กับราชบริพารของพระองค์อยู่เนือง ๆ ตั้ง ร้อยครั้งพันครั้ง ฝ่ายอุรสาก็มิได้ทรงรับ ทูลว่าครั้นมหาราชเจ้า ไม่อาจจักประทับอยู่โอรสและหม่อมฉันได้แท้ดังนั้น ก็ขอเชิญ มหาราชเจ้าจุ่งพาโอรสต้นทั้ง ๖ องค์นี้เสด็จกลับคืนไปเมืองของพระ องค์ด้วยความสวัสดีโดยพลันก่อนเถิด ส่วนหม่อมฉันผู้เป็น เทวีก็จักขออยู่กับ เจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารโอรสองค์น้อยที่สุดแห่ง เราทั้งสองในเมืองนี้ แม้นหม่อมฉันอยู่นานไปตลอดเวลาได้ตั้ง หมื่นปีแสนปี หม่อมฉันก็ไม่ยินดีด้วยชายอื่น ก็เท่าจักซื่นชม ด้วยบุญบารมีของมหาราชเจ้าไว้บนศีร์ษะตลอดชีวิตของหม่อมฉัน

๕๓ เมื่อองค์อินทปฐมราชได้สดับเทวีทูลสุดคำก็หาที่จักวิงวอนต่อไปมิได้ เป็นอันสุดวิสัยของพระองค์เสียแล้ว ก็เลยราชาภิเษก เทวีพร้อมด้วยเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารของพระองค์ให้เสวยราชสม บัติอยู่ในเมืองสุวรรณโคมคำนั้นกับด้วยพระไอยกา และประทาน ม้าตัวชื่อว่าพลาหกทำขวัญให้แก่เจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารผู้เป็นโอรสองค์ที่สุดของพระองค์ ครั้นแล้วจึงตรัสสั่งอำลาพระไอยกาพร้อม ทั้งเทวีและโอรสที่เสนหาของพระองค์ แล้วก็ทรงพาโอรสทั้ง ๖ พระองค์ ซึ่งเป็นเชษฐาของเจ้าสุวรรณทวารมุขราชพร้อมด้วยราช บริพาร เสด็จกลับไปประทับอยู่เสวยราชสมบัติในเมืองอินทปฐม นครโพธิสารหลวงดังเก่า ฝ่ายเจ้าสุวรรณทวารมุขราชและมารดาประทับอยู่ที่เมืองสุวรรณโคมคำด้วยพระไอยกา ครั้นกาลล่วงไปนานประมาณได้พันปี พระ ไอยกาก็สิ้นพระชนม์ไป ฝ่ายเจ้าสุวรรณทวารมุขกุมารก็ได้เป็นพระ ยามหาเอกราชแทนพระไอยกาอยู่ยังเมืองสุวรรณโคมคำ แต่นั้น สืบมา

องค์อินทปฐมราชสวรรคตและเทวินทวรได้เสวยราชย์ ฝ่ายองค์อินทปฐมราชผู้เป็นราชบิดาแห่งราชบุตรทั้ง ๗ องค์ ตั้งแต่เสด็จกลับคืนไปเสวยราชสมบัติในเมืองโพธิสารหลวงอีกตลอดเวลานานได้ ๑๔๗๐ ปีก็สวรรคต เสนามาตย์ทั้งหลายก็พร้อมกันราชาภิเษกองค์เทวินทวรซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ ๖ ขึ้นครองราชสมบัติ

๕๔ เป็นพระยาเอกราชในเมืองอินทปฐมนครโพธิสารหลวงแทนพระราช บิดาสืบมา ฝ่ายองค์เทวินทวรนั้น ครั้นได้ครองราชสมบัติแทนพระชนก แล้วก็มีรับสั่งให้เนรเทศพาหิรเสนาผู้ใจบาปพร้อมทั้งพวกบริวารประ มาณพันครัวเรือน ออกไปเสียให้พ้นจากเขตต์แดนนครของพระ องค์ เมื่อพาหิรเสนาพร้อมทั้งบริวารต้องเนรเทศแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะ ไปทางไหน จำต้องขึ้นไปสู่สุวรรณโคมประเทศ แล้วเตรียม เครื่องบรรณาการเป็นอันมากเข้าไปถวาย เพื่อทูลขอขมาโทษต่อ เจ้าสุวรรณทวารมุขราช ขอถวายตัวเป็นข้าอยู่กับเจ้าสุวรรณทวาร มุขราชสืบไป พาหิรเสนากรอมดำไปตั้งเมืองอุโมงคเสลากรอมเขตต์ เจ้าสุวรรณทวารมุขราชเมื่อทรงรับเครื่องบรรณาการแล้ว ก็ ทรงอโหสิกรรมให้ และอนุญาตให้อยู่ในที่นั้นได้ตามคำทูลขอ แต่ ทะว่าไม่ประทานอนุญาตให้อยู่ในเมืองหลวง เป็นแต่เพียงตรัสสั๋ง ให้ไปตั้งเมืองอยู่แห่งหนึ่งตามลำพัง อยู่ข้างเหนือแม่น้ำกุกะนที ทิศปราจีน ระยะทางไกลจากเมืองสุวรรณโคมคำ ๓ เดือน ทาง ภูมิสถานที่นั้นเป็นเนินยาวราบเสมอดี และมีถ้ำผาแห่งหนึ่งอยู่ทิศ อุดร มีถ้ำผาตูบอยู่หนปัศจิม ถ้ำผาตูบนั้นควรเป็นที่สถิตย์สำราญ

๑ ต้นฉะบับเป็น ปจิม ๒ ปัจสิม


๕๕ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก และฤาษีทั้งหลาย เจ้าสุวรรณทวารมุขราชตรัสสั่งให้พาหิรเสนากรอมดำพร้อมกับบริวาร ไปตั้งเมืองอยู่ที่นั่น แล้วเรียกชื่อว่าเมืองอุโมงคเสลากรอมเขตต์ โดยเหตุเป็นเขตต์แดนแห่งเมืองสุวรรณโคมคำ

อาณาเขตต์เมืองสุวรรณโคมคำ แต่นั้นมาในสมัยที่เจ้าสุวรรณทวารมุขกษัตริย์เสด็จครอง ราชสมบัติในเมืองโคมคำนั้น ก็เป็นอันสัมฤทธิลือชาปรากฏทราบ ไป ทิศอุดรมีปากทางหนองกระแสเป็นแดน หนปัศจิม มีฝายนาค เป็นแดน หนบูรพามีน้ำแตกเป็นแดน หนทักษิณ มีน้ำตูเป็น แดน เหล่านี้เป็นอาณารัฐแห่งเมืองสุวรรณโคมคำทั้งสิ้น ท้าวเธอ ดำรงพระชนมายุอยู่ได้ ๓๓๐๐ พรรษา ก็สวรรคตไป ฝ่ายเมืองสุวรรณโคมคำ ก็ได้สืบราชวงศ์ของเจ้าสุวรรณทวารมุขราชเป็นลำดับ ต่อมา ครั้งนั้นพระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังทรงธรมาน อยู่ ได้เสด็จไปเที่ยวโปรดปาณสัตว์ทั้งหลาย และเมื่อพระชนมายุ ของพระองค์ครบ ๓๐,๐๐๐ พรรษแล้ว พอถึงเดือนวิสาขบุรณมี วันอังคารเวลาอรุณขึ้นยามสาย พระองค์ก็เสด็จนิพพานไป และตั้ง แต่พระองค์เสด็จนิพพานไปแล้ว แต่นั้นมาอายุแห่งคนทั้งหลาย ก็ลดน้อยถอยลงไปทีละเล็กละน้อยตราบถึงอายุเขตต์ตั้งอยู่ใน ๑๐ ปี

๑ หนปัจสิม ๒ ปัจสิม. ๕๖ ครั้นแล้วอันตรกัปป์ก็เกิดมี คนทั้งหลายตายไปทั่วโลก ส่วนคน ทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่นั้นกลัวตาย จึงได้พากันตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วอายุก็ค่อยกลับเจริญขึ้นไปทีละเล็กละน้อยตราบเท่าถึงอายุเขตต์ ตั้งอยู่ในอสงไขยหนึ่ง และเมื่อชั่วอายุยืนนานหนักเข้าคนเหล่านั้น ก็หน่ายในตัว ครั้นแล้วอายุก็กลับลดถอยลงไปอีกทีละเล็กละน้อย ตราบเท่าถึงอายุเขตต์ตั้งอยู่ใน ๒๓,๐๐๐ ปี กาลนั้น ตั้งแต่ปฐมวงศ์พระนามว่าสุวรรณทวารมุขราชาผู้ มหากษัตริย์ขัตติยวงศ์ครองเมืองสุวรรณโคมคำ เป็นวงศ์สมันตราช สืบราชบุตรและราชนัดดาเป็นลำดับมา ประมาณได้ ๘๓,๕๐๒ องค์ ก็สิ้นสุดราชวงศ์ ครั้นสิ้นสุดราชวงศ์แล้ว จะหาท้าวพระยามหา กษัตย์ที่จักครองราชสมบัติในเมืองสุวรรณโคมคำสืบต่อมามิได้ จึง ในกาลนั้นท้าวพระยาในชมพูทวีปทั้งสิ้น เกิดเป็นอันธพาลขึ้นมากหลาย คือบ้างก็ดี บ้างก็ร้าย

