หน้า:ตำนานกฎหมายเมืองไทย - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๓.pdf/27

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑
๒๕ อาถพฺพนิกา กระทำกฤตยาคม เอาไว้ใน ลักษณเบ็ดเสร็จ
๒๖ ภณฺฑเทยฺยํ เช่า เอาไว้ใน ลักษณเบ็ดเสร็จ
๒๗ ตาวกาลิกํ ยืม เอาไว้ใน ลักษณเบ็ดเสร็จ
๒๘ คณีวิภาคํ ปันหมู่ชา ให้แก่ มูลคดีวิวาท
๒๙ ปจฺจุทธรนฺตํ อุทธรณ์ ได้แก่ ลักษณอุทธรณ์

กฎหมายกรุงเก่าอยู่นอกมาติกานี้ มีพระธรรมศาสตร์เพราะเป็นต้นมาติกา ๑ กฎมณเฑียรบาล ๑

ที่หนังสือพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระเอกาทศรฐทรงตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยยการ น่าเข้าใจว่า จะจัดประมวลกฎหมายเข้ามาติกาธรรมศาสตร์อย่างว่ามานี้เอง แต่เมื่อข้าพเจ้าไปกราบทูลหาเรือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีรับสั่งว่า คาถาที่ปรากฏในกฎหมายไทย ตั้งแต่คำนมัสการจนพระธรรมศาสตร์ สำนวนภาษามคธวิปลาศไม่เรียบร้อย คล้ายกับคาถาคำนมัสการในหนังสือไตรภูมิพระร่วง เกือบจะสันนิษฐานว่า ผู้แต่งเป็นคนเดียวกันได้ ดังนี้

ทางภาษาในหนังสือเป็นหลักสำหรับวินิจฉัยเวลาและประเภทที่แต่งหนังสืออยู่อย่าง ๑ ซึ่งจะไม่นำพาไม่ได้ เมื่อปรากฏว่า มีคาถาซึ่งแต่งครั้งสุโขทัย (คือ คาถานมัสการในหนังสือไตรภูมิพระร่วง) แห่ง ๑ และคาถาในพระธรรมศาสตร์กฎหมายไทยอีกแห่ง ๑ เป็นสำนวนเดียวกัน ถ้า