พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
พระราชบัญญัติ
ธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘[1]

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑) ให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการ ผู้จัดการรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่

(ก) เป็นการให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้ภายใต้วงเงินที่ได้รับอนุมัติเดิมก่อนดํารงตําแหน่ง หรือเป็นการปรับโครงสร้างหนี้เดิมโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด

(ข) เป็นการให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตตามอัตราขั้นสูงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด

(ค) เป็นการให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุคคลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ[แก้ไข]

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติห้ามสถาบันการเงินให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวโดยมีการกําหนดข้อยกเว้นเฉพาะ ในกรณีการให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตหรือการให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการทําให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติกับสถาบันการเงินที่เป็นการดําเนินธุรกิจตามปกติของสถาบันการเงิน และอาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชนนั้นได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดอุปสรรคดังกล่าว สมควรเพิ่มเติมข้อยกเว้นเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้ของสถาบันการเงินกับบุคคลดังกล่าวในกรณีที่เป็นการให้สินเชื่อทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้ภายใต้วงเงินที่ได้รับอนุมัติเดิมก่อนดํารงตําแหน่ง หรือเป็นการปรับโครงสร้างหนี้เดิมโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินจึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๔๐ - ๔๒/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"