พระยากรอมดำเข้าครองเมืองสุวรรณโคมคำ ก็และในกาลนั้น พระยากรอมดำ ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ตระ กูลแห่งพาหิรเสนาในเมืองอุโมงคเสลากรอมเขตต์นั้น เธอเห็น เมืองสุวรรณโคมคำหลวงหาขัตติยวงศ์มิได้เสียแล้วดังนั้น เธอจึง ได้อพยพครอบครัวไปปกครองราชสมบัติอยู่ในเมืองสุวรรณโคมคำ หลวงสืบมา แต่พระยากรอมดำเป็นคนอันธพาล หาได้ตั้งอยู่ใน ทศพิธราชธรรมไม่ มีแต่ตั้งกดขี่ข่มเหงเอาส่วยสาอากรกับประชา

๕๗ ราษฎร์ ตลอดถึงพานิชชาวต่างประเทศเข้ามา ท้าวเธอก็แกล้ง กระทำการปรับไหมใส่โทษนานา โดยเหตุนั้นเมืองสุวรรณโคมคำ จึงเกิดโกลาหลขึ้นมากหลาย และตั้งแต่สมัยที่สุวรรณทวารมุขราช เจ้าทรงตั้งเมืองสุวรรณโคมคำขึ้นแล้ว ก็ทรงปกครองราชสมบัติสืบ สายราชวงศ์เป็นลำดับมาตลอดกาลนาน นับประมาณท้าวพระยาซึ่งสืบกันมาถึงราชบุตรและราชนัดดาได้ ๘๓,๕๐๒ พระองค์ และเมืองสุวรรณโคมคำนี้ ย่อมเจริญรุ่งเรืองและสดวกด้วยการไปมาทุกสิ่ง ทุกอย่าง ห่อนมีข้าศึกศัตรูแต่สักครั้งไม่ พอถึงสมัยพระยากรอมดำมาปกครองเมืองนี้เข้าเลยเกิดเป็นอันธพาลไป

มูลเหตุที่เมืองสุวรรณโคมคำทำลาย ต่อแต่นั้นมา มีชายเข็ญใจผู้หนึ่ง ไปทำไร่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ขลนทีฝ่ายทิศตะวันออกหนใต้ ระหว่างแดนต่อแดนเมืองโพธิสาร หลวงกับเมืองสุวรรณโคมคำต่อกัน และชายผู้นั้นปลูกข้าวฟ่าง ข้าวสาลี น้ำเต้า และแตงไว้ในไร่เป็นอันมาก ฝั่งแม่น้ำที่ริมไร่ของชาย ผู้นั้นมีสัณฐานเป็นเกาะดอนทรายอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีทรายอ่อนขาว งามเป็นอันมาก ถัดนั้นพอเดือนวิสาขะมาถึงเข้า มีลูกสาวพญานาคสามพี่น้อง พากันออกมาจากเมืองนาค แล้วขึ้นมาสู่ชมพูทวีปเพื่อ เล่นน้ำในแม่น้ำในขลนทีณที่ใกล้เกาะดอนทรายริมไร่ของชายผู้นั้น แล้วก็ว่ายน้ำเล่นขึ้น ๆ ล่อง ๆ แล้วก็พากันขึ้นจากน้ำไปผิงแดดเล่น


๕๘ ณเกาะดอนทราย เมื่ออยากกินข้าวและอาหารขึ้นมาเวลาใด ก็พา กันไปสู่ไร่ของชายผู้นั้นแล้วก็กินข้าวไร่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี น้ำเต้าและแตงตามความพอใจ ครั้นกินอิ่มแล้ว ก็กลับออกมาเล่นณเกาะดอนทรายและแม่น้ำนั้นทุก ๆ วัน เป็นเวลาประมาณได้ ๒ เดือน ตราบเท่าถึงชายผู้นั้นเก็บเอาข้าวไร่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี น้ำเต้าและ แตงหมดสิ้นแล้วก็หาอะไรจะกินมิได้ จึงพากันกลับลงไปสู่เมือง นาคซึ่งเป็นที่อยู่เดิม ครั้งนั้นพญานาคพอเห็นลูกทั้งสามมาถึง จึงแสร้งถามว่า ดูราลูกรักเอ๋ย ลูกพากันไปอยู่ที่ไหนมาเป็นนานพึ่งกลับมานี่หนอ นางนาคธิดาทั้งสามก็บอกแด่พญานาคผู้บิดาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ลูกทั้งสามพี่น้องขึ้นไปเที่ยวเล่นในชมพูทวีปโพ้น แล้วได้ไปพบแม่ น้ำรวมแม่ ๑ ซึ่งไม่ใหญ่เล็ก และมีน้ำอันงามไหลเชี่ยว ทั้งมีเกาะ ดอนทรายอ่อนขาวงามยิ่งนัก ลูกไปเล่นน้ำและเที่ยวเล่นที่เกาะดอนทรายก็เป็นการสนุกมาก เลยลืมกลับมาเสีย โดยเหตุนั้นจึงได้ช้า ไป พญานาคผู้บิดาถามว่า เมื่อเป็นดังนั้นสูเจ้าขอท่านหรือไม่ ธิดานาคตอบว่ามิได้ขอท่านเลย เพราะเห็นของในไร่นั้นมากมาย เมื่ออยากอาหารขึ้นมาเวลาใด ก็เข้าไปกินเวลานั้นตามพอใจ ครั้นกินอิ่มแล้วก็ออกมาเล่นอยู่ดังนั้นทุก ๆ วัน พญานาคผู้บิดากล่าวว่า สูทั้งสามนี้มีความผิดโดยฐานอทินนา ทานเสียแล้ว เพราะมิได้ถามเจ้าของท่านก่อน และเจ้าของท่านก็ ๑ ขาดความที่ว่ามากินเข้าไร่ เข้าฟ่าง ฯลฯ ดังจะเห็นได้ดังต่อไป. ๕๙ มิได้อนุญาตแบ่งให้ พลอยเอาของท่านมากินก็ได้ชื่อว่าลักของท่าน และสูทั้งสามนี้ได้ชื่อว่าเป็นหนี้ท่าน ครั้นตายไปแล้วก็จักไปเกิดเป็น ทาสีข้าใช้ท่านถึง ๕๐๐ ชาติจึงจะพันได้ นางนาคธิดาทั้งสามพอได้ยินคำบิดากล่าวดังนั้น ก็มีความ สดุ้งตกใจหวาดกลัวเป็นอันมาก จึงตอบว่า ลูกไม่ทราบว่าจะมีโทษ เลย และถ้าทราบว่าจะมีโทษดังนั้น ก็มิจะกระทำเลย บัดนี้ลูก ทั้งสามมีผิดเที่ยงแท้ ฉะนั้นขอมหาราชเจ้าจุ่งเป็นที่พึ่งแก่ลูก พอให้ พ้นจากโทษทั้งหลายด้วยเทอญ และเยื่องฉันใดจักดีขอมหาราชเจ้า ได้ดำริให้ลูกด้วยเทอญ พญานาคผู้บิดากล่าวว่า ดูราลูกรักทั้งหลายเอ๋ย ครั้นสูใคร่ พ้นจากโทษและกรรมเวรอันนั้น ให้สูทั้งสามไปขออุปัฏฐากมานพผู้ เจ้าของไร่นั้นแล้วขออโหสิต่อท่าน ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ในปัตยุบันนี้เสีย จึงจะพ้นโทษนั้นได้ นางนาคธิดาทั้งสามครั้นได้ยินคำของพญานาคผู้บิดาชี้แจงให้ฟังดังนั้น ก็พากันลำดับเอาครัวเข้าของอันควรบริโภคตามแต่ได้ แล้วอำลา บิดามารดาขึ้นมาสู่ ชมพูทวีป พากันเข้าสู่ไปโรงไร่ของมานพผู้ นั้นแล้วพากันกราบไหว้มานพเข็ญใจ กล่าวว่าข้าแต่มานพ เราทั้งสามพี่น้องนี้ เมื่อก่อนนั้นได้พากันมาเล่นน้ำและขึ้นไปเที่ยวเล่นที่เกาะ ดอนทราย แล้วได้มากินข้าวไร่ ข้างฟ่าง ข้าวสาลี น้ำเต้าและ แตงของท่าน พวกเรามิได้บอกขอสักคำเดียว เมื่อบิดาของพวก เราได้รู้เรื่องเข้า ท่านว่าพวกเรามีความผิดโดยฐานอทินนาทานเสีย

