พระราชกำหนดคุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2490

จาก วิกิซอร์ซ
ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชกำหนด
คุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไป
ตามรัฐธรรมนูญ (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙
พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ พ.ศ. ๒๔๙๐
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คณะอภิรัฐมนตรี ในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่คณะทหารได้กระทำการรัฐประหารสำเร็จ และบัดนี้ ก็ได้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ ขึ้นแล้ว และโดยที่อาจมีบุคคลบางหมู่บางเหล่ากระทำการขัดขวางมิให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญฉะบับนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะมีกฎหมายคุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ

และโดยที่มีเหตุฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ และจะเรียกประชุมรัฐสภาให้ทันท่วงทีมิได้

พระมหากษัตริย์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดคุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ พ.ศ. ๒๔๙๐"

มาตราพระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันและเวลาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราพระราชกำหนดนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันและเวลาที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนี้ และให้สิ้นสุดลงในเมื่อทรงพระราชดำริเห็นว่า การปกครองตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพ้นจากการประทุษร้ายแล้ว ซึ่งจะกระทำโดยประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ แต่อย่างช้าต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชกำหนดนี้

มาตราเพื่อประโยชน์ในอันที่จะคุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบัน ให้ทางราชการทหารใช้อำนาจดังต่อไปนี้ได้ฉะเพาะในกรณีที่เห็นว่า จำเป็นจริง ๆ คือ

(๑)จับกุมและคุมขังบุคคลซึ่งมีเหตุผลอันสมควรสงสัยว่า จะขัดขวางการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบันไว้ได้เป็นเวลาไม่เกินเจ็ดวัน พ้นจากกำหนดเวลานี้แล้ว ต้องสั่งปล่อยหรือส่งตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(๒)ยึดอาวุธปืน เครื่องกะสุนปืน วัตถุระเบิด เครื่องรบ เครื่องแบบทหารและตำรวจ และทรัพย์อื่น ๆ อันสามารถใช้เป็นประโยชน์แก่การขัดขวางการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบัน จากบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุผลสมควรสังสัยว่า จะทำการขัดขวางการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบัน

(๓)ตรวจค้นอาคารและสถานที่ใด ๆ เพื่อดำเนินการตามอนุมาตรา ๑ และอนุมาตรา ๒ และเพื่อสืบสวนค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับการขัดขวางดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบัน

(๔)สั่งให้ผู้ครอบครองสิ่งต่าง ๆ ดังที่ได้ระบุไว้ในอนุมาตรา ๒ นำสิ่งเช่นว่านั้นมามอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจะได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อการนี้ ในเมื่อมีเหตุผลสมควรสงสัยว่า จะใช้สั่งเช่นว่านั้นเพื่อขัดขวางการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบัน

(๕)ปิดหรือห้ามการใช้ทางสาธารณะส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเข้าไปอยู่ หรือเข้าไปตั้งสิ่งใด ๆ ในทางสาธารณะได้ ในเมื่อมีความจำเป็นที่จะกระทำเช่นนั้นเพื่อป้องกันหรือต่อสู้การขัดขวางการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบัน

มาตราการใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ห้ามมิให้ถือว่า เป็นการละเมิดอันก่อให้เกิดสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่ง

มาตราให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชกำหนดนี้

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • ควง อภัยวงศ์
  • นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"