ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:อธิบายเครื่องบูชา - ดำรง - ๒๔๗๑.pdf/12

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

สำหรับพระเคาะและโขกให้เสียงเป็นสัญญา โต๊ะอย่างนี้จึงได้นามอิกอย่างหนึ่งเรียกว่า "โต๊ะโขก"

โต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีนซึ่งมาดัดแปลงเป็นอย่างไทย สืบได้ความว่า เริ่มมีขึ้นเมื่อครั้งฉลองวัดพระเชตุพนในรัชชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ในคราว ๆ เดียวกับที่เกิดมีม้าหมู่ ครั้งนั้น โปรดฯ ให้ขอแรงจีนเจ้าภาษีนายอากรแลพวกพ่อค้าให้จัดโต๊ะเครื่องบูชามาตั้งเปนเครื่องประดับในลานวัดพระเชตุพน สันนิษฐานว่า เพราะเปนการตั้งในพิธีทางพระพุทธศาสนา ไม่สมควรจะมีเครื่องเส้น เป็นวิธีจัดโต๊ะจีนอย่างไทยเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ มีจดหมายเหตุปรากฎว่า ต่อมาถึงรัชชกาลที่ ๔ ในงานบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ขอแรงพระบรมวงศานุวงศ เจ้าภาษีนายอากร พ่อค้านายสำเภา จัดโต๊ะเครื่องบูชาเข้าไปตั้งเป็นเครื่องประดับในบริเวณพระราชมนเทียรและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีจำนวนถึง ๑๐๐ โต๊ะ ข้อนี้ส่อให้เห็นว่า ตั้งแต่งานฉลองวัดพระเชตุพนมาแล้ว คงจะเกิดนิยมเล่นเครื่องโต๊ะชูชาอย่างจีนแกมไทยเปนอันดับมา มีจดหมายเหตุปรากฎต่อมาอิกอย่างหนึ่งว่า เมื่อในรัชชกาลที่ ๔ นั้น เกิดนิยมทำบุญวันเกิดเปนการใหญ่ขึ้นในหมู่ผู้มีบรรดาศักดิ์สูง เมื่อถึงวันประสูติของเจ้านายผู้ใหญ่ก็ดี หรือวันเกิดของขุนนางผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ เมื่อยังเปนที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ เสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม เป็นต้นก็ดี มักเชิญบรรดาผู้ที่เล่นเครื่องโต๊ะอย่างจีนให้เอา