๖๐ แล้ว เมื่อตายไปก็จักได้ไปเกิดเป็นทาสีข้าใช้ท่านถึง ๕๐๐ ชาติ บัดนี้ พวกเราจักมาขออยู่อุปัฏฐากท่าน เพื่อขอให้ท่านอดโทษกับทั้งอโหสิ กรรมและเปลื้องเวรแก่พวกเราทั้งหลายด้วย มานพจึงกล่าวว่า ดูรานางทั้งสามข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจอาศัยอยู่ยังบ้านเมืองท่าน หาวัตถุเข้าของเงินทองที่จะบริโภคก็ไม่มี จึง เป็นแต่เพียงหาพรรณข้าวและผักตามมีตามได้ แล้วมาทำไร่อยู่ กลางป่าริมแม่น้ำนี้ ของในไร่มีมากมาย ก็มิได้ขายให้แก่บุคคลผู้ใด ซึ่งพอจักได้ผลมาเป็นค่าหมากค่าเกลือและค่าเสื้อผ้าก็หามีสักสิ่งไม่ เพราะว่าอยู่ไกลบ้านผู้บ้านคนนัก ครั้นจะกินคนเดียวหรือก็ไม่หมด แม้ข้าพเจ้าสละไว้เป็นทานเพื่อให้คนเดินทาง และสัตว์ทั้งหลายกินก็ หาสิ้นไปไม่ ก็หากได้แต่สุกหล่นเน่าไปเปล่า ๆ มากหลายเท่านั้น ฉะนั้นข้าพเจ้ามิได้อาลัยด้วยของปลูกสร้างอะไร ก็และเหตุที่นาง ทั้งสามว่าจักมาอยู่อุปัฏฐากข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าจักได้สิ่งอันใดมา เลี้ยงเล่า นางนาคธิดาเหล่านั้นพูดว่า การเรื่องนั้น ขอท่านมานพ อย่าได้เดือดร้อนใจไปเทอญ พวกเราหากจักพิจารณาขวนขวายหา เลี้ยงท่านตามมีตามได้ ชายเข็ญใจพูดว่า ผิดังนั้นนางทั้งสามจุ่งอยู่ ตามใจปรารถนาเทอญ ครั้งนั้นนางนาคธิดาทั้งสามก็อยู่ปฏิบัติอุปัฏฐากมานพเข็ญใจให้ได้รับความสุขต่อมาคราวหนึ่ง มิให้เคืองใจอันใดสักสิ่ง ครั้นกาล ล่วงไปนานประมาณได้ ๓ ปีแล้ว ในกาลวันหนึ่งนางนาคทั้งสามเกิด มีใจเบื่อหน่ายขึ้น จึงกล่าวแก่มานพนั้นว่า ดูราเจ้ากู พวกเราทั้งสาม

๖๑ นี้จักอยู่อุปัฏฐากท่านต่อไปอีกนานนัก ก็เป็นการเหน็ดเหนื่อยมาก ขอท่านจุ่งได้ขวนขวาย ไปค้าขายให้ได้ของแห่งมนุษย์มาไว้มาก ๆ เพื่อจะได้เป็นเครื่องบริโภคต่อไป แต่พวกเราทั้งสามนี้จักขออนุญาต ลาท่านกลับไปหาบิดามารดาในเมืองนาคโพ้นก่อน ครั้นนางนาคธิดา ทั้งสามพูดเช่นนั้นแล้ว มานพจึงพูดว่า ดูรานางทั้งสาม เราพี่นี้ก็เป็น คนเข็ญใจ จักได้วัตถุอันใดเป็นทุนไปค้าขายพอแลกเปลี่ยนเอาเข้า ของนั้นมาเล่า นางนาคธิดาพูดว่า เมื่อท่านจะไปค้าขายได้จริง ๆ พวกเราก็จะจัดแจงให้ มานพพูดว่า ผินางทั้งสองจะจัดให้ได้ดังนั้น พี่ก็จักไปตามคำของสูเจ้าได้ ครั้งนั้นนางนาคธิดาทั้งสองผู้พี่ ก็ลงไปสู่สำนักแห่งพญา นาคผู้บิดา แล้วเอาเรือลำ ๑ ซึ่งเต็มพร้อมไปด้วยสินค้าเป็นต้นว่าอาภรณ์ผืนผ้าทิพย์ทั้งหลายได้แล้ว ก็นำเรือและสินค้าขึ้นมามอบให้ แก่มานพและบอกว่า เจ้ากูจงถ่อเรือลำนี้ขึ้นไปค้าขายสิ่งของเหล่า นี้ตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ และเมื่อท่านขายของสิ้นแล้ว ขอท่าน จงได้รีบกลับคืนมาหาพวกเราทั้งสามนี้โดยเร็วเทอญ มานพก็รับเอาเรือและสิ่งของจากนางนาคธิดา แล้วให้นาง ทั้งสามอยู่เฝ้าเรือน ฝ่ายมานพก็ถ่อเรือไปตามกระแสแม่น้ำขลนที ขายสินค้าเป็นลำดับไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ และบ้านกลางเมืองกลาง เป็นเวลาไม่นานเท่าใด ก็ไปถึงเมืองสุวรรณโคมคำ ครั้น แล้วก็จอดเรือพักแรมอยู่ที่ท่าหลวงหน้าเมืองนั้น


๖๒ กาลนั้นพระยากรอมดำ ผู้ซึ่งมาครองเมืองสุวรรณโคมคำต่อมาเป็นพาลมีใจลามกยิ่งนัก พอถึงเวลากลางคืนท้าวเธอสั่งให้บริพาร เอารูปเต้าทองอันหนึ่ง ลอบเข้าไปวางไว้ในเรือของมานพ ผู้ที่เดิน เรือค้าขาย มาจอดพักแรมอยู่ที่ท่าหลวงหน้าเมืองสุวรรณโคมคำ รุ่งขึ้นท้าวเธอจึงสั่งให้พวกบริวารไปสืบถามมานพดูว่า ดูราพานิช เมื่อคืนที่แล้วนี้ โจรผู้ร้ายไปลักเอารูปเต้าทองของพระยาเจ้าของ พวกเราไป บัดนี้พวกเราติดตามรอยเท้าโจรนั้นมา ก็มาหายเสียที่เรือท่านนี่แหละ มานพนั้นตอบว่า ดูราเจ้าทั้งหลายเอ๋ย ในเรือลำนี้มีข้าพเจ้าคนเดียวเท่านั้น และก็มิได้ทิ้งเรือไปที่แห่งใดแห่งหนึ่งเลย ตลอดคืนยังรุ่ง พวกบริวารของพระยาพาลองค์นั้นพูดว่า ผิดังนั้นไซร้พวกเราจักขอเข้าไปค้นดูในเรือของท่าน ๆ จะว่าอย่างไร มานพตอบว่า เมื่อพวกท่านเข้ามาค้นดูในเรือของข้าพเจ้าแล้วหากไม่มีของของพระยาเจ้าอยู่ในเรือของข้าพเจ้านี้จะว่าอย่างไร พวกบริวารของพระยาพาลองค์นั้นตอบว่า พระยาเจ้าของ พวกเรามีดำรัสว่า ผิหากมิได้มีสิ่งของอะไรอยู่ในเรือของท่านดังนั้น ก็จะยอมเสียเมืองให้แก่ท่านเป็นแท้ ถ้ามีของของพระยาเจ้าอยู่ ในเรือท่านจริง ท่านจักว่าอย่างไร ฝ่ายมานพรู้ว่า พระยาองค์นั้นกระทำการคดโกงแก่ตนไม่ จึงพูดตามความซื่อว่า ผิหากมีสิ่งของของพระยาเจ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อยู่ในเรือข้าพเจ้านี้ ก็จุ่งได้ริบเอาเรือและครัวของข้าพเจ้าทั้งหมด

๖๓ นี้เทอญ จึงพวกบริวารของพระยาองค์นั้น ก็รับเอาคำสัตย์ปฏิญญากับมานพ แล้วก็พากันเข้าค้นเรือมานพ ก็ผเอิญพบรูปเต้าทองอยู่ ในเรือนั้นเข้าจริง ๆ จึงกล่าวหามานพว่า ท่านนี่เป็นโจรที่หยาบ ร้ายมาก ท่านไปลักเอารูปเต้าทองพระยาเจ้าของพวกเรามาไว้ที่นี่แน่แล้ว ครั้นแล้วก็ช่วยกันจับมานพที่เป็นเจ้าของเรือผูกมัดนำไป แสดงแด่พระยาเจ้าของตน ฝ่ายพระยาพาลผู้ใจบาปพอได้ทราบเรื่องเข้า ก็ตรัสขู่ตวาด ด่ามานพผู้ซึ่งหาโทษมิได้ว่า ชายผู้ร้าย มึงนี้แปลงเพสเป็นพ่อค้า เข้ามาสู่เมืองกูแล้ว มิหนำซ้ำมาลักเอาเต้าทองของกูไปด้วยนี่ แล้วสั่งให้พวกบริวารไปริบเอาเข้าของที่เรือของชายนั้นมาไว้ในฉาง จนสิ้น แล้วสั่งให้เอามานพไปปล่อยเสียฟากแม่น้ำขลนทีทิศตะวัน ตกหนพายัพโพ้น ครั้นมานพถูกพระยาพาลกระทำกลอุบาย เอาครัวของตนเสียสินจนหมดตัวแล้ว ต้องขอทานเขากิน เป็นอยู่อย่างแสนเข็ญ ถัดนั้นมา มานพผู้นั้นก็ได้ไปพบเกาะดอนทรายแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ ที่แม่น้ำขลนทีฝ่ายทิศตะวันตก ระยะไกลแต่เวียงสุวรรณโคมคำประมาณ ๔,๐๐๐ วา และเกาะดอนทรายนี้มีทรายอ่อนขาวงามดี มานพนั้นจึงคำนึงในใจว่า เกาะนี้ก็เสมือนเกาะที่กูเคยอยู่เมื่อ ก่อนนั่นเอง บัดนี้กูจักทำไร่ปลูกข้าวกินเถิด ครั้นคำนึงดังนี้แล้ว ก็ไปเที่ยวของยืมพร้าและหลัวตามชาวบ้านได้แล้ว ก็ทำไร่อยู่ที่เกาะดอนทรายนั้นแหละ

๖๔ เวลานั้นชาวบ้านทั้งหลายเจรจากันว่า มานพผู้นี้มิใช่เป็นคน ต่ำต้อยอะไร หากเป็นพ่อค้าเรือใหญ่ แต่ถูกพระยาเจ้าเมืองสุวรรณ โคมคำผู้มีใจลามกโลภเอาเข้าของของเขาเสียจนหมด เลยกลายมา เป็นคนตกทุกข์ได้ยากอยู่ฉะนี้หนอ ครั้นชาวบ้านเจรจากันดังนั้น แล้ว ก็เกิดมีความสงสารมานพ ในเมื่อมานพนั้นไปขอสิ่งใดก็ให้มิ ได้ทอดทิ้งเสีย แต่มานพอยู่ที่เกาะดอนทรายนั้นมาสิ้นเวลานานประมาณได้ ๓ ปี ครั้งนั้นนางนาคธิดาทั้งสาม ซึ่งเฝ้าเรือนคอยท่าอยู่ข้างหลังได้เจรจาปรารภกันว่า มานพผู้เป็นเจ้าของเราไปค้าขายเสียนานได้ ถึง ๓ ปีแล้วก็ไม่เห็นกลับมาเลย ชลอยว่าจะไปเป็นอันตรายอย่าง ใดอย่างหนึ่งเสียแล้ว บัดนี้เราควรจักไปตามหาดูเถิด แต่ก็ไม่ ทราบว่าจะไปทางไหน ฝ่ายนางนาคธิดาผู้เป็นพี่สาวของนางนาค ธิดาทั้งสองจำต้องลงไปสู่เมืองนาค เข้าไปบอกถ้อยคำทั้งหมดให้ แก่บิดาและมารดาทราบทุกประการ ครั้งนั้นพญานาคผู้บิดาพอได้ทราบเรื่อง จึงเอาแก้วทิพย จักษุออกมาให้แก่ธิดาของตน เมื่อนางนาคธิดารับเอาแก้วทิพย จักษุจากบิดาแล้ว ก็อมเข้าไว้ แล้วจึงแหงนหน้าดูขึ้นมาทางชมพู ทวีป ก็ได้เห็นมานพผู้เป็นเจ้าของตน ไปได้รับความลำบากมี แต่ผ้าขาดวิ่นติดตัวอยู่เท่านั้น แลเห็นมานพอยู่ที่โรงน้อยณ กลางสวนริมฝั่งแม่น้ำขลนที ที่หัวเมืองแห่งหนึ่งซึ่งอยู่หนเหนือ น้ำโพ้นดังนั้น นางจึงขอเรือบิดาอีกลำหนึ่ง ซึ่งเต็มพร้อมไปด้วย ๖๕ ผืนผ้าและเงินทอง เมื่อนางได้เรือและสิ่งของต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็เอาเรือขึ้นมาหานางนาคธิดาทั้งสองผู้เป็นน้อง แล้วก็พากันลง เรือขึ้นไปตามหามานพผู้เป็นเจ้าของตน เวลาไปก็ไปด้วยฤทธิ์ของ เรือทิพย์ลำนั้น แต่ระยะทางไปนานประมาณได้ ๓ คืนจึงขึ้นไปถึง ท่าเมืองสุวรรณโคมคำหลวง พอไปถึงก็จอดเรือพักแรมอยู่ที่นั่น ครั้นแล้วนางนาคธิดาทั้งสามพี่น้องก็พร้อมกันลำดับเอายังผืนผ้าและครัวอันควรบริโภคพอประมาณ เพื่อเป็นเครื่องบรรณาการเข้าไปถวายแด่พระยาเจ้าเมือง พระยาองค์นั้นจึงถามนางนาคธิดาทั้งสามว่า สูเจ้ามาแต่บ้านเมืองใด และสูเอาวัตถุอันใดมาด้วย นางนาคทั้งสามทูลแด่พระยาว่า หม่อมฉันมาจากเกาะดอนทรายขาวพราวโพ้นได้นำเอาผืนผ้าขาวแลงดำแดงที่มีค่ามาด้วย เพื่อหวังว่าจักขายบ้าง เพื่อจะให้ทานแก่คนเข็ญใจบ้าง อีกประการ หนึ่ง พี่ชายของหม่อมฉันขึ้นมาค้าขายในเมืองของมหาราชเจ้านี้เป็นเวลานานได้ถึง ๓ ปี แล้วก็ไม่เห็นกลับคืนไป ไม่ทราบว่าจักตายหรือ ยังอยู่ โดยเหตุนั้นหม่อมฉันจึงได้พากันมาตามหานี้แหละ ครั้น นางนาคธิดาทั้งสามทูลถวายเครื่องบรรณาการแด่พระยานั้นแล้ว ก็พร้อมกันทูลลากลับมาสู่เรือของตน แล้วพากันพายเรือข้าม แม่น้ำขลนทีไปแถบทิศตะวันตก ถ่อเรือเลียบฝั่งแม่น้ำขึ้นไป ถึงท่าสวนของมานพ แล้วจอดเรือพักแรมอยู่ที่นั่นแหละ


๖๖ ขณะนั้นพอมานพได้ทราบข่าวว่า พานิชเอาเรือมาจอดพัก แรมอยู่ ณ ตีนท่า ก็คาดว่า เป็นนางนาคธิดาทั้งสามจึงลงไปหา เพื่อใคร่จะขอเสื้อผ้ามานุ่งห่ม ครั้นไปถึงก็ได้เห็นนางนาคธิดาทั้งสาม นางทั้งสามก็ได้เห็นมานพผู้เป็นเจ้าของตนเช่นเดียวกัน แล้ว ต่างคนต่างก็ได้ปราศัยกัน ฝ่ายมานพได้เล่าอาการเป็นไปทั้งหมด ตามที่ตนได้ถูกพระยาพาลองค์นั้นหาอุบายกระทำโทษแก่ตน ให้ แก่นางนาคธิดาทั้งสามทราบทุกประการ ครั้นนางนาคธิดาทั้งสาม ได้ทราบเรื่อง จึงบอกให้มานพผู้เป็นเจ้าของไปประกาศสืบถามดูค่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมานพได้ไปขอท่านมากินแต่ก่อนนั้นตามชาวบ้าน และเมื่อนางนาคธิดาทราบค่าสิ่งของนั้นแล้ว จึงเอาเสื้อผ้าและ เงินทองไปให้ เพื่อเป็นเครื่องตอบแทนบุญคุณแก่บรรดาชาวบ้าน ทุก ๆ คน และนางนาคธิดาทั้งสามก็ให้มานพอาบน้ำชำระกาย เรียบร้อยแล้วผลัดเปลี่ยนเอาเสื้อผ้าที่บริสุทธิ์ นางนาค ธิดาก็ตบแต่งโภชนาหารให้มานพบริโภคจนอิ่ม จึงบอกให้มานพ ไปซ่อนตัวเงียบ ๆ อยู่ที่โรงดังเก่า ฝ่ายนางนาคธิดาทั้งสามก็พร้อม กันคอยซุ่มดูอยู่โดยอาการนิ่งสงบมิได้หลับ ฝ่ายพระยากรอมดำผู้เป็นพาลองค์นั้น ก็บังคับให้มหาดเล็กเอายังรัตนรังสีแก้วทิพย์ ลูกที่มีวรรณอันแดงงาม ที่พญานาคเอา มาถวายแด่เจ้าสุวรรณทวารมุขราช ณ กลางแม่น้ำมหาสมุทรสาคร เพื่อให้เป็นที่พึ่งของท้าวเธอแต่ครั้งกระโน้น และเจ้าสุวรรณ ทวารมุขราชก็ได้ทรงนำเอารัตนรังสีแก้วทิพย์ลูกนั้น มาไว้ในหอ

๖๗ ปราสาท เพื่อให้เป็นเดชแห่งเมืองสุวรรณโคมคำของพระองค์ ครั้นราชวงศ์ของเจ้าสุวรรณทวารมุขสืบสายต่อมาได้ ๘๓,๕๐๒ องค์ก็มา สิ้นสุดเสีย และรัตนรังสีแก้วทิพย์ลูกนั้นก็มีอิทธิฤทธิ์อานุภาพ วิเศษยิ่งนัก พระยากรอมพาลผู้ที่มาครองเมืองสุวรรณโคมคำ ก็ไม่สมควรปกครองไว้ได้ โดยเหตุนั้นท้าวเธอจึงได้อาณัติให้ พวกมหาดเล็ก ลอบเอารัตนรังสีแก้วทิพย์ ลูกนั้นไปใส่ไว้ในเรือของ นางนาคธิดาทั้งสาม เมื่อนางนาคธิดาทั้งสามได้เห็นฉะนั้นแล้ว จึงไปบอกแก่ มานพผู้เป็นเจ้าของตน ให้มาเอายังรัตนรังสีแก้วทิพย์ลูกนั้นออก ไปเสียจากเรือ แล้วก็พร้อมกันเอาขึ้นไปบนฝั่งแม่น้ำขลนทีหน ปัศจิม ทิศ ระยะทางไกลจากเรือไปประมาณ ๖๐๐ วา และข้าง ตีนดอยสามลูกพี่น้อง คือดอยอินทวรรณ ระยะไกลแต่นั้นไป ประมาณ ๑๐๐ วา แล้วพร้อมกันขุดแผ่นดินลึกลงไปประมาณ ได้ ๗ ศอก จึงเอารัตนรังสีแก้วทิพย์ลงฝังไว้ในหลุม และรัตน รังสีแก้วทิพย์ลูกนั้นมีอิทธิฤทธิ์อานุภาพวิเศษยิ่งนัก แต่พระยา กรอมองค์นั้นมิได้ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และไม่มีบุญวาสนา ที่จะปกครองรัตนรังสีแก้วทิพย์ลูกนั้นไว้ได้ เทพดาจึงดลใจให้เขาเอา รัตนรังสีแก้วทิพย์ไปฝังเสีย ต่อเมื่อท้าวพระยาองค์ใดได้ตั้งอยู่ ในทศพิธราชธรรมและมีบุญวาสนา รัตนรังสีแก้วทิพย์ลูกนั้นจึง

๑ หนปัจสิม.

๖๘ จะปรากฏออกมาหาท้าวพระยาองค์นั้น และจักมีอานุภาพเป็นอัน มากในกาลนั้น ครั้นมานพพร้อมกับนางนาคธิดา ฝังยังรัตนรังสีแก้วทิพย์ลูก นั้นแล้ว ได้เอากอหญ้ามาปลูกปกปิดไว้ เสร็จแล้วก็พากันกลับมา นิ่งเงียบอยู่ที่เรือทำเป็นทีว่าไม่รู้ ครั้นราตรีนั้นรุ่งแจ้งแล้ว พระยาพาลใจบาปองค์นั้น ก็พาเสนาอำมาตย์และมหาดเล็กไปที่ เรือของนางนาคธิดาทั้งสามแล้วตรัสกะเขาว่า ดูราแม่ค้าทั้งหลาย เอ๋ย เมื่อคืนที่แล้วไปนี้โจรผู้ร้ายได้ขึ้นไปยังโรงของเรา แล้วลัก เอายังรัตนรังสีแก้วทิพย์อันควรค่าพันเมืองของเราไป เราได้พากัน ตามรอยเท้ามา ก็มาที่เรือสูเจ้านี่แหละ นางนาคธิดาทั้งสามจึง ทูลว่า หม่อมฉันทั้งสามนี้ก็เป็นผู้หญิงด้วยกันทั้งนั้น ดังฦๅจักไป ลักเอายังรัตนรังสีแก้วทิพย์ของท่านมาได้เล่า. พระยากรอมดำได้สดับจึงตรัสว่า สูนี้แม้เป็นหญิงให้การ ปฏิเสธว่า มิได้ไปลักเอามาก็จริง แต่สูอาจจ้างคนอื่นไปลักเอามา ให้สูก็ได้ เราจักให้คนเข้าค้นดูในเรือของสูให้รู้แน่ หากว่ามี รัตนรังสีแก้วทิพย์ของเราอยู่ในเรือสูจะว่าอย่างไร นางนาคธิดาทั้งสามทูลว่า ถ้ามีรัตนรังสีแก้วทิพย์อยู่ในเรือ ของหม่อมฉันจริงดังนั้นแล้ว ก็จุ่งริบเอาเรือของหม่อมฉันเสีย ทั้งหมดเถิด ถ้าหากรัตนรังสีแก้วทิพย์ของท่านไม่มีอยู่ในเรือของ หม่อมฉันนี้แล้ว ท่านจะโปรดว่ากระไร

๖๙ พระยาองค์นั้นหาทราบไม่ว่า นางนาคธิดาทั้งสามเอารัตนรังสีแก้วทิพย์ลูกนั้นไปซ่อนเสียแล้ว พระยากรอมดำก็ยังตั้งแข็ง พระทัยตรัสยืนยันอยู่ว่า รัตนรังสีแก้วทิพย์ของเราอยู่ในเรือของ สูนี้แน่ๆ ครั้นแล้วจึงตรัสถามนางนาคธิดาทั้งสามนั้นต่อไปว่า เข้าของในเรือสูนี้จะมีค่ามากสักเท่าใด เธอทั้งสามทูลตอบว่ามีค่าประมาณเงินโกฎิหนึ่ง พระยาองค์นั้นตรัสว่า ถ้ารัตนรังสีแก้วทิพย์ของเราไม่มีอยู่ ในเรือของสูจริง เราก็จะยอมเสียเมืองให้แก่สู ดังนั้น แล้วต่างฝ่ายต่างก็ได้ทำสัญญาให้แก่กันและกันไว้อย่างมั่นคง ครั้น แล้วพระยาก็ตรัสสั่งให้ เสนามาตย์และมหาดเล็กของตนเข้าค้นดูเข้า ของในเรือของนางนาคธิดาจนหมดสิ้นแล้ว ก็มิได้เห็นแก้ว สักลูกเลย เมื่อพระยาพาลองค์นั้น ไม่ทรงเห็นรัตนรังสีแก้วทิพย์อยู่ใน เรือของนางนาคธิดาแน่ดังนั้น ก็ทรงตระหนกพระทัยตัวสั่นเหงื่อ ไคลไหลสร้านออกมา พร้อมทั้งมีพระพักตร์เศร้าหมองไป และ มิได้ดำรัสสักคำเดียว ได้แต่พาหมู่บริพารหนีกลับมาสู่ ตำหนักน้อยใหญ่ของตนเท่านั้น ครั้งนั้นนางนาคธิดาทั้งสามก็ตบแต่งโภชนาหารมาให้มานพผู้เป็นเจ้าของตนกิน แล้วก็พร้อมกันขนเอาสิ่งของลงบรรทุกเรือ จนสิ้น และขอเชิญมานพลงเรือ พากันกลับเรือรุดออกจาก ท่าสวนของมานพไป แต่นั้นมาท่านั้นก็ได้ชื่อว่า " ท่านาง " ๗๐ โดยเหตุที่นางนาคธิดาทั้งสามได้ไปพักแรมอยู่ที่นั่น ครั้นมาถึง ท่าเมืองสุวรรณโคมคำแล้ว เขาก็พร้อมกันเข้าไปทูลถามพระยาว่า เมื่อก่อนนั้นมหาราชเจ้าได้ทรงสัญญาไว้ว่า จะยอมให้เมืองแก่หม่อม ฉันอย่างไรเล่า บัดนี้ท่านจะว่าอย่างไร ขณะนั้นพระยากรอมดำตรัสตอบนางนาคธิดาทั้งสามว่า บัดนี้เราไม่ยอมให้เมืองแก่สูละ เพราะแต่ก่อนสูยังมิได้เข้าสู่เมือง ของเรานี้ รัตนรังสีแก้วทิพย์ของเราก็มิได้หายไปสักครั้งเลย บัดนี้ พอสูเข้ามาในเมืองของเราเข้ารัตนรังสีแก้วทิพย์อันควรค่าพันเมือง ของเราจึงได้หายไป การที่สูได้เข้ามาในเมืองของเราแล้วยังไม่ พอหรือ บัดนี้ยังจะมาให้เราเสียเมืองให้อีก เรื่องนี้เราจักไม่ ยอม แต่เราจักยอมเสียเพียงเงินค่าสิ่งของในเรือของสูเท่านั้น แหละ ครั้นแล้วพระยากรอมดำก็ทรงบังคับให้เสนาอำมาต์ นับเงินประมาณได้โกฎิหนึ่งไปมอบให้แก่นางนาคธิดา แล้วก็หนี ไปเสีย ครั้งนั้นนางนาคธิดาทั้งสามพูดกะมานพผู้เป็นเจ้าของตนว่า เจ้ากูอย่าได้คิดอยู่ในเมืองนี้เลย เพราะพระยาพาลองค์นี้ใจบาป หาศีลธรรมมิได้สักอย่างเดียว ขอจงได้กลับไปอยู่ที่เก่าของ เราโพ้นเถิด จึงจะได้รับความสุข และการที่มันไม่ยอมให้เมือง แก่พวกเรานั้นก็เป็นอันแล้วไปเถิด แล้วนางนาคธิดาก็เอาเสื้อ ผ้าออกให้ทานแก่ชาวเมืองสุวรรณโคมคำพวกเก่านั้นทุก ๆ คนจน สิ้นเสื้อผ้าไปส่วนหนึ่ง แล้วก็พร้อมกันกลับเรือล่องลงมาสู่ที่เดิม

๗๑ ครั้นมาถึงที่อยู่แล้วก็กันเอาเงินโกฎินั้น พร้อมทั้งสิ่งของที่เหลืออยู่ ออกไปมอบให้แก่มานพผู้เป็นเจ้าของตนทั้งหมด ขณะนั้นนางนาคธิดาทั้ง ๓ พี่น้องก็พร้อมกันขออนุญาตต่อมานพว่า ข้าแต่เจ้ากู เมือก่อนนั้นเราทั้งสามพี่น้องนี้ ได้มากินข้าว ไร่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี และน้ำเต้ากับแตงของเจ้ากู บัดนี้พวกเราก็มาอุปัฏฐากเจ้ากูได้หลายปีแล้ว และใช่แต่เท่านั้น เมื่อเจ้ากูไปตกทุกข์ ได้ยากอยู่ พวกเราก็ได้อุตส่าห์ติดตามไปช่วยเหลือให้กลับคืนมา อยู่ที่เก่าจนได้รับความสุขสบายดี บัดนี้พวกเราก็เหน็ดเหนื่อยเสีย แล้ว อยากจะขออนุญาตลากลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม เพราะฉะนั้นขอท่านจุ่งได้อดโทษ และอโหสิปลดเปลื้องกรรมเวร ให้แก่เราทั้งสามพี่น้องนี้ด้วยเทอญ มานพได้ฟังคำของนางนาคธิดาทั้งพี่น้องกล่าววิงวอนเช่นนั้น เธอจึงกล่าวว่า ดีแล้ว ดีแล้ว และเธอกล่าวต่อไปว่า ดูราน้อง รักทั้งสามการที่น้องได้มาอุปถัมภ์ค้ำชูพี่ให้พ้นจากความทุกข์จนให้พี่ ได้ถึงความสุขแล้วเช่นนี้ พี่มีความยินดีหาประมาณมิได้เป็นแท้ บัดนี้น้องปรารถนาจะกลับคืนไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม ก็จุ่ง กลับไปด้วยความสวัสดีเถิด ส่วนพี่ก็จักอโหสิกรรม มิให้เป็น บาปกรรมเวรแก่น้องทั้ง ๓ ต่อไปแม้แต่สิ่งใด อวสานเห่งเมืองสุวรรณโคมคำ ครั้นนางนาคธิดาทั้งสามได้รับอโสหิกรรมและอนุญาตจากมานพแล้ว ก็พร้อมกันทำความเคารพและอำลามานพ พากันกลับไป ๗๒ สู่เมืองนาคซึ่งเป็นที่อยู่เดิมของตน แล้วเข้าไปกราบไหว้เล่าความ เป็นไปในเรื่องที่มานพถูกพระยาพาลทำร้ายต่างๆ ให้แก่พญานาคผู้ บิดาและมารดาทราบทุกประการ พญานาคผู้บิดาได้ทราบเรื่อง ก็บันดาลความโกรธแค้นแก่พระยาพาลองค์นั้นมากมาย จึงเรียกเอาบริวารของตนประมาณได้แสนโกฏิ ขึ้นมาสู่ชมพูทวีปแล้วก็พร้อม กันไปขุดควักฝั่งแม่น้ำขลนที ลัดไปทางทิศตะวันออกเมืองสุวรรณ โคมคำ กระทำให้เมืองนั้นพังทะลายไปทันที

พระยากรอมดำกลับไปอยู่เมืองอุโมงคเสลากรอมเขตต์ เมื่อพระยากรอมดำผู้พาลเห็นเหตุฉะนั้นก็สดุ้งตกพระทัยแต่ ภัย จึงรีบพาครอบครัวของตนตามแต่ได้ไปลงเรือ แล้วก็พายข้าม ฟากแม่น้ำขลนทีไปทางทิศปัศจิม โพ้นสิ้น สมมติดังว่าพระยากรอมดำผู้พาลนั้น กระทำให้มานพนั้น ตาย แม้พระยานาคก็จักกระทำให้พระยากรอมดำนั้นตายเช่นเดียว กัน โดยเหตุที่พระยากรอมดำผู้พาลได้กระทำให้มานพต้องเสียเข้า ของไป พญานาคจึงได้กระทำให้น้ำไหลเซาะเมืองถึงกับเสียที่อยู่ ที่กินไปจนสิ้น แล้วก็หนีกลับไปสู่ที่อยู่ของตน เมื่อพระยากรอมดำผู้พาล เห็นน้ำเซาะเมืองซึ่งเป็นที่อยู่ ของตน จนพังไปเสียสิ้นแล้ว ก็มีความหวาดกลัวเป็นอันมาก จึง

๑ ต้นฉะบับเป็น ปัจสิม

๗๓ พาบุตรและไพร่ไทยตามแต่ได้ พ่ายหนีกลับคืนไปอยู่เมืองอุโมงค เสลากรอมเขตต์ของตนตามเดิม เวลานั้นประชาชนที่อยู่ย่านกลางฝั่งฟากแม่น้ำขลนทีทิศตะวันออก ก็พ่ายหนีเลียบฝั่งแม่น้ำขลนทีล่องลงไป บ้างก็ลงไป ตามทางน้ำ แล้วก็ไปอยู่เป็นลูกบ้านหางเรือนกับมานพผู้เป็นเจ้า ของนางนาคธิดาทั้งสามที่เกาะดอนทราย แต่นั้นมาที่เกาะดอนทราย ก็บังเกิดเป็นนิคมธานีใหญ่โตขึ้น ส่วนมานพผู้เข็ญใจก็ได้เป็นใหญ่ ในหมู่ชนตั้งแต่นั้นมา ฝ่ายประชาชนที่อยู่ในมืองสุวรรณโคมคำแถบฝั่งฟากแม่น้ำทิศปัศจิม ก็อพยพไปตามพระยากรอมดำบ้าง พาครอบครัวหนีไปตามวิสัยของใครของมันบ้าง ตราบเท่าถึงเมืองราชคฤห์นครหลวงไทย เทศโพ้นมากหลาย แต่กาลนั้นมา เวียงสุวรรณโคมคำก็รกร้างไม่มี ผู้คน และในเขตต์พระราชวังนั้น ก็พังลงกลายเป็นแม่น้ำท่าหลวง ไป เลยได้ชื่อว่า " ท่าโคมคำ " แต่บัดนั้นมา และการที่เมืองนั้นต้องรก ร้างไปไม่มีผู้คน ก็โดยเหตุที่นางนาคธิดาทั้งสามกับทั้งมานพได้เอา รัตนรังสีแก้วทิพยวิเศษไปฝังเสีย แก้วลูกนั้นท้าวพระยาองค์ใดมี ความเคารพยำเกรง ก็จักมีฤทธิ์อานุภาพเป็นอันมาก เมื่อท้าวพระยาและอาณาประชาราษฎร์ผู้ใดจักใคร่สักการบูชา ต้องมีเทียน ๒๑ คู่ ดอกไม้ขาว ๒๑ ดอก ธงขาว ๒๑ ผืน มะพร้าวและลูกตาลอย่างละ ๑ ปัจสิม


๗๔ ๒๑ ลูก กล้วย ๒๑ หวี อ้อย ๒๑ ท่อน ข้าว ๒๑ สพอ ข้าวต้ม และขนมอย่างละ ๒๑ สิ่ง ข้าวมุ่น ๒๑ แผ่น ขนมลูกลาน ๒๑ ลูก แล้วจัดเครื่องสักการะเหล่านี้ ใส่พานบูชาในวันศุกรเพลา ๕ โมงเช้า บ้านเมืองท้าวพระยาและอาณาประชาราษฎร์ผู้ที่กระทำ ความเคารพและสักการบูชา ก็จักเจริญรุ่งเรืองทุกประการ พระยากรอมดำไม่มีบุญวาสนาที่จะได้ครอบครองเมืองสุวรรณโคมคำต่อไป ก็ด้วยเหตุที่ไม่เคารพสักการะในรัตนรังสีแก้วทิพย์ วิเศษนั้น จนเป็นเหตุใฟ้นางนาคธิดาทั้งสามเอาไปฝัง แล้วตน ก็ต้องหนีกลับคืนไปอยู่เมืองอุโมงคเสลาดังเก่า ครั้งนั้นท้าวพระยามหาสมันตราชและประเทศราชในสกลชมพูเป็นอันพาลมิได้ตั้งอยู่ในธรรม บางคนก็ร้าย บางคนก็ดี ฝ่าย พราหมณะตระกูลทั้งหลายที่ประกอบชอบธรรมมีศีล มีสัตย์ กตัญญูกตเวที มหาพราหมณ์ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลายสั่งสอนท้าวพระยาใน ชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้อ่อนน้อมกราบไหว้ตน แล้วก็ให้ตั้งอยู่ใน ศีล สัตย์ กตัญญูกตเวทีเหมือนดังตน ตั้งแต่นั้นมาบ้านเมืองก็สุข เกษมรุ่งเรืองดีมาก อายุแห่งคนทั้งหลายตั้งอยู่ในเขตต์ ๒๒,๐๐๐ ปี บ้านเมืองในสกลชมพูทวีป ก็สงบราบคาบปราศจากเสี้ยนศัตรู การทำมาหากินและการค้าขายก็บริบูรณ์แต่นั้นมาก

๑ ขันจอก หรือ กระทง


๗๕ เล่าเรื่องประวัติพระพุทธกัสสป ครั้งนั้น เทพดา อินทร์ พรหม พร้อมด้วยท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ เข้าไปอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์องค์คำรบ ๓ พระนามว่าสิริ- ทัตตะ ยังสวรรค์ชั้นดุสิตว่า ดูราเจ้ากูผู้หาทุกข์มิได้ ผู้มีความเพียร มาก มีบารมีธรรม ๓๐ ทัศหากเต็มบริบูรณ์แล้ว บัดนี้ข้าพเจ้า ทั้งหลายขออาราธนาเจ้ากูเสด็จลงไปปฏิสนธิในมนุษยโลก เพื่อ โปรดสัตว์ทั้งหลายให้ได้ถึงซึ่งมรรคผลด้วยเทอญ พระบรมโพธิสัตว์ เมื่อทรงรับอาราธนาของเทพดาอินทร์ และพรหมแล้ว ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงมาถือปฏิสนธิในครรภ์ ของพราหมณี ผู้เป็นเทวีของมหาพราหมณ์ผู้ใหญ่ ในพระนคร พาราณสี ณวันพฤหัสบดี ครั้งนั้นก็บังเกิดมหัศจรรรย์โกลาหลเป็นต้นว่า ฟ้าร้อง ดอยคราง แผ่นดินไหว น้ำในท้องมหาสมุทรสาครกำเริบนองขึ้นจนล้นฝั่ง และเขาสิเนรุราชอ่อนน้อม พระบรมโพธิสัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์ของ มารดาถ้วนกำหนดทศมาสแล้ว พอถึงวันศุกรเพลาอรุณขึ้นก็ประ สูติจากครรภ์ ขณะนั้นมหัศจรรย์ ๓๒ ประการก็บังเกิดขึ้นดังกล่าว แล้ว พอพระบรมโพธิสัตว์ประสูติออกมา ก็มีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการพร้อมบริบูรณ์ และมีพระรูปพระโฉมสวยงามครบทุกส่วน ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงเจริญขึ้นพระชนม์ได้ ๒๕ พรรษา ก็ได้ครอบ ครองฆราวาส และได้เป็นใหญ่กว่าท้าวพระยาและพราหมณตระกูลทั้งหลาย ตลอดถึงพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา พระองค์ก็ทรงยานพาหนะ ๗๖ เสด็จออกไปทรงผนวชในวันจันทร์เพลาเช้าแทบฝั่งแม่น้ำอโนมานที แล้วทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ในป่าไม้ตาลหนุ่ม นานได้ ๕ เดือน กับ ๒๙ วัน พอถึงเดือนวิสาขขึ้น ๑๔ ค่ำเพลาเช้า พระองคก็ทรง รับข้าวมธุปายาสที่ธิดาของเศรษฐีใส่ถาดทองนำมาถวาย เมื่อพระ องค์เสวยข้าวมธุปานายแทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้ว ก็ทรงอธิษฐานถาดทองใบนั้นลอยไปในแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นแล้วเสด็จกลับมา ป่าไม้ พอเพลาเย็นลงเสด็จเข้าไปสู่บัลลังก์หญ้าคาเขียวประมาณ ๘ กำ ซึ่งมีณที่ใกล้ต้นไม้มหาโพธิ์ แล้วพระองค์ก็ประทับอยู่ที่นั่น ครั้งนั้น รัตนบัลลังก์อันกว้างและสูงประมาณ ๒๐ ศอกก็ปรา- กฏขึ้นมาในขณะนั้น พระองค์ก็ทรงชนะมาร ๕ ประการเหนือแท่น แก้วนั้น ครั้นเวลาเย็นพระองค์ทรงบำเพ็ญวิปัสสนาญาณไปเนือง นิตย์ ตั้งแต่ปฐมยามและมัชฌิมยามตลอดถึงปัจฉิมยาม ก็ได้ ถึงทศพลญาณและตรัสรู้สัพพัญญุตญาณพร้อมบริบูรณ์ เพลาอรุณ ขึ้นในเดือนวิสาขบุรณมีขึ้น ๑๕ ค่ำเพลาเช้า พระองค์ได้ตรัสรู้ พระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเข้าเหนือแท่นแก้วอันสูง ๒๐ ศอก พระสรีรกายสูงได้ ๒๐ ศอก พระรัศมี ๖ ประการสร้านออกจาก พระองค์ไปไกลประมาณ ๒๐ ศอกตลอดทุกทิศ ก็ปรากฏประนาม ว่าพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันนั้น ครั้งนั้นมหัศจรรย์ ๓๒ ประการมีแผ่นดินไหวเป็นต้นก็บังเกิดขึ้นดังกล่าวแล้ว มนุษยโลก เทวโลก เทพบุตร เทพธิดา ครุฑ นาค ไอศวร สัตว์เดียรฉาน เปรต ผี และสัตว์นรกอเวจี ก็แลเห็นกันตลอดทั่วไปทั้งหมด คน

๗๗ เปลี้ยค่อมก็เดินไปมาได้สะดวก คนตาบอดก็แลเห็นได้ถนัด คน หูหนวกก็ได้ยินศัพท์สำเนียงทุกประการ เปรตผู้มิได้กินข้าวน้ำสัก ครั้งก็หายความอยากไปทั้งสิ้น แม้ถึงไฟอเวจีนรกก็ดับไปประมาณ ครู่หนึ่ง ในขณะเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณนั้น ครั้นตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณแล้ว พระองค์ก็สถิตย์ทรงรำพึงถึง อรรถธรรมคัมภีรภาพทั้งมวลอยู่ถ้วน ๗ วัน แล้วเสด็จไปทรงรำพึง ถึงพุทธประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตอยู่ ๗ สัปดาห์ รวมเป็น ๔๙ วัน แล้วก็เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแคว้นเมือง พาราณสี ซึ่งเป็นเมืองของพระพุทธมารดาและพระพุทธบิดาของ พระองค์ แล้วทรงอนุญาตอุปสมบทให้แก่พระสาวกเบื้องซ้ายเบื้อง ขวาให้ถึงซึ่งมรรคผล ส่วนพระองค์ก็เสด็จจำพรรษาอยู่ณที่นั้น และทรงอนุญาตอุปสมบทให้แก่มนุษย์ทั้งหลายให้ได้ถึงพระอรหันต์ประมาณมากกว่าหมื่น ครั้นมหาปวารณาแล้ว พระองค์ก็เสด็จ เข้าไปสู่เวียงพาราณสี เสด็จโคจรไปตรัสเทศนาปัจฉิมภาวธรรม แด่มหาพราหมณ์ผู้เป็นพระพุทธบิดา พร้อมทั้งพระยากิงกัสสราช ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากให้ได้ถึงโสดา แต่นั้นมาพระพุทธเจ้านามว่า กัสสปก็เสด็จไปตรัสเทศนาโปรดปาณสัตว์ และทรงอนุญาตอุป สมบทให้แก่ภิกษุทั้งหลายให้ ได้ถึงธรรมวิเศษทุกมหานครและนิคม ราชธานี ครั้งนั้นมีพระอรหันต์มากกว่าโกฏิ แต่กาลที่พระพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปโปรดสัตว์อยู่นานได้ ๑๐,๐๐๐ พรรษา ณวันหนึ่ง พระองค์เสด็จประทับอยู่ในมฤคทายวนาราม ทรงเล็งเห็นถ้ำ ๗๘ กุมภ์ที่เมืองสุวรรณโคมประเทศนั้น อันเป็นวิสัยปัจจัยของพระ พุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะและโกนาคมนะในอดีต พระองค์จึง ทรงพาพระสาวกทั้ง ๘ องค์ผู้เป็นประธานแห่งภิกษุสงฆ์ ไปโคจรบิณฑบาตในนครสาวัตถี ด้วยอิทธิวิธิญาณของพระองค์ ครั้นได้บิณฑบาตแล้ว ก็มาสู่สุวรรณโคมประเทศโดยทางอากาศ ประทับ อยู่ ณถ้ำกุมภ์ แล้วทรงทำภัตตกิจณที่นั้น ขณะนั้นเทพดาทั้ง ๔ องค์ได้นำหม้อน้ำมาถวาย เพื่อพระองค์จะได้เสวยเหมือนพระ พุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ในอดีต ครั้นพระองค์เสวยน้ำแล้ว ก็ตรัส เทศนาอนุโมทนาภัตทานแก่ทายก พร้อมทั้งเทพดาทั้ง ๔ องค์ เทพดาทั้ง ๔ องค์ที่นำเอาหม้อน้ำมาถวายแด่พระองค์ ครั้งนั้นก็บังเกิด มีจักษุอันเป็นทิพย์ด้วยอานิสงส์ที่ได้ให้น้ำเป็นทาน แล้วก็มีวิมาน ทองตั้งอยู่บนยอดเขาทั้ง ๔ ทิศเป็นที่อยู่แห่งเทพดาทั้ง ๔ นั้น พระ พุทธองค์ก็ทรงล้างบาตร แล้วรับสั่งให้ภิกษุเอาน้ำล้างบาตรไปเทไว้ ในที่แห่งหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องหมาย ที่นั้นก็บังเกิดเป็นสระมีน้ำมิได้ ขาดควรน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูราภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเสด็จอุบัติมาในภัททกัลป์นี้ ย่อม เสด็จมาประทับอยู่ ณ ถ้ำกุมภ์นี้เพื่อทรงทำภัตตกิจ และเสวยน้ำที่ เทพดาทั้ง ๔ องค์นำมาบำเพ็ญบุญทุก ๆ พระองค์ เป็นพุทธประ เพณีมาแต่ครั้งศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะและ โกนาคมนะโพ้น หาใช่แต่ตถาคตผู้เดียวนี้ไม่ แม้พระพุทธเจ้าพระ

๗๙ นามว่าโคดมที่จักเสด็จอุบัติแต่ตถาคตนี้ไปข้างหน้าก็ดี พระอริยเมตไตรยที่จักเสด็จมาข้างหน้าอีกก็ดี ก็จักเสด็จมาทรงทำภัตตกิจ และเสวยน้ำของเทพดา ณ ถ้ำกุมภ์นี้ทุก ๆ พระองค์ตามพุทธประเพณี นี้โดยแท้ และถ้ำกุมภ์ก็ดี สุวรรณโคทประเทศก็ดี เหล่านี้หาก เป็นที่ฐาปนาพระเกสธาตุ และเป็นที่ตั้งศาสนาของพระพุทธเจ้า ทั้ง ๕ พระองค์ในภัททกัลป์นี้

พระพุทธกัสสปตรัสเล่าตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ขณะนั้นยังมีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด กราบทูลพระพุทธเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายอยากจะใคร่ทราบตำนานแห่งสุวรรณโคมประเทศนี้ กาลบัดนี้สถานที่นี้เป็นป่าประกอบไป ด้วยต้นไม้และเครือเขามากนัก เหตุใดพระองค์จึงตรัสว่าเป็นที่ตั้ง แห่งศาสนาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงตรัสเทศนาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลล่วงแล้วแต่ครั้งพระพุทธเจ้าโกนาคมนะยัง นั้น สถานที่นี้หากเป็นราชธานีอันใหญ่นามว่าเมืองสุวรรณโคมคำ มีขัตติยวงศ์ท้าวพระยาสมันตราช เสวยราชสมบัติสืบเชื้อสายมาเป็นลำดับมากกว่าหมื่นองค์ ตราบเท่าถึงอายุคนตั้งอยู่ในเขตต์ ๒๓,๐๐๐ ปี แต่วงศ์ขัตติยราชมาก็มาสิ้นสุดไปเสีย จะหาท้าวพระยาปกครองบ้านเมืองต่อมามิได้ ประชาราษฎรจึงได้อพยพหนีไปอยู่ ในที่ต่าง ๆ ฉะนั้นเมืองสุวรรณโคมคำนี้ จึงได้รกร้างเป็นป่าเป็นดง ใหญ่ไม่มีผู้คนตั้งแต่กาลนั้นมา

๘๐ เมืองสุวรรณโคมคำในคำพยากรณ์ เมื่อพระพุทธเจ้ากัสสปตรัสเทสนาซึ่งเหตุแห่งความสิ้นไปของเมืองสุวรรณโคมคำให้แจ้งภิกษุทั้งหลายแล้ว จึงตรัสพยากรณ์ ต่อไปในอนาคตอีกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่กาลที่เราตถาคตนี้ นิพพานไปแล้ว สุวรรณโคมประเทศนี้ ยังจะมีขัตติยวงศ์แห่ง สมันตราชองค์หนึ่ง ประกอบไปด้วยบริวารเป็นอันมากเสด็จมาแต่ ทิศพายัพ คือเมืองราชคฤหนคทหลวงไทยเทศโพ้น แล้วทรง ตั้งยังสุวรรณโคมประเทศที่เป็นป่าดงนี้ ให้เป็นบ้านเป็นเมือง ประ กอบไปด้วยแว่นแคว้นอันกว้างขวางใหญ่โต และสถานที่นี้ ก็ จักเป็นที่ตั้งศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดมที่จักเสด็จ อุบัติมาในภายภาคหน้า ต่อแต่เราตถาคตนี้ไป ครั้นพระพุทธ องค์ตรัสอนาคตพยากรณ์ให้แจ้งแก่ภิกษุทั้หลายแล้ว ก็ทรงพา หมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นราชธานีของพระพุทธบิดา ถัดแต่นั้นมาพระองค์ก็เสด็จ เที่ยวโปรดสัตว์ตามบ้านน้อยและเมืองใหญ่โดยลำดับ แล้วก็เสด็จ ไปสถิตย์สำราญพระอิริยาบถอยู่ที่อารามใหญ่ในพระนครสาวัตถี พระพุทธองค์ตรัสเทศนาโปรดสัตว์ไปเป็นเนืองนิตย์ได้ถึง ๔ อสงไขย เศษ ๖ โกฎิ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้วนั้นทุกๆ พระองค์ แต่พระพุทธกัสสปทรงพระชนม์อยู่ได้ ๒๐,๐๐๐ พระ วรรษาเต็มบริบูรณ์ พอถึงเดือนวิสาขบุรณมีเวลารุ่งขึ้นวันอังคาร พระพุทธองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณอุทยานของพระยาผู้ ๘๑ ครองเมืองสุทัสนะ ครั้งนั้นก็บังเกิดมหัศจรรย์โกลาหลเป็นต้นว่า ฟ้า ร้อง ภูเขาร้องคราง เขาพระสุเมรุราชอ่อนน้อม แผ่นดินไหว น้ำมหาสมุทรสาครกำเริบและซัดลูกคลื่นท้นขึ้นจนล้นฝั่ง ห่าฝนโบก ขรพรรษโปรยปรายลงมา และแผ่นพสุธาตั้งแสนโกฎิจักรวาฬ ก็ บันดาลหวั่นไหวร้องไห้สนั่นไปทุกแห่งหน เทพบุตร เทพดา นาค ครุฑ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ อินทร์ พรหม ยมราช และมนุษย์ที่สถิตย์อยู่ ณ ที่ต่าง ๆ ก็พากันร่ำร้องไห้ด้วยความเสนหาอาลัยในพระสัพพัญญู ตลอดถึงเทวดานพเคราะห์ และพระราหูที่เป็นศัตรูกันก็บรรเทาเสียซึ่งเวร และฝูงสัตว์ก็ไม่แกว่งหู ไม่โบกหาง ไม่กินหญ้า ฝูงนกใหญ่น้อยที่บินอยู่บนอากาศก็กางปีกค้าง ความ อยากกินข้าวและน้ำในฝูงเปรตก็ระงับไป ไฟในนรกอเวจีก็หาย ร้อน คนหูหนวกก็ได้ยินศัพทสำเนียง คนเปลี้ยก็เดินได้ คน ค่อมก็เหยียดตรงลุกเดินไปมาได้ คนตาบอดก็แลเห็น สัตว์นรก อเจวี มนุษย์ เทพบุตร เทพดา อินทร์ และพรหม ก็แลเห็น กันได้ตลอดทุกภาษา ในขณะเมื่อพระพุทธกัสสปเสด็จดับขันธ-ปรินิพพานนั้น ครั้งนั้นท้าวพระยา เสนาอำมาตย์ พราหมณ์ คฤห- บดี เศรษฐี พ่อค้า มนุษย์ เทพบุตร เทพดา อินทร์ พรหม และ สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีพระยาผู้ครองนครสุทัสน์เป็นประธาน ก็ ได้พร้อมกันสร้างประสาทคำ (หีบทอง) แล้วก็อัญเชิญพระศพพระ พุทธองค์ลงในหีบทองนั้น และพร้อมกันตามประทีปน้ำมัน

๘๒ พร้อมทั้งมีดอกไม้ของหอมจวงจันทน์สักการบูชา และมีประโคม อยู่ที่นั่นถึง ๗ วัน ต่อนั้นมาก็พร้อมกันแห่หีบทองของพระพุทธ องค์ไปประดิษฐานไว้ที่พระราชวัง ณ ท่ามกลางนครสุทัสน์ได้ ๕ วันแล้วก็ย้ายพระศพจากพระราชวังขึ้นไปทางทิศเหนือ แล้ว อัญเชิญหีบทองขึ้นประดิษฐานไว้บนกองฟืนไม้จันทน์ แล้วก็พร้อม กันถวายพระเพลิง ขณะนั้นหีบทองที่อัญเชิญพระศพพระพุทธองค์ ลงไว้ ก็ลอยขึ้นไปประดิษฐานอยู่บนอากาศ พอถึงวันอาทิตย์ เพลาเที่ยงเพลิงก็ไหม้พระสรรีรกายภายนอกจนสิ้น ยังเหลือแต่ พระบรมธาตุอันติดเข้าเป็นแท่งเดียวกัน มีวรรณเหมือนดังทอง แล้ว หีบทองพร้อมทั้งพระธาตุลอยกลับลงมาประดิษฐานอยู่ที่พื้นดิน ท้าวพระยา มนุษย์ เทพบุตร เทพดา อินทร์ และพรหมทั้งหลายก็ พร้อมกันสรงพระบรมธาตุนั้นเรียบร้อยแล้ว ก็เชิญเอาพระธาตุไป รักษาไว้ในพระราชวังได้ ๗ วัน ครั้นต่อมาพระสาวกสงฆ์ผู้เป็น พระอรหันต์ ซึ่งเป็นประธานแห่งท้าวพระยา มนุษย์ เทพบุตร เทพ ดา อินทร์ และพรหม ก็ได้พร้อมกันสร้างพระเจดีย์ทองขึ้นไว้ทิศ เหนือพระนครราชคฤห์ ณ ที่ใกล้กับป่าอันธวัน ครั้นแล้วก็เชิญพระ เกสธาตุของพระพุทธกัสสปเข้าประจุไว้ในพระเจดีย์องค์นั้น กิริยาที่กล่าวถึงเรื่องปรินิพพานของพระพุทธกัสสปก็จบโดยสังเขปแต่เพียงเท่านี้ ส่วนสุวรรณโคมประเทศก็รกร้างเป็นป่าดงพงไพร ตั้งแต่ครั้ง


๘๓ ครั้งศาสนาพระพุทธกัสสป มีแต่พวกมิลักขยูอยู่ตามซอกห้วยราว เขา มีปู่เจ้าหลวงกูปคำเป็นใหญ่แก่เขาทั้งหลายในที่นั้น กล่าวตำนานของสุวรรณโคมประเทศและถ้ำกุมภ์ที่มีในสุวรรณโคมประเทศก็จบไปเรื่องหนึ่งแต่เพียงเท่านี้.




พิมพ์ที่โรงพิมพ์ วิศวกร วังกรมพระสมมต ฯ ตอนเสาชิงช้า พระนคร นายอนงค์ อาจารีย์ ผู้พิมพ์โฆษณา ๒๓/๒/๘๒


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก